X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
Product Guide
เข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การนอนของลูกนั้นสำคัญไฉน

บทความ 3 นาที
การนอนของลูกนั้นสำคัญไฉน

คงยากที่จะปฏิเสธว่าภาพลูกน้อยนอนหลับปุ๋ยอย่างแสนสุขและสงบสบายยามค่ำคืนนั้นเป็นสิ่งล้ำค่าในดวงใจของพ่อแม่ทุกคน แต่ถ้าลูกนอนดิ้นกระสับกระส่าย กรนเสียงดังหรือละเมอยามหลับล่ะ การนอนน้อยจะส่งผลต่อลูกในเชิงสังคม อารมณ์และการเรียนรู้อย่างไร

การนอนของลูก ลูก นอน กระสับกระส่าย<!--first-para-->

ลูก นอน กระสับกระส่าย

 

คำถามเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของหัวข้อซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ได้หารือกันในการประชุม Sleep 2015 ที่ซีแอตเติลของสหรัฐฯ เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยเนื้อหาการประชุมเน้นเรื่องความสำคัญของการนอนของเด็ก และเห็นด้วยกับผลการวิจัยชิ้นล่าสุดที่กล่าวถึงผลเสียของการนอนน้อยที่มีต่อเด็ก

 

ยามนอนหลับคือเวลาที่สมองชำระล้างตัวเอง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญยิ่งยวดต่อเด็ก

การค้นพบล่าสุดในวงการประสาทวิทยาศาสตร์ชี้ว่าการนอนหลับเป็นมากกว่าแค่การพักผ่อนฟื้นฟูร่างกาย นักวิทยาศาสตร์ทราบดีอยู่แล้วว่าการนอนมีความสำคัญอย่างเอกอุต่อพัฒนาการการทำงานของสมอง เช่น การเรียนรู้ข้อมูลใหม่ๆ และการเก็บรักษาความทรงจำระยะยาว แต่ในงานวิจัยกับสัตว์เมื่อไม่นานมานี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์พบว่าขณะหลับ สมองจะชำระล้างตัวเองเพื่อกำจัดสิ่งปฏิกูลผ่านเครือข่ายช่องทางที่คล้ายคลึงกับระบบประปา ซึ่ง “เปิดระบาย” เต็มพิกัดขณะที่เรานอนหลับ นักวิจัยเชื่อว่ากระบวนการทำความสะอาดนี้ใช้พลังงานสูง สมองจึงคอยให้ถึงเวลานอนก่อนจึงจะลงมือกำจัดขยะของตน

งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งก็สนับสนุนความคิดที่ว่าการนอนตอนกลางคืนอย่างเต็มอิ่มเป็นสิ่งจำเป็นต่อเด็กๆ เนื่องจากฮอร์โมนเจริญเติบโตซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อจะหลั่งออกมาขณะที่เด็กหลับ ดร.ชาลินี พารุติ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการนอนในเด็กกล่าวว่า ร่างกายของเด็กจะผลิตฮอร์โมนเจริญเติบโตในตอนกลางคืนเป็นหลัก โดยเฉพาะช่วงเที่ยงคืนถึงหกโมงเช้า ดังนั้นการให้เด็กได้หลับสนิทในช่วงนี้จึงสำคัญอย่างยิ่ง

ทั้งนี้ The National Sleep Foundation ของสหรัฐฯ ได้กำหนดแนวทางไว้ว่าเด็กก่อนวัยเรียนควรนอนวันละ 10-13 ชั่วโมง เด็กอายุหกถึงสิบสามปีควรนอนวันละ 9-11 ชั่วโมง และวัยรุ่นควรนอนวันละ 8-10 ชั่วโมง

 

การอดนอนอาจก่อให้เกิดอาการคล้ายสมาธิสั้น โรคอ้วนและปัญหาทางพฤติกรรม

การนอนหลับไม่เพียงพออาจนำไปสู่ข้อวินิจฉัยผิดพลาดว่าเป็นโรคสมาธิสั้นได้ ดร.พารุติระบุว่า การอดนอนอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ ทำให้เด็กมีสมาธิสั้นลงจนอาจถูกวินิจฉัยคลาดเคลื่อนได้ว่าเป็นโรคสมาธิสั้นทั้งที่เด็กเพียงแค่นอนไม่พอ

งานวิจัยที่ศึกษาเด็กอายุ 6-15 ปีเกือบ 2,500 คนพบว่า เด็กที่มีปัญหาการนอนมีแนวโน้มที่จะเป็นเด็กซุกซนมากผิดปกติ อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่นและก้าวร้าว ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นอาการที่ตรงกับโรคสมาธิสั้น

นอกจากนี้งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งซึ่งเสนอต่อที่ประชุม Sleep 2015 ก็สนับสนุนว่าการอดนอนอาจเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคสมาธิสั้น และยังชี้ด้วยว่าเด็กสมาธิสั้นจะเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวดีขึ้นเมื่อได้นอนอย่างเพียงพอ เด็กที่ง่วงนอนมักจะซุกซนอยู่ไม่สุขและชอบอาละวาด ต่างจากผู้ใหญ่ซึ่งมักจะเชื่องช้าและเซื่องซึมลง

 

 

ผลเสียของการนอนน้อย ลูก นอน กระสับกระส่าย

ลูก นอน กระสับกระส่าย

 

ลูกนอนน้อยเสี่ยงเป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวาน

งานวิจัยหลายชิ้นในที่ประชุม Sleep 2015 ศึกษาว่าการนอนน้อยต่อเนื่องเรื้อรังนำไปสู่โรคอ้วนและโรคเบาหวานได้อย่างไร การนอนช่วยควบคุมระบบประสาทที่หลั่งฮอร์โมนและการดูดซึมกลูโคส เมื่อเด็กนอนไม่พอ กระบวนการเหล่านี้อาจทำงานผิดปกติ ขณะที่งานวิจัยด้านระบาดวิทยาพบว่าในสังคมปัจจุบัน ทั้งผู้ใหญ่และเด็กใช้เวลานอนน้อยลงกว่าเมื่อสองทศวรรษที่แล้ว

 

เด็กนอนน้อยมีแนวโน้มล้มป่วยมากขึ้น

ดร.พารุติเอ่ยถึงงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ระบุว่าการนอนน้อยส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้เด็กอ่อนแอและมีโอกาสไม่สบายได้ง่าย “เวลาฉีดวัคซีน ร่างกายของคนที่อดนอนมักไม่สร้างภูมิตอบสนองมากเท่ากับคนที่นอนอย่างเพียงพอ” ดร.พารุติกล่าว โดยตั้งข้อสังเกตถึงความสัมพันธ์ระหว่างการอดนอนกับภูมิคุ้มกันที่ถูกกดไว้

 

วัยุร่นอดนอนเสี่ยงถึงชีวิต

ปัญหาการนอนในวัยรุ่นส่วนใหญ่เกี่ยวเนื่องกับรูปแบบการใช้ชีวิต ดร.เครก แคนาพารี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการนอนในเด็กที่เยลระบุว่า นอกเหนือจากสาเหตุอื่นๆ เช่นตารางกิจกรรมที่แน่นเอี้ยดและการบ้านเยอะแล้ว เทคโนโลยียังเป็นอีกตัวการหนึ่งที่ทำให้วัยรุ่นปัจจุบันนอนไม่พอ วัยรุ่นมากมายเข้านอนโดยวางสมาร์ทโฟนไว้ใต้หมอนและมักตื่นกลางดึกเพื่อตอบข้อความ แสงสีฟ้า-ขาวที่หน้าจอเปล่งออกมานั้นเทียบได้กับความยาวคลื่นแสงจากดวงอาทิตย์ซึ่งปลุกให้สมองตื่น

ความง่วงเป็นสาเหตุหลักของอุบัติเหตุรถยนต์ และอุบัติเหตุรถยนต์ก็เป็นสาเหตุใหญ่ที่สุดที่ทำให้วัยรุ่นเสียชีวิต เมื่อนำสองปัจจัยนี้มารวมกันจึงน่าวิตกทีเดียว ดร.แคนาพารีกล่าว

งานวิจัยที่คณะแพทยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยพิทส์เบิร์กเสนอต่อที่ประชุม Sleep 2015 พบว่าวัยรุ่นที่อดนอนจะใส่ใจความเสี่ยงน้อยกว่า ให้ความสำคัญกับรางวัลมากกว่า และไม่ตระหนักถึงอันตรายอย่างถ่องแท้เมื่อเทียบกับวัยรุ่นที่นอนอย่างเพียงพอ

งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งในปีนี้ศึกษาวัยรุ่น 2,500 คนจากโรงเรียนมัธยมต้น 16 แห่งทางตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย และพบความสัมพันธ์ระหว่างการอดนอนกับการดื่มเหล้าและสูบกัญชา การเข้านอนดึกลงทุกสิบนาทีเพิ่มโอกาสที่วัยรุ่นจะสูบกัญชาและดื่มเหล้าขึ้นร้อยละ 4 ถึง 6

บทความจากพันธมิตร
ทำขนมไม่เป็น ไม่รู้จะลองเรียนที่ไหน ABC Cooking Studio คือคำตอบ
ทำขนมไม่เป็น ไม่รู้จะลองเรียนที่ไหน ABC Cooking Studio คือคำตอบ
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์

 

 

นอนอย่างมีคุณภาพ ลูก นอน กระสับกระส่าย

ลูก นอน กระสับกระส่าย

 

หลากหลายวิธีช่วยให้ลูกนอนได้อย่างมีคุณภาพ

ย้ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดออกจากห้องนอนหรือใช้ซอฟต์แวร์พิเศษช่วยลดผลกระทบให้เหลือน้อยที่สุด

เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์อาจทำให้ลูกติดงอมแงมยิ่งกว่าขนมหวาน แต่ผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นพ้องต้องกันว่าเทคโนโลยีไม่ควรอยู่ในห้องนอน

