X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แชร์ประสบการณ์ ผ่าคลอดบล็อกหลัง ของแม่วัย(ใส)ใกล้ 40

บทความ 5 นาที
แชร์ประสบการณ์ ผ่าคลอดบล็อกหลัง ของแม่วัย(ใส)ใกล้ 40

สวัสดีคุณแม่ทุก ๆ ท่านที่แวะมาเยี่ยมเยือนบทความนี้นะคะ  เราอยากจะมาแชร์ประสบการณ์การ ผ่าคลอดบล็อกหลัง ให้ว่าที่คุณแม่ทุกท่านลองอ่านเป็นแนวทางดูนะคะ ว่าจริง ๆ แล้วการผ่าคลอดก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดเสมอไปค่ะ

 

ผ่าคลอดบล็อกหลัง

 

รีวิวการผ่าคลอดบล็อกหลัง ประสบการณ์ตรงจากคุณแม่ โสภิดา เกษรบัว ช่วงที่เรากำลังท้อง ได้อ่านรีวิวและพูดคุยกับคุณแม่หลาย ๆ ท่านในเพจคุณแม่หลายเพจ ช่วงนั้นคือได้รับข้อมูลหลากหลายมาก ๆ ค่ะ ทำให้ทั้งกังวล ทั้งกลัวเจ็บสารพัด แต่พอเราได้ลองกับตัวเองกลับพบว่า ไม่น่ากลัวหรือทรมานอย่างที่คิดไปก่อนเลยค่ะ

 

Advertisement

สาเหตุที่ต้องผ่าคลอด

เนื่องจากคุณหมอที่เราฝากครรภ์ไว้ประเมินแล้วว่า เรามีความเสี่ยงว่าคลอดเองน่าจะไม่รอด เพราะอายุเราเองก็เยอะแล้ว (ตอนที่คลอด เราอายุ 39 ค่ะ เรามีภาวะpcos ทำให้มีลูกยากมากค่ะ ถ้ามีโอกาส เราจะมาเล่าประสบการณ์ให้ฟังนะคะ) กระดูกเชิงกรานอาจมีหินปูนเกาะ ทำให้ขยายได้ไม่เต็มที่ ซึ่งเราก็ไม่มีปัญหาค่ะ ผ่าก็ผ่าตามที่คุณหมอเห็นสมควร ขอให้ลูกปลอดภัยคือดีที่สุดสำหรับคนเป็นแม่ทุกคนค่ะ

 

แชร์ประสบการณ์ ผ่าคลอดบล็อกหลัง ! 

กำหนดการผ่าคลอดของเราคือวันที่ 3/9/62 ก่อนเที่ยงค่ะ คุณหมอให้เราเข้ารพ. ตั้งแต่เย็นวันที่ 2/9/62 เพื่อมาเตรียมตัว งดอาหารและน้ำก่อน (ตรงนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ ได้นอนรพ. ฟรี 1 คืน) คืนแรกนี้ เรานอนไม่หลับค่ะ เพราะตื่นเต้นมาก ๆ ผิดกับสามีเราที่นอนดี๊ดี อิจฉาจัง หลับ ๆ ตื่น ๆ จนถึงช่วงเช้ามืด พยาบาลก็เข้ามาจัดการโกนขนหน้าท้องและช่วงล่างให้ค่ะ ช่วงนี้เราก็จะเขิน ๆ นิดหน่อย ก็มองฝ้าเพดานแก้เขินไปก่อนนะคะ สักพักนึง พยาบาลอีกคนก็เข้ามาสวนสายถ่ายให้ โอ้โห….หมดสภาพเลยค่ะ เพราะถ่ายจนหมดไส้ หมดพุง ขอบอกว่ามันจะเกิดขึ้นรวดเร็วมาก เรานี่รีบวิ่งจู๊ดเข้าห้องน้ำ ทั้ง ๆ ที่พยาบาลยังไม่ทันออกจากห้องเลยค่ะ ไม่งั้นเลอะเทอะแน่นอน

 

จากนั้นเราก็มีเวลาให้นอนทำใจอีกสักพัก ก่อนจะถูกเข็นเข้าห้องผ่าตัดช่วง 11 โมง ในห้องรอผ่าตัด พยาบาลห้องคลอดใจดีมากค่ะ มาอธิบายขั้นตอนการทำคลอดให้เราฟัง แต่ ๆ ๆ เรากลับยิ่งกลัวค่ะ เพราะชีวิตนี้ไม่เคยถูกผ่าตัดมาก่อนเลย เราอยากให้สามีมายืนอยู่ข้าง ๆ มากค่ะ ต้องการคนบีบมือให้กำลังใจว่างั้น แต่ทำไม่ได้ค่ะ  ช่วงนี้สามีต้องนั่งรอเราอยู่ข้างนอกห้องคลอดก่อน

 

เวลา 11.35 น. ถูกเข็นเข้าห้องผ่าตัด คุณหมอวิสัญญีก็อธิบายให้เราฟังอีกครั้ง เกี่ยวกับขั้นตอนการบล็อกหลัง เราต้องนอนงอเข่า ขดตัวเหมือนกุ้งให้มากที่สุด เพื่อให้คุณหมอฉีดยา ช่วงนี้จะเจ็บแบบตึง ๆ หน่วง ๆ ตามไขสันหลัง เราโดน 2 เข็ม เพื่อเดินยาชา และยาแก้ปวด พอยาเดินดีเท่านั้นแหละ เรารู้สึกเหมือนจะขาดใจ คือ อึดอัด หายใจไม่ออก หนัก ๆ หน่วง ๆ ไปทั้งตัว ทั้ง ๆ ที่มีสายออกซิเจนช่วยหายใจอยู่ เราคิดว่าเราจะไหวมั้ย จะรอดมั้ย แต่เราก็มั่นใจในทีมหมอและพยาบาลของที่นี่เต็มร้อย

 

และอยากเห็นหน้าลูกชายมาก ๆ ด้วยค่ะ ระหว่างนี้ คุณหมอวิสัญญีและทีมพยาบาลก็คอยให้กำลังใจตลอด ความกลัวก็ลดลงมานิดนึงค่ะ อ้อ…เราถูกสวนสายปัสสาวะหลังจากที่ช่วงล่างชาไร้ความรู้สึกค่ะ โชคดีมาก เพราะคิดว่าถ้าสวนก่อนบล็อกลัง มันคงจะเจ็บแปล๊บ ๆ แน่เลย

 

ผ่าคลอดบล็อกหลัง

 

ระหว่างที่เรานอนสะลึมสะลืออยู่นั้น คุณหมอกอบชัย คุณหมอสูติ ก็เดินเข้ามาทักทายเรา ก่อนจะไปลงมีด ซึ่งขั้นตอนการผ่าคลอดนี้ เราจะมองไม่เห็นนะคะ เพราะมีฉากผ้าสีเขียวกั้นอยู่ ตอนนั้นในห้องคลอดมีคุณหมออยู่ด้วยกัน 3 ท่านคือ คุณหมอสูติ คุณหมอวิสัญญีและคุณหมอเด็ก บรรยากาศในห้องคลอดชิลมาก ๆ ค่ะ คุณหมอและทีมพยาบาลต่างพูดคุยกันสนุกสนาน เราเองก็นอนฟังเพลิน ๆ ค่ะ ไม่ถึง 15 นาที เราก็ได้ยินเสียง อุแว๊ ๆ ๆ ๆ ดังขึ้น มีใครคนหนึ่งพูดขึ้นว่า มาแล้ว ๆ ๆ ๆ เราน้ำตาซึม ทั้ง ๆ ที่กำลังเคลิ้ม ๆ ด้วยฤทธิ์ยา เราหันไปที่ประตูเจอสามีในชุดปลอดเชื้อยืนอยู่ข้าง ๆ พร้อมกับบอกเราว่าลูกมาแล้วนะแม่

 

ร้องดังมาเลย เราพูดอะไรไม่ออก ได้แต่ยิ้ม น้ำตาคลอ พอพยาบาลทำความสะอาดลูกชายเสร็จก็อุ้มมาให้พวกเราได้ถ่ายรูปครอบครัวเป็นครั้งแรกค่ะ จากนั้นสามีก็ขอตัวตามลูกไปห้องเนอสเซอรี่ ซึ่งเป็นไปตามที่เรากำชับไว้ เราน่าจะดูละครเยอะไปค่ะ เลยวิตกจริตไปเองว่าจะเกิดการสลับตัวเด็ก อันนี้แม่ ๆ ต้องใช้วิจารณญาณกันเองนะคะ

 

หลังคลอดเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปคืออะไร ? 

ภารกิจต่อมาของเราคือการถูกเย็บแผล คุณหมอกอบชัยมือเบามาก ๆ เราไม่รู้สึกอะไรเลย มีแต่ความง่วงค่ะ หลังจากนั้นเราก็ถูกเข็นออกมาพักในห้องพักฟื้นข้างห้องคลอด เราหลับไปเป็นชั่วโมงเลย น่าจะเพราะฤทธิ์ยาแก้ปวด ระหว่างนี้ พยาบาลจะเข้ามาดูเราเป็นระยะ ๆ พอออกจากห้องพักฟื้น เรายังคงต้องงดน้ำ งดอาหารจนถึงช่วงเย็น และจะต้องนอนราบจนถึงห้าทุ่มครึ่งค่ะ ช่วงที่หมดฤทธิ์ยาแก้ปวด เราก็ไม่ได้รู้สึกปวดแผลมากมายอะไร คือปวดน้อยกว่าที่คิดมากค่ะ

 

วันรุ่งขึ้น เราลุกเดินไปเข้าห้องน้ำ เดิน (ช้า ๆ) ไปดูลูกที่ห้องเนอสเซอรี่เองได้แล้ว เพราะมันไม่เจ็บไม่ปวดอะไรมาก อันนี้ต้องขอยกความดีให้คุณหมอกอบชัยเลยค่ะ มือเบาสุด ๆ คนไข้บอบช้ำน้อยมาก มีแต่คนงง (คุณหมอด้วย) ว่าทำไมเราฟื้นตัวเร็ว ที่สำคัญ แผลผ่าตัดไม่น่าเกลียด ไม่แดง ไม่นูนค่ะ เป็นแผลผ่าแนวบิกินี่นะคะ  คุณหมอถ่ายรูปสวยด้วยนะคะ เราได้รูปถ่ายลูกชายฝีมือคุณหมอกลับมาเป็นที่ระลึก

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

 

ผ่าคลอดบล็อกหลัง

 

การผ่าคลอดไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

การบล็อกหลังก็ไม่น่ากลัวค่ะ เรายังไม่มีอาการปวดหลังอะไรนะคะ ยังชิลอยู่ ขอเพียงแค่ทานยาบำรุงและปฏิบัติตามที่คุณหมอบอกอย่างเคร่งครัด ไม่หวั่นไหวไปกับความเชื่อที่ไม่มีเหตุผล ไม่มีที่มาที่ไปก็พอค่ะ สรุปเรานอนรพ. ทั้งหมด 3 คืน 4 วัน (รวมคืนแรกที่ไปเตรียมตัวด้วยค่ะ) ก็อุ้มลูกกลับบ้านได้ และกลับไปพบคุณหมอเพื่อดูแผลตามนัดด้วย ไหมที่ใช้เป็นไหมละลายค่ะ

 

สุดท้ายนี้ เราขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกท่านนะคะ หลังจากนี้ ภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของความเป็นแม่กำลังรออยู่ค่ะ แต่ไม่มีอะไรที่คนเป็นแม่จะทนไม่ได้เพื่อลูกจริง ๆ  และเราหวังว่าประสบการณ์การผ่าคลอดของเราในครั้งนี้จะมีประโยชน์กับทุก ๆ คนที่แวะมาอ่านนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจจะสนใจ : 

ของช่วยรักษาอาการผ่าคลอด แม่ผ่าคลอดควรดูแลตัวเองอย่างไร

แผลผ่าคลอดปริ เรื่องที่แม่ผ่าคลอดคนไหนก็ไม่อยากเจอ

ผ่าคลอดท้องแรก แต่คลอดธรรมชาติท้องสอง ทำได้หรือ?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Nanticha Phothatanapong

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • แชร์ประสบการณ์ ผ่าคลอดบล็อกหลัง ของแม่วัย(ใส)ใกล้ 40
แชร์ :
  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • 5 เทคนิค ลดรอบปั๊มยังไงไม่ให้น้ำนมหด ช่วยแม่เหนื่อยน้อยลง น้ำนมไม่ลด

    5 เทคนิค ลดรอบปั๊มยังไงไม่ให้น้ำนมหด ช่วยแม่เหนื่อยน้อยลง น้ำนมไม่ลด

  • วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

    วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • 5 เทคนิค ลดรอบปั๊มยังไงไม่ให้น้ำนมหด ช่วยแม่เหนื่อยน้อยลง น้ำนมไม่ลด

    5 เทคนิค ลดรอบปั๊มยังไงไม่ให้น้ำนมหด ช่วยแม่เหนื่อยน้อยลง น้ำนมไม่ลด

  • วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

    วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว