X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ปัญหาลูกไม่ทำการบ้าน ลูกไม่ชอบทำการบ้าน เพราะอะไร วิธีแก้ปัญหาลูกไม่ทำการบ้าน

บทความ 5 นาที
ปัญหาลูกไม่ทำการบ้าน ลูกไม่ชอบทำการบ้าน เพราะอะไร วิธีแก้ปัญหาลูกไม่ทำการบ้าน

สอนลูกทำการบ้าน อย่างไรไม่ให้ดราม่า น้ำตาแตก! ปัญหาลูกไม่ทำการบ้านที่เจอกันแทบทุกครอบครัว มีวิธีแก้ไขอย่างไร

เด็ก ๆ กับการเล่นเป็นของคู่กันแต่ไหนแต่ไรอยู่แล้ว แต่เรื่องการเรียนกับลูกน้อย เห็นทีจะไม่ใช่ และคงจะสร้างความหนักใจให้คุณพ่อคุณแม่ไม่น้อย เพราะกลับจากโรงเรียนทีไร บ้างก็เล่นสนุก บ้างก็สลบไสล ไม่ยอมทำการบ้านเสียที แบบนี้ ลูกเป็นเด็กขี้เกียจหรือเปล่า ไม่ใฝ่เรียนหรือไม่ ปัญหาลูกไม่ทำการบ้าน เป็นเพราะอะไร คุณพ่อคุณแม่จะรับมืออย่างไรดี

สาเหตุของ ปัญหาลูกไม่ทำการบ้าน

หมอมินบานเย็น เพจเข็นเด็กขึ้นภูเขา บอกว่า ความขี้เกียจ ไม่ใช่เหตุผลเดียวที่ทำให้ลูกไม่อยากทำการบ้าน แต่ยังมีอีกหลาย ๆ เหตุผลที่ทำให้ลูกไม่ทำการบ้าน ดังนี้

1. การบ้านยากมาก อยากทำแต่ทำไม่ได้

การบ้านที่ยากเกินไป ไม่เป็นผลดีกับเด็ก ยิ่งจะทำให้พวกเขาท้อแท้ หรือเด็กอาจมีปัญหาด้านสติปัญญา พัฒนาการ เช่น สมาธิสั้น สมาธิไม่ดี มีความบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้าน อย่างการอ่าน การเขียน การคำนวน หรือมีความบกพร่องทางสติปัญญา เป็นต้น หากพ่อแม่ยิ่งดุ ยิ่งว่า ยิ่งกดดัน ก็ยิ่งทำให้พวกเขาไม่อยากทำ

2. ลูกเหนื่อยมาก จนทำการบ้านไม่ไหว

เด็ก ๆ สมัยนี้ ตื่นเช้ามาเรียน ตกเย็นก็ยังเรียน ทั้งในโรงเรียน นอกโรงเรียน ไหนจะกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ อีก จนไม่มีเวลาได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ หรือเล่นสนุกอย่างที่ใจอยาก ถ้าหากลูกเหนื่อยเกินไป ก็ทำให้ยิ่งไม่อยากทำการบ้านหนักขึ้นไปอีก คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกได้พักผ่อนมากขึ้น นอนให้เพียงพอ และไม่เครียดจนเกินไป

3. ขาดแรงจูงใจ

ลูกอาจมีภาวะความเครียด หรือปัญหาบางอย่างที่กำลังคิดไม่ตก เช่น มีความวิตกกังวล ไม่มั่นใจในตัวเอง ปัญหาภายในบ้าน พ่อแม่ทะเลาะกัน หรือปัญหารอบข้างบางอย่างที่กระทบกับเด็ก เช่น ความเครียดเรื่องเพื่อน ๆ ครู หรือโรงเรียน ทำให้ลูกขาดแรงจูงใจ และกำลังใจในการทำการบ้านได้

4. ลูกไม่อยากทำการบ้านจริง ๆ

ความไม่อยากทำการบ้านจริง ๆ ก็เป็นเหตุที่เข้าใจได้ อาจเป็นเพราะลูกติดสบาย มีคนคอยช่วยเหลืออยู่ตลอด ถูกตามใจมาก ๆ หากไม่อยากทำอะไร ก็ไม่จำเป็นต้องฝืนใจทำก็ได้ การบ้านเป็นเสมือนภาระหน้าที่ที่เด็กจะต้องรับผิดชอบ ทำให้พวกเขาไม่อยาก ไม่สู้ ไม่ยอมฝืนใจ และเอาแต่ใจตัวเองในที่สุด ตรงนี้อาจจะต้องแก้ที่การเลี้ยงดูของผู้ใหญ่

ปัญหาลูกไม่ทำการบ้าน

การบ้านที่ยากเกินไป ไม่เป็นผลดีกับเด็ก ยิ่งจะทำให้พวกเขาท้อแท้ หรือเด็กอาจมีปัญหาด้านสติปัญญา พัฒนาการ เช่น สมาธิสั้น สมาธิไม่ดี มีความบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้าน

วิธีแก้ปัญหาลูกไม่ยอมทำการบ้าน

พอจะทราบแล้วว่า สาเหตุของปัญหาลูกไม่ทำการบ้านนั้น เกิดจากอะไรได้บ้าง สำหรับวิธีแก้ปัญหาลูกไม่ทำการบ้าน สิ่งสำคัญคือ การเปลี่ยนบรรยากาศการทำการบ้านให้สนุกขึ้น และไม่น่าเบื่อ เช่น

1. พักผ่อนก่อนเริ่มทำการบ้าน

ไม่ใช่พอถึงบ้านแล้ว พ่อแม่ก็ถามหา และจี้ให้ทำการบ้านทันที แต่ควรให้เวลาลูกได้พักผ่อนก่อนที่จะเริ่มทำการบ้าน กำหนดเวลาชัดเจน เช่น แม่ให้ลูกกินขนมก่อน กินขนมเสร็จแล้ว มาทำการบ้านด้วยกันนะคะ ถ้าหากเป็นไปได้ เด็กควรจะทำการบ้านก่อนทานอาหารเย็น เพราะหนังท้องตึงหนังตาก็หย่อน ลูกจะเริ่มงอแง และอยากจะนอนมากกว่าจะทำการบ้าน

ถ้าเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางมากแล้ว หรือมีกิจกรรมมากมายที่โรงเรียน จนลูกหิวมาก ๆ ให้ทานอาหารแล้วพักก่อน จากนั้นค่อยเริ่มทำการบ้านด้วยกัน ตามแต่เวลาที่สะดวกของครอบครัว อย่างไรก็ตาม ควรกำหนดช่วงเวลาการทำการบ้านอย่างชัดเจน ทำเป็นประจำทุกวัน เพื่อสอนให้ลูกรู้จักบริหารจัดการเวลา และสร้างมีวินัย แต่ก็อาจยืดหยุ่นได้ ตอนมีเรื่องสำคัญ

2. สร้างสิ่งแวดล้อมให้พร้อมสำหรับการทำการบ้าน

พื้นที่สำหรับทำการบ้าน ควรอยู่ห่างไกลจากสิ่งที่จะเบี่ยงเบนความสนใจของเด็ก อยู่ไกลจากของเล่น อยู่ไกลจากทีวี ไม่มีมือถือ หรือแท็บเล็ตบริเวณนั้น มีแค่พ่อ แม่ ผู้ปกครอง หรือคนในครอบครัว ที่พร้อมจะช่วยเด็กทำการบ้าน ให้คำปรึกษา และสอนการบ้านอย่างใจเย็น

สิ่งที่ต้องระวังคือ ให้ลูกแก้ไขปัญหาด้วยตัวลูกเอง ไม่ใช่พ่อแม่ทำการบ้านแทนลูก อาจจะบอกว่า ข้อนี้ลองอ่านบทเรียนนี้ดูสิ หรือให้คำปรึกษาเป็นแนวทาง เพื่อฝึกให้ลูกคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาด้วยตัวเอง

3. ค่อย ๆ ทำ ทำละน้อย

สำหรับเด็กเล็ก หรือเด็กอนุบาล ที่ยังไม่สามารถอยู่กับที่ได้นาน ๆ หรือ การบ้านมีหลายข้อ หลายวิชา พ่อแม่อาจจะแบ่งการบ้านออกเป็นส่วน ๆ แล้วค่อย ๆ ทำไปด้วยกัน เช่น ทำ 6 ข้อ แล้วพักไปเล่นสักหน่อย ค่อยกลับมาทำการบ้านที่เหลือต่อ ก็ได้

ปัญหาลูกไม่ทำการบ้าน

ควรให้เวลาลูกได้พักผ่อนก่อนที่จะเริ่มทำการบ้าน กำหนดเวลาชัดเจน เช่น แม่ให้ลูกกินขนมก่อน กินขนมเสร็จแล้ว มาทำการบ้านด้วยกัน

เตือนใจพ่อแม่ ระหว่างสอนลูกทำการบ้าน

1. ใจเย็น ๆ อย่าใช้อารมณ์

พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องใจเย็น อย่าใช้อารมณ์ ไปบีบคั้น จี้ถาม หรือทำให้ลูกรู้สึกว่า กดดัน เครียด เพราะนอกจากลูกจะทำการบ้านไม่ได้แล้ว พ่อแม่ลูกก็ยังทะเลาะกันอีกด้วย

2. ชื่นชมในความพยายามของลูก

หากลูกทำการบ้านข้อนี้ได้สำเร็จ พ่อแม่สามารถชื่นชมในความพยายาม ความตั้งใจของลูกได้ และอย่าตัดกำลังใจหากลูกตอบผิด เลือกใช้คำพูดในเชิงบวก เช่น ลูกเก่งมากเลยที่ทำมาจนถึงข้อนี้ได้ แต่คำตอบของลูกยังไม่ถูกนะ ลองอ่านบทเรียนนี้ แล้วลองตอบดูอีกครั้งนะคะ

