พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 6 เดือน
พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 6 เดือน มีพัฒนาการอย่างไร ลูกในวัย 6 ปี 6 เดือน เติบโตแค่ไหน… เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว ตอนนี้ลูกรักก็เติบโตถึงวัย 6 ขวบ 6 เดือนแล้ว ช่วงวัยนี้ จะมีพัฒนาการสำคัญ ๆ อย่างไรบ้าง เช็คเลย!
พัฒนา การเด็ก 6 ขวบ 6 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร มีอะไรที่เราควรรู้บ้าง?
พัฒนาการลูก 6 ปี 6 เดือน
ในพริบตาเดียว ลูกของคุณ ก็มีอายุ 6 ปี 6 เดือนแล้ว อายุที่มากขึ้น ก็เท่ากับ กิจกรรมที่มากขึ้น การเดินทางสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ในช่วงนี้คุณพ่อ คุณแม่ จะเห็นการเปลี่ยนแปลง และ ความน่าตื่นตาตื่นใจของลูกในช่วงนี้มาก
โดยเด็กอายุ 6 ปี 6 เดือนนั้นจะมีพัฒนาการที่โดดเด่นมาก การเติบโตและพัฒนาของเขาจะสามารถสังเกตได้ง่ายมาก ลูกจะเริ่มตัดสินใจที่จะเลือก สิ่งใด สิ่งหนึ่ง ยากขึ้น เช่น ลูกจะคิดเยอะระหว่างการเลือกกินไอศครีม หรือ ขนมเค้ก ในช่วงนี้
ถึงจะดูเลือกยาก เรื่องมาก เลือกกิน แต่จำไว้ว่านี้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการของลูกน้อยในช่วงนี้
ในบทความนี้เราจะสำรวจในแง่มุมเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการโดยรวมของลูกในวัย 6 ปี 6 เดือน จะได้มาดูกันว่าในแง่ทักษะร่างกาย สติปัญญา การพูด และ อาหาร ลูก 6 ปี 6 เดือนจะต้องการอะไรบ้างกันค่ะ
พัฒนาการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว ของเด็กวัย 6 ขวบ 6 เดือน
ลูกในวัย 6 ขวบ 6 เดือน จะสนุกกับกิจกรรมทางกายภาพหลายอย่าง พวกเขาจะชอบออกกำลังกาย ทั้งในรูปแบบที่เล่นเป็นทีมเช่น การเตะบอล หรือ การเล่นคนเดียว เช่นการกระโดดเชือก ลูกน้อยจะกระตือรือร้นที่จะสนุกกับมัน เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยพัฒนาทักษะเคลื่อนไหวของลูกต่อไปในอนาคต
การพัฒนาด้านร่างกายของลูกน้อยก็เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ช่วงนี้ลูกจะสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ด้วยตัวเอง ทั้ง สามารถแปรงฟันได้ และ สามารถทำกิจกรรมด้านสุขอนามัยอื่นๆได้
อย่างไรก็ตามหากคุณสังเกตเห็นว่าลูกในวัยนี้ บ่นถึงความเจ็บปวด ที่เกิดซ้ำๆมันสามารถบ่งบอกได้ถึงปัญหาสุขภาพที่รุนแรง เพราะลูกในวัย 6 ขวบ 6 เดือนสามารถรับรู้ถึงความเจ็บปวดของตัวเองได้แล้ว
น้ำหนักและส่วนสูงของลูกวัย 6 ขวบ 6 เดือน โดยเฉลี่ย
ลูกชายวัย 6 ขวบ 6 เดือน
ส่วนสูง : 118.9 เซนติเมตร
น้ำหนัก : 22.0 กิโลกรัม
ลูกสาววัย 6 ขวบ 6 เดือน
ส่วนสูง : 118.5 เซนติเมตร
น้ำหนัก : 21.6 กิโลกรัม
พัฒนา การเด็ก 6 ขวบ 6 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร มีอะไรที่ เราควร รู้บ้าง?
ร่างกายและการเคลื่อนไหว พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 6 เดือนที่ทำได้
- สามารถกดปุ่มต่างๆได้อย่างเชี่ยวชาญ
- เขียนตัวอักษรตรงบรรทัด
- กระโดดลงบันได้
- กระโดดเชือก
- สามารถตีลังกาได้
- ผูกเชือกรองเท้าได้
- จับลูกบอลขนาดเล็กได้
เคล็ดลับด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว สำหรับเด็ก 6 ขวบ 6 เดือน
- ส่งเสริมให้ลูกทำกิจกรรมที่เขาสนใจจริงๆ หรือ อยู่กับสิ่งที่เขาชอบ
- สอนให้ลูกรู้จักภัยจากไฟ
- ส่งเสริมให้ลูกเรียนว่ายน้ำ
- จัดสรรเวลาฟรีไทม์ให้ลูกได้ตัดสินใจว่าเขาต้องการนำเวลาว่างไปทำอะไร
เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 6 เดือน ไปพบกุมารแพทย์
- หากลูกของคุณประสบปัญหากับการมองเห็นอย่างชัดเจนและสม่ำเสมอ ควรพาลูกไปพบแพทย์
- ไม่สามารถสวมเสื้อผ้า ง่ายๆ ได้เช่นเครื่องแบบนักเรียน
- ลูกกลับมาฉี่รดที่นอนอีกครั้ง หากลูกเคยหยุดฉี่รดที่นอนแล้ว แต่กลับมาฉี่รดที่นอนอีกครั้งควรไปพบแพทย์
- เมื่อลูกมีปัญหาการนอนตอนกลางคืน นอนไม่หลับ
พัฒนา การเด็ก 6 ขวบ 6 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร มีอะไรที่ เราควรรู้บ้าง?
พัฒนาการทางความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ ของเด็กวัย 6 ขวบ 6 เดือน
ในช่วง ที่ลูกอยู่ในช่วงวัย 6 ขวบ 6 เดือน เขามองสิ่งต่างๆได้เพียง ถูก หรือ ผิด แย่ หรือ ดี เพื่อน หรือ ศัตรู ทั้งหมดน้ี เพราะเขายังไม่สามารถมองเห็นตรงกลางได้
คุณพ่อ คุณแม่ จะพบว่า เด็กในวัยนี้จะมีอิสระในทางสติปัญญา และ อารมณ์ ในวัยนี้ จะเห็นการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของลูกโดยการใช้ภาษา ตรรกะ มากกว่า การสังเกต และ ประสบการณ์
การเล่นละคร หรือ แฟนตาซีในวัยนี้จะลดน้อยลงมาก ลูกในวัย 6 ขวบ 6 เดือนจะสนใจในสิ่งที่ “จริง” มากขึ้นและพยายามจะสัมผัสโลก เหมือน พวกเขาเป็นผู้ใหญ่
ความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 6 เดือนที่ทำได้
- ความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับสาเหตุ และ ผลกระทบความสัมพันธ์
- เริ่มมีการจดจำได้ในเรื่องต่างๆ
- สามารถจัดกลุ่มวัตถุตามขนาดรูปร่าง และ สีได้
- แก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์อย่างง่ายได้ เช่น การบวก และ การลบ
- แสดงให้เห็นถึงความอยากรู้เพิ่มขึ้น เกี่ยวกับโลก และคำถามมากมาย
พัฒ นา การ เด็ก 6 ขวบ 6 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง ไร มีอะ ไรที่ เราควร รู้บ้าง?
เคล็ดลับด้านความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ สำหรับเด็ก 6 ขวบ 6 เดือน
- พ่อแม่สามารถตอบคำถามมากมายที่ลูกถามได้ รวมถึงตั้งคำถามเพื่อรกะตุ้นความคิดของลูก
- พาลูกไปเที่ยวสถานที่น่าสนใจ ในสถานที่ใหม่ๆที่ไม่เคยไป โดยมุ้งเน้ไป สถานที่กระตุ้นความอยากรู้ อยากเห็น และ เพิ่มการเรียนรู้ เช่น ห้องสมุด, พิพิธภัณฑ์ แม้แต่การเดินเล่นในสวนสาธรณะก็ช่วยให้ลูกอยากเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ
- ลองให้ลูกเล่นเกมส์ โดยแนวคิดไม่ควรเกี่ยวกับการเอาชนะ แต่ที่สิ่งที่ลูกไปใช้ในอนาคตได้
- อดทนกับลูกน้อย และ ต้องเข้าใจเขา
- ทำความเข้าใจโลกของลูก ตามเงื่อนไขของเขา
- สร้างความมั่นใจของลูกคุณโดยการแสดงให้เห็นว่าคุณอยู่ที่นั่นเสมอไม่ว่าลูกจะทำอะไร
- สอนให้ลูกไม่กลัวความผิดพลาด
- เสนอให้ลูกทดลองสิ่งใหม่ๆ
เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 6 เดือน ไปพบกุมารแพทย์
- เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น ทำร้ายข้าวของและร่างกาย
- แสดงพฤติกรรมวิตกกังวลและซึมเศร้า
- มีปัญหาในการสื่อสารและเล่นกับเด็กคนอื่นๆ
- ไม่สามารถทำตามคำแนะนำง่ายๆได้
- ไม่รู้จักชื่อตัวเองเมื่อถูกเรียก
พัฒนาการทางอารมณ์และสังคม ของเด็กวัย 6 ขวบ 6 เดือน
อารมณ์ของเด็กในอายุ 6 ปี 6 เดือน นั้นสำคัญต่อการพัฒนามาก โดยในวัยนี้ลูกจะโฟกัสกับการเล่นเป็นกลุ่มที่สุด เพราะมันสำคัญต่อการเติบโต และ ความรู้สึกที่มั่นคงของเขา
การรู้สึกถึงความสำเร็จนั้นเป็นสิ่งที่เด็กในวัย 6 ขวบ 6 เดือน เล็งเห็นถึงความสำคัญมาก โดยการเล่นจิ๊กซอว์ หรือ การปลูกต้นไม้ จะเป็นเหมือนกิจกรรมที่ถ้าเขาทำสำเร็จมันจะเหมือนเขาได้รางวัล
นอกจากนี้ยังเป็ฯเรื่องปกติที่ลูกของคุณจะเริ่มแบ่งปันมากขึ้น และในช่วงนี้ลูกจะมีการเจรจาต่อรอง และ ไม่ลังเล ที่จะร่วมมือช่วยเหลือปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นคนในหมู่มาก
อารมณ์และสังคม พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 6 เดือนที่ทำได้
- ให้ความสำคัญกับการยอมรับจากเพื่อน
- เรียนรู้ที่จะแบ่งปัน
- ให้ความสนใจกับมิตรภาพและากรทำงานเป็นทีม
- ต้องการที่จะได้รับการยอมรับจากเพื่อน
- โหยหาความสำเร็จ
- เจรจาต่อรองมากกว่าที่เอาแต่ใจเกี่ยวกับความต้องการ
- มีแนวโน้มที่เริ่มเปรียบเทียบตัวเองกับคนรอบข้าง
เคล็ดลับด้านอารมณ์และสังคม สำหรับเด็ก 6 ขวบ 6 เดือน
- แนะนำกิจกรรมที่จะพาลูกไปเข้าสังคมเช่น เข้าค่ายลูกเสือ
- คอยชมลูกด้วยหากลูกทำสิ่งต่างๆได้ดี
- ส่งเสริมให้ลูกมีความมั่นใจในตัวเองและเสริมความภาคภูมิใจในตัวเอง
- สนับสนุนความนับถือตัวเองให้กับลูก
- พูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกของคุณกับลูกเพื่อช่วยให้เข้าใจกันมากขึ้น
เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 6 เดือน ไปพบกุมารแพทย์
- เมื่อลูกของคุณขี้อายหรือเงียบมากหลังจากกลับมาจากโรงเรียน
- ลูกมีการแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและรุนแรง
พัฒ นา การเด็ก 6 ขวบ 6 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร มีอะไรที่ เราควร รู้บ้าง?
พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ของเด็กวัย 6 ขวบ 6 เดือน
ในวัย 6 ปี 6 เดือน ลูกจะกระโดดเข้าไปสู่โลกใบใหม่ของการเล่าเรื่องด้วยหนังสือและการสร้างผจญภัยจากหนังสือ
จินตนาการของลูกจะถูกจุดประกายได้โดยจากการอ่าน และ การแบ่งปันความคิดกับเพื่อนๆของลูกคุณ พวกเขาจะสามารถแบ่งปันเรื่องที่อ่านให้กับคนรอบข้างได้ดีขึ้น
นี่เป็นช่วงเวลาที่ดีที่พ่อแม่ หรือ ผู้ปกครองจะแนะนำสื่อการอ่านที่หลากหลาย อาจจะพาลูกไปห้องสมุด เพื่อได้ใช้เวลาที่มีคุณภาพร่วมกัน ร่วมถึงให้ลูกออกห่างจากจอด้วย
ภาษาและการสื่อสาร พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 6 เดือนที่ทำได้
- พูดด้วยประที่เรียบง่าย แต่สมบูรณ์
- สามารถพูดถึงทักษะหรือพฤติกรรมบางอย่างได้
- มีการโต้เถียง เจรจา เล็กน้อย
- สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ดีขึ้น
- เห็นว่าบางคำมีมากกว่าหนึ่งความหมาย
- สลับตัวอักษรได้บ่อยขึ้น
พัฒ นา การเด็ก 6 ขวบ 6 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง ไร มีอะไรที่ เราควร รู้บ้าง?
เคล็ดลับสำหรับเด็ก 6 ขวบ 6 เดือน
- ทำความรู้จักกับครูของลูก
- สนับสนุนในเรื่องการอ่าน
- มีส่วนร่วมในการทำการบ้านของลูก ช่วยในส่วนที่จำเป็นเท่านั้น
- สอนให้ลูกพัฒนาสมาธิและความสนใจขอลูก
- ชื่นชมเมื่อลูกพูดคำศัพท์ใหม่ๆ
- คุยกับลูกเรื่องสัตว์เลี้ยงหรือกีฬาที่ลูกชอบ เพราะ จะทำให้ลูกถูกกระตุ้น ให้ฟังและ ตั้งคำถาม
เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 6 เดือน ไปพบกุมารแพทย์
- มีปัญหาในการอ่านคำสั้น หรือ ประโยคง่ายๆ
- พูดกระตุกกระตัก
สุขภาพและสารอาหาร
ลูกในวัย 6 ปี 6 เดือน จะมีการเติบโตที่เร็วมาก ทั้งในเรื่อง สติปัญญา อารมณ์ ร่างกาย และ ต้องการพลังงานมาก ในการใช้พลังงานทั้งวัน สิ่งสำคัญ ลูกต้องได้รับอาหารที่เหมาะสม แร่ธาตุ คือ สิ่งที่เพียงพอในแต่ละวัน
แนวทางการบริโภคอาหารที่แนะนำสำหรักลูกในวัยนี้คือทานอาหาร อย่างน้อย 1,200 แคลอรี่ต่อัน นับรวมกลุ่มอาหารที่หลากหลาย เช่น นม โปรตีน ผัก และ ผลไม้
ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเด็กวัย 6 ขวบ 6 เดือน นั้นต้องการอาหารอยู่ที่
เด็กผู้ชายต้องการ 1,796 กิโลแคลอรี่ ต่อวัน
เด็กผู้หญิงต้องการ 1,686 กิโลแคลอรี่ ต่อวัน
พัฒ นา การเด็ก 6 ขวบ 6 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง ไร มีอะ ไรที่ เราควร รู้บ้าง?
เคล็ดลับเรื่องอาหารและสุขภาพของเด็ก 6 ปี 6 เดือน
- ในวันไหนที่มีอาหารประเภทเนื้อ และ โปรตีน แนะนำให้จับคู่กับอาหารที่มีวิตามินซี เพื่อให้ร่างกายลูกสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น
- จำกัดขนาดอาหารของลูกให้เข้ากับน้ำหนักตัว
- ปล่อยให้ลูกได้ทานขนมบ้าง
- โยเกิร์ตกรีกไขมันต่ำ
- เนื้อสันในหมูหรือไก่หั่นเป็นชิ้น
- เนยถั่วและแซนวิชเยลลี่
- พาสต้ากับลูกชิ้น
- เสิร์ฟโยเกิร์ต คู่กับผลไม้
- ให้ลูกได้ลองช่วยพ่อแม่เข้าครัวเพื่อเสริมทักษะ โดยเป็นทักษะง่ายๆ เช่น ล้างผัก หรือ ผลไม้
อาการป่วยของเด็ก 6 ขวบ 6 เดือน
ถ้าลูกมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ความสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ควรพาลูกไปปรึกษากุมารแพทย์ นอกจากนี้ อาการทางผิวหนังอื่น ๆ ก็เป็นจุดสังเกตให้พ่อแม่พาลูกไปพบแพทย์ได้เช่นกัน อาทิ ลูกมีผื่นคัน ผื่นแดง มีร่องรอยฟกช้ำ ปูดบวม ช้ำเขียว
ในหลาย ๆ โรงเรียน จะพูดคุยกับพ่อแม่เรื่องการฉีดวัคซีนให้กับลูก บางโรงเรียนจะจัดให้มีการฉีดวัคซีนภายในโรงเรียน แต่ถ้าไม่มี ลองตรวจเช็คได้ที่ ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทยปกติ พ.ศ. 2562
ที่มา: sg.theasianparent
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี
พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 5 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร มีอะไรที่ควรจะรู้บ้าง
10 แอพเรียนคณิตศาสตร์ที่ดีที่สุด สำหรับเด็กวัยอนุบาล-ประถม
จะรู้ได้ยังไงว่าโรงเรียนนี้ดี? คำแนะนำช่วยเลือกโรงเรียนให้ลูก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!