X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

บริจาคนมแม่ ต้องทำอย่างไร? ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ บริจาคหรือรับบริจาคนมแม่

บทความ 5 นาที
บริจาคนมแม่ ต้องทำอย่างไร? ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ บริจาคหรือรับบริจาคนมแม่

ปัจจุบันทั่วโลกยอมรับว่านมแม่เป็นอาหารที่ดี และเหมาะสมสำหรับลูกมากที่สุด แล้วถ้าหากนมแม่นั้นได้รับบริจาคมาล่ะจะมั่นใจได้อย่างไรว่าปลอดภัย เพราะจากสถิติแล้ว มีเชื้อโรคเกิดใหม่มากมายขึ้นทุกวัน ซึ่งอาจปนเปื้อนอยู่ในน้ำนมได้ วันนี้ theAsianparent Thailand จะพามาดูกันว่า บริจาคนมแม่ ทำอย่างไร ควรรับบริจาคนมแม่ไหม ใครสงสัยอยู่ ตามไปดูกันเลย

 

บริจาคนมแม่ ทารกเสี่ยงติดเชื้อหรือไม่

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า นมแม่ถือเป็นอาหารที่ดี และเหมาะสมสำหรับลูกมากที่สุด ซึ่งมีแนวโน้มว่าแม่จะหันมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้นแต่มีบางครั้งที่แม่ไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ด้วยนมของตนเองจากปัจจัยต่าง ๆ จึงได้มีการนำนมแม่คนอื่นมาเลี้ยงลูก สำหรับประเทศไทยได้เกิดวัฒนธรรมเช่นนี้มานานแล้ว ที่เรียกกันว่า “แม่นม” แต่ปัจจุบันมีเชื้อโรคใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย หลายคนจึงเกิดคำถามขึ้นมาแล้วทารกจะได้รับเชื้อนั้น ๆ หรือไม่

 

ทนพ.ภาคภูมิ  เดชหัสดิน กล่าวว่า มีงานวิจัยจากสมาคมธนาคารนมแม่ระบุว่า คุณแม่ที่มาบริจาคนม 1,091 คน แม้จะมาด้วยจิตใจเมตตาที่บริสุทธิ์ที่จะเป็นผู้ให้  อีกทั้งตอบแบบสอบถามการคัดกรองเบื้องต้นที่น่าจะเข้าข่าย "ผู้เสี่ยงโรคต่ำ" สามารถบริจาคนมได้ แต่เมื่อตรวจทางแล็บโดยละเอียดกลับพบว่า  มีคุณแม่จำนวนมากที่ติดเชื้อไวรัสเหล่านี้โดยไม่รู้ตัว  เช่น  ติดเชื้อ HTLV 6 คนเชื้อซิฟิลิส 6 คน เชื้อตับอักเสบ บี 17 คน เชื้อตับอักเสบ ซี 3 คน และติดเชื้อ HIV 4คน ซึ่งเชื้อเหล่านี้สามารถติดเชื้อต่อไปยังทารกที่กินนมได้  ดังนั้น ก่อนที่จะให้ลูกกินนมคนอื่นต้องยอมรับความเสี่ยงที่จะติดโรคและธนาคารนมแม่ทุกแห่งควรตรวจหาเชื้อโรคก่อนเสมอเพื่อความปลอดภัยของทารก"

 

นายแพทย์ประชา  นันท์นฤมิต  หัวหน้าหน่วยทารกแรกเกิด ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ความรู้เกี่ยวกับการแพร่ของเชื้อโรคสู่ทารกว่า  โดยทั่วไปเชื้อไวรัส  หรือเชื้อแบคทีเรีย มีโอกาสติดต่อผ่านทางน้ำนมได้ แต่กรณีที่แม่ติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย ไม่ได้หมายความว่าลูกจะกินนมแม่ไม่ได้ ในกรณีทารกปกติทั่วไปที่ร่างกายแข็งแรง เช่น ถ้าแม่เป็นหวัด  เป็นไปได้ว่าอาจมีเชื้อหวัดจำนวนเล็กน้อยออกทางน้ำนมได้ แต่ทารกจะไม่มีอาการและเป็นปกติ เพราะการติดเชื้อหวัดส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสใกล้ชิดกับเสมหะ  การไอ  การจาม  แต่ถ้าเป็นทารกที่มีความเสี่ยง เช่น ทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจทำให้เกิดมีปัญหาได้  แต่ที่น่ากลัวมาก ๆ คือ  เอดส์ หรือเชื้อเอชไอวี  เพราะมีข้อมูลชัดเจนว่าถ้าแม่ติดเชื้อ HIV  เราจะไม่ให้กินนมแม่ เพราะเด็กมีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อ HIV จากแม่ได้ ทั้งนี้นายแพทย์ประชา ได้แสดงความคิดเห็นถึงการรับนมจากแม่คนอื่นว่า  แม่ควรให้นมลูกด้วยตนเอง  หากมีความจำเป็นจริง ๆ ควรรับนมจากหน่วยงานที่ได้รับมาตรฐานเพราะมีการตรวจสุขภาพผู้มาขอบริจาคและซักประวัติอย่างละเอียดเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดกับทารกได้

 

มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ได้ให้คำแนะนำว่า การบริจาคหรือการให้นมแก่ลูกคนอื่นนั้นต้องอยู่ภายในความสมัครใจและความยินยอมทั้งสองฝ่าย  และสิ่งสำคัญการคุ้มครองสิทธิเด็กให้ได้รับอาหารที่ปลอดภัย โดยแม่ที่ให้นมแก่ลูกคนอื่นนั้น จะต้องได้รับการรับรองจากสถาบันทางการแพทย์ว่าไม่มีโรคติดเชื้อต่าง ๆ ได้แก่ เชื้อเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบ บี และซี และไซโตเมกกาโลไวรัส (CMV) รวมทั้งแม่ที่เสพสารเสพติดทุกชนิด เช่น สูบบุหรี่ และดื่มสุรา สรุปว่า  การให้นมแม่แก่ลุกคนอื่นนั้นมีความเสี่ยงแม้จะไม่สูง แต่เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ทารกสูงสุด จึงควรมีระบบการจัดการในการบริจาค ต้องมีกระบวนการคัดกรองเป็นอย่างดี

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีปั๊มนม ปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้า เอาใจคุณแม่ที่ไม่ค่อยมีเวลาว่าง

 

บริจาคนมแม่

 

รู้จักธนาคารนมแม่รามาธิบดี

ธนาคารนมแม่รามาธิบดีเป็นธนาคารนมแม่ที่เปิดรับบริจาคน้ำนมมารดาเพื่อนำไปใช้กับทารกป่วย หรือมีข้อจำกัดในการรับนมมารดา เช่น แม่เป็นโรคเลือด มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม ติดสิ่งเสพติด ติดเชื้อเอชไอวี หัวนมแตก หรือในช่วงแรกที่แม่ยังไม่มีน้ำนม รวมถึงกรณีเด็กคลอดก่อนกำหนดหรือมีน้ำหนักตัวน้อยให้ได้รับนมแม่

 

นางสิริมนต์ คงถาวร พยาบาลวิชาชีพเฉพาะทาง ผู้ดูแลธนาคารนมแม่ เปิดเผยว่า สัปดาห์หนึ่งจะมีผู้มาบริจาคนม 2 – 3 ราย แต่ละรายสามารถบีบน้ำนมออกมาได้เฉลี่ย 50 ถุง ถุงละ 5 ออนซ์ หรือเทียบเท่ากับปริมาณของขวดนมขนาดเล็ก 2 – 3 ขวด มีเด็กทารกที่ได้รับน้ำนมเฉลี่ยสัปดาห์ละ 4 คน จ่ายน้ำนมขั้นต่ำประมาณ 7 ขวด/คน/สัปดาห์ ถือว่ามีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ แม่ที่มาบริจาคส่วนใหญ่จะเป็นหมอหรือพยาบาลที่ทำงานภายในโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยแม่จะมาบีบน้ำนมสดที่ศูนย์ ส่วนบุคคลภายนอกที่จะมาบริจาคจะมีการตรวจประวัติอย่างละเอียดก่อน โดยน้ำนมแม่จะผ่านกระบวนการพาสเจอไรซ์เพื่อยืนยันความปลอดภัย ทั้งนี้ที่ผ่านมาธนาคารนมแม่ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากทั่วโลก ยังไม่เคยมีเด็กรับบริจาคติดเชื้อเลย”

 

ในทางปฏิบัติคุณแม่ควร รับ บริจาคนมแม่ หรือไม่

ความจริงแล้ว หากคุณแม่คลอดลูกใหม่ ๆ ควรพยายามให้นมลูกด้วยตนเอง การรับบริจาคนมแม่นั้นมีความเสี่ยงมากในการรับเชื้อโรคที่เป็นอันตรายผ่านทางน้ำนม หากไม่ใช่ได้รับบริจาคจากธนาคารนมแม่ที่มีการคัดกรอง และทำการพาสเจอไรซ์นมจนมั่นใจได้ในความปลอดภัย  

