X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คลอดธรรมชาติไม่ได้ อาจต้องผ่าคลอด ถ้ามีสัญญาณเหล่านี้

บทความ 3 นาที
คลอดธรรมชาติไม่ได้ อาจต้องผ่าคลอด ถ้ามีสัญญาณเหล่านี้

ปัจจัยที่ทำให้แม่ท้องมีความเสี่ยงที่อาจจะต้องผ่าคลอด มีอะไรบ้างนะ

คลอดธรรมชาติไม่ได้ อาจต้องผ่าคลอด ถ้ามีสัญญาณเหล่านี้

แม้ว่าในปัจจุบัน แม่ท้องบางท่าน ก็จะเลือกวิธีผ่าคลอด ด้วยเหตุผลที่ว่า สามารถกำหนดวันคลอดได้ และไม่ต้องใช้เวลาในการคลอดนาน ในขณะที่คุณแม่อีกหลายท่าน ก็อยากคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ เพราะข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันระหว่างคลอดธรรมชาติ และการผ่าคลอด แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุผลหลาย ๆ ประการ ก็อาจทำให้แม่ท้อง คลอดธรรมชาติไม่ได้ ต้องใช้วิธีผ่าคลอดแทน เรามาดูกันว่า สัญญาณเตือน ที่บ่งบอกว่าแม่ท้องมีความเสี่ยงที่จะต้องผ่าคลอดนั้นมีอะไรบ้าง

คลอดธรรมชาติไม่ได้

ปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อการผ่าคลอด

1. มีโรคประจำตัว

ในกรณีที่แม่ท้องมีโรคประจำตัว และหากคุณหมอเห็นว่า คลอดธรรมชาติไม่ได้ การคลอดธรรมชาติจะทำให้ไม่ปลอดภัย คุณหมอก็อาจจะให้ทำการผ่าตัดคลอด เพื่อความปลอดภัยต่อทั้งคุณแม่และลูกในท้อง ซึ่งโรคประจำตัวที่อาจทำให้แม่ท้องต้องผ่าคลอดนั้น มีดังนี้

  • โรคหัวใจ หากแม่ท้องเป็นโรคหัวใจ เช่นโรคหัวใจตีบบางชนิด หากคลอดธรรมชาติ เวลาเบ่งคลอดก็อาจจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อน ได้แก่ หัวใจทำงานแย่ลง ระบบการหายใจทำงานถี่ เหนื่อยหอบ หายใจไม่ทัน หมดสติ น้ำท่วมปอดหรือหัวใจวาย ซึ่งจะเป็นอันตรายทั้งต่อคุณแม่และทารกได้
  • เบาหวาน แม่ท้องที่เป็นเบาหวานตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ หรือเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาจส่งผลให้ทารกในครรภ์ตัวใหณ่ มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ ทำให้คลอดยาก และหากคุณหมอประเมินแล้วว่า ทารกในครรภ์มีน้ำหนักเกิน 4.2 – 4.5 กิโลกรัม ก็ควรจะต้องผ่าตัดคลอด เพราะถ้าคลอดธรรมชาติ ก็อาจจะทำให้ช่องคลอดเกิดการฉีกขาด คลอดไหล่ติด หรือมีภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อตัวคุณแม่และทารกได้
  • มะเร็งปากมดลูก หากแม่ท้องมีอาการของโรคมะเร็งปากมดลูก ก้อนมะเร็งอาจไปขวางช่องทางคลอด หรือทำให้มีเลือดออกรุนแรงจากก้อนมะเร็งได้
  • เนื้องอกในมดลูก การที่แม่ท้องมีเนื้องอกและยังไม่ได้ผ่าตัดออกไป อาจส่งผลให้ทารกไม่กลับหัว หรือทารกอาจจะไปอยู่ในตำแหน่งที่อุดกั้น ปิดขวางช่องทางการคลอด จนไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้

2. มีภาวะครรภ์เป็นพิษ

ครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงในระหว่างตั้งครรภ์ ที่ส่งผลต่อสุขภาพของแม่และลูกในท้อง จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยภาวะครรภ์เป็นพิษนั้น อาจพบในแม่ท้องที่มีสุขภาพดี โดยมีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่

  • ตั้งครรภ์ในขณะอายุน้อยกว่า 20 ปี
  • ตั้งครรภ์ตอนอายุมากกว่า 35 ปี
  • เป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก
  • มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน
  • ตั้งครรภ์แฝด
  • เคยมีประวัติครรภ์เป็นพิษหรือโรคหลอดเลือดหัวใจในครอบครัว

หากมีภาวะครรภ์เป็นพิษ เพื่อความปลอดภัยของแม่และลูก คุณหมอจะแนะนำให้ผ่าคลอดครับ

3. รกเกาะต่ำ

คุณแม่ที่เคยมีประวัติรกเกาะต่ำมาก่อน เคยผ่าตัดมดลูก หรือเคยผ่าตัดคลอด ก็อาจทำให้เกิดภาวะรกเกาะต่ำได้ หากมีการอักเสบบริเวณปากช่องคลอด ก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการที่รกมาฝังตัวในตำแหน่งที่ไม่ปกติ เกิดภาวะรกเกาะต่ำได้เช่นกัน ซึ่งคุณหมอก็จะแนะนำให้ทำการผ่าคลอด เพื่อความปลอดภัยของแม่และลูกในท้อง

คลอดธรรมชาติไม่ได้

4. กระดูกอุ้งเชิงกรานผิดปกติ

ความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกอุ้งเชิงกราน ที่อาจเกิดจากการที่แม่ท้องเคยได้รับอุบัติเหตุ มีภาวะกระดูกอุ้งเชิงกรานหัก ทำให้กระดูกผิดรูป ส่งผลให้ช่องทางการคลอดเปลี่ยนแปลง หรือแคบลงไปด้วย ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่บ่งบอกว่าแม่ท้องต้องผ่าคลอด เพราะถ้าโครงสร้างกระดูกอุ้งเชิงกรานมีความผิดปกติ ผิดรูป หรือแคบลง การที่ทารกจะคลอดผ่านออกมาจะเป็นไปลำบาก หรือคลอดออกไม่ได้ และบางครั้งทำให้ทารกที่คลอดออกมาได้รับความกระเทือน บอบช้ำ และบาดเจ็บได้

5. ทารกอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะต่อการคลอดธรรมชาติ

ในกรณีลูกไม่เอาหัวลง โดยเฉพาะทารกท่าก้น แต่คุณแม่เจ็บท้องจะคลอดแล้ว ก็จำเป็นต้องผ่าตัดคลอด และกรณีขนาดไม่สมดุล ไม่ว่าจะเป็นแม่ตัวเล็ก ลูกตัวใหญ่เกินไป หรืออุ้งเชิงกรานของแม่ไม่สมดุลกับตัวลูก ก็อาจต้องใช้วิธีผ่าคลอดเช่นกัน

6. เกิดภาวะคลอดเองไม่ได้

หากมีภาวะที่คลอดเองไม่ได้ อย่างเช่น ปากมดลูกเปิดค้างอยู่แค่ 6 เซนติเมตร หัวลูกเริ่มบวม ปากมดลูกไม่เปิดต่อ หรือกราฟหัวใจเด็กลดลง หากมีภาวะเหล่านี้ คุณหมอจะตัดสินใจผ่าตัดคลอด เพื่อความปลอดภัยของทั้งแม่และลูกครับ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ข้อดีข้อเสียของการผ่าคลอดทีคุณอาจยังไม่รู้

วิธีดูแลตัวเองหลังคลอด จะคลอดเองหรือผ่าคลอด ก็ฟื้นตัวเร็วได้

“แอปเปิล” คนท้องควรกินแอปเปิลวันละกี่ลูก

ที่มา : 1

parenttown

บทความจากพันธมิตร
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • คลอดธรรมชาติไม่ได้ อาจต้องผ่าคลอด ถ้ามีสัญญาณเหล่านี้
แชร์ :
  • 4 โรคนี้ต้องระวัง ถ้าแม่ท้องเป็นอาจต้องผ่าคลอด

    4 โรคนี้ต้องระวัง ถ้าแม่ท้องเป็นอาจต้องผ่าคลอด

  • คลอดเองหรือผ่าคลอด ถ้าเลือกได้จะเลือกอะไร แบบไหนดีกว่ากัน

    คลอดเองหรือผ่าคลอด ถ้าเลือกได้จะเลือกอะไร แบบไหนดีกว่ากัน

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 4 โรคนี้ต้องระวัง ถ้าแม่ท้องเป็นอาจต้องผ่าคลอด

    4 โรคนี้ต้องระวัง ถ้าแม่ท้องเป็นอาจต้องผ่าคลอด

  • คลอดเองหรือผ่าคลอด ถ้าเลือกได้จะเลือกอะไร แบบไหนดีกว่ากัน

    คลอดเองหรือผ่าคลอด ถ้าเลือกได้จะเลือกอะไร แบบไหนดีกว่ากัน

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