ช่วงนี้ตอนกลางวันกับตอนเย็นแดดแรง คนท้องหลายคนจึงมองหาของกินเพื่อคลายความร้อน คนท้องกินเฉาก๊วยได้ไหม ? เมนูของว่างคลายร้อนที่นิยมมาแต่โบราณ แถมยังมีความเชื่อว่ากินแล้วทำให้ทารกผิวคล้ำ ผิวดำ ทั้งหมดนี้คำตอบเป็นแบบไหน มาอ่านในบทความนี้ได้เลย
แม่ท้องรู้ไหมว่าเฉาก๊วยทำมาจากอะไร ?
เฉาก๊วย (Grass Jelly) เป็นขนมที่นำมาโดยคนจีนแต่โบราณแล้ว ก่อนมาได้รับความนิยมจากการทานเพื่อคลายร้อนในไทย คำว่า “เฉา” ในภาษาจีนแปลว่าหญ้า คำว่า “ก๊วย” ภาษีจนแปลว่าขนม จริงอาจแปลหยาบ ๆ ว่า “ขนมจากหญ้า” ที่ถูกเรียกแบบนี้เพราะว่า เฉาก๊วยทำมาจากหญ้าจริง ๆ โดยเป็นพืชชนิดเดียวกับมินต์ หรือที่คนไทยมักเรียกว่า “หญ้าเฉาก๊วย(Mesona Chinensis)” นั่นเอง
ส่วนคำถามที่ว่าทำไมเฉาก๊วยถึงเป็นวุ้น หากตอนแรกเป็นหญ้า ? คำตอบอยู่ในวิธีการทำที่ไม่ซับซ้อน ด้วยการนำหญ้าเฉาก๊วยมาต้มเอาแค่น้ำที่จะออกมาเป็นสีดำ ๆ จากนั้นก็นำใส่แป้งมันสำปะหลังใส่ลงไปในน้ำ เพื่อให้เกิดการจับตัวจนเป็นก้อน เมื่อทิ้งไว้จนเย็น ก็จะได้เฉาก๊วยอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้นั่นแหละ
บทความที่เกี่ยวข้อง : เอาแล้วสิ คนท้องกินผัดกะเพราได้ไหม เมนูง่าย ๆ ต้องระวังอีกเหรอ ?
วิดีโอจาก : แม่ แอนด์ ลูก สตอรี่
กินเฉาก๊วยแล้วลูกจะตัวดำจริงหรือไม่ ?
เคยมีคำพูดที่แม่ท้องอาจเคยได้ยินบ่อยจนเกิดความสงสัยว่า ถ้าตอนตั้งครรภ์อยู่แล้วกินเฉาก๊วยจะทำให้ทารกที่คลอดออกมามีสีผิวที่ดำ หรือคล้ำ ทำให้แม่ท้องไม่กล้ากินเฉาก๊วยไปในที่สุด ความเชื่อนี้ไม่ได้เป็นความจริงแต่อย่างใด เนื่องจากสีผิวของทารกนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอาหารที่แม่ท้องกินเลยแม้แต่เปอร์เซ็นต์เดียว สิ่งที่ส่งผลต่อสีผิวของทารกได้นั้น มาจากพันธุกรรมเท่านั้น เป็นสิ่งที่ตกทอดมาจากคุณพ่อ หรือคุณแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นสีผิวจึงวัดกันที่พ่อแม่ไม่ใช่อาหาร ส่วนที่ว่าพ่อแม่ขาว ทำไมลูกผิวคล้ำ นั่นเป็นเพราะยีนด้อย ยีนเด่นนั่นเองที่อธิบายในเรื่องนี้
หากคนท้องกินเฉาก๊วยแล้วไม่ได้ทำให้ทารกมีสีผิวดำ แล้วทำไมคนสมัยก่อนถึงได้พูดห้ามแบบนี้ คำตอบสามารถมองได้หลายแง่มุม แต่ไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นเหตุผลไหนแน่นอน เช่น บอกเพราะมีความเชื่อแบบนั้นจริง ๆ เนื่องจากเฉาก๊วยมีสีดำ, บอกเพราะอาจแค่บังเอิญเห็นพ่อแม่ที่มีผิวคล้ำที่ชอบกินเฉาก๊วย พอคลอดลูกเห็นว่าสีผิวลูกคล้ำก็พากันคิดไปเอง ไปจนถึงบอกเตือน เพราะเฉาก๊วยมักถูกนำไปปรุงให้เป็นขนมที่มีรสหวาน กลัวว่าจะเสียสุขภาพ เป็นต้น
คนท้องกินเฉาก๊วยได้ไหม ?
มาถึงคำถามที่แม่ท้องหลายคนรอคอย ในเมื่อคนสมัยก่อนมีเหตุผลต่าง ๆ นานาที่อาจพอบอกได้ว่าไม่ต้องการให้คนที่กำลังตั้งครรภ์กินเฉาก๊วย แต่ดูเหมือนว่าความกังวลเหล่านั้นจะมากเกินความพอดี เนื่องจากแม่ท้องสามารถกินเฉาก๊วยได้ ไม่ใช่เมนูของหวานต้องห้าม เพียงแต่ว่าของหวานก็ยังคงเป็นของหวาน คนท้องไม่สามารถทานได้ตามใจอยาก ต้องจำกัดปริมาณให้ดี ทานแค่บางครั้งบางคราวพอ การทานเฉาก๊วยเหมาะกับประเทศไทย เพราะมักทานแบบเย็น ๆ ช่วยให้คลายร้อนได้ดี จะดีกว่าหากทานเมื่อร้อนมาก ๆ ไม่ควรทานทุกวัน และต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำตาล หรือสารอื่น ๆ ที่ให้ความหวานด้วย ที่จะต้องไม่มากจนเกินไป
5 ประโยชน์หลักของเฉาก๊วย
ด้วยวัตถุดิบตั้งต้นเป็นพืช จึงทำให้เฉาก๊วยเป็นของว่างที่มีประโยชน์มากกว่าที่คิด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า เมื่อนิยมนำมาปรุงให้หวาน อาจสุ่มเสี่ยงที่จะเปลี่ยนจากประโยชน์เป็นโทษได้ ดังนั้นเพื่อให้เกิดคุณค่า และประโยชน์สูงสุด จึงควรลดความหวาน และไม่ทานในปริมาณมากเกินพอดี เพื่อให้ได้ประโยชน์ ดังนี้
- บรรเทาอาการไข้เบื้องต้น ช่วยแก้อาการร้อนใน หรือมีตัวร้อนจากไข้
- ช่วยลดอาการเบื่ออาหารได้ดี หากแม่ท้องไม่รู้จะกินอะไรลองกินเฉาก๊วยดู
- หากทานในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยลดความดันโลหิตได้
- ช่วยบรรเทาอาการจากไขข้ออักเสบ, ตับอักเสบได้
- มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่กลับกันก็ต้องไม่ทานหวานเกินไป
กินแบบไหน กินบ่อยแค่ไหนให้ปลอดภัย ?
จากที่เกริ่นไปแล้วว่าควรระวังในเรื่องของความหวาน โดยเฉพาะการใส่น้ำเชื่อม ที่ไม่ได้มีประโยชน์ต่อร่างกายของคนท้องเลย นอกจากความหวานหอม แถมยังลดประโยชน์ที่มีในเฉาก๊วยให้ต่ำลงไปอีกด้วย หากสามารถเลือกได้ แม่ท้องควรเลือกเฉาก๊วยที่ใช้สารให้ความหวานอื่นที่ปลอดภัยมากกว่า ซึ่งในปัจจุบันก็มีทางร้านค้าที่ใส่ใจสุขภาพในประเด็นอยู่ไม่น้อย นอกจากนี้น้ำตาลสีรำ (สีเหลืองออกน้ำตาลแดง) ถือเป็นน้ำตาลที่พอมีประโยชน์ต่อคนท้อง หากเติมลงไป จะทำให้ได้ประโยชน์มากขึ้น แต่ก็ไม่ควรเติมมากเช่นกัน
ในส่วนของความถี่ หรือปริมาณในการทานแต่ละครั้ง แบบไหนที่ปลอดภัย แบบไหนที่คนท้องควรทาน คำตอบ คือ ควรทานครั้งละ 1 แก้วเท่านั้น และไม่ควรทานทุกวัน แม้แต่วันเว้นวันก็ถือว่าเยอะเกินไป แม่ท้องควรทานไม่เกินสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง ถือว่าเป็นความถี่ที่พอดี และปลอดภัยต่อแม่ท้องและทารกในครรภ์
เมื่อแม่ติดหวานควรปฏิบัติตัวอย่างไร
การทานของหวานในปริมาณมากในช่วงตั้งครรภ์ทั้งจากความชอบ หรือเกิดจากอาการแพ้ท้อง ไม่ใช่แค่การทานเฉาก๊วย แต่ยังรวมไปถึงของหวานอื่น ๆ เช่น เค้ก หรือช็อกโกแลต เป็นต้น ของหวานเหล่านี้เป็นตัวส่งเสริมการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจนเป็นโรคอ้วนอีกด้วย ความหวานที่เพิ่มมากขึ้นยังสัมพันธ์กับปริมาณของน้ำตาล ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลต่อการทำงานของเส้นเลือด และหัวใจ หากเกิดโรคอ้วน จะทำให้มีไขมันในเลือดสูงตามไปด้วย ปัจจัยทั้งหมดนี้สามารถส่งผลให้เกิดโรคทางหลอดเลือด และหัวใจ ซึ่งอันตรายสูงสุดถึงขั้นเสียชีวิต แม่ท้องจึงควรแก้ไข ดังนี้
- ควบคุมการทานของหวานอย่างเคร่งครัด วัดพลังงานจากของหวานไม่ควรเกิน 10 % ของพลังงานที่รับในแต่ละวัน หรือไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน
- หันมากินของหวานที่มีประโยชน์มากกว่าของหวานที่ไม่มีประโยชน์ หรือประโยชน์น้อย สำหรับสายน้ำหวานให้หันมาดื่มน้ำผลไม้หวาน สายของทานเล่นให้หันมาทานผลไม้สดรสหวาน เลี่ยงผลไม้แปรรูป เป็นต้น
- แม่ท้องคนไหนชอบของหวาน ๆ เย็น ๆ แบบไอศกรีม ให้เลือกสูตรสุขภาพมาทาน และไม่ควรทานเยอะ
- ถึงแม้จะหันมาทานผลไม้ แต่ต้องเลี่ยงผลไม้ที่ไม่สด และผลไม้ที่ถูกนำไปแปรรูป เพราะอาจมีสารเคมี
ของหวานไม่ว่าในรูปแบบขนมอะไร แม่ท้องก็ต้องระวัง การทานในปริมาณที่เหมาะสม เน้นผลไม้ที่มีรสหวานดีกว่า จะช่วยให้แม่ท้องมีสุขภาพแข็งแรง และดีต่อทารกในครรภ์มากกว่า
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
คนท้องกินป๊อปคอร์นได้ไหม หนังเข้าเยอะกินไปดูไปจะเป็นอะไรไหม ?
คนท้องกินจิ้มจุ่มหม้อไฟได้ไหม อากาศเริ่มเย็นกินฟิน ๆ แบบนี้จะได้ไหม ?
แม่ท้องกินมะนาวแช่อิ่มได้ไหม ของแช่อิ่มหวาน ๆ ต้องระวังไหมนะ ?
ที่มา : salana, konthong, Kapook
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!