เมื่อไม่นานมานี้ คุณแม่ท่านหนึ่งได้แชร์ประสบการณ์ผ่านเพจ Her Kid รวมพลคนเห่อลูก เพื่อเป็นประโยชน์กับคุณแม่ทุกคนว่า ตอนแรกที่เห็นผดของน้องขึ้นนั้น คาดว่าจะเป็นผดน้ำนม พอคุณแม่เห็น ก็เลยทาแป้งให้ พอยิ่งทา ผื่นก็ยิ่งลามมากขึ้นเรื่อย ๆ ลูกผดขึ้นอย่าทาแป้งเด็ดขาด ผดร้อนในทารก
ผดร้อนทารก ลูกผดขึ้นอย่าทาแป้ง
ผดร้อนในทารก
ผดร้อน ทารก ซึ่งผดก็ได้ลามไปถึงศีรษะของน้องด้วย เวลาที่น้องอ้าปากปากก็จะแตกและมีเลือดออก คุณแม่จึงพาน้องไปหาหมอและพบว่า น้องเป็นแผลติดเชื้อ คุณหมอจึงได้ให้ยามาทา ตอนที่ทาน้องก็ร้องไห้เพราะคาดว่าจะแสบที่แผล หลังจากนั้นประมาณ 3 – 4 วันแผลก็เริ่มแห้งและหลุดเป็นสะเก็ดแผลออกมาเอง
ผดร้อนทารก เกิดจากอะไร ผดร้อนทารก มาจากไหน
ผดร้อน ทารก ลูกผดขึ้นอย่าทาแป้ง จึงอยากเตือนคุณแม่ทุกคนให้ระวังและหมั่นสังเกต หากลูกผดขึ้นอย่าเพิ่งรีบทาแป้ง แต่ควรล้างหรือเช็ดด้วยน้ำสะอาดเท่านั้น โดยไม่ต้องใช้สบู่ เพราะผิวเด็กนั้นบอบบางมาก เรามาทำความรู้จักกันดีกว่า ว่าผดร้อน คืออะไร
ผดร้อน ทารก คืออะไร?
ผดร้อน หรือ miliaria เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากต่อมเหงื่อทำงานผิดปกติเมื่ออยู่ในอากาศที่ร้อนชื่น ทำให้มีการอุดตันที่ท่อของต่อมเหงื่อ เกิดเป็นตุ่มน้ำเล็กๆ ขึ้นที่ผิวหนัง ผดร้อนมีทั้งหมด 4ชนิด ลักษณะแตกต่างกันไปตามตำแหน่งความลึกที่ท่อของต่อมเหงื่อถูกอุดตัน โรคนี้พบได้บ่อยในเด็กทารกเพราะการพัฒนาของต่อมเหงื่อและผิวหนังยังไม่สมบูรณ์ แต่ก็สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้ทีอยู่ในเขตอากาศร้อนชื้น
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ : 7 หมอนหัวทุยที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย ซื้อไว้ติดบ้าน หายห่วงเรื่องลูกหัวแบน
ผดร้อน ผดร้อนทารก มีกี่ชนิด?
ผดร้อน แบ่งได้ตามลักษณะของผื่นเป็น 4 ชนิดตามความลึกของการอุดตันของท่อต่อมเหงื่อ ได้แก่
- Miliaria crystallina เกิดจากการอุดตันเกิดที่ผิวหนังชั้นบนสุด ลักษณะเป็นตุ่มน้ำใสเล็กๆ แตกง่าย ขนาด 1-2 มม.ไม่มีอาการเจ็บหรือคัน
Miliaria rubra เกิดจากการอุดตันท่อต่อมเหงื่อในผิวหนังชั้นนอกที่ลึกลงมากกว่า Miliaria crystalina ลักษณะเป็นตุ่มสีแดงหรือตุ่มใสๆ มีอาการแสบหรือคัน
- Miliaria pustulosa เกิดจากการอุดตันที่ระดับผิวหนังชั้นลึกเข้ามา ลักษณะเป็นเหมือนตุ่มหนอง
- Miliaria profunda เกิดการอุดตันเกิดในชั้นหนังแท้ ลักษณะเป็นตุ่มนูนแดง ไม่มีอาการเจ็บหรือคัน
โดยผดร้อน ชนิด Miliaria crystallina และ Miliaria rubra มักพบในทารกแรกเกิด ในผิวหนังบริเวณที่มีการเสียดสี เช่น อก คอ หลัง ข้อพับ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ ลูกเป็นผดร้อน มีอะไรบ้าง?
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดผดร้อนได้แก่ การที่ต่อมเหงื่อพัฒนาไม่สมบูรณ์ในเด็กทารก สภาพอากาศร้อนชื้น การอุดตันของต่อมเหงื่อจากการใส่เสื้อผ้ารัด เสียดสี อาการออกกำลังกายที่ทำให้เกิดเหงื่อออกมากๆ
คุณหมอจะสามารถวินิจฉัยผดร้อนได้อย่างไร?
คุณหมอจะวินิจฉัยโรคนี้หากทำการสอบถามประวัติพบว่าผื่นเห่อขึ้นเมื่ออากาศร้อน และดีขึ้นจนหายได้เมื่ออากาศเย็น และลักษณะผื่นเป็นตุ่มน้ำดังกล่าวข้างต้น ร่วมกับตำแหน่งของผื่นที่เข้ากันได้กับผดร้อน หากลักษณะต่างๆ เหล่านี้ไม่ชัดเจน คุณหมออาจส่งตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ เพื่อวินิจฉัยแยกโรคจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อรา ซึ่งบางครั้งอาจมีลักษณะของผื่นและอาการคล้ายกับผดร้อนได้ค่ะ
ผดร้อนทารก รักษาอย่างไร
หากลูกมีอาการผดผื่นแบบที่หมอกล่าวมาข้างต้น และเพิ่งเป็นมาไม่กี่วัน ก็อาจดูแลอาการเบื้องต้นได้ ด้วยวิธีต่อไปนี้
- ให้ลูกอยู่ในที่เย็น หลีกเลี่ยงอากาศร้อนชื้น ไม่ให้ลูกโดนแสงแดด เพราะอาจทำให้เหงื่อออกง่ายขึ้น
- อาบน้ำอย่างน้อยเช้าและเย็น ประคบผื่นด้วยผ้าเย็น เพื่อช่วยลดความร้อย
- สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี หลวม และโล่งสบายตัว
- ดูแลบริเวณข้อพับหรือมีการเสียดสีของผิวหนังให้แห้งเสมอ
- ตัดเล็บเด็กให้สั้นอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เด็กเกาบริเวณที่เป็นผดจนเกิดเเผล
- หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าเช็ดตัวเช็ดตัวเด็กหลังอาบน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดการเสียดสีบริเวณที่เป็นผด
โดยปกติผดร้อนจะหายไปเองในเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ หากอาการที่สงสัยผดร้อนไม่หายไปเองควรไปพบคุณหมอ เพื่อรับยาบรรเทาอาการคัน ทั้งยาทา และยาแก้แพ้ชนิดรับประทาน และคุณหมออาจให้ยาฆ่าเชื้อถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนจากการเกาค่ะ
ผดร้อนทารก ตอนไหนควรพาลูกไปหาหมอ
หากเด็กเป็นผดร้อน และมีอาการดังต่อไปนี้ ควรพาเด็กไปพบแพทย์ทันที
- เป็นผดไม่หายสักที และมีอาการแสบร้อนร่วมด้วย
- ผดร้อนเริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดง เป็นริ้ว ดูเหมือนแผล
- ต่อมน้ำเหลืองแถวรักแร้ ขาหนีบ และคอบวม
- รู้สึกคันและปวดบริเวณที่ผดขึ้น
- มีอาการไข้
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ :
ผื่น แดง คัน ที่หน้าลูก ปัญหาผิวลูกที่ป้องกันได้ คุณแม่ต้องรู้สาเหตุและวิธีดูแลผื่น แดง คัน ที่ถูกต้อง
9 โรคฮิตหน้าร้อนที่ต้องระวัง
ยาแก้ผื่นคันสำหรับทารก
ที่มาอ้างอิง : https://happymom.in.th/th/tips/newborn
Her Kid รวมพลคนเห่อลูก และ ผศ.พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!