X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกกลัวเสียงดัง เสียงฟ้าผ่า ลูกโป่งแตก เสียงประทัด ทำอย่างไรดี ?

บทความ 5 นาที
ลูกกลัวเสียงดัง เสียงฟ้าผ่า ลูกโป่งแตก เสียงประทัด ทำอย่างไรดี ?

ลูกน้อยที่กำลังเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อาจพบเจอกับปัญหาบางอย่าง ที่ยากจะหลีกเลี่ยง นั่นคือ “ความกลัว” ซึ่งเด็กแต่ละคนจะมีความกลัวที่แตกต่างกัน แต่อาการที่เราจะพูดถึงคือ “ลูกกลัวเสียงดัง” ซึ่งสามารถพบเสี่ยงพบเจอในชีวิตประจำวัน และยากที่จะควบคุมได้ เช่น เสียงประทัด, เสียงลูกโป่งแตก หรือเสียงฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เป็นต้น

 

ลูกกลัวเสียงดัง มีสาเหตุหลายประการ

สาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยกลัวต่อเสียงที่ดัง ไม่ว่าจะเป็นเสียงฟ้าร้อง ฟ้าผ่า, เสียงประทัด หรือเสียงลูกโป่ง มักมาจากเหตุผลของความทรงจำ หรือประสบการณ์ที่ไม่ดีซึ่งอาจเกิดมาจากเหตุการณ์ดังกล่าว หรือเกิดจากความไม่เข้าใจ เพราะอายุยังน้อย ไปจนถึงเป็นความกลัวที่มาจากโรคกลัว (Phobia) หรือโรคอื่น ๆ ได้ด้วยเช่นกัน

 

อาการที่พบได้เมื่อลูกเกิดความกลัวจากเสียงดัง

อาการทั่วไปที่พบได้ คือ หวาดกลัว, งอแง, ต้องการหลีกหนีต่อสถานการณ์สุ่มเสี่ยง, มีอาการสั่นกลัว เป็นต้น ซึ่งอาการจะหายไปเมื่อรู้สึกว่าปลอดภัย นอกจากนี้หากความกลัวต่อเสียงดังเกิดจากโรคทางจิต เช่น โรคกลัว (Phobia) จะมีอาการที่รุนแรงกว่าอย่างเห็นได้ชัดกลัวว่าตนเองจะเป็นอันตราย โวยวาย และจะไม่สามารถควบคุมตนเองได้ เป็นต้น ซึ่งเป็นอาการที่สามารถพบแพทย์เพื่อรักษาด้วยการบำบัด หรือการใช้ยาได้ตามความเหมาะสม

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคกลัว (Phobia) อาการกลัวสิ่งต่าง ๆ โรคทางจิตที่คุณอาจไม่รู้ตัว

 

วิดีโอจาก : Samitivej Hospitals

 

ทำไมลูกถึงกลัวเสียงประทัด ?

  • อาจเคยมีประสบการณ์ไม่ค่อยดีเกี่ยวกับเสียงของประทัด เช่น มีเหตุการณ์ร้ายเคยเกิดขึ้น และมีเสียงของประทัดเป็นองค์ประกอบด้วย เป็นต้น ทำให้เด็กรู้สึกหวาดกลัวทุกครั้งที่ได้ยินเสียง
  • มีความเข้าใจเกี่ยวกับความกลัวจากเสียงดัง เนื่องจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามข่าว หรือภาพยนตร์ เสียงที่ดังมากอย่างต่อเนื่องมักมากับเหตุการณ์ที่น่ากลัว จนเกิดเป็นภาพจำให้กับลูก
  • ไม่สามารถแยกแยะสิ่งที่ควรกลัวได้อย่างถูกต้อง เด็กไม่มีความเข้าใจว่าของบางอย่าง อาจมีเสียง แต่ไม่เกิดอันตรายถ้าไม่ได้อยู่ใกล้ เป็นเพราะลูกยังมีอายุน้อยเกินไป และต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม
  • เด็กอาจถูกปลูกฝังให้กลัวจากคนรอบข้าง เช่น เมื่อมีเสียงประทัด พ่อแม่จะห้ามไม่ให้เข้าใกล้ เพราะอาจเกิดอันตรายได้ จนลูกจดจำไปเองว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัว เมื่ออยู่ในสถานการณ์อื่น ๆ

 

ลูกกลัวเสียงประทัด ทำอย่างไรดี

  • พูดคุยกับลูกทำความเข้าใจว่าเป็นเสียงอะไร หากไม่ได้อยู่ใกล้ ๆ จะปลอดภัย หรือใช้สื่อออนไลน์ วิดีโอต่าง ๆ ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประทัด และสิ่งที่ต้องระวัง เพื่อให้มีความเข้าใจมากขึ้น
  • หากมีความจำเป็นเดินทางไปในที่มีเสียงประทัด ต้องบอกกับลูกก่อน เพื่อให้เกิดการเตรียมตัว และคอยอยู่กับลูกตลอดเวลา
  • ไม่นำเสียงประทัดมาหลอกลูกเพื่อให้เกิดความกลัว การพูดหลอกให้กลัวไม่ใช่การเรียนรู้ที่ถูกต้อง
  • หากพบว่าลูกเป็นโรคกลัว (Phobia) ต้องเตรียมความพร้อม และเตรียมยาติดตัวตลอดเวลา เพราะอาจต้องเจอกับเสียงประทัดโดยไม่ทันตั้งตัวได้

 

ทำไมลูกกลัวเสียงฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ?

  • มีความทรงจำที่ไม่ดีมาก่อน เหตุการณ์ที่ไม่ดี อาจเกิดขึ้นในช่วงที่มีเสียงฟ้าร้อง ฟ้าผ่า
  • เคยได้รับอุบัติเหตุ หรือคนรอบข้างได้รับอุบัติเหตุมาก่อน ซึ่งเกี่ยวกับสภาพอากาศ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์จากถนนลื่น เพราะฝนตก ฟ้าร้อง เป็นต้น
  • อาจมีความผิดปกติทางสมองในกลุ่ม (Autism Spectrum Disorders หรือ ASD) หรือที่เราเรียกกันว่า “กลุ่มออทิสติก” ซึ่งอาจไวต่อเสียง
  • เกิดจากอาการของโรค Astraphobia ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้เกิดความกลัวต่อเสียงฟ้าร้อง และเสียงฟ้าผ่า มักพบในวัยเด็ก สังเกตจากอาการเหงื่อออก, ใจเต้นเร็ว, เจ็บหน้าอก, ต้องการซ่อนตัว และอยากให้มีคนอยู่ด้วย เป็นต้น

 

ลูกกลัวเสียงฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ทำอย่างไรดี

โดยปกติแล้ว การแก้ปัญหานี้มีความจำเป็นต้องพบแพทย์ก่อน เนื่องด้วยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการทางจิตอยู่หลายประการ ซึ่งการพบแพทย์จะทำให้ได้รับคำแนะนำในการรักษาได้ดีกว่า เช่น การรักษาด้วยการบำบัดทั้งทางพฤติกรรม และความคิด, การให้ค่อย ๆ เผชิญหน้ากับความกลัว หรือฝึกการตั้งสติ และการปรับตัวของตนเองให้มากยิ่งขึ้นตามความเหมาะสม รวมไปถึงการใช้ยารักษาด้วย เป็นต้น

 

ลูกกลัวเสียงดัง

 

ทำไมลูกกลัวเสียงลูกโป่งแตก ?

เรียกว่า “อาการกลัวลูกโป่ง (Balloon phobia หรือ Globophobia)” ซึ่งเป็นความกลัวต่อลูกโป่ง มีความกลัวต่อเสียงแตกของลูกโป่ง ทำให้รู้สึกไม่กล้าเข้าใกล้ หรือกลัวทุกครั้งที่มีคนเป่าลูกโป่ง บางรายอาจไม่อยากเข้าใกล้ลูกโป่งเลย ซึ่งพบได้ทั้งในเด็ก และในผู้ใหญ่ และเป็นสาเหตุหลักของการกลัวลูกโป่งแตก นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการที่ลูกฝังใจจากการถูกแกล้ง เช่น โดนเจาะลูกโป่งแตกใส่หน้า หรือถูกแกล้งเจาะลูกโป่งให้แตกจนตกใจบ่อยครั้ง ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้กลัวเสียงลูกโป่งแตกได้เช่นกัน

 

ลูกกลัวเสียงลูกโป่งแตก ทำอย่างไรดี

หากเป็นการกลัวจากเหตุการณ์ที่ถูกแกล้งจนมีความฝังใจ ต้องหยุดการกระทำดังกล่าว หากเกิดจากที่โรงเรียน ต้องแจ้งครูประจำชั้น พยายามให้ลูกเลี่ยงจากเหตุการณ์ที่อาจต้องเจอเสียงแตกของลูกโป่ง  อาจฝึกลูกด้วยการให้เผชิญหน้ากับความกลัว แต่ต้องตกลงกับลูกก่อน หากพบว่ามีอาการกลัวมาก จนไม่สามารถควบคุมได้ หรือมีอาการรุนแรงสั่นกลัว ควบคุมสติไม่ได้ สามารถพาลูกเข้าพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำได้เช่นกัน

 

ความกลัว หรืออาการตกใจไม่ใช่ความผิดปกติเสมอไป

สิ่งที่สำคัญ คือ พ่อแม่ต้องให้ลูกเข้าใจว่า ความกลัวที่มีต่อเสียงต่าง ๆ หรืออาการตกใจ อยากออกจากพื้นที่นั้น ๆ ไม่ใช่อาการทางจิตเสมอไป เนื่องจากยังมีปัจจัยเรื่องความกลัวในแต่ละบุคคล หรือเป็นเพียงอาการตกใจชั่วคราวเท่านั้น เมื่อเหตุการณ์จบไปทุกอย่างก็กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงต้องช่วยสังเกตลูกว่ามีอาการที่เข้าข่ายโรคกลัว (Phobia) หรือไม่ด้วย

 

อาการกลัวเสียงดังแบบไหนต้องไปพบแพทย์

กรณีที่ต้องเข้าพบแพทย์ คือ มีกลุ่มอาการที่แสดงถึงความกลัวมากกว่าปกติ มีอาการที่รุนแรงมากเป็นพิเศษ เมื่อต้องเจอกับสถานการณ์ที่เสียงดัง หรือสถานการณ์อื่น ๆ เช่น ใจเต้นเร็ว, สั่นกลัว, ควบคุมตนเองไม่ได้, กลัวว่าตนเองอาจจะตาย, ร้องไห้งอแง, เรียกให้คนเข้ามาช่วย หรือมีอารมณ์ที่โมโหฉุนเฉียว เป็นต้น อาการเหล่านี้เข้าข่าย “โรคกลัว (Phobia)” หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางจิต ผู้ปกครองต้องทำความเข้าใจว่าไม่ได้หมายถึงลูกของตนป่วยทางจิต แต่แค่มีปฏิกิริยาโต้ตอบอย่างรุนแรงต่อสิ่งที่กลัวเท่านั้น จึงควรรักษาไว้แต่เนิ่น ๆ เพื่อให้ลูกสามารถใช้ชีวิตได้ปกติในทุกสถานการณ์นั่นเอง

 

ปัญหาความกลัว สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็ก ไม่ใช่แค่ในทางโรค แต่อาจเพราะเด็กยังต้องการที่จะเรียนรู้ต่อสิ่ง ๆ ต่าง ๆ มากขึ้น จึงต้องใช้เวลา และผู้ปกครองก็ควรให้ความสำคัญกับการสอนลูกให้รู้จักกับโลกมากขึ้นด้วย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

5 สัญญาณบ่งบอก โรคกลัวการเข้าสังคม โรคกลัวคนเยอะ ของลูก

ลูก ๆ กลัวความสูง จะดูแลลูกยังไงดี โรคความกลัวนี้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตเด็กหรือไม่

20 โรคกลัว ภาวะโฟเบียที่น่าสนใจ โรคกลัวอะไรแปลก ๆ แบบนี้คุณเป็นหรือเปล่า!?

ที่มาข้อมูล : 1 2 3 4

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • ลูกกลัวเสียงดัง เสียงฟ้าผ่า ลูกโป่งแตก เสียงประทัด ทำอย่างไรดี ?
แชร์ :
  • ห้องนอนเด็กอ่อน ต้องจัดอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ต้องอ่าน !

    ห้องนอนเด็กอ่อน ต้องจัดอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ต้องอ่าน !

  • 4 เทคนิคสำคัญที่ควรรู้ก่อนไปเลือกแหวนแต่งงาน

    4 เทคนิคสำคัญที่ควรรู้ก่อนไปเลือกแหวนแต่งงาน

  • 5 ข้อต้องคิดหาก อยากให้ลูกเลิกกับแฟน และวิธีการบอกที่เหมาะสม

    5 ข้อต้องคิดหาก อยากให้ลูกเลิกกับแฟน และวิธีการบอกที่เหมาะสม

  • ห้องนอนเด็กอ่อน ต้องจัดอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ต้องอ่าน !

    ห้องนอนเด็กอ่อน ต้องจัดอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ต้องอ่าน !

  • 4 เทคนิคสำคัญที่ควรรู้ก่อนไปเลือกแหวนแต่งงาน

    4 เทคนิคสำคัญที่ควรรู้ก่อนไปเลือกแหวนแต่งงาน

  • 5 ข้อต้องคิดหาก อยากให้ลูกเลิกกับแฟน และวิธีการบอกที่เหมาะสม

    5 ข้อต้องคิดหาก อยากให้ลูกเลิกกับแฟน และวิธีการบอกที่เหมาะสม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