พ.ญ.สุธีรา  เอื้อไพโรจน์กิจ ได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องการบริจาคนมแม่และการรับบริจาคนมแม่ไว้ดังนี้ “เราควรจะให้สังคมรู้ว่าไม่ควรรับน้ำนมบริจาคและไม่ควรบริจาคน้ำนมให้กับลูกของคนอื่น มีคนไข้ถามหมอมาตลอดเหมือนกัน ว่าเขามีน้ำนมเยอะจะสามารถเอาไปบริจาคได้หรือไม่ หมอก็บอกว่า อย่าเลย เก็บไว้ให้ลูกกินเถอะ เพราะว่าคุณบริจาคไปแล้วถ้าลูกเขามีปัญหา คุณจะรับผิดชอบไม่ไหว ไม่แนะนำให้ทำ” กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กล่าวทิ้งท้าย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ปัญหาน้ำนมแม่ น้ำนมน้อย แม่ให้นมเครียดสุด เรื่องจริงหรือแม่คิดไปเอง

 

บริจาคนมแม่

 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการบริจาคน้ำนม

พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ทารกแรกเกิดโรงพยาบาลบีเอ็นเอช และอนุกรรมการศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ให้คำตอบเกี่ยวกับการบริจาคนมแม่ว่า ในต่างประเทศมีการแชร์น้ำนมระหว่างแม่ แต่มีหน่วยงานที่คอยสุ่มตรวจ เพราะมีการขายน้ำนมแม่เกิดขึ้น ซึ่งพบว่า ผู้ขายน้ำนมแม่บางคนมีการใช้นมวัวหรือใช้น้ำเปล่าเจือจางนมแม่ไปจนถึงการตรวจเจอเชื้อโรคที่เป็นอันตรายอย่าง เอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี และซี เป็นต้น แต่ถ้าให้ปลอดภัยคือต้องได้รับน้ำนมจากธนาคารนมที่มีการดูแลจัดการเช่นเดียวกับธนาคารเลือด คือ มีการคัดกรองเหมือนกับการบริจาคเลือด มีการซักประวัติถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ในต่างประเทศมีธนาคารน้ำนมแหล่งแห่ง แต่สำหรับประเทศไทยตอนนี้มีธนาคารน้ำนมรามาธิบดีแค่แห่งเดียวซึ่งจะให้ฟรีกับกลุ่มทารกที่ป่วยหนักและทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักแค่ 500 กรัม – 1 กิโลกรัม ลำไส้ของเด็กเหล่านี้ไม่สามารถย่อยนมที่ข้ามสายพันธุ์ได้ ถ้ากินนมวัวมีความเสี่ยงที่จะเกิดลำไส้เน่า หรือการติดเชื้อในกระแสเลือดไปจนถึงการติดเชื้อที่สมอง ส่วนในต่างประเทศมีธนาคารน้ำนมที่มีนมแม่ขาย แต่ราคาแพงมาก คือ นมแม่ 1 ออนซ์ หรือ 30 CC. มีราคาราว ๆ 200 บาท

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom

ลูกกินนมไม่หมด นมแม่ นมผง ลูกกินแล้วเหลือ ทำอย่างไรดี ?

ลูกดูดเต้าเดียว นมแม่ใหญ่ข้างเล็กข้าง เพราะเจ้าตัวดีสะดวกแบบนี้

เผยเคล็ดลับ! เทคนิคเพิ่มน้ำนม และจัดตารางการปั๊มนมสำหรับ Working Mom!

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • การให้นมลูก
  • /
  • บริจาคนมแม่ ต้องทำอย่างไร? ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ บริจาคหรือรับบริจาคนมแม่
แชร์ :
  • แพทย์เตือน งดรับบริจาคนมแม่ โดยไม่ผ่านธนาคารนมแม่ เสี่ยงติดเชื้อร้ายแรง

    แพทย์เตือน งดรับบริจาคนมแม่ โดยไม่ผ่านธนาคารนมแม่ เสี่ยงติดเชื้อร้ายแรง

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • แพทย์เตือน งดรับบริจาคนมแม่ โดยไม่ผ่านธนาคารนมแม่ เสี่ยงติดเชื้อร้ายแรง

    แพทย์เตือน งดรับบริจาคนมแม่ โดยไม่ผ่านธนาคารนมแม่ เสี่ยงติดเชื้อร้ายแรง

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