สำหรับสายอาหารที่ชอบทานไข่ปลาคาเวียร์ หรือคุณแม่ทั่วไปที่ชอบทานเมนูที่มีไข่ปลา เพราะความมัน และรสชาติที่อร่อย เมื่อตั้งครรภ์อาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่ต้องระมัดระวังมากขึ้น คนท้องกินไข่ปลาได้ไหม จะเป็นอะไรหรือเปล่า คำตอบอยู่ที่การเลือกซื้อ, กระบวนการฆ่าเชื้อ, การเก็บรักษา และวิธีการปรุงอาหาร
คนท้องกินไข่ปลาได้ไหม ?
เมื่อกล่าวถึงเมนูอาหารที่หรูหรา เช่น คาเวียร์ (Caviare) หรือไข่ปลาทั่วไปที่คุณแม่หลายคนอาจชอบทาน เมนูเหล่านี้ยังสามารถเป็นหนึ่งในเมนูที่ทานระหว่างตั้งครรภ์ได้ หากคุณแม่รู้วิธีการเลือก และวิธีการปรุงอาหารที่ถูกต้อง คาเวียร์และไข่ปลาอื่น ๆ จะปลอดภัยมากขึ้นหากผ่านการพาสเจอไรซ์และเก็บไว้ในตู้เย็น สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการทานไข่ปลาดิบ หรือที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดลิสเทอเรีย และแบคทีเรียปนเปื้อนอื่น ๆ ในไข่ปลา
บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องกินแมลงทอดได้ไหม มัน ๆ เค็ม ๆ จะส่งผลต่อทารกในครรภ์หรือเปล่า ?
ทำไมคาเวียร์ดิบ และไข่ปลาดิบจึงอันตรายต่อคนท้อง ?
คาเวียร์ และไข่ปลาอื่น ๆ มักจะเสิร์ฟให้ทานแบบดิบ เนื่องจากเป็นวิธีการรับประทานแบบดั้งเดิม และเป็นที่นิยม น่าเสียดายที่ไข่ปลาดิบมีแนวโน้มที่จะปนเปื้อนแบคทีเรียเป็นพิเศษ เรื่องนี้ได้รับการศึกษาอย่างละเอียดทั้งในสแกนดิเนเวียและญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความปลอดภัยที่เกิดขึ้นจากการทานดิบ, ปรุงสุก, พาสเจอไรซ์, แบบดองเค็ม และวิธีการเก็บรักษา ในปี 2548 การศึกษาของญี่ปุ่นสุ่มทดสอบปลาทูน่าสับดิบ และไข่ปลาจากร้านค้าปลีก จากตัวอย่าง 208 ตัวอย่าง ตรวจพบ “เชื้อลิสทีเรีย (Listeria)” มากถึง 10 หรือประมาณ 3.37 %
การศึกษาอื่นที่คล้ายคลึงกันทดสอบอาหารหลายชนิดเพื่อหาเชื้อลิสทีเรีย ในญี่ปุ่นรวมถึงไข่ปลาพบใน 5.7 % ของตัวอย่าง ไข่ปลาแซลมอน 123 ตัวอย่าง และ 9.1 % จากตัวอย่างไข่ปลาค็อด 164 ตัวอย่าง ความเสี่ยงที่สูงขึ้นของการเกิดลิสทีเรียในไข่ปลาดิบที่ไม่ผ่านการอุ่น หรือปรุงสุก เป็นสาเหตุที่หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานไข่ปลาดิบที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์มาก่อน
วิดีโอจาก : drnoithefamily
จะเกิดอะไรขึ้นหากคนท้องกินไข่ปลาดิบ ?
หากคุณแม่เคยทานไข่ปลาดิบ อาจมีความกังวลถึงความเสี่ยงต่าง ๆ แต่การปนเปื้อนในปริมาณที่มากพอจะเกิดอันตรายในระยะสั้นจากไข่ปลาตามธรรมชาติถือว่าค่อนข้างต่ำ ดังนั้นหากทานไปแล้วคุณแม่ไม่ควรกังวลมากเกินไป กลับกันการกังวลมากเกินไปจะส่งผลเสียต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ สำหรับคุณแม่ที่ทานไข่ปลาเข้าไปและมีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อลิสทีเรีย อาการจะปรากฏหลังทานภายใน 30 วัน หากไข่ปลาเกิดการปนเปื้อน โดยอาการจะคล้ายไข้หวัดใหญ่ รวมถึงอาการอื่น ๆ เช่น ปวดกล้ามเนื้อ, หนาวสั่น มีไข้, คลื่นไส้ หรืออาเจียน และท้องร่วง เป็นต้น
แต่ในช่วงของการตั้งครรภ์อาการของลิสทีเรียอาจมีหลายอาการตามที่กล่าวได้ไปคล้ายคลึงกับอาการแพ้ท้องได้ จนทำให้คุณแม่เกิดความเครียด มีความกังวลว่าตนเองอาจจะติดเชื้อหรือไม่ หากมีความกังวลในเรื่องนี้ไม่ควรเก็บไปคิดเอง แต่ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างจริงจัง เพื่อให้รู้สาเหตุที่แท้จริงของอาการดังกล่าว และรับการรักษาอย่างถูกต้อง
คนท้องควรกินไข่ที่ผ่านพาสเจอไรซ์หรือปรุงสุก
