ปัญหา ลูกติดเต้า เป็นปัญหาที่แม่ ๆ หลายคนต่างมีความกังวลเป็นอย่างมาก เพราะบางครั้งพฤติกรรมติดเต้าของเด็ก อาจส่งผลกระทบในชีวิตประจำวันของเหล่าคุณแม่ได้ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ต้องกลับไปทำงาน ก็อาจมีความกังวลเป็นอย่างมาก วันนี้ theAsianparent Thailand มีข้อมูล และเทคนิคดี ๆ ที่จะช่วยแก้ปัญหาติดเต้าของลูกได้ค่ะ มาดูกันว่าจะมีวิธีไหนบ้าง
การติดเต้าคืออะไร?
การติดเต้า (Cluster Feeding) คือ รูปแบบของพฤติกรรมการให้นมรูปแบบหนึ่ง ที่ทำให้ลูกต้องการดูดนมบ่อยครั้ง หลาย ๆ รอบต่อวัน ซึ่งปกติแล้ว เด็กจะกินมื้อย่อย ๆ ร่วมกันเป็นมื้อเดียว เด็กบางคนอาจกินมาก ๆ ในครั้งเดียว หลังจากนั้นพักไปอีกหลายชั่วโมงก่อนมื้อถัดไป อย่างไรก็ตาม ในเด็กที่ติดเต้า เด็กอาจกินนมหลาย ๆ ครั้งเป็นเวลาใกล้ ๆ กัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นในช่วงเย็นที่เด็กมักงอแง ในช่วงเวลานี้ เด็กมักต้องการกินนมหลาย ๆ ครั้งในช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมง สำหรับแม่แล้วอาจรู้สึกเหมือนว่าเธอต้องให้นมลูกบ่อยเสียจนคิดว่าลูกหิวอยู่ตลอดเป็นเวลาหลายชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม การติดเต้านั้น มักพบได้บ่อยในเด็กทารกแรกเกิด แต่สำหรับเด็กทารกที่โตขึ้นมาหน่อย ก็อาจพบอาการติดเต้าได้ในช่วงการเจริญเติบโตอย่างมาก (growth spurt) ซึ่งการกินนมแม่นั้น เป็นการตอบสนองต่อจุดประสงค์ในการสร้างนมแม่ และเพิ่มปริมาณแคลอรีของทารกที่ได้รับในแต่ละวัน เมื่อลูกได้กินนมตอนเย็นไปมาก ๆ ก็จะส่งผลให้หลับในเวลากลางคืนได้ดีขึ้นยิ่งกว่าเดิม ดังนั้นคุณแม่จึงควรวางแผนการติดเต้าของลูกให้ดีค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกไม่ยอมดูดขวด ติดเต้ามาก วิธีให้ลูกดูดขวด ทำอย่างไรดี
ลูกติดเต้าเป็นเรื่องปกติไหม?
การติดเต้าถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับเด็กหลายคน หากคุณแม่กำลังกังวลว่าลูกจะได้กินนมเพียงพอหรือเปล่า ให้คุณแม่ดูจำนวนผ้าอ้อมที่ลูกใส่ใน 1 วันได้ หากจำนวนผ้าอ้อมลดลง คุณแม่ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยดูว่าลูกมีปัญหาผิดปกติไหม เช่น การให้นมที่ไม่เพียงพอ น้ำนมแม่น้อย หรือลูกมีปัญหาด้านการเผาผลาญพลังงาน (metabolic issues) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สำหรับเด็กที่เป็นปกติดี แต่ยังมีอาการงอแง อาจมาจากสาเหตุอื่น ๆ อย่าง โคลิค เพราะหากลูกได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ ก็ส่งผลต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของลูกได้
การติดเต้าของเด็ก อาจเกิดขึ้นเมื่อพวกเขากำลังเข้าสู่ช่วงเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ หรือในช่วงที่มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น ฟันขึ้น หรืออาการอื่น ๆ หากคุณแม่พบว่าลูกมีอาการติดเต้า พยายามให้นมตามที่ลูกต้องการไปก่อน โดยคุณแม่อาจใช้วิธีการปั๊มนมไว้ก่อนได้ หากลูกยังมีอาการงอแง หงุดหงิด มีไข้ หรือมีพฤติกรรมการกินนมที่ผิดไป คุณแม่อาจพาเขาไปพบแพทย์ เพื่อตรวจดูความผิดปกติของร่างกาย
เมื่อไหร่ที่ควรฝึกลูกดูดขวดนม?
โดยทั่วไปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้ลูกเริ่มดูดนมอย่างน้อยอายุ 1 เดือนขึ้นไป เพื่อลดปัญหาการสับสนหัวนม และการติดขวดของลูก โดยในช่วงที่คุณแม่ลาคลอด หรือก่อนไปทำงาน 2 สัปดาห์ คุณแม่สามารถฝึกให้ลูกปรับการดูดนม ด้วยการใช้ขวดนมนั่นเอง ซึ่งในช่วงนี้คุณแม่จะต้องปล่อยให้ลูกรู้จักคุ้นเคย และเรียนรู้วิธีการดูดที่แตกต่างกันนี้ ก็จะช่วยลดอาการติดเต้าของลูกได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : การฝึกลูกน้อยกินนมจากแก้วและหลอด แบบง่าย ๆ ทำอย่างไร
ลูกติดเต้ามากทำอย่างไรดี?
หากมีลูกอาการติดเต้ามาก ๆ คุณแม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินนมของลูก ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
คุณแม่สามารถใช้จุกหลอก เพื่อลดอาการติดเต้าของลูกได้ โดยให้ลูกฝึกดูดจุกยาง สลับกับป้อนนมจากเต้ากันหลาย ๆ ครั้งระหว่างให้นม วิธีนี้จะทำให้ลูกได้รู้จักสัมผัสใหม่ ๆ นอกเหนือจากเต้านมของแม่ และเป็นการสร้างความคุ้นชิน เพื่อเปลี่ยนไปใช้ขวดนมได้
การให้ลูกเล่นจุกนม สามารถสร้างความคุ้นเคยให้แก่พวกเขาได้ โดยลูกอาจดูดเล่น เคี้ยวเล่น ระหว่างนี้คุณแม่ก็สามารถปล่อยเขาให้คุ้นเคยได้ ทั้งนี้คุณแม่ควรเลือกจุกนมที่มีซิลิโคนนิ่ม และมีความยืดหยุ่นคล้ายกับหัวนมแม่ อย่าให้ลูกใช้จุกนมเย็นเกินไปนะคะ ถ้าเอาออกมาจากตู้เย็น ก็ควรนำไปแช่น้ำอุ่นก่อน เพื่อปรับอุณหภูมิให้ใกล้เคียงกับหัวนมแม่จริง ๆ
-
ให้ลูกดูดนมเมื่อหิวจริง ๆ
เมื่อพบว่าลูกมีอาการติดเต้า คุณแม่หลายคนจึงไม่ยอมให้ลูกดื่มนม ความจริงแล้วเมื่อเด็กรู้สึกหิว พวกเขาจะหงุดหงิด งอแง และร้องหานมแม่นั่นเอง ดังนั้นคุณแม่ควรให้ลูกกินนมทันทีเมื่อพวกเขามีอาการงอแงหนัก และพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกดูดจากขวด เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกโมโห หงุดหงิด และไม่อยากดูดขวดค่ะ
คุณแม่ลองใช้น้ำนมตัวเอง แตะที่จุกนม และให้ลูกลองชิมดูก่อน หากลูกได้ชิม ก็จะรู้สึกมั่นใจ และคุ้นเคยในการดูดมากขึ้น เมื่อลูกรู้สึกคุ้นชิน คุณแม่ก็สามารถป้อนนมลูก ด้วยการใช้ขวด ก็จะไม่สามารถลดอาการติดเต้าได้
หากคุณแม่ให้ลูกดูดนมจากเต้ามากเกินไป ก็ยิ่งส่งผลให้เด็กมีอาการติดเต้ามากยิ่งขึ้น ดังนั้นพยายามให้ลูกดูดนมจากขวด โดยใช้จุกนมแบบที่ไหลช้า ๆ เพื่อเลียนแบบการไหลจากเต้านมของคุณแม่ นอกจากนี้คุณแม่ควรให้ขวดนมอยู่ในแนวนอน ไม่ควรตั้งขึ้น และให้อุ้มเปลี่ยนเหมือนการดูดจากเต้านมแม่ รวมทั้งหยุดป้อนนมหากลูกทำท่าว่าอิ่มแล้ว ก็จะช่วยให้เด็กรู้สึกคุ้นเคยเหมือนการดูดนมจากคุณแม่นั่นเอง
บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีเลือกขวดนมสำหรับลูก ขวดนมยี่ห้อไหนดี และปลอดภัยต่อลูกน้อย
บางครั้งการที่คุณแม่ป้อนเอง ลูกก็จะร้องงอแง และไม่เข้าใจเมื่อคุณแม่เปิดเต้า ให้พวกเขาดูดเหมือนอย่างทุกครั้ง ดังนั้นการให้คุณพ่อ หรือคนอื่นมาช่วยลูกฝึกดูดนม ก็จะช่วยให้เด็กรู้สึกไม่สับสน คุณแม่อาจต้องหลบไปข้างนอกก่อน อย่าให้ลูกมองเห็น และอยู่ห่าง ๆ แทน เพราะเด็กสามารถจำกลิ่นของแม่ได้ ซึ่งหากพวกเขาได้กลิ่นคุณแม่ ก็อาจไม่ยอมดูดนมจากขวดได้
บางครั้งเจ้าตัวน้อยอาจไม่ยอมดูดนมจากขวด เพราะท่าให้นมไม่ถูกต้องทำให้เขาไม่สบายตัวก็เป็นได้ ลองประคองเจ้าน้อยนั่งตักคุณ ลำตัวตั้งตรง โดยให้ศีรษะของลูกพิงอยู่กับอกของคุณ ท่านี้จะช่วยลดความอึดอัดจากลมในท้อง และกรดไหลย้อนได้ดี นอกจากนี้คุณแม่ลองป้อนนมลูก พร้อมกับโยกตัวไปมา ก็จะทำให้เด็กรู้สึกเพลิดเพลิน และดูดนมได้ง่ายขึ้น
-
ลองป้อนจากถ้วย ช้อน หรือหลอดดูบ้าง
คุณแม่ไม่จำเป็นต้องป้อนนมจากขวดเสมอไป เพราะวัตถุประสงค์คือ การให้ลูกยอมกินนมด้วยวิธีอื่นที่นอกเหนือจากการเข้าเต้า ลองค่อย ๆ ป้อนนมจากถ้วยป้อนนม หรือใช้ช้อน หรือหลอดก็ได้ค่ะ คุณอาจค้นพบว่าเจ้าตัวน้อยยอมกินนมเมื่อป้อนด้วยวิธีเหล่านี้ก็ได้
-
ให้ลูกดูดเต้าให้เต็มที่ก่อนไปทำงาน
วันที่คุณแม่ต้องไปทำงาน แนะนำให้ป้อนนมซุกเต้าให้เต็มที่ก่อน แล้วเอานมสต๊อกให้เจ้าตัวน้อยกินตอนแม่ไม่อยู่ ระหว่างทำงานต้องปั๊มทุก 2-3 ชั่วโมง ไม่ปล่อยนมค้างเต้านานเกิน 4 ชั่วโมง คุณแม่สามารถเอานมที่ปั๊มใส่ถุงแช่ในตู้เย็นออฟฟิศ หรือกระติกน้ำแข็ง หรือใส่คูลแพ็กไว้ได้ กลับถึงบ้านให้ลูกกินเต้าทันที แม้กระทั่งมื้อดึกก็ป้อนเต้าเหมือนเดิม ไม่ต้องกลัวลูกไม่เอาเต้า
เคล็ดลับอื่น ๆ ที่คุณแม่สามารถทำได้
- ให้ดื่มนมจากขวด โดยใส่นมจากเต้าเข้าไปในขวด
- ไกวลูก ร้องเพลงให้ฟัง เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของลูก
- ให้ดื่มจากเต้าก่อน ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นขวดในเวลาใกล้เคียงกัน
- ใช้ขวดที่แตกต่างกันไป บางทีลูกอาจจะชอบ ขวดแบบที่คุณอาจจะไม่รู้มาก่อนก็เป็นได้
- อย่าบังคับลูกให้ดื่มเป็นอันขาด เพราะอาจจะทำให้ลูกไม่ชอบ และเกิดอาการต่อต้านขึ้นได้
หากคุณแม่พบว่า ลูกติดเต้า พยายามให้ลูกใช้ขวดนมแทน ซึ่งช่วงแรกนั้นอาจจะต้องสลับกันไปกับการให้นมจากเต้า เมื่อลูกรู้สึกคุ้นเคย พวกเขาจะดูดนมจากขวดได้มากขึ้น และลดการติดเต้านั่นเอง แต่หากคุณแม่ลองทุกวิธีแล้ว แต่ลูกก็ยังติดเต้าอยู่ ก็ลองป้อนด้วยช้อน หรือแก้ว แล้วค่อย ๆ ฝึกเขาใหม่ไปเรื่อย ๆ ก็จะทำให้ลูกรู้สึกคุ้นชินไปเอง และเลิกติดเต้าได้ในที่สุด
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
จุกหลอก ใช้แล้วอันตรายหรือไม่ ข้อดีและข้อเสียที่พ่อแม่ควรรู้
ขวดนมป้องกันโคลิคที่ดีที่สุด เพื่อการดูแลลูกน้อย หลับสบายไม่งอแง
การเลือกขวดนม และจุกนมที่คุณแม่ควรรู้!! ขวดนมเด็กแรกเกิด เลือกยังไง?
ที่มา : 1, 2, 3
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!