X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกท้องเสียต้องหยุดกินนมแม่ไหม ? ทารกท้องเสียควรเลี่ยงอะไรบ้าง

บทความ 5 นาที
ทารกท้องเสียต้องหยุดกินนมแม่ไหม ? ทารกท้องเสียควรเลี่ยงอะไรบ้าง

ทารกมีอาการท้องเสีย งอแง คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลเรื่องของมื้อนมของลูก ทารกท้องเสียต้องหยุดกินนมแม่ไหม กลัวว่านมแม่จะทำให้ลูกอาการหนักกว่าเดิมหรือไม่ แต่รู้หรือไม่ว่า นมแม่นั้นเป็นแหล่งสารอาหารที่สำคัญ ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการท้องเสียของทารกน้อยได้

 

ทารกท้องเสีย ดูยังไง ?

ลูกในวัยทารกที่ไม่สามารถสื่อสารได้โดยตรงผ่านคำพูดเหมือนกับคนในวัยอื่น อาจเป็นปัญหาต่อผู้ปกครองได้ จึงเป็นหน้าที่ผู้ปกครองที่ต้องคอยดูแล หรือสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับทารก โดยสามารถสังเกตอาการที่สำคัญได้ ดังนี้

 

  • ทารกมีอาการงอแง ร้องไห้ไม่ยอมหยุด ถึงจะปลอบหรืออุ้มก็ยังไม่นิ่งเหมือนที่เคย
  • เมื่อให้กินนม หรือกินอาหารใด ๆ จะอาเจียนออกมาทุกครั้ง หรือไม่ยอมกิน
  • ริมฝีปากของทารกแห้ง และสังเกตเห็นกระหม่อมหน้าบุ๋มลงไป
  • ทารกมีอาการซึม ไม่ค่อยตอบสนอง หรือไม่ตอบสนองเลย
  • ทารกถ่ายอุจจาระบ่อย เฉลี่ยอาหารมักจะเกิดขึ้นทุก 2 หรือ 3 ชั่วโมง
  • อุจจาระของทารกจะมีลักษณะเป็นมูก หรือมีเลือดปนออกมาด้วย
  • มีปริมาณการปัสสาวะลดน้อยลง หรือไม่ปัสสาวะเลยมากกว่า 6 – 8 ชั่วโมง
  • ทารกจะมีอาการดูอ่อนแรง หรือดูอ่อนเพลีย

 

สำหรับในวัยอื่นที่โตกว่าทารกจะสามารถสังเกตอาการได้ง่ายกว่า อีกทั้งผู้ที่มีอาการท้องเสียมักรู้ตัวอยู่แล้ว เพราะอาการที่ชัดเจน คือ การถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว จนรู้สึกอ่อนแรง อย่างไรก็ตามในเด็กเล็กอาจไม่เข้าใจว่าตนเองท้องเสีย ผู้ปกครองจึงควรคอยช่วยดู ช่วยสังเกตอีกแรง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกท้องเสียจากน้ำนมแม่ ทารกถ่ายบ่อย จนก้นแดง ทั้งที่กินนมแม่อย่างเดียว

 

วิดีโอจาก : เด็กทารก Everything Channel

 

ทารกท้องเสียต้องหยุดกินนมแม่ไหม ?

การให้นมแม่ในทารกนั้นยังสามารถให้นมลูกกินต่อไปได้ แต่ยังมีข้อจำกัดอยู่ คือ หากเด็กทารกมีอาการท้องเสียรุนแรง หรือมากกว่า 5 ครั้ง / วัน ควรปรึกษากับแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการให้นมลูก เบื้องต้นคุณแม่สามารถเพิ่มความปลอดภัยให้กับทารกได้ด้วยการปั๊มเอานมส่วนต้นออกมาเก็บไว้ก่อน และให้ลูกกินนมส่วนท้ายแทน การทำแบบนี้จะทำให้ทารกได้รับนมแม่ที่มีปริมาณของน้ำตาลแล็กโทส (Lactose) ลดน้อยลง ทำให้ไม่เสี่ยงเกิดการกระตุ้นอาการท้องเสีย

ดังนั้นหากไม่มีความจำเป็นจริง ๆ ไม่ควรหยุดให้นมแม่ เพราะนมแม่เป็นแหล่งอาหารสำคัญสำหรับทารกที่ยังทานอย่างอื่นไม่ได้ กรณีที่ทารกมีอาการรุนแรง หรือมีอาการที่น่ากังวล ห้ามหาทางให้นมแบบอื่นด้วยตนเอง แต่ควรปรึกษากับแพทย์ก่อน เพราะอาการท้องเสียของทารกมีสาเหตุการเกิดได้จากทั้งไวรัส และแบคทีเรีย ซึ่งอาจส่งผลต่ออาหาร หรือการให้นมด้วย

 

ทำไมทารกท้องเสียจึงยังต้องกินนมแม่อย่างต่อเนื่อง ?

