คนท้องกินพะโล้ได้ไหม หวานหอมสมุนไพรเครื่องเทศ ดีต่อคนท้องไหมนะ ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การกินพะโล้อร่อย ๆ สักมื้อคงจะทำให้อิ่มท้องสบายใจ คนท้องกินพะโล้ได้ไหม เมนูอาหารหลากหลายที่ต้องงดในตอนตั้งครรภ์ ทำให้แม่ท้องเริ่มคิดมาก ยิ่งเป็นคนชอบพะโล้อยู่แล้ว ยิ่งกังวลว่าจะเป็นอันตรายหรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบมาให้ ชวนแม่ ๆ มาอ่านกัน

 

คนท้องกินพะโล้ได้ไหม

การกินเมนูพะโล้กับหลากเมนูเป็นอาหารมื้อหลัก เป็นความคุ้นชินของคนไทยมานาน แม่ท้องหลายคนก็อาจชอบกินพะโล้เป็นพิเศษ ด้วยรสชาติหอมหวาน มีกลิ่นเครื่องเทศสมุนไพร แต่ก็มีหลายเมนูที่คนท้องควรเลี่ยง พะโล้จะเป็นอันตรายไหมกับคนท้อง ต้องบอกเลยว่าไม่ คนท้องสามารถกินพะโล้ได้โดยไม่ต้องกลัวว่าตนเอง และทารกจะได้รับอันตราย โดยอยู่ในเงื่อนไขพื้นฐาน คือ ต้องเลือกร้านที่สะอาด ไว้ใจได้ในเรื่องคุณภาพการผลิต และวัตถุดิบที่ปลอดภัย เพื่อเลี่ยงการปนเปื้อนเชื้อโรค และสารพิษต่าง ๆ ไปจนถึงการกินในปริมาณที่พอดี และไม่ทานบ่อย ไม่ทานทุกวัน ร่วมกับการทานผักผลไม้บ้าง เพียงแค่นี้แม่ท้องก็อุ่นใจได้แล้ว

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องกินสเต๊กได้ไหม กินแบบ Rare และ Medium Rare ได้ไหม ?

 

วิดีโอจาก : ครัวพิศพิไล

 

สารอาหารในพะโล้ที่คนท้องจะได้รับ

หากแม่ท้องกินไข่พะโล้ร่วมกับข้าวสวยเป็นมื้ออาหารหลัก จะมีปริมาณ 360 กรัม โดยจะให้พลังงานกับคุณแม่ประมาณ 330 กิโลแคลอรี ซึ่งมีปริมาณที่เหมาะสมต่ออาหารมื้อหลัก ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป และมีสารอาหารเป็นจำนวนไม่น้อย จากส่วนผสมเครื่องเทศสมุนไพรหลักทั้งยี่หร่า, อบเชย, พริกไทยดำ, กานพลู และโป๊ยกั๊ก เป็นต้น ทำให้มีสารอาหาร เช่น โปรตีน, ไขมัน, คอเลสเตอรอล, แคลเซียม, วิตามิน D และวิตามิน B12 เป็นต้น

แม้จะมีสารอาหารเป็นจำนวนมาก แต่สารอาหารที่มีอยู่ปริมาณสูง คือ ไขมัน และคอเลสเตอรอล ซึ่งนั่นหมายความว่า เมนูนี้จะมีประโยชน์เต็มที่ หากแม่ท้องทานในปริมาณที่พอดี ไม่มากเกินไป และไม่กินบ่อยเกินไป การทานมาก ๆ อาจทำให้คุณแม่ประสบกับปัญหาน้ำหนักตัวพุ่งเร็ว มีปัญหาไขมันในเส้นเลือดสูง ทำให้เสี่ยงต่อโรคร้ายได้โดยไม่รู้ตัว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ไข่ในพะโล้มีประโยชน์มากมายต่อคนท้อง

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ได้กล่าวถึงการกินอาหารของคนท้องว่า จะต้องเน้นการทานอาหารให้มีโภชนาการ และครบ 5 หมู่ ซึ่งในพะโล้นั้นนอกจากจะมีสารอาหารที่หลากหลายตามที่เราได้กล่าวไปแล้ว ยังมีสิ่งที่ขาดไม่ได้นั่นคือ “ไข่” ซึ่งเป็นวัตถุดิบอาหารที่สำคัญกับแม่ท้องมาก และด้วยความเข้าใจที่ว่าคนที่กำลังตั้งครรภ์ ต้องทานอาหารที่มากขึ้น ในช่วงก่อนการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจกินไข่วันละ 1 ฟอง พอตั้งครรภ์จึงกินมากกว่า 1 ฟองทุกวัน แม้ไข่จะมีประโยชน์แต่การทำแบบนี้ไม่ถูกต้อง

ผู้เชี่ยวชาญเน้นย้ำการกินไข่ แม้จะจากเมนูพะโล้ หรือเมนูอื่น ๆ ก็ตาม ว่าไม่ควรทานมากกว่า 1 ฟอง / วัน เนื่องจากการทานอาหารที่มากขึ้นของหญิงตั้งครรภ์ไม่ได้หมายถึงการกินสิ่งเดิม ๆ เป็นจำนวนที่มากขึ้น แต่ควรแบ่งมื้อทานให้มีประสิทธิภาพด้านโภชนาการด้วย คือ ต้องครบ 5 หมู่มากกว่า หลากหลายกว่า เน้นสารอาหารที่มีประโยชน์จากหลายเมนู แทนที่จะอิ่มไปก่อนจากการกินไข่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

