คนท้องกินน้ำฝนได้ไหม น้ำฝนตอนนี้ไม่ปลอดภัย ปนเปื้อนสารพิษมากมาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การกินน้ำฝนเป็นวิถีชีวิตที่ส่งต่อกันมาเรื่อย ๆ ปัจจุบันก็ยังพบได้เป็นปกติในหลายพื้นที่ คนท้องกินน้ำฝนได้ไหม คุณแม่เคยสงสัยหรือไม่ เมื่อตอนท้องต้องระวังแทบทุกย่างก้าว น้ำฝนที่คิดว่าปลอดภัยตอนนี้อาจไม่เหมือนเดิมแล้ว ทำไมแม่ท้องต้องกังวลหาคำตอบได้ในบทความนี้

 

พฤติกรรมการกินน้ำฝนอยู่กับคนไทยมาช้านาน

ตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบันมีการกินน้ำฝนมาโดยตลอด ในยุคนี้เองพบว่ายังมีหลายพื้นที่นิยมกินน้ำฝนอยู่เช่นกันตามที่เราเห็นในข่าว ซึ่งมักเป็นผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตามบางครัวเรือนก็ยังกินน้ำฝน ซึ่งรวมไปถึงคนท้องด้วยเช่นกัน โดยมีความเชื่อ และคำพูดที่พูดต่อ ๆ กันมาว่าน้ำฝนนั้นสะอาด มีความบริสุทธิ์ ไม่มีสิ่งเจือปน บางคนถึงกับเทียบว่าน้ำดื่มตามร้านสะดวกซื้อคงไม่สะอาดเท่ากับน้ำฝนแน่นอน บางคนนอกจากทานน้ำฝนแล้ว ยังใช้อาบน้ำ และล้างหน้าติดต่อกันมาหลายปี นับเป็นวิถีชีวิตอย่างหนึ่งที่ยังไม่หมดไป อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการกินน้ำฝนที่เชื่อกันว่าบริสุทธิ์อาจต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ เพราะในตอนนี้มลพิษ และสภาพอากาศไม่ได้เหมือนสมัยก่อนแล้วนั่นเอง

 

วิดีโอจาก : Splash Interactive

 

คนท้องกินน้ำฝนได้ไหม

แม่ท้องหลายคนอาจกลับบ้านแล้วพบเจอกับวิถีชีวิตที่เรียบง่าย เช่น การกินน้ำฝน เป็นต้น ซึ่งในช่วงที่ตั้งครรภ์นี้ เรื่องโภชนาการ อาหารการกินสำคัญมาก การกินน้ำฝนนั้นสามารถทำได้ และบริสุทธิ์จริงในอดีต แต่ในตอนนี้มีหลักฐาน และการวิจัยตรวจสอบความสะอาด และความปลอดภัยของน้ำฝน พบว่าน้ำฝนในตอนนี้ไม่ได้อยู่ในสถานะที่สามารถนำมาดื่มกินได้แล้ว เพราะมีการปนเปื้อนเชื้อโรค และสารพิษมากมายจากสภาวะอากาศในปัจจุบัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม้ว่าแม่ท้องจะไม่ควรกินน้ำฝน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีวิธีที่กินให้ปลอดภัย กรณีที่ไม่มีทางเลือก ต้องกินน้ำฝนจริง ๆ ก็สามารถกินได้ นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย แนะนำว่าควรเก็บน้ำฝนให้สะอาด ปลอดภัย และก่อนนำมากิน ควรต้มให้เดือดก่อนประมาณ 1 นาทีด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องกินปูไข่ดองได้ไหม เมนูรสเข้ม แต่อันตรายถึงใจ

 

ทำไมน้ำฝนในปัจจุบันถึงอันตราย ?

นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย ได้กล่าวถึงการปนเปื้อนของน้ำฝนในปัจจุบัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น ฝุ่น PM 2.5, สารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม, การจราจรที่หนาแน่น หรือการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง เป็นต้น ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด จากผลทดสอบตอนนี้พบว่าน้ำฝนในปัจจุบันไม่สามารถนำมาดื่มได้ หากไม่นำไปต้มเสียก่อน นอกจากนี้สำหรับในประเทศไทยนั้น มีการสุ่มตรวจสอบครัวเรือนที่กินน้ำฝน พบว่า 29.4 % กินน้ำฝนที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มีการปนเปื้อนแบคทีเรีย และพบความเป็นกรด – ด่างเกินเกณฑ์มาตรฐานด้วย

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ยังกล่าวถึงการปนเปื้อนในน้ำฝนตอนนี้มีทั้งสารเคมี, แบคทีเรีย, ไวรัส หรือปรสิต เป็นต้น ทางด้านวารสาร Environmental Science & Technology มีการเผยแพร่ข้อมูลว่าน้ำฝนทั่วโลกมีการปนเปื้อนสารเคมีที่มีชื่อว่า “PFAS (er-and Polyfluoroalkyl Substances)” อย่างเข้มข้น ซึ่งสารนี้เป็นกลุ่มของสารเคมีที่ใช้ในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ซึ่งขาดไม่ได้ และพบได้ทั่วไปในแวดล้อมด้วย หากร่างกายของคนท้องรับสารเคมีกลุ่มนี้ผ่านการกินน้ำฝน จะทำให้เกิดการสะสมจนเกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ในเวลาต่อมา

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

สารเคมี PFAS ในน้ำฝนอันตรายต่อคนท้องแค่ไหน ?

การรับสารเคมีชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายของคุณแม่ทำให้เกิดการสะสม เมื่อมากพอเกินกว่าที่ร่างกายจะรับได้ไหว อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น เสี่ยงเกิดมะเร็งลำไส้, มะเร็งตับ และไทรอยด์ เป็นต้น นอกจากคนท้องแล้ว คนทั่วไปก็ต้องระวัง รวมไปถึงเด็กเล็กด้วย เพราะสารเคมีกลุ่ม PFAS ในน้ำฝน สามารถลดประสิทธิภาพของวัคซีนในเด็กได้ด้วย หากแม่ท้องมีลูกเล็ก ก็ต้องดูแลให้ดี อย่าปล่อยให้โดนฝนง่าย ๆ เด็ดขาด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คนท้องจะกินน้ำฝนให้ปลอดภัยขึ้นอย่างไร ?

แม้ว่าเราจะไม่แนะนำให้แม่ท้องกินน้ำฝน แต่บางครั้งอาจเลี่ยงไม่ได้ เช่น กลับบ้านแล้วบ้านมีแค่น้ำฝน และอยู่ไกลร้านค้า เป็นต้น ซึ่งเราก็มีวิธีการเก็บน้ำฝนที่ถูกต้อง และขั้นตอนที่ควรทำก่อนนำน้ำฝนมาทาน เพื่อให้คนท้องนำไปใช้ หรือแนะนำให้กับทางบ้านเอาไปใช้ เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยให้มากขึ้น ดังนี้

 

  • ภาชนะที่ใช้บรรจุกักเก็บน้ำฝน ต้องได้รับการทำความสะอาดมาอย่างดีก่อน ควรทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำคลอรีนในขั้นตอนสุดท้ายของการล้างเสมอ ไม่ควรมีเศษฝุ่น หรือแม้แต่เศษใบไม้ตามธรรมชาติก็ไม่ได้สะอาดปลอดภัยเสมอไป
  • การเก็บน้ำฝนที่ถูกต้อง ไม่ควรเก็บทันทีที่ฝนตก แต่ควรปล่อยให้ฝนตกตะกอนเอาเชื้อต่าง ๆ ทิ้งไปก่อนบ้าง ด้วยการปล่อยให้ฝนไหลผ่านบนหลังคา และรางรับน้ำฝนไปก่อนระยะหนึ่ง แล้วค่อยเก็บน้ำฝนไว้ในภาชนะที่ต้องการ ถือเป็นการกรองน้ำฝนเบื้องต้น
  • หลังจากน้ำฝนเต็มภาชนะแล้ว ให้นำตาข่ายพลาสติกมาปิดก่อน และค่อยปิดฝาตาม เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกแปลกปลอมลงไปในภาชนะ รวมไปถึงแมลง และสัตว์มีพิษต่าง ๆ ด้วย
  • เลี่ยงการนำภาชนะอื่น ๆ หรืออาหารไปวางไว้ใกล้ภาชนะที่เก็บน้ำฝน บริเวณนั้นควรถูกดูแลความสะอาดไม่ให้มีน้ำขัง เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้มีสัตว์เล็กไปอาศัยอยู่ เป็นอันตรายต่อผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านได้
  • เมื่อจะนำน้ำฝนมากิน ต่อให้ดูแลความสะอาดตามที่เราแนะนำตั้งแต่ข้อแรก แต่ควรนำน้ำฝนมาต้มให้เดือดประมาณ 1 นาทีก่อนดื่มเสมอ เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหารจากเชื้อต่าง ๆ

 

การนำน้ำฝนไปต้มก่อนนั้นเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เพราะการเก็บน้ำฝนจากหลังคา หรือรางน้ำ แม้จะกรองสิ่งสกปรกไปบ้าง แต่หลังคา หรือรางเอง ก็อาจมีเชื้อโรคอยู่ด้วยเช่นกัน

 

 

ปัจจุบันดื่มน้ำเปล่าแบบขวดปลอดภัยกว่าน้ำฝน

แม้ว่าการกินน้ำฝนในบางพื้นที่จะกลายเป็นวิถีชีวิตไปแล้ว แต่สำหรับคนท้องที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะความปลอดภัยขณะตั้งครรภ์ต่อทั้งตัวคุณแม่เอง และทารกในครรภ์ แน่นอนว่าการกินน้ำฝนในยุคนี้ไม่ใช่ทางเลือกที่ปลอดภัย เพราะก่อนจะนำมาทานก็มีหลายขั้นตอนที่ยุ่งยาก และต้องอาศัยการดูแลภาชนะใส่น้ำฝนตลอดเวลา การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์น้ำดื่มทั่วไป จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า ปัจจุบันน้ำดื่มในแต่ละยี่ห้อที่วางขายตามร้านสะดวกซื้อ มักได้รับการตรวจสอบตามมาตรฐานเพื่อรับรองความปลอดภัยมาแล้วเช่นกัน ซึ่งแม่ท้องอาจเลือกซื้อจากการอ่านฉลากก่อนเพื่อความสบายใจทั้งการรับรอง และกระบวนการผลิตที่ไว้ใจได้

 

สรุปแล้วน้ำฝนเป็นสิ่งที่คนท้องควรหลีกเลี่ยงในปัจจุบัน เมื่อต้องกินควรต้มก่อนเสมอ อย่างไรก็ตามการเลี่ยงน้ำฝนเป็นทางเลือกที่ดีในยุคนี้ และหันไปเลือกน้ำดื่มทั่วไป โดยศึกษาจากฉลากก่อนเป็นสำคัญ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คนท้องกินยำกุ้งสดได้ไหม เมนูยำยอดฮิตเมนูนี้ เราแนะนำให้เลี่ยง !

คนท้องกินก๋วยเตี๋ยวได้ไหม รู้ไหมเส้นก๋วยเตี๋ยวอาจมีสารกันบูดถ้าไม่ระวัง !

คนท้องกินข้าวซอยได้ไหม ไปภาคเหนือต้องได้ลอง กินแบบไหนให้ปลอดภัย ?

ที่มา : 1, 2

บทความโดย

Sutthilak Keawon