X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 2 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

บทความ 10 นาที
พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 2 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดีพัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 2 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการลูกวัย 6 ขวบ 2 เดือนมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 2 เดือน มีพัฒนาการอย่างไร ลูกในวัย 6 ปี 2 เดือน เติบโตแค่ไหน... เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว ตอนนี้ลูกรักก็เติบโตถึงวัย 6 ขวบ 2 เดือนแล้ว ช่วงวัยนี้ จะมีพัฒนาการสำคัญ ๆ อย่างไรบ้าง เช็คเลย!

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 2 เดือน เป็นอย่างไร ลูกเติบโตสมวัยหรือไม่

ลูกน้อยตัวเล็ก ๆ ในวันก่อน วันนี้เติบโตขึ้นมากแล้ว เด็กในวัย 6 ขวบ 2 เดือน เริ่มเรียนรู้ชีวิตในวัยประถมศึกษา ตอนเด็ก ๆ บางคนมีนิสัยเขินอาย แต่โตขึ้นมาช่างพูดช่างเจรจา ชอบทำความรู้จักคนใหม่ ๆ อยากมีเพื่อนใหม่

พฤติกรรมและนิสัยของลูกก็เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน เริ่มอยากมีอิสระ มีการแสดงความคิด ความฉลาด แสดงอารมณ์มากขึ้น และแน่นอนว่า ลูกจะอยากทำอะไรด้วยตัวเอง ปฏิเสธพ่อแม่ที่ยื่นมือมาให้ความช่วยเหลือ อย่างไรก็ตาม ในบทความนี้จะบอกถึงพัฒนาการสำคัญของเด็กในวัยนี้ แต่ถ้าลูกมีพัฒนาการที่ช้ากว่า หรือยังทำไม่ได้ ก็ควรให้เวลาลูกสักหน่อย เพราะเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน หากคุณพ่อคุณแม่กังวลมาก ๆ แนะนำให้ปรึกษากุมารแพทย์

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 2 เดือน

 

พัฒนาการด้านร่างกาย และการเคลื่อนไหวของเด็กวัย 6 ขวบ 2 เดือน

เด็กในวัย 6 ปี 2 เดือน สามารถใช้ทักษะพื้นฐานทางการเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว ทั้งการกระโดด ขว้างปา เตะ และจับ ทำให้เล่นกีฬาได้อย่างสบาย ๆ ดังนั้น พ่อแม่ควรสนับสนุนให้ลูกทำกิจกรรมนอกบ้าน ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเคลื่อนไหว

วัยนี้เด็กจะเริ่มฉายแววความชอบและความสามารถด้านกีฬา เช่น การเล่นฟุตบอล และการเล่นบาสเกตบอล ซึ่งกีฬาต่าง ๆ จะสอนทักษะทางด้านสังคม อย่างการเล่นเป็นทีมเวิร์ค ภาวะผู้นำ และระเบียบวินัย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ลูกจะต้องเรียนรู้ในโรงเรียน ทั้งยังเป็นพื้นฐานสำคัญของพัฒนาการในอนาคตอีกด้วย

นอกเหนือจากนั้น การทำกิจกรรม เล่นกีฬา หรือออกกำลังกาย ยังดีต่อพัฒนาการทางสมอง ช่วยพัฒนาการทำงานของหน่วยความจำ และช่วยเสริมทักษะพัฒนากล้ามเนื้ออีกด้วย

น้ำหนักและส่วนสูงของลูกวัย 6 ขวบ 2 เดือน โดยเฉลี่ย

ลูกชายวัย 6 ขวบ 2 เดือน

ส่วนสูง : 116.73 เซนติเมตร

น้ำหนัก : 21.17 กิโลกรัม

ลูกสาววัย 6 ขวบ 2 เดือน

ส่วนสูง : 116.2 เซนติเมตร

น้ำหนัก : 20.7 กิโลกรัม

พัฒนาการทางด้านร่างกาย และการเคลื่อนไหวที่เด็ก 6 ขวบ 2 เดือนสามารถทำได้

  • ใช้ทักษะทางร่างกายขั้นพื้นฐานได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่ว่าจะเป็น การกระโดด ข้างปาลูกบอล เตะบอล หรือจับลูกบอล
  • ฝึกว่ายน้ำหรือเรียนว่ายน้ำได้แล้ว
  • อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ทำงานประสานกันได้ดีขึ้น ทรงตัวได้ดี
  • ยืนกระต่ายขาเดียวได้นานกว่า 9 นาที
  • ขว้างปาและจับลูกบอลเล็ก ๆ ได้คล่อง
  • จดจำ เข้าใจจังหวะ และท่วงทำนองของดนตรี สามารถโบกไม้โบกมือ หรือโยกตัวตามจังหวะได้

เคล็ดลับด้านร่างกาย และการเคลื่อนไหว สำหรับเด็ก 6 ขวบ 2 เดือน

  • ส่งเสริมให้ลูกทำกิจกรรมนอกบ้าน หรือพาลูกไปเล่นกีฬา
  • ในแต่ละวัน ลูกควรใช้เวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ในการทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย
  • ลูกต้องเรียนรู้ในการวอร์มร่างกาย ยืด เหยียด ก่อนออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา
  • สอนให้ลูกรู้เรื่องโภชนาการและสารอาหารสำคัญ ในระหว่างที่เดินตลาด หรือไปช้อปปิ้งตามซุปเปอร์มาร์เก็ต
  • จำกัดเวลาในการเล่นมือถือ แท็ปเล็ต และคอมพิวเตอร์ ไม่ให้เกิน 1-2 ชั่วโมงต่อวัน

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 2 เดือน ไปพบกุมารแพทย์

  • หากร่างกายลูกมีปัญหาด้านการทำงานร่วมกันระหว่างมือกับตา หรือทักษะการพัฒนากล้ามเนื้อ ไม่เหมาะสมกับวัย
  • ลูกไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้นได้ เช่น ลูกยังใส่ถุงเท้า รองเท้า เองไม่ได้
  • เมื่อลูกสูญเสียทักษะบางอย่างที่ลูกเคยทำได้

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 2 เดือน

พัฒนาการทางความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ ของเด็กวัย 6 ขวบ 2 เดือน

ลูกน้อยวัย 6 ปี 2 เดือน มีการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและสมองอย่างรวดเร็ว ได้พัฒนาทักษะทางจิตใจ และเรียนรู้เรื่องราวใหม่ ๆ ในทุกวัน สำหรับความสามารถทางการเรียนรู้ของลูก ยังได้เปลี่ยนจากการสังเกตในวัยเยาว์ เป็นการมีประสบการณ์ เพราะลูกได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เจ้าหนูน้อยจะพูดคุย ช่างซักช่างถามมากขึ้นกว่าตอนเป็นเด็ก ลูกจะสังเกตบรรยากาศรอบตัวเสมอ และมักจะถามโพล่งออกมาบ่อย ๆ เมื่อมองเห็นบางอย่าง ได้ยินบางเรื่อง หรือมีประสบการณ์ในบางสิ่ง ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครอง ควรอดทนในการตอบคำถามของลูกน้อยที่พรั่งพรูออกมาอย่างใจเย็น และคอยบอกตัวเองเอาไว้ว่า คำถามของลูก เป็นวิธีที่ลูกจะได้เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ของโลกใบนี้

อีกพัฒนาการสำคัญอย่างหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะประหลาดใจคือ ลูกน้อยจะอยากแก้ไขปัญหาคนเดียว ลองทำอะไรคนเดียว ทำกิจกรรมคนเดียว เพราะลูกได้เรียนรู้และฝึกทักษะต่าง ๆ ในโรงเรียน ซึ่งลูกต้องแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพียงลำพังโดยไม่มีพ่อแม่อยู่ใกล้ ๆ

ความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 2 เดือนที่ทำได้

  • เรียนรู้การตั้งคำถามที่สำคัญ ๆ
  • มีความสนใจในสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น
  • รับรู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด ได้ดียิ่งขึ้น
  • แสดงความสนใจใคร่รู้สิ่งต่าง ๆ สังเกตสิ่งรอบตัวมากขึ้น
  • สามารถรับมือกับงานที่ซับซ้อนมากขึ้น หรือทำการบ้านที่ยากขึ้นได้ดี
  • เพลิดเพลินกับความท้าทายในเกมต่าง ๆ และปริศนาคำทาย

เคล็ดลับด้านความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ สำหรับเด็ก 6 ขวบ 2 เดือน

  • พ่อแม่ผู้ปกครอง ควรใจเย็น ๆ และตอบคำถามของลูก แม้ว่าลูกจะถามทุกอย่าง แทบทุกชั่วโมง
  • ฝึกให้ลูกทำโจทย์คณิตศาสตร์ หรือชวนลูกนับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เป็นการฝึกการนับเลข
  • หามุมเงียบ ๆ ให้ลูกได้ทำการบ้าน
  • อย่าบังคับให้ลูกเรียนมากเกินไป
  • ส่งเสริมให้ลูกได้เล่นอย่างสร้างสรรค์
  • พาลูกไปดูสถานที่ที่น่าสนใจอย่างพิพิธภัณฑ์ หรือพาลูกไปทำกิจกรรมสนุก ๆ นอกห้องเรียน

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 2 เดือน ไปพบกุมารแพทย์

  • ลูกปฏิเสธที่จะช่วยเหลือตัวเองอย่างง่าย ๆ เช่น การแต่งตัวเอง
  • หากลูกยังจำชื่อของตัวเองไม่ได้
  • ถ้าลูกไม่ชอบพูดคุยกับคนอื่น ไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์กับใคร
  • นับเลข 1-10 ไม่ได้
  • ลูกยังพูดคำยาว ๆ ไม่ได้

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 2 เดือน

 

พัฒนาการทางอารมณ์ และสังคม ของเด็กวัย 6 ขวบ 2 เดือน

ลูกในวัย 6 ขวบ 2 เดือน ชอบที่จะสร้างเพื่อนใหม่ และเริ่มเข้าใจเรื่องความสัมพันธ์มากขึ้น รู้จักวิธีดูแลความสัมพันธ์ของตัวเองและเพื่อน ๆ ทั้งยังรู้เรื่องคุณค่าของการแบ่งปันและการแสดงความขอบคุณ ลูกยังชอบที่จะแบ่งปันของเล่นให้กับเพื่อนเล่น หรือแบ่งขนมให้กับคนในครอบครัวอีกด้วย นอกจากนี้ ลูกยังแสดงความต้องการของตัวเองได้อย่างชัดเจนขึ้น ดีใจ เศร้า เสียใจ ก็แสดงออกมาได้ทันที โดยที่พ่อแม่ไม่ต้องเดา

พัฒนาการด้านอารมณ์ และสังคมเด็ก 6 ขวบ 2 เดือนที่ทำได้

  • ชอบที่จะแสดงออกทางความคิดและความรู้สึกออกมา
  • กระตือรือร้นในการทำความรู้จักเพื่อนใหม่ ๆ
  • เข้าใจถึงคุณค่าของการเป็นทีมเวิร์ค หรือทำงานเป็นทีม
  • สนใจเรื่องมิตรภาพและความสัมพันธ์
  • เมื่อพบเจอคนแปลกหน้า อาจมีอาการลังเลหรือกลัวเล็กน้อย

เคล็ดลับด้านอารมณ์และสังคม สำหรับเด็ก 6 ขวบ 2 เดือน

  • ถามลูกทุกวันว่าวันนี้เป็นอย่างไร เพื่อเช็คดูว่าลูกรู้สึกอะไรอยู่
  • กระตุ้นให้ลูกแสดงความรู้สึกออกมาทางคำพูด
  • อธิบายให้ลูกเข้าใจเรื่องการกลั่นแกล้งกัน
  • สอนเรื่องความเคารพ การแสดงความขอบคุณ และกตัญญู
  • ชื่นชมพฤติกรรมที่ดีของลูก และชมเชยเวลาที่ลูกทำดี
  • บอกให้ลูกรู้จักระวังตัวกับคนแปลกหน้า และบอกพ่อแม่เวลาที่มีคนมาสัมผัสร่างกาย แล้วทำให้ลูกรู้สึกไม่สบายใจ
  • เป็นต้นแบบที่ดีเรื่องมารยาท เพื่อสอนให้ลูกรู้จักคำว่า มารยาท

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 2 เดือน ไปพบกุมารแพทย์

  • เมื่อลูกไม่อยากอยู่ห่างพ่อแม่เลย
  • ลูกปฏิเสธที่จะเล่นหรือพูดคุยกับเพื่อนในวัยเดียวกัน
  • ไม่อยากแบ่งปันอะไรให้ใครเลย
  • ถ้าลูกขี้อายมาก ๆ หรือแสดงอาการก้าวร้าวออกมา

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 2 เดือน

 

พัฒนาการด้านภาษา และการสื่อสาร ของเด็กวัย 6 ขวบ 2 เดือน

เด็กในวัยนี้จะสามารถสื่อสารความต้องการออกมาได้แล้ว มีความมั่นใจในการพูดคุย ใช้คำศัพท์ใหม่ ๆ และเรียบเรียงประโยคได้ดี คำบางคำที่เคยออกเสียงไม่ได้ ก็จะพูดได้อย่างคล่องแคล่ว ทั้งยังแสดงออกถึงความสนใจ และความกระหายใคร่รู้ในเรื่องการเรียน การอ่านและการเขียน

พัฒนาการด้านภาษา และการสื่อสาร เด็ก 6 ขวบ 2 เดือนที่ทำได้

  • มีทักษะในการใช้คำศัพท์ใหม่ ๆ ที่แสดงออกถึงสิ่งที่ตัวเองสนใจ ใช้คำสะท้อนความคิด แสดงความรู้สึก และอธิบายลงลึกในรายละเอียดบางอย่างได้
  • ออกเสียงตามวรรณยุกต์ได้แล้ว พูดคำต่าง ๆ ชัดขึ้นอีกด้วย
  • เรียบเรียงประโยคได้ดี
  • เข้าใจเรื่องการใช้คำ
  • ชอบถามถึงความหมายของคำใหม่ ๆ หรือประโยคที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน

เคล็ดลับสำหรับเด็ก 6 ขวบ 2 เดือน

  • พูดกับลูกให้ช้าลง
  • เปิดเพลงให้ลูกได้เรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ และเสริมสร้างทักษะทางด้านภาษา
  • เปลี่ยนคำถามในทุกวัน เพื่อให้ลูกฝึกอธิบาย ใช้คำศัพท์ และสร้างประโยค การกระตุ้นให้ลูกพูดด้วยการตั้งคำถาม ยังช่วยให้พ่อแม่ได้รู้เรื่องลูกมากขึ้นอีกด้วย
  • สอนคำศัพท์ใหม่ ๆ ให้ลูกเสมอเมื่อมีโอกาส และอย่าลืมอธิบายถึงความหมายของคำนั้น
  • ตั้งคำถามบ่อย ๆ เพื่อให้ลูกได้พัฒนาทักษะการใช้ภาษา

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 2 เดือน ไปพบกุมารแพทย์

  • แสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่ชอบการอ่านหนังสือ
  • จดจำเรื่องทิศทางง่าย ๆ ไม่ได้ เดินตามป้ายบอกทางไม่ถูก
  • พูดตะกุกตะกักหรือพูดติดอ่าง
  • ถามซ้ำ ๆ ในเรื่องเดิม ทั้งที่พ่อแม่บอกไปแล้วหลายครั้ง
  • จดจำสิ่งที่บอกไปไม่ได้เลย ทั้งที่พูดด้วยคำง่าย ๆ หรือประโยคสั้น ๆ

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 2 เดือน

 

สุขภาพและสารอาหาร

ลูกในวัย 6 ปี 2 เดือน จะรู้ว่าตัวเองชอบกินอะไร ไม่ชอบกินอะไร ถ้าพ่อแม่บังคับให้ลูกกิน ลูกก็จะต่อต้านอย่างชัดเจน ไม่เหมือนกับตอนเป็นเด็ก ๆ แต่พ่อแม่ก็ห้ามละเลยที่จะทำอาหารที่ดีมีประโยชน์ เพื่อให้ลูกมีการเจริญเติบโตอย่างสมวัย แข็งแรง ซึ่งปริมาณแคลอรี่ ที่ควรได้รับต่อวัน อยู่ราว ๆ 1,200 ถึง 2,000 แคลอรี่ ขึ้นอยู่กับกิจกรรมต่าง ๆ ที่ลูกทำในแต่ละวันว่ามากน้อยอย่างไร

สำหรับเด็กที่กำลังเจริญเติบโต ควรได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน ลูกควรดื่มนม และได้รับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ในปริมาณที่เหมาะสม ผัก ผลไม้ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ลูกต้องบริโภคให้ได้ทุกวัน ร่างกายจะได้รับวิตามินที่หลากหลาย ทั้งยังช่วยเรื่องระบบขับถ่ายของลูกน้อยอีกด้วย

ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเด็กวัย 6 ขวบ 2 เดือน นั้นต้องการอาหารอยู่ที่

เด็กผู้ชายต้องการ 1,766 กิโลแคลอรี่  ต่อวัน

เด็กผู้หญิงต้องการ 1,657 กิโลแคลอรี่ ต่อวัน

บทความจากพันธมิตร
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก

เคล็ดลับเรื่องอาหารและสุขภาพของเด็ก 6 ปี 2 เดือน

  • พ่อแม่ควรหมุนเวียนเมนูใหม่ ๆ ให้ลูกได้ลิ้มลอง จะช่วยให้เด็กไม่เบื่ออาหาร
  • ควรมีเวลารับประทานอาหารที่แน่นอน
  • ลูกควรรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรให้ลูกทานอาหารมากเกินไป
  • ในบ้านไม่ควรมีขนม ของหวาน น้ำอัดลม น้ำหวาน มากเกินไป
  • ถ้าอยากให้ลูกเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ต้องเริ่มต้นจากที่บ้าน พ่อแม่ต้องเป็นต้นแบบที่ดีเสียก่อน

อาการป่วยของเด็ก 6 ขวบ 2 เดือน

ถ้าลูกมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ความสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ควรพาลูกไปปรึกษากุมารแพทย์ นอกจากนี้ อาการทางผิวหนังอื่น ๆ ก็เป็นจุดสังเกตให้พ่อแม่พาลูกไปพบแพทย์ได้เช่นกัน อาทิ ลูกมีผื่นคัน ผื่นแดง มีร่องรอยฟกช้ำ ปูดบวม ช้ำเขียว

ในหลาย ๆ โรงเรียน จะพูดคุยกับพ่อแม่เรื่องการฉีดวัคซีนให้กับลูก บางโรงเรียนจะจัดให้มีการฉีดวัคซีนภายในโรงเรียน แต่ถ้าไม่มี ลองตรวจเช็คได้ที่ ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทยปกติ พ.ศ. 2562

 

ที่มา : sg.theasianparent

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 1 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

10 แอพเรียนคณิตศาสตร์ที่ดีที่สุด สำหรับเด็กวัยอนุบาล-ประถม

จะรู้ได้ยังไงว่าโรงเรียนนี้ดี? คำแนะนำช่วยเลือกโรงเรียนให้ลูก

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 2 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี
แชร์ :
  • พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 1 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

    พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 1 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

  • พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 3 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

    พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 3 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

  • แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

    แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

app info
get app banner
  • พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 1 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

    พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 1 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

  • พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 3 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

    พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 3 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

  • แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

    แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