คนท้องระวังเครื่องพะโล้อาจมีอันตราย

แม่ท้องรู้หรือไม่ว่าการซื้อผงพะโล้แบบสำเร็จรูปมาทำเมนูพะโล้ทานเอง ถึงแม้จะเป็นวิธีที่ง่าย แต่ก็ยังมีความเสี่ยงต่อเชื้อโรค และสารพิษร้ายอยู่ โดยเฉพาะตัวที่ชื่อว่า “อะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin)” ซึ่งเกิดจากกระบวนการในการทำผงพะโล้สำเร็จรูป โดยทั่วไปแล้วจะต้องนำวัตถุดิบมาบดให้ละเอียดตากให้แห้งก่อนที่จะบรรจุใส่ซอง ซึ่งในขั้นตอนการตากแห้งนั้นหากดูแลไม่ดี สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม จะทำให้เสี่ยงต่อการมีสารพิษอะฟลาท็อกซินได้ ซึ่งสารพิษนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดเอาไว้ว่าเป็นหนึ่งในสารพิษก่อมะเร็งชนิดร้ายแรงต้องระวัง สามารถเกิดอันตรายได้ หากรับเข้าสู่ร่างกายอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตามสำหรับประเทศไทยเอง ก็ได้มีการสุ่มตรวจผงพะโล้สำเร็จรูปจากสถาบันอาหารจำนวน 5 ตัวอย่าง เพื่อหาสารที่อันตรายอะฟลาท็อกซิน พบว่าไม่มีตัวอย่างไหนที่มีสารพิษชนิดนี้ผสมอยู่ ซึ่งถือเป็นข่าวดี แต่แม่ท้องยังต้องระวัง เพราะการสุ่มตรวจไม่ได้ตรวจทุกพื้นที่ ดังนั้นการเลี่ยงซื้อผงพะโล้ที่เดิม ๆ หรือการไม่ทานพะโล้บ่อย ๆ เป็นการป้องกันตนเองของแม่ท้องที่สามารถทำได้ไม่ยาก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

โป๊ยกั๊กในพะโล้อาจปนเปื้อนกำมะถัน

โป๊ยกั๊ก หรือจันทน์แปดกลีบ (Star anise) เป็นหนึ่งในเครื่องเทศสมุนไพรที่เป็นวัตถุดิบหลักในการทำพะโล้ให้มีกลิ่นหอมน่าทาน เราจะพบได้ในชามพะโล้เสมอ หรือเครื่องพะโล้แบบซองเสมอ ลักษณะของโป๊ยกั๊กจะคล้ายกับดาวหลายแฉก และมีสีน้ำตาล แหล่งกำเนิดการผลิตโดยทั่วไปของโป๊ยกั๊กมาจากประเทศจีน แล้วทำไมเราถึงบอกให้ระวังกำมะถัน เนื่องมาจากมีข่าวการตีแผ่กระบวนการผลิตโป๊ยกั๊กในประเทศจีน ว่ามีการใช้กำมะถันในการเร่งความเร็วให้โป๊ยกั๊กแห้งเพื่อนำไปส่งออก นอกจากนี้ยังเป็นการลดต้นทุนการผลิต และทำให้โป๊ยกั๊กมีสีสันสดมากกว่าเดิมด้วย

แม้จะดูปลอดภัยเพราะแม่ท้องกินพะโล้อยู่ที่ประเทศไทย แต่ก็มองข้ามการส่งออกสินค้าจากจีนมาไทยไม่ได้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้กำหนดปริมาณกำมะถันไม่เกิน 70 มิลลิกรัม / กิโลกรัม แต่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดว่าใน 1 วันไม่ควรบริโภคเกิน 0.7 มิลลิกรัม / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม การสังเกตโป๊ยกั๊กที่ไม่ปนเปื้อนกำมะถันสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการสังเกตสี และรูปร่าง โดยโป๊ยกั๊กปกติจะแห้ง มีสีดำ และผลเล็ก ในขณะที่โป๊ยกั๊กที่ปนเปื้อนกำมะถันจะมีลักษณะอวบอิ่ม สีน้ำตาล และมีความนิ่มนั่นเอง

 

การกินพะโล้อย่างพอดี เลือกร้านที่สะอาดไว้ใจได้ จะทำให้แม่ท้องได้รับทั้งความอร่อย และความปลอดภัยจากสารพิษร้ายในเวลาเดียวกัน ถือเป็นอีกหนึ่งเมนูที่น่าสนใจในการเลือกทานในช่วงตั้งครรภ์

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คนท้องกินน้ำฝนได้ไหม น้ำฝนตอนนี้ไม่ปลอดภัย ปนเปื้อนสารพิษมากมาย

คนท้องกินปูไข่ดองได้ไหม เมนูรสเข้ม แต่อันตรายถึงใจ

คนท้องกินยำกุ้งสดได้ไหม เมนูยำยอดฮิตเมนูนี้ เราแนะนำให้เลี่ยง !

ที่มา : thairath, thaibizchina

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Sutthilak Keawon