TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกร้องกลั้น อันตรายไหม? ป้องกันได้หรือเปล่า วิธีรับมือเมื่อลูกร้องไห้กลั้น

บทความ 5 นาที
ลูกร้องกลั้น อันตรายไหม? ป้องกันได้หรือเปล่า วิธีรับมือเมื่อลูกร้องไห้กลั้น

ลูกร้องกลั้น อาจทำให้พ่อแม่ตกใจและไม่รู้ว่าควรรับมืออย่างไร บทความนี้จะช่วยให้พ่อแม่เข้าใจภาวะร้องไห้กลั้น และวิธีรับมืออย่างเหมาะสม

เสียงร้องไห้ของทารกเป็นสิ่งที่พ่อแม่มือใหม่กังวลใจ เพราะไม่รู้ว่าลูกต้องการอะไร หิว ง่วงนอน ไม่สบายตัว หรือรู้สึกไม่ปลอดภัย บางครั้งการร้องไห้ก็อาจเป็นสัญญาณของภาวะที่ต้องให้ความใส่ใจ เช่น ลูกร้องกลั้น จนอาจหยุดหายใจไปชั่วขณะ ลูกร้องไห้กลั้นแบบนี้อันตรายไหม และควรรับมืออย่างไรดี บทความนี้มีคำตอบค่ะ

 

ลูกร้องกลั้น คืออะไร

การร้องไห้กลั้น หรือ Breath-Holding Spell เป็นอาการที่เกิดขึ้นในเด็กเล็ก โดยเฉพาะในช่วงวัย 6 เดือน ถึง 6 ปี แต่พบบ่อยที่สุดในเด็กวัยประมาณ 2 ขวบ ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเด็กมีอารมณ์รุนแรง เช่น โกรธ ตกใจ หรือเจ็บปวด ทำให้ร่างกายตอบสนองโดยการหยุดหายใจชั่วขณะ ส่งผลให้เด็กหน้าเขียว หรือในบางกรณีอาจหมดสติไปชั่วครู่

ลูกร้องกลั้น มักดูน่ากลัว พ่อแม่อาจกังวลว่าลูกจะขาดออกซิเจน ส่งผลกระทบต่อสมองและพัฒนาการหรือไม่ แต่จริงๆ แล้ว ภาวะนี้ไม่เป็นอันตรายร้ายแรง เด็กส่วนใหญ่มักกลับมาหายใจได้เองภายใน 1 นาที 

 

รู้จักอาการ ลูกร้องกลั้น

สาเหตุของการร้องไห้กลั้นที่พบบ่อย มีอยู่ 2 ประการ คือ ร้องเพราะโมโห โกรธรุนแรง และ ร้องเพราะความเจ็บปวด ซึ่งลักษณะการร้องกลั้นจากแต่ละสาเหตุนั้นก็จะแตกต่างกันไปด้วย 

1. ร้องกลั้นเพราะโกรธ

จะเรียกว่า กลั้นเขียว (Cyanotic) อาการคือ ลูกน้อยจะร้องไห้หนักมากและมีอาการกลั้นหายใจขณะหายใจออก เป็นชั่วขณะหนึ่งทำให้ออกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยงในสมองไม่เพียงพอ จนทำให้หน้าเขียว หากเด็กไม่สามารถปรับการหายใจ จะทำให้หมดสติ และชักตามมา แต่โดยส่วนใหญ่อาการจะกลับสู่ภาวะปกติภายใน 1 นาที ซึ่งพบได้บ่อยถึง 85% ของการร้องกลั้น 

2. ร้องกลั้นเพราะเจ็บปวด

จะเรียกว่า ร้องกลั้นซีด (Pallid)  ไม่มีภาวะเขียวหรือขาดออกซิเจน แต่มีอาการหน้าซีด ซึ่งมักสัมพันธ์กับการขาดธาตุเหล็ก อาจร้องไห้ หรือไม่ร้องเลย แต่อาจมีหมดสติ กระตุก และมักจะกลับเป็นปกติภายใน 1 นาที

ซึ่งไม่ว่าจะ กลั้นร้องหน้าเขียว หรือ กลั้นร้องหน้าซีด ล้วนเป็นภาวะที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ลูกไม่ได้ตั้งใจกลั้นหายใจเองและไม่สามารถควบคุมอาการได้ ซึ่งแตกต่างจากกรณีที่เด็กบางคนจงใจกลั้นหายใจเองชั่วขณะเพื่อเรียกร้องความสนใจ

การที่พ่อแม่เข้าใจอาการร้องกลั้นของลูกและเรียนรู้วิธีรับมืออย่างเหมาะสม จะช่วยให้พ่อแม่จัดการสถานการณ์ได้ดีขึ้น ลดความกังวล และช่วยให้ลูกน้อยปลอดภัยค่ะ

ลูกร้องกลั้น

ลูกร้องไห้กลั้น อันตรายไหม

ภาวะร้องไห้กลั้นในเด็ก ไม่มีผลกระทบข้างเคียงระยะยาวต่อระบบประสาทหรือสุขภาพ เมื่อลูกโตขึ้นอาการนี้มักจะหายไปเองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง

คุณพ่อคุณแม่บางรายห่วงว่าเมื่อลูกร้องไห้กลั้น อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคลมชัก เพราะขณะที่ลูกร้องกลั้นจะมีอาการกระตุกคล้ายชัก แต่อาการลมชักกับร้องไห้กลั้นเป็นคนละอาการกัน ลูกร้องไห้กลั้นไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคลมชักแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม พบว่าเด็กที่เคยมีอาการร้องกลั้นแบบซีด (Pallid) อาจมีแนวโน้มที่จะเป็นลมหมดสติแบบ Vasovagal Syncope เมื่อโตขึ้น ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่อความเครียดหรืออาการเจ็บปวดโดยทำให้ความดันโลหิตลดลงและเกิดอาการหน้ามืด ในบางกรณีที่พบได้น้อย เด็กอาจมีแนวโน้ม แสดงพฤติกรรมดื้อ ต่อต้าน หรือมีอารมณ์ฉุนเฉียวมากขึ้น ซึ่งระยะเวลาอาจต่างกันไปในแต่ละราย 


ลูกร้องกลั้น ทำยังไงดี

1. คุมสติให้ดี

พ่อแม่ควรตั้งสติและควบคุมอารมณ์ของตนเองให้ได้ เพราะการตื่นตระหนกจะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลง ลูกอาจรับรู้ถึงความกังวลของพ่อแม่และยิ่งตื่นกลัวมากขึ้น ดังนั้น การแสดงออกอย่างสงบจะช่วยให้ลูกคลายความกังวลและรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น

2. เบี่ยงเบนความสนใจของลูก

หากสังเกตว่าลูกเริ่มมีอาการร้องไห้กลั้น ลองใช้ของเล่นหรือสิ่งที่ลูกชอบ เช่น ตุ๊กตา หนังสือ หรือเสียงเพลง เพื่อดึงความสนใจและทำให้ลูกละจากอารมณ์โกรธหรือหงุดหงิด การเบี่ยงเบนความสนใจสามารถช่วยให้เด็กสงบลงและกลับมาหายใจตามปกติได้เร็วขึ้น

3. ไม่เขย่าหรือตะคอกลูก

แม้ว่าการเห็นลูกมีอาการร้องไห้กลั้นจะทำให้พ่อแม่เป็นกังวล แต่สิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งคือการเขย่าตัวลูกหรือดุด่าว่ากล่าวลูก เพราะจะยิ่งทำให้เด็กเครียดและหวาดกลัวมากขึ้น นอกจากนี้ การเขย่าร่างกายเด็กแรงๆ อาจเป็นอันตรายต่อสมองและระบบประสาทของลูกได้

4. นวดหรือปลอบอย่างอ่อนโยน

สัมผัสเบาๆ หรือกอดปลอบโยนเป็นวิธีที่ช่วยให้ลูกผ่อนคลายได้ ลองลูบหลัง ลูบแขน หรือลูบศีรษะลูกเบาๆ พร้อมกับพูดปลอบให้เขารู้สึกปลอดภัย การสัมผัสที่อบอุ่นจากพ่อแม่จะช่วยให้เด็กค่อยๆ กลับมาสงบและเริ่มหายใจปกติได้เร็วขึ้น

ลูกร้องกลั้น

5. อุ้มลูกในท่าที่สบาย

หากลูกมีอาการร้องไห้กลั้นและเริ่มหมดแรง ลองจับลูกนอนราบบนพื้นหรืออุ้มให้ศีรษะสูงขึ้นเล็กน้อยเพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น อย่าให้ลูกอยู่ในท่าที่ศีรษะต่ำกว่าระดับตัวมากเกินไป เพราะอาจทำให้รู้สึกอึดอัดและหายใจลำบาก

6. เช็ดหน้าลูกด้วยผ้าชุบน้ำ

หากอาการร้องไห้กลั้นยังไม่ดีขึ้น ลองใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำอุณหภูมิห้องเช็ดเบาๆ บริเวณใบหน้า หน้าผาก หรือหน้าอก การกระตุ้นด้วยน้ำเย็นเล็กน้อยอาจช่วยให้เด็กกลับมารับรู้และกระตุ้นให้หายใจตามปกติอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ผ้าเย็นจัดหรือแช่น้ำเย็น เพราะอาจทำให้เด็กตกใจและทำให้อาการแย่ลง

 

ลูกร้องกลั้น แบบไหนอันตราย

หากลูกมีอาการร้องไห้กลั้นบ่อยครั้ง หรือใช้เวลานานผิดปกติ โดยเฉพาะในเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ หรือหากมีอาการชักเกร็งร่วมด้วย ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง

นอกจากนี้ พ่อแม่ไม่ควรตามใจลูกเพื่อหลีกเลี่ยงการร้องไห้กลั้น เพราะอาจทำให้เด็กเรียนรู้ว่าการร้องไห้กลั้นเป็นวิธีที่ได้ในสิ่งที่ต้องการ หากกังวลเกี่ยวกับอาการ ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อตรวจดูว่ามีภาวะผิดปกติอื่นๆ เช่น โรคหัวใจหรือโรคลมชัก ร่วมด้วยหรือไม่

 

ลูกร้องไห้กลั้น ป้องกันได้ไหม

แม้ว่าการร้องไห้กลั้นจะไม่สามารถป้องกันได้ 100% แต่อย่างไรก็ตาม พ่อแม่สามารถช่วยลดโอกาสเกิดได้ด้วยการดูแลลูกอย่างเหมาะสม เพราะเด็กบางคนมักมีอาการนี้หลังจากร้องไห้อย่างรุนแรงหรือเจอเหตุการณ์ที่ทำให้โกรธหรือหงุดหงิด วิธีป้องกัน ไม่ให้ลูกร้องกลั้น สิ่งที่พ่อแม่สามารถทำได้เพื่อลดโอกาสการร้องไห้กลั้น คือ

  • อย่าปล่อยให้ลูกหิวหรือเหนื่อยเกินไป – เด็กที่เหนื่อยหรือหิวมากๆ จะอารมณ์แปรปรวนง่ายขึ้น และมีโอกาสร้องไห้กลั้นมากขึ้น
  • ใช้วิธีสอนวินัยที่อ่อนโยน – แทนที่จะดุด่าว่ากล่าว ลองใช้วิธีพูดคุย อธิบาย หรือเบี่ยงเบนความสนใจเมื่อลูกเริ่มงอแง
  • อย่าตามใจลูกจนเกินไป – แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากที่ต้องเห็นลูกมีอาการนี้ แต่การยอมตามทุกอย่างเพื่อไม่ให้ลูกร้องไห้กลั้น อาจทำให้ลูกเรียนรู้ว่าแค่ร้องก็ได้ทุกอย่างตามที่ต้องการ

หากพ่อแม่รู้สึกว่าควบคุมสถานการณ์ไม่ไหว หรือไม่แน่ใจว่าควรรับมืออย่างไร การปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการเลี้ยงดูลูกอย่างเหมาะสม
สิ่งสำคัญคือ พ่อแม่ควรเตือนตัวเองว่าอาการร้องไห้กลั้นไม่เป็นอันตราย และเด็กส่วนใหญ่จะหายไปเองเมื่อโตขึ้น หากความกังวลส่งผลต่อสภาพจิตใจของพ่อแม่ อาจลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพราะจิตใจของพ่อแม่ก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ลูกผ่านช่วงเวลานี้ไปได้ค่ะ

 

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

ที่มา: MSD Manuals, โรงพยาบาลบางปะกอก, โรงพยาบาลเอกชัย, Child Neurology   

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

12 วิธีลดพฤติกรรม ลูกชอบดูดนิ้ว ภัยเงียบทำร้ายฟันและพัฒนาการ!

ลูกกลัวคนแปลกหน้า เมื่อไรที่ต้องกังวล? พ่อแม่รับมืออย่างไรให้ลูกอุ่นใจ

ลูกดื้อมาก ไม่เชื่อฟัง ทำไงดี? เทคนิคปรับพฤติกรรมเด็กดื้อ อย่างเหมาะสม

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • เด็กก่อนเข้าเรียน
  • /
  • ลูกร้องกลั้น อันตรายไหม? ป้องกันได้หรือเปล่า วิธีรับมือเมื่อลูกร้องไห้กลั้น
แชร์ :
  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

powered by
  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว