X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
Product Guide
เข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รู้ทัน โรคกระดูกคอเสื่อม ปวดคอระดับไหนที่ไม่ควรรอ รีบรักษาอย่างเร่งด่วน

บทความ 3 นาที
รู้ทัน โรคกระดูกคอเสื่อม ปวดคอระดับไหนที่ไม่ควรรอ รีบรักษาอย่างเร่งด่วน

ช่วงคอเป็นอวัยวะที่มักถูกใช้งานหนักและคนส่วนใหญ่ละเลย เมื่ออายุมากขึ้น หลายคนจะมีอาการเจ็บหรือปวดบริเวณคอจากการที่ข้อต่อและหมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพ แต่เลือกที่จะปล่อยทิ้งไว้จนมีอาการปวดเรื้อรัง โดยไม่รีบรักษาก็อาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพในระยะยาวได้

ช่วงคอเป็นอวัยวะที่มักถูกใช้งานหนักและคนส่วนใหญ่ละเลย ทำให้เมื่ออายุมากขึ้น หลายคนจะมีอาการเจ็บหรือปวดบริเวณคอจากการที่ข้อต่อและหมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพ แต่เลือกที่จะปล่อยทิ้งไว้ เพราะคิดว่าอาการปวดนั้นเป็นเพียงชั่วคราวและหายได้เอง ซึ่งทำให้มีอาการปวดเรื้อรัง หากไม่รีบเข้ารับการรักษาก็อาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพในระยะยาวได้ วันนี้เราจะพาทุกคนไปเช็ก 3 ระดับของโรคกระดูกคอเสื่อม ว่ามีอาการปวดและระดับความร้ายแรงอย่างไรบ้าง รวมถึงวิธีรักษาเมื่อมีภาวะปวดคอที่เกิดจากกระดูกคอ หมอนรองกระดูกคอ และข้อต่อบริเวณใกล้เคียงกันอีกด้วย

 

อาการโรคกระดูกคอเสื่อมแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

อาการกระดูกคอเสื่อมเป็นอาการปวดที่บริเวณคอหรือต้นคอ และอาจลามไปยังบริเวณอื่นๆ ใกล้เคียงได้ ซึ่งโดยปกติแล้วอาการของกระดูกคอเสื่อมจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

 

1. อาการปวดต้นคอ (Axial Neck Pain)

สำหรับกลุ่มแรก เป็นอาการปวดบริเวณต้นคอ บริเวณท้ายทอย บริเวณบ่าและไหล่ ลามไปจนถึงต้นสะบักด้านหลัง แต่ยังไม่ถึงกับกดทับเส้นประสาทและไขสันหลัง ซึ่งกลุ่มนี้ส่งผลมาจากข้อกระดูกคอหรือหมอนรองกระดูกที่คอเสื่อม 

 

2. อาการกดทับรากประสาท (Radiculopathy)

กลุ่มนี้จะเป็นอาการของโรคกระดูกคอเสื่อม ที่มีสาเหตุมาจากหมอนรองกระดูกคอกดทับเส้นประสาท หรือการที่กระดูกงอกจากความเสื่อมของร่างกายจนไปกดทับรากประสาทนั่นเอง อาการที่แสดงออกมาจะเป็นอาการปวดตามแนวเส้นประสาท รวมถึงอาการชาและอ่อนแรงของกล้ามเนื้อบริเวณต้นแขนและมือ ไปจนถึงอาการปวดร้าวจากคอลงไปที่แขน ซึ่งอาการมักจะเป็นๆ หายๆ แต่เรื้อรัง

 

3. อาการกดทับไขสันหลัง (Myelopathy)

สำหรับกลุ่มนี้สาเหตุเกิดจากการกดทับของไขสันหลัง อาการจะคล้ายกับอาการของกลุ่มกดทับรากประสาท (Radiculopathy) และจะมีอาการปวดเกร็งบริเวณลำตัว แขนและขาร่วมด้วย ลามไปจนถึงกล้ามเนื้อด้านหลังแขน ส่งผลให้มีอาการข้อมือเกร็ง ไม่สามารถใช้งานแขนและมือได้อย่างเต็มที่ และมีการเดินทรงตัวที่ลำบาก ก้าวขาได้สั้นลง ซึ่งบางครั้งอาจไม่มีอาการปวดคอ ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้สับสนอาการอยู่บ่อยๆ และนับเป็นอาการของโรคกระดูกคอเสื่อมที่รุนแรงและอันตรายอย่างมาก

 

แนวทางการรักษา โรคกระดูกคอเสื่อม

สำหรับการรักษาของอาการกระดูกคอเสื่อมมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและการวินิจฉัยของแพทย์ ได้แก่

 

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต

วิธีนี้จะใช้รักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงมาก แพทย์จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตใหม่ เช่น หลีกเลี่ยงการหมุนคอ การก้มและเงยศีรษะ การแหงนคอบ่อยๆ ไปจนถึงการนั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านั้นสามารถส่งผลให้กระดูกคอเสื่อมเร็วขึ้นนั่นเอง

 

ใช้ยารักษา

เนื่องจากโรคกระดูกคอเสื่อมไม่มียารักษาโดยตรง จึงใช้เป็นยาบรรเทาอาการปวดและหดเกร็งของกล้ามเนื้อ เช่น กลุ่มยาคลายกล้ามเนื้อ ยาลดอาการอักเสบ หรือยาบรรเทาอาการปวดปลายประสาท ซึ่งจะให้ผลกับผู้ป่วยที่อยู่กลุ่มอาการปวดต้นคอ (Axial Neck Pain) และกลุ่มอาการกดทับรากประสาท (Radiculopathy) ส่วนกลุ่มอาการกดทับไขสันหลัง (Myelopathy) จะไม่เห็นผล

 

กายภาพบำบัด

สำหรับกรณีที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและใช้ยารักษาแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย ซึ่งกายทำกายภาพบำบัดก็มีหลายวิธี เช่น การทำกายบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอ การประคบร้อนเพื่อบรรเทาอาการปวด การใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ เพื่อส่งผ่านความร้อนไปยังชั้นกล้ามเนื้อ การช็อกเวฟ (Shock Wave) เพื่อลดอาการปวดในกรณีที่มีอาการปวดมากๆ หรือเรื้อรัง และการใช้เครื่องเรดคอร์ด (Red Cod) เพื่อจัดระเบียบการทำงานของกล้ามเนื้อ และลดอาการปวด เป็นต้น

 

ผ่าตัดรักษา

กรณีที่แพทย์แนะนำให้ผู้ป่วยผ่าตัด จะมีอาการบ่งชี้ของโรค ดังนี้ 

  • อาการปวดที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้น เช่น การกินยา การทำกายภาพบำบัด แต่อาการปวดยังรุนแรงอยู่ 
  • อาการปวดแย่ลง ร่วมกับมีภาวะอ่อนแรงที่รุนแรง ซึ่งหากทำการรักษาแล้ว แต่พบว่าอาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้นหรือร่างกายอ่อนแอลง อย่างเช่น แขน-ขาอ่อนแรง หรืออาการยกแขนไม่ขึ้น แพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีการผ่าตัด 
  • อาการกดทับไขสันหลัง (Myelopathy) อย่างที่บอกไปแล้วว่ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่อาการร้ายแรงที่สุด อาการที่แสดงออกจะมาจะเป็น อาการแขน-ขาเกร็ง ไม่สามารถควบคุมการทรงตัวได้ และไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ เป็นต้น

 

ผู้ที่มีอาการกระดูกคอเสื่อม ส่วนใหญ่จะเกิดจากปัจจัยด้านการใช้งานและเรื่องอายุที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องข้อต่อของร่างกายจะเริ่มสภาพลงตามอายุและการใช้งานที่หนัก และขาดการดูแล ซึ่งจะพบเจอได้มากในผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป และเมื่ออายุ 40 ปี ข้อต่อและกระดูกต่างๆ ในร่างกายก็จะเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากยังอยากให้สุขภาพร่างกายและสุขภาพของข้อต่อสามารถใช้งานอย่างปกติ ควรหมั่นดูแลรักษาและปรับพฤติกรรมที่เสี่ยงต่างๆ ที่ส่งผลเสียต่อข้อต่อและกระดูก หากใครที่กำลังพบเจอกับภาวะกระดูกคอเสื่อม หรือเริ่มมีอาการปวดตามข้อต่อต่างๆ ในร่างกาย ควรรีบทำการปรึกษาแพทย์และหาแนวทางการรักษา ที่ KDMS Hospital โรงพยาบาลเฉพาะทางกระดูกและข้อ ชั้นนำของประเทศไทย มีทีมศัลยกรรมแพทย์มากประสบการณ์ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหากระดูกและข้อเป็นอย่างดี พร้อมให้คำปรึกษา และวางแผนแนวทางการรักษาเพื่อรักษาข้อต่อและกระดูกของคนไข้ทุกท่านให้อยู่คู่กับร่างกายไปอย่างยาวนาน 

 

ปรึกษา | วางแผนการรักษา ที่ KDMS Hospital

Address: เลขที่ 9 ซอยสุคนธสวัสดิ์ 38 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 10230

Tel: 02-080-8999

Line: @kdmshospital

บทความจากพันธมิตร
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • รู้ทัน โรคกระดูกคอเสื่อม ปวดคอระดับไหนที่ไม่ควรรอ รีบรักษาอย่างเร่งด่วน
แชร์ :
  • แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

    แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

  • เมื่อลูกน้อยหายใจครืดคราด ต้องดูแลอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับเด็ก

    เมื่อลูกน้อยหายใจครืดคราด ต้องดูแลอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับเด็ก

  • จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทารกไม่สมดุล ระวังลูกเป็นโรค!

    จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทารกไม่สมดุล ระวังลูกเป็นโรค!

  • แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

    แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

  • เมื่อลูกน้อยหายใจครืดคราด ต้องดูแลอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับเด็ก

    เมื่อลูกน้อยหายใจครืดคราด ต้องดูแลอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับเด็ก

  • จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทารกไม่สมดุล ระวังลูกเป็นโรค!

    จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทารกไม่สมดุล ระวังลูกเป็นโรค!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว