“น้ำหนักส่วนสูงเด็ก” เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สื่อให้คุณพ่อคุณแม่เห็นว่าเด็กมีพัฒนาการที่ถูกต้องหรือไม่ หากมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เกินกว่ามาตรฐานตั้งแต่ยังเล็กอาจสื่อให้เห็นว่าเด็กมีโอกาสเสี่ยงโรคอ้วน หรือโรคอื่น ๆ มากยิ่งขึ้น ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ลืมที่จะคำนวณค่าดัชนีมวลกายในแต่ละช่วงวัยของเด็กเพื่อให้เด็กเติบโตขึ้นมาอย่างเหมาะสม
น้ำหนักส่วนสูงเด็ก มีความสำคัญมากแค่ไหน
ในแต่ละช่วงอายุของเด็กเล็กไปจนกว่าเขาจะโต สิ่งหนึ่งที่สามารถสังเกตได้ชัดเจนคือ “น้ำหนักส่วนสูงเด็ก” ที่จะสื่อให้เห็นว่าเด็กมีการเติบโตและมีพัฒนาการทางด้านกายภาพร่างกายเป็นอย่างไรบ้าง หากทั้ง 2 สิ่งนี้ไม่ได้มาตรฐานอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเด็กมีความเสี่ยงอ้วนเกินไป หรือผอมมากกว่าปกติ เป็นต้น หากปล่อยไว้จะส่งผลเสียต่อร่างกายของเด็กเองได้ในอนาคต ดังนั้นการคอยติดตามน้ำหนักและส่วนสูงของเด็กเพื่อให้ถูกต้องตามค่า BMI เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกอ้วนทำไงดี 10 พฤติกรรมของพ่อแม่ ที่ส่อทำให้ลูกอ้วนได้
ค่า BMI คืออะไร
BMI (Body Mass Index) หรือ “ค่าดัชนีมวลกาย” เป็นค่าการวัดขนาดของร่างกายที่มักใช้กันทั่วไปจนเป็นสากล การวัดค่าดัชนีมวลกายนี้ จะคำนวณผ่าน น้ำหนักส่วนสูงเด็ก ทำให้สามารถคิดหาค่าได้ง่าย นอกจากนี้ค่าดังกล่าวยังสามารถนำมาใช้วัดความเสี่ยงโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเด็กหากมีค่า BMI มากจนเกินพอดี
โปรแกรมวิเคราะห์เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงเด็ก
การคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI สามารถคิดได้ด้วยตนเองตามสูตรด้านล่างนี้
น้ำหนักของเด็ก (กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลัง 2
ตัวอย่าง : เด็กชายสิงโต น้ำหนัก 50 กิโลกรัม สูง 150 เซนติเมตร
คำนวณ : 50/1.5(1.5) = 50/2.25 = 22.22 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
หรือสามารถคำนวณผ่านโปรแกรมอัตโนมัติได้ที่ : โปรแกรมวิเคราะห์เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูง
ตารางน้ำหนักทารก น้ำหนักส่วนสูงเด็กตามเกณฑ์มาตรฐาน
เด็กเล็กเพศชาย และหญิงจะมีเกณฑ์ในการวัดค่ามาตรฐานของตนเองอยู่ซึ่งจะมีความแตกต่างกันทั้งน้ำหนัก และส่วนสูงในแต่ละช่วงอายุตามตาราง
|
น้ำหนักส่วนสูงเด็ก : เพศชาย
|
เดือน |
ปี |
น้ำหนัก (กก.) |
ส่วนสูง (ซม.) |
แรกเกิด |
– |
2.8 – 3.9 |
47.6 – 53.1 |
1 |
– |
3.4 – 4.7 |
50.4 – 56.2 |
2 |
– |
4.2 – 5.5 |
53.2 – 59.1 |
3 |
– |
4.8 – 6.4 |
55.7 – 61.9 |
4 |
– |
5.3 – 7.1 |
58.1 – 64.6 |
5 |
– |
5.8 – 7.8 |
60.4 – 67.1 |
6 |
– |
6.3 – 8.4 |
62.4 – 71.3 |
7 |
– |
6.8 – 9.0 |
64.2 – 69.2 |
8 |
– |
7.2 – 9.5 |
65.9 – 73.2 |
9 |
– |
7.6 – 9.9 |
67.4 – 75.0 |
10 |
– |
7.9 – 10.3 |
68.9 – 76.7 |
11 |
– |
8.1 – 10.6 |
70.2 – 78.2 |
– |
1 |
8.3 – 11.0 |
71.5 79.7 |
– |
2 |
10.5 -14.4 |
82.5 – 91.5 |
– |
3 |
12.1 – 17.2 |
89.4 -100.8 |
– |
4 |
13.6 – 19.9 |
95.5 – 108.2 |
– |
5 |
15.0 – 22.6 |
102.0 -115.1 |
ตารางน้ำหนักทารก 0-5 ปี สำหรับเด็กผู้หญิง
ต่อไปเป็นตารางส่วนสูงและน้ำหนักของเด็กเล็กเพศหญิง
|
น้ำหนักส่วนสูงเด็ก : เพศหญิง
|
เดือน |
ปี |
น้ำหนัก (กก.) |
ส่วนสูง (ซม.) |
แรกเกิด |
– |
2.7 – 3.7 |
46.8 – 52.9 |
1 |
– |
3.3 – 4.4 |
49.4 – 56.0 |
2 |
– |
3.8 – 5.2 |
52.0 – 59.0 |
3 |
– |
4.4 – 6.0 |
54.5 – 61.8 |
4 |
– |
4.9 – 6.7 |
56.8 – 64.5 |
5 |
– |
5.3 – 7.3 |
58.9 – 66.9 |
6 |
– |
5.8 – 7.9 |
60.9 – 69.1 |
7 |
– |
6.2 – 8.5 |
62.6 -71.1 |
8 |
– |
6.6 – 9.0 |
64.2 – 72.8 |
9 |
– |
6.9 – 9.3 |
65.5 – 74.5 |
10 |
– |
7.2 – 9.8 |
66.7 – 76.1 |
11 |
– |
7.5 – 10.2 |
67.7 – 77.6 |
– |
1 |
7.7 – 10.5 |
68.8 – 78.9 |
– |
2 |
9.7 – 13.7 |
80.8 – 89.9 |
– |
3 |
11.5 -16.5 |
88.1 – 99.2 |
– |
4 |
13.0 – 19.2 |
95.0 – 106.9 |
– |
5 |
14.4 – 21.7 |
101.1 – 113.9 |
โดยค่า BMI ที่วัดออกมาจะมีเกณฑ์ และความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ดังนี้
- < 18.5 อยู่ในเกณฑ์ผอม : เสี่ยงโรคค่อนข้างต่ำ
- 18.5 – 22.9 สมส่วนได้มาตรฐาน : เสี่ยงเท่าเด็กปกติทั่วไป
- 23 – 24.9 น้ำหนักเริ่มเกิน : มีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น
- 25-29.9 อ้วนระดับ 1 : มีความเสี่ยงมาก
- > 30 อ้วนระดับ 2 : เสี่ยงในระดับอันตราย
บทความที่เกี่ยวข้อง : เกณฑ์น้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับทารก
เช็กน้ำหนักลูก แต่เกินเกณฑ์ควรทำอย่างไรดี
หากเช็กค่า BMI ของลูกแล้วพบว่าอยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะหากปล่อยไว้อาจแก้ลำบากมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากเรื่องน้ำหนักตัวกับส่วนสูงที่ไม่สัมพันธ์กันทำให้เกิดโรคอ้วน จากการทานอาหารหากเด็กชินกับการทานเยอะไปแล้วหลายปี การจะกลับมาทานปกติจะยิ่งทำได้ยากมากยิ่งขึ้น โดยให้ดูแลเด็กตามวิธีต่อไปนี้
- ให้ลูกทำกิจกรรม หรือออกกำลังกาย : การบอกให้ลูกไปออกกำลังกายคงเป็นเรื่องยาก เนื่องจากเด็กวัยนี้อาจยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ มากนัก การออกกำลังกายที่เกิดขึ้นในเด็กจึงต้องทำผ่านการเล่นกับลูก เช่น วิ่งไล่จับ เป็นต้น
- ให้ลูกทานผักผลไม้แต่เด็ก : น้ำหนักส่วนสูงเด็ก สามารถแปรผันโดยตรงได้จากการรับประทานอาหาร ดังนั้นควรให้เด็กทานอาหารที่ครบ 5 หมู่ไม่ให้ขาดผักผลไม้ เพื่อช่วยในระบบขับถ่ายของร่างกายของลูกเอง หากลูกไม่ทานผัก ก็สามารถให้ทานผลไม้แทนซึ่งมีรสหวาน หรือทานผลไม้ที่แปรรูปอาจทำให้เด็กทานได้ง่ายขึ้น
- สื่อเสริมเรื่องร่างกาย : ให้ลูกได้รู้จักเกี่ยวกับร่างกาย และความสำคัญของการออกกำลังกาย หรือการทานอาหารได้ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยหรือการใช้สื่อต่าง ๆ เป็นสื่อกลางก็ได้เช่นกัน เช่น วิดีโอการ์ตูนที่แนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เป็นต้น
วิดีโอจาก Youtube : กุ๋งกิ๋งแฮปปี้เวิลด์
การดูแลสุขภาพของลูกส่งผลต่อน้ำหนักส่วนสูงของเด็กได้โดยตรง การหวังให้ลูกทำด้วยตนเองทั้งหมดคงเป็นเรื่องที่ยาก ผู้ปกครองจึงต้องดูแลเอาใจใส่เรื่องโภชนาการ และกิจกรรมในแต่ละวันของลูกที่ต้องมีประโยชน์ต่อตัวของเด็กเองเสมอ
บทความที่น่าสนใจ
ส่วนสูงเด็ก เพิ่มได้ ! วิธีง่ายๆ ช่วยให้ลูกสูงขึ้น ตั้งแต่ก่อนวัยเรียน
อาหารเพิ่มความสูง สำหรับเด็ก ๆ ให้มีความสูงตามเกณฑ์
10 ผักเพิ่มความสูง อยากตัวสูงทำยังไง กินผักแบบไหนดี ผักเพิ่มแคลเซียม
ที่มาข้อมูล : tonliewclinic , wongnai ,amarinbabyandkids
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!