3. ชวนลูกทำการบ้านด้วยกัน

ตอนที่ลูกกลับบ้านจากโรงเรียน พ่อแม่อย่าลืมถามว่า ลูกมีการบ้านหรือไม่ มีกำหนดส่งเมื่อไหร่ แล้วชักชวนลูกทำการบ้าน และใช้เวลาด้วยกัน

4. จัดตารางเวลา สร้างระเบียบวินัยให้ลูก

เรื่องเวลาเป็นสิ่งที่สำคัญ การสร้างระเบียบวินัยให้ลูกก็เริ่มต้นจากสิ่งนี้เช่นเดียวกัน คุณพ่อคุณแม่อาจจะกำหนดตารางเวลาให้ลูกเป็นประจำ เช่น ทุก ๆ วัน หลังจากอาบน้ำแล้วมาทำการบ้าน ทุก ๆ วัน ทานขนมเสร็จแล้วมาทำการบ้าน หรือทำการบ้านก่อน แล้วไปเล่นของเล่น การสร้างกิจวัตรเป็นประจำทุกวันเช่นนี้ จะทำให้ลูกติดเป็นนิสัย และมีระเบียบวินัยมากขึ้น แต่ถ้าลูกเล่นสนุกจนเลยเวลา คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรไปดึงลูกออกมาจากโลกความสนุก แต่สามารถต่อรองว่า อีก 5 นาที ครบแล้วต้องกลับมาทำการบ้านนะ เป็นต้น

ปัญหาลูกไม่ยอมทำการบ้าน

การสร้างกิจวัตรเป็นประจำทุกวัน จะทำให้ลูกติดเป็นนิสัย และมีระเบียบวินัยมากขึ้น แต่ถ้าลูกเล่นสนุกจนเลยเวลา คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรไปดึงลูกออกมาจากโลกความสนุกตรงนั้น

ปัญหาลูกไม่ทำการบ้าน ต้องดูช่วงวัยของลูกด้วย หากลูกอยู่ในวัยอนุบาล ย่อมปรับเปลี่ยน และแก้ไขพฤติกรรมได้ง่ายกว่าเด็กในวัยประถมศึกษา ดังนั้น พ่อแม่ต้องเร่งฝึกวินัย ฝึกความรับผิดชอบ สอนให้ลูกรู้ว่า เวลาไหนควรทำอะไร เพื่อให้เข้าใจ และเรียนรู้ที่จะรับผิดชอบภาระหน้าที่ของตัวเอง

ที่มา : https://www.facebook.com/kendekthai

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ลูกผู้ชายไม่ต้องทำงานบ้าน จริงไหม ข้อดีของการสอนลูกทำงานบ้าน ฝึกลูกให้ช่วยทำงานบ้าน ตั้งแต่เล็ก

ลูกอยู่ไม่นิ่ง ชอบปีนป่ายทำอย่างไรดี วิธีทำให้ลูกสงบนิ่ง ไม่ดื้อไม่ซนต้องทำยังไง

เด็กที่เกิดมาฉลาด สู้ เด็กที่เกิดมาบ้านรวย ไม่ได้ จริงไหม? ความจริงที่ทุกคนควรรู้!

เลี้ยงลูกวัยอนุบาลให้รักน้อง สอนลูกวัยอนุบาลให้รักน้องต้องทำอย่างไร

บทความจากพันธมิตร
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ปัญหาลูกไม่ทำการบ้าน ลูกไม่ชอบทำการบ้าน เพราะอะไร วิธีแก้ปัญหาลูกไม่ทำการบ้าน
แชร์ :
  • ลูกไม่ชอบทำการบ้านใช่ไหม! พ่อแม่ต้องจัดการด้วยวิธีนี้

    ลูกไม่ชอบทำการบ้านใช่ไหม! พ่อแม่ต้องจัดการด้วยวิธีนี้

  • วิธีแก้ปัญหาลูกไม่อยากไปโรงเรียน เตรียมลูกเข้าโรงเรียนอนุบาล การสร้างแรงจูงใจให้ลูกไปโรงเรียน

    วิธีแก้ปัญหาลูกไม่อยากไปโรงเรียน เตรียมลูกเข้าโรงเรียนอนุบาล การสร้างแรงจูงใจให้ลูกไปโรงเรียน

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ลูกไม่ชอบทำการบ้านใช่ไหม! พ่อแม่ต้องจัดการด้วยวิธีนี้

    ลูกไม่ชอบทำการบ้านใช่ไหม! พ่อแม่ต้องจัดการด้วยวิธีนี้

  • วิธีแก้ปัญหาลูกไม่อยากไปโรงเรียน เตรียมลูกเข้าโรงเรียนอนุบาล การสร้างแรงจูงใจให้ลูกไปโรงเรียน

    วิธีแก้ปัญหาลูกไม่อยากไปโรงเรียน เตรียมลูกเข้าโรงเรียนอนุบาล การสร้างแรงจูงใจให้ลูกไปโรงเรียน

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