X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ยาที่คนท้องห้ามใช้ ยาที่ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ข้อควรระวังการใช้ยาของคนท้อง ยาที่ควรหลีกเลี่ยง

บทความ 3 นาที
ยาที่คนท้องห้ามใช้ ยาที่ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ข้อควรระวังการใช้ยาของคนท้อง ยาที่ควรหลีกเลี่ยง

แม่ท้องซื้อยากินเองแล้วอันตรายไหม ยาที่ต้องห้ามกินระหว่างตั้งครรภ์ แม่ท้องอย่าซื้อยากินเองเด็ดขาด ยาที่คนท้องห้ามใช้หรือยาตัวไหนอันตรายกับคนท้องและทารกในครรภ์

ยาที่คนท้องห้ามใช้

ยาที่คนท้องห้ามใช้ ยาในหญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยง ยาชนิดไหนที่คนท้องห้ามใช้ ยาที่ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ข้อควรระวังการใช้ยาของคนท้อง

 

คนท้องห้ามซื้อยามากินเอง ดูให้ดียาที่คนท้องห้ามใช้

  • การใช้ยาในสตรีตั้งครรภ์มีข้อควรระวังหลายประการ เนื่องจากสรีรวิทยาที่เปลี่ยนไปตามอายุครรภ์
  • น้ำหนักตัวของแม่ที่เพิ่มขึ้น มีปริมาตรเลือดมากขึ้น ทำให้มีการกระจายตัวของยามากขึ้น ประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ของยาจึงลดลง
  • ยาที่หาซื้อได้เองส่วนใหญ่เป็นยาชนิดรับประทานที่ต้องอาศัยน้ำย่อยในกระเพาะอาหารเพื่อแตกตัว และมีการดูดซึมกลับที่ลำไส้ได้น้อยลงในขณะตั้งครรภ์
  • ยาบางชนิดยังส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้ เช่น ยารักษาสิวอาจเพิ่มโอกาสแท้งบุตร เพิ่มความพิการแต่กำเนิดได้

โดยทั่วไปแล้วควรเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็นในขณะตั้งครรภ์ ยกเว้นยาบำรุงครรภ์หรือยารักษาโรคประจำตัวตามคำสั่งแพทย์ การที่สตรีตั้งครรภ์ซื้อยารับประทานเองโดยไม่มีความรู้หรือไม่มีข้อบ่งชี้จึงอาจมีอันตรายจากการใช้ยาได้ทั้งต่อตนเองและบุตรในครรภ์

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ผักผลไม้วิตามินซีสูง ป้องกันหวัดลูก ดีต่อสุขภาพคนท้อง สร้างเนื้อเยื่อและกระดูกทารกในครรภ์

 

ข้อควรระวังการใช้ยาของคนท้อง

หากท่านมีการใช้ยาอยู่เดิมควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนยาให้เหมาะสมกับสตรีตั้งครรภ์ต่อไป โดยยึดหลักการรักษาที่สำคัญ คือ ความปลอดภัยของทั้งแม่และทารกในครรภ์โดยใช้ยาขนาดที่น้อยที่สุดที่สามารถควบคุมโรคระหว่างตั้งครรภ์ได้ บางกรณีแพทย์อาจจำเป็นต้องตรวจวัดระดับยาในเลือดเพื่อปรับขนาดยาให้เหมาะสมในแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์และติดตามการรับประทานยาของผู้ป่วย เป็นต้น

 

ยาที่คนท้องห้ามใช้ ยาที่ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ยาที่ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ pdf ข้อควรระวังการใช้ยาของคนท้อง หญิงตั้งครรภ์ควรเลี่ยง ยาชนิดไหนที่คนท้องห้ามใช้ เพื่อความปลอดภัยทารกในครรภ์

ยาที่คนท้องห้ามใช้เด็ดขาด

วิธีแบ่งยาที่ใช้ในสตรีตั้งครรภ์

Advertisement

ในทางการแพทย์สามารถแบ่งยาที่ใช้ในสตรีตั้งครรภ์ได้เป็นหลายกลุ่มตามความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์

  • ตั้งแต่ยาที่มีความปลอดภัยสูงสามารถใช้ได้ทุกกรณี เช่น ยาบำรุงครรภ์ ยาวิตามินบางชนิด
  • ยาที่มีความเสี่ยงต่อทารกพิการเล็กน้อย
  • ยาที่มีความเสี่ยงต่อทารกสูง
  • ยาที่ห้ามใช้ในสตรีตั้งครรภ์

อ่าน คนท้องไม่ควรกินยาอะไร ยาแก้ปวดที่คนท้องห้ามกิน มีผลต่อหัวใจและหลอดเลือดลูกในท้อง

 

โดยท่านสามารถหาข้อมูลยาที่คนท้องห้ามใช้เหล่านี้ได้ในเอกสารกำกับยา ซึ่งองค์การเภสัชกรรมมีข้อบังคับให้เปิดเผยข้อมูลทางการแพทย์เหล่านี้แก่ผู้ใช้ยาทุกคน หรือสามารถปรึกษาแพทย์ที่ดูแลได้ อิทธิพลของยาที่มีผลต่อทารกในครรภ์ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น อายุครรภ์ที่ได้รับยา โดยเฉพาะช่วงไตรมาสแรก (12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์) ซึ่งเป็นช่วงที่มีการสร้างอวัยวะสำคัญของทารก ปริมาณยาที่ได้รับ ระยะเวลาที่ได้รับยา คุณสมบัติทางเคมีของตัวยา เช่น น้ำหนักโมเลกุลน้อย มีความสามารถละลายในไขมันได้ดี จะช่วยให้ตัวยาผ่านรกได้มาก เป็นต้น

เนื่องจากรกคือปราการสำคัญที่ช่วยปกป้องทารกในครรภ์ ฉะนั้นยาใดที่สามารถผ่านรกได้ดี จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้มากด้วย

 

ยาที่คนท้องไม่ควรกิน ตัวอย่างยาที่คนท้องห้ามใช้

ยาที่ใช้กันบ่อยทั่วไป แต่ห้ามใช้ในสตรีตั้งครรภ์ได้แก่

  • ยาลดไขมันในเลือด
  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • ยาต้านฮอร์โมน
  • ยากันชัก
  • ยานอนหลับ
  • ยาเสพติด
  • ยาเคมีบำบัด

 

แม่ท้องต้องปรึกษาหมอก่อนใช้ยา เพื่อหลีกเลี่ยงยาที่คนท้องห้ามใช้

ข้อมูลความปลอดภัยของยาในสตรีตั้งครรภ์หรือยาที่คนท้องห้ามใช้นั้นอาจสรุปได้ยาก โดยเฉพาะยาตัวใหม่ ๆ เนื่องจากปัญหาทางจริยธรรมวิจัยที่ไม่สามารถทำการศึกษาทดลองในคนได้ ข้อมูลส่วนใหญ่จึงได้จากงานวิจัยในสัตว์ทดลอง หรือการรายงานจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในอดีต ที่มีการใช้ยานั้นมาก่อนโดยบังเอิญหรือไม่ได้ตั้งใจตั้งครรภ์ ทำให้ยาที่มีใช้มานานจะมีข้อมูลการใช้ยาในสตรีตั้งครรภ์มากกว่ายาตัวใหม่ซึ่งอาจจะไม่มีข้อมูลในสตรีตั้งครรภ์เลย ส่วนยาตัวใหม่จะปลอดภัยต่อทารกในครรภ์มากกว่ายาตัวเก่าหรือไม่นั้น ยังไม่สามารถบอกได้เนื่องจากการคิดค้นยาใหม่จะมุ่งเน้นเรื่องประสิทธิภาพในการรักษา ผลข้างเคียงต่ำ แต่จะไม่มีข้อมูลความปลอดภัยในสตรีตั้งครรภ์

สรุป สตรีตั้งครรภ์ควรใช้ยาเท่าที่จำเป็น และใช้อย่างระมัดระวัง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงยาที่คนท้องห้ามใช้ และหากต้องการใช้ยาควรอ่านเอกสารกำกับยาอย่างละเอียด เราจึงคุ้นเคยกับประโยคในเอกสารกำกับยาที่ว่า ยานี้ห้ามใช้ในสตรีตั้งครรภ์ หรือ ยานี้ควรใช้อย่างระมัดระวังในสตรีตั้งครรภ์

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

คนท้องไตรมาสที่3 คนท้องใกล้คลอด อาหารคนท้องไตรมาส3 อาการที่พบบ่อย แม่ท้องไตรมาสสุดท้าย

น้ำคร่ำน้อยอันตรายไหม ลูกในท้องจะเป็นอย่างไร มีวิธีป้องกันหรือเปล่า

อันตรายหรือไม่ หากลูกแฝดเสียชีวิตในท้อง 1 คน

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

ผศ.นพ.เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ยาที่คนท้องห้ามใช้ ยาที่ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ข้อควรระวังการใช้ยาของคนท้อง ยาที่ควรหลีกเลี่ยง
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว