X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
Product Guide
เข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อาการท้องผูกในเด็ก เป็นอย่างไร คำแนะนำโดย ผศ.พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

บทความ 5 นาที
อาการท้องผูกในเด็ก เป็นอย่างไร คำแนะนำโดย ผศ.พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

รู้หรือไม่ ? แม้แต่ในเด็กเล็ก ก็มีอาการ ท้องผูก ได้เช่นเดียวกันกับผู้ใหญ่ และมีผลกระทบต่าง ๆ มากมายที่คุณแม่อาจไม่ทราบ ถ้าหากไม่สังเกตให้ดี วันนี้ เราจะพาคุณแม่มาทำความรู้จักกับอาการต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นมาจากอาการ ท้องผูก ในเด็ก ไปดูกันเลยค่ะ!

 

อาการ ท้องผูก ในเด็ก เป็นอย่างไร?

อาการ ท้องผูกในเด็ก หมายถึง อาการที่เด็ก ๆ มีการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า หรือเท่ากับสองครั้งในหนึ่งสัปดาห์ หรือ ถ่ายอุจจาระแข็งแห้งเป็นก้อนใหญ่หรือคล้ายเม็ดกระสุน หรือ ถ่ายลำบาก ต้องออกแรงเบ่งมาก เจ็บปวดเวลาถ่าย และอาจมีเลือดปนได้ ซึ่งเป็นอาการถ่ายที่ผิดปกติ จากระบบย่อยอาหารที่ไม่แข็งแรงของลูกน้อย และควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด หรือพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษานะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : นมสำหรับเด็กท้องผูก ควรเลือกแบบไหน ปลอดภัยกับลำไส้ของลูกน้อย

 

ท้องผูก

 

เราจะทราบได้อย่างไร ว่าลูกน้อย ท้องผูก

ก่อนอื่น เราควรจะทราบก่อนว่า ลูกน้อยของเรา หรือทารกโดยปกติแล้ว ถ่ายอุจจาระบ่อยแค่ไหน เพราะว่าทารกที่ทานนมแม่เป็นประจำนั้น มักจะถ่ายหลังจากทานนมแม่เป็นเรื่องปกติ โดยหลังจากลูกน้อยอายุ 6 สัปดาห์ จะเริ่มถ่ายน้อยลง เป็นประมาณวันละ 3-5 ครั้ง และจะลดลงเรื่อย ๆ จนไปถึงหลังอายุ  2-3 เดือนจะถ่ายเพียงวันละ 1-2 ครั้ง เป็นปกตินั่นเองค่ะ

ส่วนเด็กที่มีปัญหาท้องผูกนั้น เราอาจสังเกตได้จากการถ่ายอุจจาระของลูก นั่นก็คือ มีการถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือมีลักษณะอุจจาระที่แข็ง เหมือนกับเม็ดกระสุน หรืออาจถ่ายก้อนใหญ่ผิดปกติ ซึ่งอาการที่เห็นได้ชัดก็คือ เด็ก ๆ จะมีอาการเจ็บปวดในขณะที่เบ่งถ่าย จนทำให้ร้องไห้ หรือมีอาการอื่น ๆ ที่แสดงออกมาถึงความทรมานเวลาเบ่งนั่นเองค่ะ โดยถ้าหากเด็ก ๆ มีอาการเหล่านี้ เป็นเวลามากกว่า 1 เดือนติดต่อกัน สามารถนับเป็นอาการท้องผูกเรื้อรังได้เลยอีกด้วยค่ะ

 

ท้องผูก ในเด็ก มีผลกระทบอื่น ๆ อย่างไรบ้าง?

หากเด็กมีอาการท้องผูกเรื้อรังอาจส่งผลให้เกิดอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยได้ เช่น มีอาการอุจจาระเล็ดเปื้อน กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ อาจทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ  ปวดท้อง แน่นท้อง รับประทานอาหารได้ลดลง เป็นผลกระทบที่ส่งผลต่อการรับสารอาหาร และระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายเป็นอย่างมากเลยค่ะ

 

เด็กที่ถ่ายอุจจาระทุกวัน ท้องผูก ได้หรือไม่?

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า แม้ลูกถ่ายอุจจาระทุกวันก็อาจท้องผูกได้นะคะ ถ้าอุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง ถ่ายยาก ลำบาก การวินิจฉัยอาการท้องผูก จะพิจารณาจากลักษณะของอุจจาระเป็นหลัก เพราะทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไม่จำเป็นต้องถ่ายอุจจาระทุกวัน ดังนั้นแม้ลูกจะถ่ายอุจจาระเพียงครั้งเดียวใน 2-3 วันแต่อุจจาระมีลักษณะนิ่มปกติ ถ่ายได้สะดวก ก็ไม่ถือว่าท้องผูกค่ะ

 

ท้องผูก ในเด็ก

 

เราจะป้องกันไม่ให้ลูก ท้องผูก ได้อย่างไร?

คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยป้องกันไม่ให้ลูกต้องทรมานจากอาการท้องผูกได้โดยมีหลักการง่าย ๆ ในการดูแล 4 อย่าง ได้แก่ เรื่องของอาหาร น้ำ การฝึกสุขนิสัยการขับถ่าย และการออกกำลังกายค่ะ โดยเราสรุปมาให้แล้วสั้น ๆ ดังนี้เลย

 

  • ดูแลเรื่องอาหาร

เริ่มจากอาหาร เด็กวัยทารกควรให้ลูกทานนมแม่เพราะโปรตีนในนมแม่ย่อยง่ายทำให้ทารกท้องผูกน้อย หากจำเป็นต้องใช้นมผสมควรเลือกนมที่มีส่วนประกอบของโปรตีนใกล้เคียงนมแม่ สำหรับทารกที่เริ่มทานอาหารเสริมแล้วหรือเด็กโตควรให้อาหารที่มีเส้นใยมาก ๆ ผลไม้และผัก เช่น มะละกอสุก ส้ม ผักกาดขาว แครอท ธัญพืชต่าง ๆ

 

  • อย่าลืมทานน้ำ

สำหรับน้ำ ควรให้เด็กดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยทารกอายุน้อยกว่า  6 เดือนควรได้รับน้ำอย่างเพียงพอจากนมเป็นหลัก เด็กที่อายุมากกว่า 6 เดือนอาจให้ดื่มน้ำผลไม้เช่นน้ำลูกพรุน น้ำส้มคั้น เสริมได้

 

  • ฝึกสุขนิสัยการขับถ่าย

ให้ลูกหัดนั่งถ่ายเป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันอาการท้องผูก ควรเริ่มฝึกในวัยที่เด็กเริ่มสื่อสารได้แล้ว

 

  • ส่งเสริมให้ลูกออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นั้นสามารถช่วยให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหว ที่ช่วยลดอาการท้องผูกได้ดี

 

ถ้าลูกมีอาการ ท้องผูก ควรทำอย่างไร?

หากลูกมีอาการท้องผูก คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกทานอาหารที่มีเส้นใยและน้ำให้มาก ๆ ตามที่หมอได้แนะนำไปข้างต้นนะคะ หากอาการยังไม่ดีขึ้น ยืดเยื้อเรื้อรัง ไม่ควรซื้อยาระบายหรือยาสวนทวารมาใช้เองเพราะอาจเป็นอันตรายได้โดยเฉพาะในทารก คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการซักประวัติอาการท้องผูกและอาการต่าง ๆ ที่เป็นผลกระทบหรืออาการแทรกซ้อน ร่วมกับการตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุโรคบางอย่างที่อาจเป็นสาเหตุของอาการท้องผูกเรื้อรังได้ นอกจากนี้คุณหมออาจพิจารณาให้ยาเหน็บหรือยาระบายที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก ควบคู่ไปกับการป้องกันอาการท้องผูกค่ะ

 

ท้องผูก ในเด็ก

 

เคล็ดลับ ที่จะช่วยให้ลูกน้อยถ่ายได้ง่ายมากขึ้น

  1. ดื่มนมวันละไม่เกิน 32 ออนซ์ เพราะว่านมนั้นมีแคลเซียมสูง และมักจับตัวกับก้อนไขมัน จนทำให้เกิดก้อนแข็ง ดังนั้น ถ้าหากทานนมมากจนเกินไป มักทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ง่าย
  2. ให้เด็กได้ทานอาหารที่เหมาะสมตามวัย โดยให้อัตราส่วนของข้าว เนื้อสัตว์ และผักผลไม้ ในอัตราส่วน 2:1:1 ตามลำดับ
  3. ให้เด็กทานข้าวซ้อมมือ หรือขนมปังโฮลวีต เพราะมีกากใยอาหารมากกว่าข้าว หรือแป้งสาลีขาว ซึ่งจะส่งผลให้ลูกน้อยสามารถถ่ายได้ง่ายมากขึ้น
  4. ทานผักผลไม้ ที่มีใยอาหารสูง เช่น ส้ม มะละกอ ชมพู่ และควรให้ลูกดื่มน้ำมากขึ้น
  5. ให้ลูกถ่ายอุจจาระหลังจากทานอาหารทุกมื้อ เพื่อให้ถ่ายเป็นเวลา และมีสุขภาพที่แข็งแรง
  6. ออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกาย โดยเฉพาะเน้นในส่วนหน้าท้อง จะช่วยให้ลำไส้เคลื่อนไหว และสามารถบีบตัวเพื่อขับอุจจาระได้ง่ายมากขึ้น นอกจากนี้ การนวดหน้าท้องให้ทารกในรูปแบบตัว U กลับหัว จะช่วยสามารถกระตุ้นการขับถ่ายได้เช่นกันค่ะ

 

บทความจากพันธมิตร
ผลวิจัยล่าสุด MFGM  สุดยอดสารอาหาร เพื่อ IQ /EQ ที่เหนือกว่าของลูกน้อยในวัย 5 ขวบ
ผลวิจัยล่าสุด MFGM สุดยอดสารอาหาร เพื่อ IQ /EQ ที่เหนือกว่าของลูกน้อยในวัย 5 ขวบ
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน

โดยสรุปแล้ว อาการท้องผูกในเด็กเล็ก สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าหากไม่ได้รับวิตามิน และสารอาหารที่ครบถ้วน และถ้าหากลูกมีอาการท้องผูก คุณพ่อคุณแม่ก็ควรให้ลูกน้อยทานอาหารที่มีเส้นใยและน้ำให้มาก ๆ เพื่อเพิ่มสารอาหารในระบบย่อยอาหารของร่างกาย แต่ถ้าหากไม่ดีขึ้น แนะนำให้พามาพบแพทย์ เพื่อตรวจอาการ และรับการรักษาได้อย่างถูกต้อง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

10 อาหารเสริม โพรไบโอติก (Probiotic) ยี่ห้อไหนดี สุขภาพดี แก้ท้องผูก

9 ผัก ผลไม้สีเหลือง บอกลาปัญหาท้องผูก รวมคุณค่าดี ๆ สำหรับคนอยากหน้าเด็ก

อาหารแก้ท้องผูกสำหรับเด็ก 7 อย่าง อร่อย มีประโยชน์ ไม่ต้องพึ่งยาระบาย

ที่มา : 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • อาการท้องผูกในเด็ก เป็นอย่างไร คำแนะนำโดย ผศ.พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี
แชร์ :
  • กินอะไรแก้ท้องผูก คนท้องไม่อยากท้องผูกบ่อยๆ ต้องกินผลไม้อะไรบ้าง

    กินอะไรแก้ท้องผูก คนท้องไม่อยากท้องผูกบ่อยๆ ต้องกินผลไม้อะไรบ้าง

  • อาการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์

    อาการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • กินอะไรแก้ท้องผูก คนท้องไม่อยากท้องผูกบ่อยๆ ต้องกินผลไม้อะไรบ้าง

    กินอะไรแก้ท้องผูก คนท้องไม่อยากท้องผูกบ่อยๆ ต้องกินผลไม้อะไรบ้าง

  • อาการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์

    อาการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว