ปัญหาเรื่องการรังแกกันของเด็กที่โรงเรียนหรือแม้แต่กลุ่มเพื่อนเล่นแถวบ้านก็ตาม อย่าลืมว่าปัญหาการรังแกกันของเด็กนั้น นอกจากส่งผลต่อร่ากายที่อาจถูกทำร้าย ไม่เพียงเท่านั้นยังส่งผลลึกถึงสภาพจิตใจความหวาดกลัว ความกังวล จนเด็กบางคนไม่อยากไปโรงเรียน ไม่อยากเข้ากลุ่ม ไม่อยากเข้าร่วมกิจกรรม หนักสุดถึงกับเก็บเนื้อเก็บตัวซึมเศร้าไปก็มี แบบนี้ปล่อยไว้ไม่ดีแน่ ลูกถูกเพื่อนรังแก เราในฐานะพ่อแม่ต้องรีบแก้ไขให้ถูกวิธีนะคะ
ลูกถูกเพื่อนรังแก พ่อแม่ควรแนะนำอย่างไร
1. พูดคุยกับลูกถึงเรื่องที่โรงเรียน
บางครั้งลูกอาจรู้สึกกลัว อายหรือเสียหน้าเมื่อถูกเพื่อนรังแก จึงไม่กล้าบอกเรื่องที่เกิดขึ้นให้คนอื่นรู้ ดังนั้น พ่อแม่จึงควรคุยกับลูก ก่อนที่เรื่องจะบานปลายไปมากกว่านี้ แสดงให้ลูกเห็นว่า พ่อแม่เป็นที่พึ่งพาได้และพร้อมที่จะแก้ปัญหาที่เขาเผชิญได้นี่คือสิ่งที่ทำได้ลำดับแรกสุดและควรทำอย่างยิ่งค่ะ
2. ฝึกความมั่นใจในตัวเอง
ฝึกให้ลูกกล้าพูด หรือลองแก้ปัญหาเบื้องต้นเองก่อนหากเป็นความขัดแย้งเพียงเล็กน้อย
3. หลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยง
เพราะการรังแกมักจะเกิดขึ้นในที่ที่ลับตาผู้คนหรือไม่อยู่ในสายตาของผู้ใหญ่ เช่น ห้องน้ำ ใต้อาคารเรียน หลังอาหารเรียน เป็นต้น ดังนั้นจึงควรสอนให้ลูกหลีกเลี่ยงสถานที่เหล่านี้ เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อ
4. ทำความรู้จักกับเพื่อนของลูก
วิธีนี้ถือว่าดีไม่น้อยเลยค่ะ หากสามารถทำได้นะคะ การเป็นเพื่อนกับเพื่อนลูก จะทำให้เราในฐานะพ่อแม่เป็นที่ไว้วางใจของเพื่อนลูก อีกทั้งการรู้จักเพื่อน ๆ ของลูก จะเป็นผลดีในการเข้าใจปัญหาของลูกเมื่อเขาถูกรังแก
ลูกถูกเพื่อนรังแก
5. สอนให้กล้ามีปากมีเสียง
วิธีนี้ไม่ใช่ให้เป็นการฝึกเด็กมีนิสัยที่ก้าวร้าว แต่เป็นการสอนให้เด็กรู้จักปกป้องตัวเอง กล้าที่จะห้ามหรือพูดกับเด็กที่มารังแกเขา
วิธีนี้ไม่ใช่สอนลูกให้เป็นเด็กไม่ดี แต่ให้รู้จักตั้งรับและฝึกควากล้าหาญในทางที่ถูกและควรจะเป็น หากเราทำตัวอ่อนแอ เอาแต่ร้องไห้ หากถูกเพื่อนแกล้ง แบบนี้เพื่อนที่แกล้งมักจะได้ใจ ต้องเรียกว่า สอนให้ลูกรู้จักปกป้องตัวเองไม่ให้ถูกรังแกฝ่ายเดียว
6. ให้เด็กกล้าตัดสินใจเมื่อถูกรังแก
เด็กที่ถูกรังแก ก็มักจะโดนรังแกอยู่เป็นประจำ ดังนั้นการฝึกให้เด็กกล้าตัดสินใจ เมื่อถูกรังแกจะทำให้ลูกได้เรียนรู้เองว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้เขาเลิกโดนรังแก
7. เชื่อใจลูก
เน้นว่าเชื่อใจ ไม่ใช่เข้าข้างนะคะ การเชื่อใจลูกอย่างมีเหตุผลถือเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ควรมีให้กับลูกเพราะการเชื่อใจลูกจะเป็นวิธีที่ทำให้ลูกเปิดใจ กล้าระบายปัญหาที่เกิดขึ้นให้ฟังมากยิ่งขึ้น
8. สอนลูกให้รู้จักระวังตัวเอง
เด็กส่วนใหญ่ไม่อาจแก้ปัญหาการโดนรังแกได้ด้วยตัวเอง และมักจะต้องการความช่วยเหลืออยู่เสมอ ดังนั้น จึงควรสอนลูกให้ได้รู้จักระวังตัวเอง เช่น หากลูกต้องไปไหนมาไหนคนเดียว ก็ควรสอนให้เขารู้จักวิธีป้องกันการโดนรังแก ด้วยการหาเพื่อนสักคนให้ไปด้วยกัน
9. อย่าสัญญากับลูก
การแก้ปัญหาการถูกรังแก ควรได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนด้วย จึงไม่ควรสัญญาที่ว่ารักษาความลับ เกี่ยวเรื่องที่ลูกโดนรังแก ให้ลูกได้กล้าเผชิญกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีพ่อจ๋าแม่จ๋าคอยเป็นที่ปรึกษาอยู่เคียงข้างลูกนะคะ
10. ให้ขอความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น
บอกลูกให้เดินไปขอคำปรึกษาในยามที่เกิดปัญหาหรือต้องการคำปรึกษาทั้งกับเพื่อน ๆ หรือครู
11. ฝึกให้มีความใจเย็น
เด็กที่มีนิสัยเกเรมักจะแกล้งรังแกเด็กที่แสดงอาการกลัว หรืออ่อนแออยู่เป็นประจำ ดังนั้น จึงควรสอนให้ลูกพยายามที่จะซ่อนความรู้สึกกลัวหรืออ่อนแอ ไม่ให้เด็กเกเรเห็นหรือรับรู้ เพื่อป้องกันการโดนรังแก อย่ารั้งรอหรือเพิกเฉยกับปัญหาลูกถูกรังแก เราสามารถช่วยเหลือลูกได้ เริ่มตั้งแต่สอนให้ลูกมีความเชื่อมันในตนเอง รู้จักระมัดระวังตัวและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การร้องขอวามช่วยเหลือจากผู้อื่น มันเป็นความจริงและสำคัญอย่างยิ่ง เพราะปัญหาการรังแก กลั่นแกล้งนับวันจะทวีความ ซับซ้อน และอันตรายมากขึ้น โดยเฉพาะลูกในช่วงวัยรุ่นอย่างน้อย การดูแลลูกผ่านการสอนให้ดูแลตนเอง จะช่วยให้ลูกมีแนวทางเมื่อเขาเจอปัญหาเพื่อรังแกได้
ที่มา : เพจ taamkru
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
พ่อแม่หัวร้อน เขกกะโหลก ตบหัว รังแกลูกเหมือนในละครดราม่าอ่านไว้!!
cyberbullying การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ สู่ปัญหาการ “ฆ่าตัวตาย” ของเด็ก
วิธีป้องกันไม่ให้ลูกโดนเพื่อนแกล้ง ในวัยอนุบาล
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!