เช็ก Toxic Relationship หรือ ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ ที่เราต้องรับมือให้ได้ หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำนี้บ่อย ๆ เพราะไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบไหน มนุษย์ทุกคนล้วนแล้วแต่จะต้องมีสังคม ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบครอบครัว คนรัก หรือเพื่อนฝูง
หลายครั้งที่มักจะมีคำว่า “ความรักทำให้คนตาบอด” ที่เป็นคำกล่าวจากคนภายนอกที่มองเข้าไป แต่คนส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่ค่อยรู้ตัวว่ากำลังตกอยู่ในความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ กลับกันยังไปรู้สึกว่าอะไรที่ทนได้ก็ควรทน ยอมไปได้ก็จะไม่มีปัญหา นับเป็นการแก้ปัญหาที่ผิดวิธี
ยิ่งไปกว่านั้นมีบางคนที่รู้สึกว่าตนเองต้องเป็นฝ่ายยอม เพื่อที่จะประคับประคองให้ความสัมพันธ์เดินหน้าต่อไปได้ หากมันเดินมาถึงขั้นนั้น เท่ากับว่า ตัวเราเองนี่แหละที่ยกให้อีกฝ่ายมีคุณค่าเหนือกว่าเรา และเกิดการด้อยค่าความรู้สึกของตัวเองไปแล้วก่อนที่ทันจะได้รู้ตัว
บทความที่น่าสนใจ : 7 วิธีจัดการ ความสัมพันธ์ไม่ชัดเจน ตกอยู่ในสถานะไม่ชัดเจน จัดการยังไง?
ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ คืออะไร เช็ก Toxic Relationship ยังไง?
Toxic Relationship ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อใครคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย ให้ความสำคัญในแง่ของความรักความรู้สึก มากกว่าองค์ประกอบหลัก 3 อย่างของความสัมพันธ์ที่ดี นั่นก็คือ ความเคารพ, ความไว้วางใจ และความเสน่หา ทั้งนี้ในแง่ของความสัมพันธ์ที่ดีก็มีคำจำกัดความที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับความต้องการและการให้ความสำคัญ บางครั้งอาจอยู่ใต้รสนิยม หรือ ทัศนคติที่ทั้งคู่มองว่ามันคือเรื่องที่ลงตัว
ในแง่ของความเป็นพิษให้พึงระลึกไว้ว่าสิ่งนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ บ่อย ๆ จนเรารู้สึกว่ามันไม่โอเค ถึงจะนับว่าเป็นพิษ เพราะในความสัมพันธ์ทุกรูปแบบการกระทบกระทั่ง หยอกล้อจนเกิดการผิดใจไปบ้าง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นและยอมรับได้ ตามประสาคนละพ่อคนละแม่ แต่ต้องมี “การปรับตัวเข้าหากัน” เพื่อเป็นใจความหลักของการเติบโตไปพร้อม ๆ กัน แต่ถ้าเริ่มละเลยเมื่อไรมันก็จะกลายเป็นปัญหาสะสม จนแปรเปลี่ยนเป็นระเบิดเวลาที่พร้อมทำงานโดยตลอด
เช็ก Toxic Relationship 6 สัญญาณที่อาจคิดไปเองว่าปกติ
1. Toxic Relationship ที่ต้องเสียเปรียบโดยตลอด
การต้องตกเป็นเบี้ยล่างของอีกฝ่ายตลอด หรือการถูกควบคุมโดยขาดอิสระทางความคิด รวมไปถึงการโดนเปรียบเทียบกับคนอื่น นับว่าไม่ใช่เรื่องดี และไม่ควรมีใครที่จะต้องได้รับเรื่องราวแบบนั้น ยกตัวอย่างเช่น รู้ว่าอีกฝ่ายเป็นคนนอกใจ กลับต้องจำใจยอมและแสดงอารมณ์ไม่ได้ เพียงเพราะคำว่าคราวหน้าจะไม่ทำอีก
โดยปกติแล้วในแง่ของความสัมพันธ์ที่เป็นเรื่องของคน 2 คน การนอกใจไม่ใช่เรื่องปกติที่ควรทำ คนที่รักหรือมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันควรมีความเสมอภาค ทั้งในแง่ของผู้รับและผู้ให้
2. Relationship ที่เกิดจากความรู้สึกไม่ปลอดภัย
ความหัวร้อนเป็นเรื่องปกติที่หลายคนอาจจะมีได้ แต่ถ้ามันถูกยกระดับให้กลายเป็นการทำร้ายร่างกาย นั่นเท่ากับว่าความสัมพันธ์นั้นไม่ใช่เรื่องที่ดี ในแง่ของผู้ที่โดนกระทำหรือเหยื่อ ยิ่งจะทำให้รู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย และทำได้แค่อดทนไม่กล้าบอกความทุกข์ให้ใครรู้ แม้กระทั่งเรื่องเล็กน้อยเพียงเพราะคำว่ากลัวโดนตี
การกระทำเหล่านี้อาจทำให้เกิดความไม่สะดวกใจที่จะสนทนาต่อ และไม่พร้อมที่จะแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา อีกทั้งยังเป็นเรื่องที่ยากเมื่อต้องการจะตัดความสัมพันธ์ ดังนั้นเมื่อเริ่มที่จะมีความรักความสัมพันธ์แล้ว ความปลอดภัยหรือ Safe Zone ควรจะเป็นเรื่องที่เราทำให้อีกฝ่ายสัมผัสได้และเดินหน้าต่อไปพร้อม ๆ กัน
3. ความ Toxic-Relationship ที่คล้ายโดนข่มขู่ตลอดเวลา ไม่มีความสบายใจ
หลายครั้งที่ความรักทำให้หมกมุ่นในตัวอีกฝ่ายมากไป อาจจะเกิดการกระทำที่ไม่น่าดูสักเท่าไร เช่น การข่มขู่เมื่อต้องการออกไปปาร์ตี้, การแอบถ่ายรูปลับ หรือพยายามผูกมัดด้วยวิธีที่ไม่สมยอม นับเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นจุดเริ่มต้นจากการเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือมาโดยตลอด
หลายคู่ที่ต้องเลิกรากันไปเพราะอารมณ์หึงหวงกันและกันที่มากไป หรือคู่ที่ต้องจบกันไปเพราะความอึดอัดที่ต้องพูดคุยกับคู่สนทนาตลอดเวลา รวมไปถึงพฤติกรรมที่เข้าข่ายการรายงานตลอดเวลา ก็เป็นอีกเหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้หลายคนเลือกที่จะโสดมากกว่าจะมีคู่
เรื่องของอารมณ์ผูกมัดในอีกฝ่ายเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ธรรมดา แต่การบังคับข่มขู่ให้อีกฝ่ายคล้อยตาม นับเป็นเรื่องที่มีสมควรทำ เพราะในบางครั้งความทุ่มเทเกินไปอาจจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกรำคาญหรืออึดอัดแทน ซึ่งถ้าต้องการประคองความรัก ควรปรับเปลี่ยนเป็นวิธีพูดคุยเพื่อหาค่ากลางมากกว่า
4. Toxic Relationship ที่มาจากการสร้างความลำบากใจ
หากวันที่อีกฝ่ายอารมณ์ขุ่นและโถมใส่เราด้วยถ้อยคำที่ไม่น่าฟัง หรือฟังแล้วได้คำถามว่าเราไม่ดีพอหรืออย่างไร นั่นเท่ากับว่าอีกฝ่ายขาดความเห็นอกเห็นใจในตัวเราไปแล้ว อีกทั้งยังเป็นเรื่องของความเห็นแก่ตัวในแง่ของความสัมพันธ์อีกต่างหาก
เป็นเรื่องธรรมดาถ้าหากกำลังหงุดหงิด และมีเรื่องแย่ ๆ จะต้องการความสนใจจากอีกฝ่ายเพิ่มขึ้น แต่ถ้ามันหนักเข้าและกลายเป็นความอึดอัดปนความลำบากใจ นั่นเป็นการสร้างความเดือดร้อนในรูปแบบหนึ่ง ไม่นับว่าเป็นเรื่องจำเป็นต่อชีวิตคู่ เพราะโดยปกติของมนุษย์แล้วนั้น ต่างไม่มีใครอยากแบกรับในปัญหาที่ตัวเองไม่ได้ก่อ หรือไม่ต้องการรับเอาความลำบากใจที่มาทำให้เราลำบากยิ่งขึ้น
ทางแก้อย่างง่ายสำหรับเรื่องนี้ก็คือการจัดการอารมณ์ของตนเอง และเพิ่มในความเห็นอกเห็นใจในอีกฝ่ายที่ต้องคอยรองรับตลอดเวลาบ้าง ซึ่งการคุมอารมณ์ได้ดีเป็นการรับผิดชอบที่ยืนยาวและเหมาะที่จะประคองความสัมพันธ์เป็นอย่างดี
5. ความสัมพันธ์เป็นพิษ Toxic จากการขาดความละเลยหรือไม่ใส่ใจ
โดยปกติแล้วการใส่ใจในคู่ของตนเอง เป็นเรื่องที่ควรทำ แต่เมื่อไรที่เป็นการกระทำของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงแค่คนเดียว ก็นับเป็นอีกรูปแบบของความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ Toxic Relationship ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยที่มาจากการส่งข้อความหนักขวา, การบอกรักบอกคิดถึงฝ่ายเดียว
ในความสัมพันธ์ที่มากไปอาจจะกลายเป็นการหมกมุ่น ที่รวมไปถึงการพยายามควบคุมด้วยวิธีการจับผิด อาทิเช่น เมื่อสังเกตว่าไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน แต่ในโปรแกรมแชตยังออนไลน์ตลอดเวลา จึงพยายามแฮ็กบัญชีเพื่อเช็กว่าอีกฝ่ายมีใครอื่นหรือไม่ ก็เป็นพิษเช่นกัน
เมื่อความตรงกลางไม่มี ขั้นแรกอาจจะต้องเริ่มต้นด้วยการปรับความเข้าใจ และอธิบายในนิสัยหรือความชอบ พร้อมทั้งหาข้อสรุปว่าอะไรบ้างที่เราสามารถเปลี่ยนเพื่ออีกฝ่ายได้ รวมไปถึงการเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายอธิบายถึงความไม่พอใจที่เราไม่รู้ตัวด้วยเช่นกัน
6. Toxic-Relationship ที่สร้างให้แต่ความอึดอัดในการใช้ชีวิต
เรื่องนี้เป็นประเด็นที่หลายคนให้ความสัมพันธ์ ถึงขั้นที่มีคำกล่าวว่าฉันเป็นของฉันแบบนี้ จะไม่เปลี่ยนใคร นับเป็นเรื่องที่สร้างความอึดอัดให้อีกฝ่ายเป็นอย่างมาก เพราะในบางครั้งไม่เข้าใจกันจนกลายเป็นความใกล้ชิดที่เกินขอบเขต หรือในกรณีที่หนักกว่านั้นคือต่างฝ่ายต่างทำให้รู้สึกว่าอยู่คนเดียวดีกว่า เช่น เป็นฝ่ายที่ต้องตามหาหรือดูแลเอาใจใส่อีกฝ่ายอยู่ตลอด แต่อีกคนกลับให้ความสนใจเรื่องของตนเองเป็นหลัก
รวมไปถึงการโดนควบคุมในความสัมพันธ์ก็นับเป็นการสร้างความอึดอัดด้วยเช่นกัน หลายคู่ที่ต้องทนอยู่กับการโดนจับผิด ในขั้นแรกอาจจะเป็นแค่เรื่องของการเช็กโทรศัพท์ส่วนตัว ขั้นต่อไปอาจจะเป็นการติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อตามตัวก็ได้เช่นกัน
ทางแก้ของเรื่องนี้อาจจะต้องหันไปเริ่มต้นที่การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน มองหาจุดที่ผิดพลาดพร้อมทั้งแก้ไขไม่ให้เกิดเหตุการณ์เดิมซ้ำอีก เพราะการกระทำทั้งหมดนี้เป็นผลที่เกี่ยวเนื่องกัน หากยังไม่ต้องการจบความสัมพันธ์ก็ควรที่จะต้องแก้ แต่ถ้าถึงจุดที่ทนไม่ไหวแล้ว อาจจะจำเป็นที่ต้องเลือกการจบความสัมพันธ์ ก่อนที่มันจะเป็นพิษไปมากกว่านี้
บทความที่เกี่ยวข้อง
7 กิจกรรมต้านซึมเศร้า ในเด็ก เติมสุข พัฒนาความสัมพันธ์ในครอบครัว
อัปเดต ท่า sex 10 ท่ารักบนเตียง ที่ผู้ชายชอบ อยู่บนเตียงทำยังไงให้ผัวรักผัวหลง
ระยะห่างของชีวิตคู่จำเป็นแค่ไหน จะกระชับความสัมพันธ์อย่างไรและวิธีมัดใจแฟน
ที่มา (markmanson) (pptv hd36)
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!