กระบวนการพาสเจอไรซ์มักจะใช้เพื่อทำให้อาหารดิบปลอดภัยมากขึ้น โดยให้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงพอที่จะฆ่าเชื้อก่อโรค รวมทั้งลิสทีเรียด้วย อย่างไรก็ตาม ไข่ปลายังคงต้องแช่เย็นแม้ว่าจะผ่านการพาสเจอไรซ์มาแล้ว การศึกษาของฟินแลนด์เกี่ยวกับการศึกษาไข่ปลาเทราท์พาสเจอไรซ์บางตัวเพื่อดูว่าแบคทีเรียสามารถเติบโตได้หรือไม่ สรุปได้ว่าการพาสเจอไรซ์ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการทำให้ไข่ปลากินได้ปลอดภัยขึ้นมาก แต่ควรเก็บไข่ปลาในอุณหภูมิ 3 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่าเท่านั้น ดังนั้นจึงพอสรุปได้รู้ว่าตู้เย็นคือกุญแจสำคัญที่สามารถเก็บอาหารไว้ในอุณหภูมิที่ปลอดภัยได้
นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาในปี 2550 ยังศึกษาว่าระดับเกลือในปลาแซลมอนคาเวียร์ (ไข่ปลาแซลมอน) มีความแตกต่างกันหรือไม่ ผลการศึกษาพบว่าระดับเกลือไม่ได้เปลี่ยนแปลงอัตราการเจริญเติบโตของแบคทีเรียเลย แต่อุณหภูมิที่เก็บไว้นั้นส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไป ไข่ปลาแซลมอนที่เก็บในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิเย็น 3 องศาเซลเซียส หากเก็บไว้ที่ 7 องศาเซลเซียสนั้นจะทำให้แบคทีเรียเกิดการเติบโตได้
จึงสรุปได้ว่าหากไข่ปลาผ่านการทำพาสเจอไรซ์มาก่อนแล้ว ก็ต้องเก็บไข่ปลาไว้ในตู้เย็นด้วยอุณหภูมิที่ถูกต้องด้วย และถ้าหากเลือกได้ คุณแม่ตั้งครรภ์ก็ควรทานไข่ปลาในรูปแบบที่ปรุงสุกดีกว่า เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ และเพิ่มความปลอดภัยให้มากยิ่งขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องกินสปอนเซอร์ได้ไหม กินเกลือแร่ เพราะท้องเสียได้ไหม ?
ไข่ปลาประโยชน์กับคนท้องหรือไม่ ?
คุณแม่ที่สามารถเลือกทานไข่ปลาตามที่เราแนะนำไปนั้น สามารถมั่นใจมากขึ้นในความปลอดภัยจากการทานอาหาร ซึ่งไม่ควรเลือกทานไข่ปลานอกเหนือจากที่แนะนำ อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้หากทานบ่อย ๆ หากทานถูกวิธีในไข่ปลาถือว่าเป็นเมนูอาหารที่มีสารอาหารไม่น้อยเลย เช่น มีโปรตีนสูง และเป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ดีเยี่ยม เช่นเดียวกับแร่ธาตุที่จำเป็น เช่น ฟอสฟอรัส (Phosphorus) และซีลีเนียม (Selenium) นอกจากนี้ไข่ปลายังเป็นแหล่งวิตามินที่ดีมาก เช่น วิตามินซี, ไรโบฟลาวิน (Riboflavin) และโฟเลต (Folate) เป็นต้น
ไม่ใช่แค่ไข่ปลา แม้แต่เนื้อปลาก็ต้องระวัง !
นอกจากการเลือกทานไข่ปลาอย่างถูกหลักแล้ว เนื้อปลาเองก็เป็นเมนูที่มีประโยชน์ และมีโทษต่อคุณแม่ได้ หากคุณแม่เลือกผิดสายพันธุ์ เนื่องจากปลาที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาตินั้น มีโอกาสปนเปื้อนสารปรอทมากกว่าปกติ การทานแบบดิบ ๆ จึงทำให้คุณแม่ท้อง อาจเสี่ยงที่จะรับสารปรอทจนเกิดการสะสมในร่างกาย สุดท้ายจะเกิดผลกระทบร้ายได้ คุณแม่ควรเลี่ยงการทานปลาขนาดใหญ่ และหากต้องการทานปลาควรเลี่ยงการทานเนื้อปลาดิบไปก่อน ควรเน้นให้ปรุงสุกที่สุด เพื่อเพิ่มโอกาสในการฆ่าเชื้ออื่น ๆ ด้วย อย่างไรก็ตามหากมีข้อสงสัยในเรื่องของการทานอาหาร ไม่ควรตัดสินใจเอง คุณแม่ตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ หรือนักโภชนาการเพื่อรับคำแนะนำจะดีที่สุด
การทานไข่ปลาให้ปลอดภัยจากกระบวนการฆ่าเชื้อที่ถูกต้อง และการป้องกันตัวเองจากการกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ อย่างอื่นเป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อเลี่ยงการติดเชื้อ ประกอบกับการทานผักและผลไม้ รวมถึงดื่มน้ำเปล่าสะอาด เพื่อให้สุขภาพของแม่ท้อง และทารกในครรภ์แข็งแรงมากขึ้น
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
คนท้องกินยำกุ้งเต้นได้ไหม ? เมนูยำกุ้งเต้นรสแซ่บ ปลอดภัยจริงหรือ ?
คนท้องกินน้ำมะตูมได้ไหม น้ำสมุนไพรนี้ดีกับคนท้องจริงหรือไม่ ?
เมนูคนท้องกินแล้วไม่อ้วน สุดฮิตของคุณแม่ตั้งครรภ์ กินอย่างไรไม่ให้อ้วน