“ห้องนอนควรเป็นที่พักผ่อนและฟื้นฟูร่างกาย ไม่ใช่ที่สำหรับสิ่งกระตุ้นสิ่งเร้า” เวนดี้ ทร็อกเซล นักวิทยาศาสตร์ด้านพฤติกรรมจาก RAND สถาบันปรับปรุงนโยบายสาธารณะผ่านงานวิจัยกล่าว

ดร.แคนาพารีแนะนำให้คนไข้ที่มีปัญหาการนอนลองใช้วิธี “เสพแต่น้อย” ซึ่งรวมถึงการลดเวลาอยู่หน้าจอลงเมื่อใกล้ถึงเวลานอน หรือถ้าหากจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์อย่างเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ก็ให้ติดตั้งซอฟต์แวร์ที่เปลี่ยนแสงหน้าจอจากสีฟ้า-ขาวให้เป็นสีเหลืองหลังอาทิตย์ตกดินซึ่งจะมีผลต่อการปลุกสมองให้ตื่นตัวน้อยกว่า

 

กันสารก่อภูมิแพ้ไว้นอกห้องนอน

อีกหนึ่งวิธีสำคัญไม่แพ้กันคือรักษาห้องนอนให้ปลอดสารก่อภูมิแพ้ เช่นควันบุหรี่ซึ่งก่อให้เกิดโรคนอนไม่หลับและการหายใจขัดขณะหลับ งานวิจัยชิ้นหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้พบความเกี่ยวโยงอย่างใกล้ชิดระหว่างควันบุหรี่และปัญหาการนอนในวัยรุ่น รวมถึงอาการขาอยู่ไม่สุข ซึ่งเป็นภาวะที่ขาอ่อนล้าอย่างรุนแรงโดยเฉพาะในตอนเย็นและเวลากลางคืน ทำให้นอนหลับไม่สนิท โดยสรุปแล้ว ห้องนอนควรสะอาดและปราศจากสารก่อภูมิแพ้ใดๆ

 

หากลูกอยากทานของว่างก่อนนอน ควรเลือกอาหารที่มีโปรตีนสูงและน้ำตาลต่ำ

รูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปอีกประการหนึ่งคือการทานของว่างก่อนนอน การกินของหวานๆ ก่อนเข้านอนทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงและลดฮวบลง ส่งผลให้เด็กรู้สึกหิวและอาจตื่นนอนกลางดึกได้ ดังนั้นถ้าลูกหิวเมื่อใกล้เวลาเข้านอน จึงควรให้ลูกทานของว่างที่มีโปรตีนสูง เช่นแครกเกอร์ทาเนยอัลมอนด์ แทนที่จะให้ทานขนมหวานน้ำตาลสูง

 

สอนให้ลูกทำสมาธิก่อนเข้านอน

การทำสมาธิช่วยให้ใจสงบนิ่ง ลดความเครียดและปรับปรุงคุณภาพการนอนให้ดีขึ้น งานวิจัยชิ้นหนึ่งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาพบว่าการทำสมาธิช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับ ความอ่อนเพลียและโรคซึมเศร้าลงได้ รวมทั้งทำให้นอนหลับดีขึ้นเมื่อเทียบกับผู้เข้าร่วมการวิจัยที่เรียนวิชาการนอนเพียงอย่างเดียว ผลที่ได้ปรากฏให้เห็นหลังทำสมาธิเพียงหกครั้งเท่านั้น แม้งานวิจัยนี้จะศึกษาเฉพาะกับผู้ใหญ่ แต่ก็มีหลักฐานชี้ชัดว่าการทำสมาธิส่งผลดีต่อการนอนของเด็กเช่นกัน หากปรับเปลี่ยนการทำสมาธิให้อยู่ในระดับที่เด็กจะเข้าใจได้ ก็จะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ลูกนอนหลับได้อย่างมีคุณภาพ

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ทำยังไงให้ลูกหลับ ไม่ถึง 1 นาที ต้องดู..

9 วิธีชวนลูกวัยเตาะแตะเข้านอน แก้ปัญหาลูกหลับยาก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

พรพยงค์ นำธวัช

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • การนอนของลูกนั้นสำคัญไฉน
แชร์ :
  • EQ นั้นสำคัญไฉน? ทั้งพ่อและแม่ต่างมีส่วนสำคัญในการพัฒนา EQ ของลูก

    EQ นั้นสำคัญไฉน? ทั้งพ่อและแม่ต่างมีส่วนสำคัญในการพัฒนา EQ ของลูก

  • รู้หรือไม่ การฉีดวัคซีนโรคไอกรนนั้นสำคัญไฉน

    รู้หรือไม่ การฉีดวัคซีนโรคไอกรนนั้นสำคัญไฉน

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • EQ นั้นสำคัญไฉน? ทั้งพ่อและแม่ต่างมีส่วนสำคัญในการพัฒนา EQ ของลูก

    EQ นั้นสำคัญไฉน? ทั้งพ่อและแม่ต่างมีส่วนสำคัญในการพัฒนา EQ ของลูก

  • รู้หรือไม่ การฉีดวัคซีนโรคไอกรนนั้นสำคัญไฉน

    รู้หรือไม่ การฉีดวัคซีนโรคไอกรนนั้นสำคัญไฉน

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว