สวัสดิการลาคลอดของต่างประเทศ สุดเริ่ด ต่างจากไทยแค่ไหนมาดูกัน
องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และ การพัฒนา (OECD) เปรียบเทียบ สวัสดิการลาคลอด ของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยพิจารณาเงื่อนไขต่าง ๆ นอกเหนือจากจำนวนวันลา หรือ เงินที่ได้รับด้วย เรามาดู สวัสดิการลาคลอดของต่างประเทศ ว่าจะเหมือน หรือ แตกต่าง ไปจากเราแค่ไหน
สวัสดิการ ลาคลอดของต่างประเทศ
วิธีคำนวณ คือ จำนวน วันลา หารด้วยจำนวน เงินอุดหนุน (คิดเป็นเปอร์เซนต์ของเงินเดือนเฉลี่ย) ที่แม่ได้รับช่วง ลาคลอด
ตัวเลข ที่ได้เรียกว่า ค่า FRE (full-rate equivalent) นั่นคือ จำนวนวันลา ที่ได้รับเงินเดือนเต็ม ๆมี
ประเทศไหนใจดีให้แม่ลาคลอดโดยได้รับเงินเดือนเต็ม ๆ บ้างนะ?
ในกลุ่ม ประเทศสมาชิก OECD มี 14 ประเทศจาก 34 ประเทศ ที่ให้สวัสดิการสุดพิเศษ นี้ ตามตารางข้างล่าง
A. ระยะเวลาที่ ลาคลอด แล้วได้เงิน B. อัตราค่าชดเชย เฉลี่ย ที่คนลาจะได้เมื่อเทียบ กับ ค่าแรงเฉลี่ยในประเทศ
จากข้อมูลปี 2015 ประเทศ คุณแม่ได้รับสวัสดิการลาคลอด ยอดเยี่ยมเต็ม 100% ได้แก่
1. โครเอเชีย
สวัสดิการลาคลอ ดของต่างประเทศ
ถ้าแม่ท้องจ่ายประกันสังคมต่อเนื่อง ก่อนปีที่จะคลอด จะได้รับเงินเดือนเต็ม ๆ ระหว่างที่ลาหยุด ทั้งหมด 30 สัปดาห์!
เหมือน อนุญาตให้แม่ ๆ ลาพักร้อน กันสบายใจ เฉิบเลยทีเดียว
2. โปแลนด์
โปแลนด์ ก็ให้สวัสดิการ ดีไม่แพ้กัน ได้เงินเดือน เต็ม 100% ไปเลย 26 สัปดาห์
แถมยังให้สิทธิ์ คุณพ่อคนใหม่ ลางานมาดูแลภรรยา และ ลูกแรกเกิดได้เต็มที่ 2 อาทิตย์แบบไ ม่หักเงินเดือนด้วยค่ะ
3. เอสโตเนีย
สวัสดิการลา คลอดของต่างประเทศ
เอสโตเนีย เป็นประเทศที่มี ประชากรน้อย เหมือนเทียบกับประเทศอื่นในกลุ่มอียู ด้วยกัน อาจจะด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงให้ สวัสดิการลาคลอดเริ่ดที่สุดในกลุ่ม ประเทศที่พัฒนาแล้ว
คุณแม่ชาวเอสโตเนีย สามารถลาคลอดได้เต็ม ๆ 20 สัปดาห์หรือ 140 วัน ขอแค่ช่วยผลิต ประชากรเพิ่ม รัฐบาลเขายินดีดูแลค่ะ
4. เม็กซิโก
สวัสดิการลาคลอด ของต่างประเทศ
ถ้าแม่ท้อง จ่ายประกันสังคมครบ 30 สัปดาห์ก่อน ลาคลอด ก็จะได้สิทธิ์ ลาคลอด โดยไม่โดนหักเงินเดือน 12 สัปดาห์สบาย ๆ
5. อิสราเอล
สวัสดิก ารลาคลอดของต่างประเทศ
สวัสดิการลาคลอด ของประเทศอิสราเอล มีเงื่อนไขเยอะนิดนึง คือ คนที่จะใช้สิทธิ์นี้ ได้ต้องจ่ายประกันสังคม อย่างน้อย 10 เดือนในช่วง 14 เดือนก่อนคลอด เมื่อคลอดแล้ว 14 สัปดาห์แรกจะ ได้รับเงินเดือนเต็ม ๆ ส่วนอีก 12 สัปดาห์
หลังจากนั้นจะ ไม่มีเงินอุดหนุนให้ เพดานสูงสุดที่รัฐ จะจ่ายให้ คือ 5 เท่าของค่าแรงเฉลี่ยในประเทศ หรือ ประมาณ 430,000 บาท ตามข้อมูลปี 2015 ค่ะ
เห็นอย่างนี้ แล้วอิจฉาเลย อยากให้ประเทศไทยมีนโยบายส่งเสริมประชาชนคนท้อง อย่างนี้บ้างจัง คิดเหมือนกันไหมคะ
สิทธิการลาคลอดเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่แม่ท้อง ต้องดู และ มอง กันต่อไปว่า ในอนาคต จะมีมาตราการณ์ อะไรเพิ่มขึ้น จะดีขึ้นกว่านี้หรือไม่ เพราะฉะนั้น คุณแม่ ต้องหมั่นศึกษา หาข้อมูล เพิ่มเติม เรื่อยๆ เพราะ แม้จริงแล้ว เรื่อง สิทธิ์การลาคลอดนั้น ก็เป็นการเมือง ส่วนหนึ่งของ การพัฒนาประเทศด้วย
และ ถ้าเมืองไทยเรา มีแะไรอัพเดท ล่ะก็ เราจะเอามา บอกเล่า ให้คุณแม่ ได้ฟังกันเลยทันที เลย อย่าลืมติดตามกันนะคะ
ที่มา : theepochtimes.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
สิทธิลาคลอด การเลี้ยงดูลูกของสวีเดน VS ไทย ทำไมต่างกันขนาดนี้!!
แม่ๆ เตรียมเฮ ปรับโครงสร้างภาษีปี 2560 เสียภาษีน้อยลง
ลาคลอดเมื่อไหร่ดี?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!