ตามที่ได้กล่าวไปว่าไม่ควรหยุดให้นมหากไม่จำเป็นจริง ๆ ซึ่งต่างจากความเชื่อของหลายคนที่คิดว่าเมื่อตนเองท้องเสียจะเลี่ยงการกินนมกล่อง แต่กับทารกนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ธรรมชาติสร้างให้อาหารเพียงอย่างเดียวของทารกตัวน้อย คือ นมแม่ ซึ่งแน่นอนว่านมแม่มีทุกอย่างนอกจากความอิ่ม ยังสามารถช่วยป้องกัน หรือรักษาความผิดปกติที่เกี่ยวกับเด็กได้ด้วย เนื่องจากในนมแม่มี IgG, Macrophage, Lysozyme, Lactoferrin และ LPR เป็นต้น

สารอาหารที่กล่าวมานี้มักพบในน้ำนมแม่เท่านั้น และมีหน้าที่ช่วยบรรเทาอาการท้องเสียของทารกได้ด้วย ทำให้เยื่อบุลำไส้ฟื้นตัว และกลับมาทำหน้าที่ย่อย รวมถึงดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น ดังนั้นถึงแม้ทารกจะท้องเสียคุณแม่ยังควรให้นมต่อไปได้ ไม่ต้องหยุด แต่ต้องให้อย่างถูกวิธีด้วยการให้นมส่วนท้ายนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้

 

ทารกท้องเสียต้องหยุดกินนมแม่ไหม

 

ทารกท้องเสีย ทําอย่างไร ลูกท้องเสียให้กินอะไรดี ?

นอกจากการให้นมกับทารกที่ยังต้องให้ต่อไป สำหรับเด็กที่โตขึ้นมา และเริ่มทานอาหารตามวัยได้แล้ว สามารถทานอาหารที่ย่อยได้ง่าย เช่น ข้าวต้ม หรือโจ๊กใส่เนื้อสัตว์เล็กน้อย ประกอบกับกินข้าวต้มผสมเกลือ, ข้าวบด, เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน หรือกล้วยบด เป็นต้น ผู้ปกครองต้องมั่นใจว่ามื้ออาหารของลูกน้อยที่โตขึ้นมาต้องสามารถย่อยได้ง่าย เพื่อให้ร่างกายของลูกน้อย สามารถย่อยสลายนำสารอาหารมาเป็นพลังงานให้กับร่างกาย ทดแทนพลังงานที่สูญเสียไปในช่วงท้องเสียได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้เพื่อบรรเทาอาการยังสามารถให้ลูกทานน้ำเกลือแร่ประเภท ORS (Oral rehydration salt) ผงละลายเกลือแร่ ปริมาณ 50 – 100 มิลลิลิตร / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยพยายามป้อนให้ลูกน้อยทานเรื่อย ๆ พยายามให้ทานจนหมดภายใน 4 ชั่วโมง หลังจากชงเกลือแร่ นอกจากนี้หากลูกทานนมชงแล้ว ไม่ได้ทานนมแม่ สามารถลดปริมาณของนมที่ชงลงครึ่งหนึ่ง และให้ทานเกลือแร่ ORS อีกครึ่งแทนได้ โดยต้องมีระยะห่างกัน 2 ชั่วโมง ห้ามกินต่อเนื่องกัน

 

การเลือกนมผสม นมชงให้ปลอดภัยกับทารก

การเลือกนมผสม นมชงให้กับทารกที่มีปัญหาเรื่องของนมแม่ในขณะนั้น คุณแม่ควรเลือกนมผงให้ใกล้เคียง หรือคล้ายกับนมแม่มากที่สุดเพื่อจะได้ไม่มีปัญหาต่อระบบขับถ่าย หากไม่มั่นใจควรปรึกษากับแพทย์ก่อน เช่น นมถั่วเหลือง เหมาะสำหรับทารกที่แพ้นมวัว หรือมีปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย, นมแพะ เหมาะสำหรับเด็กที่แพ้นมวัว หรือทารกที่มีประวัติภูมิแพ้ และนมชนิดพิเศษ ใช้สำหรับทารกเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งที่มีภาวะเจ็บป่วย เป็นต้น แต่ถ้าลูกมีปัญหาสุขภาพควรเลือกใช้ตามคำแนะนำของแพทย์จะปลอดภัยที่สุด

นอกจากนี้หากคุณแม่กำลังมองหานมสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด นมชนิดนี้จะเพิ่มโปรตีนวิตามิน และแร่ธาตุให้กับทารกได้มากขึ้น โดยเฉพาะไขมันและคาร์โบไฮเดรต มีความเหมาะสมสำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนด และมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม เมื่อทารกมีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัมแล้ว จึงสามารถให้นมตามปกติได้

 

วิดีโอจาก : โค้ชเลิศพร สอนแม่และเด็ก

 

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom

อาหารที่ควรเลี่ยงเมื่อทารกท้องเสีย

เปลี่ยนมาให้อาหารทั้งหมดที่ไม่ใช่นมแม่เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะจะยิ่งทำให้ทารกขาดสารอาหารที่สำคัญ ที่สามารถหาได้จากนมแม่เท่านั้น, เลี่ยงน้ำที่มีรสหวานจัด ถึงแม้จะเป็นน้ำผัก ผลไม้ก็ตาม, ไข่, นมวัว, เลี่ยงการกินอาหารที่มีใยอาหารสูง และห้ามกินยาฆ่าเชื้อเองถ้าไม่จำเป็น ต้องมีข้อบ่งชี้ หรือเป็นการจ่ายยาจากหมอเท่านั้น ยิ่งถ้าหากทารกมีอาการหนักขึ้น ตามอาการของทารกที่เราให้สังเกตไป เช่น มีอาการซึม, อ่อนเพลีย หรือไปจนถึงอาการชัก เป็นต้น ไม่ควรรักษาด้วยตนเองเด็ดขาด ไม่ควรทำตามคนอื่นบอก หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาหารสำหรับเด็กท้องเสีย ผู้ปกครองควรพาทารกไปพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ และรับการรักษาจะดีที่สุด

 

สำหรับคำถามที่ว่า “ทารกท้องเสียกี่วันหาย” โดยปกติแล้วทารกที่มีอาการท้องเสียเพียงเล็กน้อย สามารถหายได้เอง เพียงให้รับนมแม่ต่อเนื่อง หรือปรับการทานอาหารให้เหมาะสมสำหรับเด็กเล็ก อย่างไรก็ตามการคอยสังเกตเฝ้าระวังอาการที่รุนแรงเป็นสิ่งที่สำคัญ หากเกิดสัญญาณอันตรายใด ๆ จะได้พาไปพบแพทย์ได้ทัน

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรคที่เกิดขึ้นในวัยทารก โรคยอดฮิตในหมู่เด็กมีอะไรบ้าง พ่อแม่จะรู้ได้ไงว่าลูกป่วย

ลูกสะอึกบ่อย เกิดจากอะไร ? วิธีหยุดทารกไม่ให้สะอึก ทำอย่างไร ?

โรคหน้าหนาว ต้องระวังลูกป่วย ทารก เด็กเล็ก เสี่ยงโรคร้าย แถมมีโรคแทรกซ้อนรุนแรงถึงชีวิต !

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • การให้นมลูก
  • /
  • ทารกท้องเสียต้องหยุดกินนมแม่ไหม ? ทารกท้องเสียควรเลี่ยงอะไรบ้าง
แชร์ :
  • นมผงสำหรับเด็ก 0-6 เดือน แม่ให้นมไม่ได้ ต้องเลือกนมผงให้เหมาะที่สุด

    นมผงสำหรับเด็ก 0-6 เดือน แม่ให้นมไม่ได้ ต้องเลือกนมผงให้เหมาะที่สุด

  • คนท้องกินแกงส้มได้ไหม เมนูบ้าน ๆ แบบนี้ต้องเลี่ยงหรือกินได้เลย ?

    คนท้องกินแกงส้มได้ไหม เมนูบ้าน ๆ แบบนี้ต้องเลี่ยงหรือกินได้เลย ?

  • คนท้องเลี้ยงแมวได้ไหม เป็นทาสแมวตอนท้องอันตรายถ้าไม่ระวัง !

    คนท้องเลี้ยงแมวได้ไหม เป็นทาสแมวตอนท้องอันตรายถ้าไม่ระวัง !

  • นมผงสำหรับเด็ก 0-6 เดือน แม่ให้นมไม่ได้ ต้องเลือกนมผงให้เหมาะที่สุด

    นมผงสำหรับเด็ก 0-6 เดือน แม่ให้นมไม่ได้ ต้องเลือกนมผงให้เหมาะที่สุด

  • คนท้องกินแกงส้มได้ไหม เมนูบ้าน ๆ แบบนี้ต้องเลี่ยงหรือกินได้เลย ?

    คนท้องกินแกงส้มได้ไหม เมนูบ้าน ๆ แบบนี้ต้องเลี่ยงหรือกินได้เลย ?

  • คนท้องเลี้ยงแมวได้ไหม เป็นทาสแมวตอนท้องอันตรายถ้าไม่ระวัง !

    คนท้องเลี้ยงแมวได้ไหม เป็นทาสแมวตอนท้องอันตรายถ้าไม่ระวัง !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