คนท้องทำจมูกได้มั้ย
เรื่องความสวยความงามเนี่ย มันเป็นของคู่กันกับผู้หญิง ต่อให้เป็นมนุษย์แม่ บางทีเราก็อยากทำสวยเหมือนกัน ยิ่งถ้าหากวางแพลนอะไรไว้เสร็จสรรพ แต่เจ้าตัวน้อยก็ดันมาพอดี แบบนี้จะเอายังไงต่อดีล่ะ หมอศัลยกรรมบางคนก็นัดยาก รอนานกว่าจะได้คิว ควรทำหรือเลื่อนไปก่อน คนท้องทำจมูกได้มั้ย อยากเสริมจมูก (Augmentation Rhinoplasty) ควรทำช่วงไหนถึงจะปลอดภัย ไม่กระทบทั้งแม่และลูก มาดูกัน
Augmentation Rhinoplasty
คนท้องกับการทำศัลยกรรม (Plastic Surgery)
ถึงแม้ว่าจมูกกับมดลูก มันจะคนละส่วนกัน แต่การทำศัลยกรรม (Plastic Surgery) ในแต่ละครั้ง แน่นอนว่าต้องมีการใช้ยามากมาย ซึ่งเรื่องยาเนี่ยแหละค่ะ เป็นสิ่งที่แม่ท้องจะต้องให้ความสำคัญ เพราะเมื่อตั้งครรภ์แล้ว จะมีตัวยาบางชนิด ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยง เพราะจะไปกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ แถมยังลากยาวไปถึงช่วงให้นมบุตรเลยด้วย
การทำศัลยกรรมเล็ก อย่างการเสริมจมูก (Augmentation Rhinoplasty) นั้น โดยทั่วไปแล้วจะไม่ได้วางยาสลบ แต่จะมีการใช้ยาชา Lidocaine ซึ่งยาชานี้ สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย แต่พวกยาชา (Anesthetic) ยากล่อมประสาท (Sedative) ถ้าหากใช้เกินสามชั่วโมง อาจทำให้เซลล์สมองตาย ส่งผลระยะยาวต่อเด็ก ทำให้มีปัญหาด้านความจำ ระบบประสาท พัฒนาการทางสมอง ไปจนถึงสมาธิสั้น
อย่างไรก็ตาม หลังจากการผ่าตัดนั้น จะต้องมียาทานอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นยาแก้อักเสบ ยาลดบวม ยาแก้ปวด ยาฆ่าเชื้อ ซึ่งตัวยาเหล่านี้เอง ที่อาจส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ได้
คุณแม่ตั้งครรภ์ห้ามกิน ยาลดไข้ ยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน (Aspirin) ไอบูโรเฟน (Ibuprofen) เพราะจะมีส่วนทำให้เลือดแข็งตัว เพิ่มความเสี่ยงแท้งบุตร รวมไปถึงทำให้คลอดยาก หรือคลอดเกินกำหนด
Augmentation Rhinoplasty
นอกจากนั้น ยาแก้อักเสบ (Antibiotic) บางอย่าง ยังส่งผลต่อการสร้างกระดูกและฟันของทารก ทำให้การเจริญเติบโตของกระดูกและฟันช้าลง พัฒนาการทางสมองผิดปกติ ยิ่งถ้าหากใช้ในปริมาณเยอะ อาจเข้าไปทำลายตับของคุณแม่ด้วย
คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรระมัดระวังเรื่องการศัลยกรรม โดยเฉพาะยิ่งช่วงไตรมาสแรก เป็นช่วงที่ทารกกำลังสร้างอวัยวะต่าง ๆ จึงเป็นช่วงที่ต้องระมัดระวังในเรื่องการทานยามากเป็นพิเศษ ถ้าหากหลีกเลี่ยงการทำศัลยกรรม (Plastic Surgery) ได้ ก็ควรเลื่อนออกไปก่อนจะดีกว่าค่ะ
คนท้องทำจมูก (Rhinoplasty) ได้ตอนไหน?
คำถามต่อไปก็คือ ถ้าหากคุณแม่ตั้งครรภ์อยากเสริมจมูก (Augmentation Rhinoplasty) จะสามารถทำได้ตอนไหน หลังคลอดทำได้เลยหรือไม่?
จริง ๆ แล้ว เรื่องยาไม่ได้กระทบแค่กับคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่ยังลากยาวไปถึงคุณแม่ให้นมบุตรด้วย เพราะยาที่ทานเข้าไป จะไปกระทบต่อน้ำนมบุตร ดังนั้นระหว่างให้นมบุตร ก็ควรเลื่อนการทำศัลยกรรมเสริมจมูก (Augmentation Rhinoplasty) ออกไปก่อนเช่นเดียวกัน เพราะการที่ลูกน้อยได้รับตัวยาต่าง ๆ ผ่านทางน้ำนมแม่ โดยที่ลูกน้อยไม่ได้เจ็บป่วยอะไร อาจส่งผลกระทบระยะยาว ทำให้ลูกดื้อยาได้
นอกจากนั้นแล้ว คุณแม่หลังคลอดก็ต้องเลี้ยงลูกที่ยังเล็ก มีเหตุทำให้ต้องก้ม ๆ เงย ๆ อยู่ตลอด ทั้งอุ้มลูก ให้นมลูกน้อย ดังนั้นจึงอาจไม่สะดวกในการพักฟื้นหลังศัลยกรรม ที่ต้องระวังแผลที่จมูกจะกระทบกระเทือนอยู่ตลอด
ที่จริงแล้ว การทำจมูก (Augmentation Rhinoplasty) ควรรอให้ลูกน้อยโตพอที่จะรู้เรื่องเลยด้วยซ้ำ ถึงจะเป็นเวลาที่เหมาะในการทำศัลยกรรม (Plastic Surgery) เพราะถึงแม้ว่าจะพ้นช่วงให้นมบุตรแล้ว คุณแม่เองก็ยังต้องเลี้ยงลูก เวลาที่คุณแม่อุ้มลูก หรือเล่นกับลูก ถ้าหากเด็กยังเล็ก บางครั้งมือของเด็กอาจจะมีโอกาสพลาดไปโดนจมูกของคุณแม่ได้ จึงควรรอให้ลูกโตพอรู้เรื่องก่อน อย่างน้อยให้ลูกโตสักประมาณ 3 ขวบ แล้วค่อยทำจมูกก็ได้ค่ะ
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ยาที่คนท้องห้ามใช้ ยาที่ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ข้อควรระวังการใช้ยาของคนท้อง ยาที่ควรหลีกเลี่ยง
ทำศัลยกรรมหน้าอก อัพไซส์เสริมนม จะให้นมลูกได้ไหม?
แม่ท้องก็สวยได้ 17 วิธีดูแลตัวเองตอนท้อง ให้เป็นมนุษย์แม่ที่สวย สุขภาพดี
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!