X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกปฏิเสธเต้านม ติดจุกจากขวด ปัญหาหนักใจแม่ให้นม ทำอย่างไรดี ?

บทความ 5 นาที
ลูกปฏิเสธเต้านม ติดจุกจากขวด ปัญหาหนักใจแม่ให้นม ทำอย่างไรดี ?

ลูกปฏิเสธเต้านม ติดจุกจากขวด แม่ ๆ บ้านไหนเจอปัญหานี้อยู่ยกมือขึ้น สาเหตุนั้น เกิดได้จากหลายอย่าง ทั้งยังมีทารกที่ไม่เอาเต้าเลยตั้งแต่แรก หรือเกิดหลังจากที่เคยเข้าเต้าตามปกติ ถ้าอยู่ ๆ ลูกเกิดไม่เอาเต้า ก็อาจจะเป็น เพราะลูกฟันขึ้น หงุดหงิด คันเหงือก น้ำนมแม่ (Milk Breast) มีกลิ่นจากสิ่งที่แม่กินเข้าไป แต่ถ้าลูกที่เคยดูดนมจากขวด ก็เป็นไปได้ว่า ลูกติดขวดเลยไม่เอาเต้า

 

อาการของ ลูกปฏิเสธเต้านม

สำหรับทารกที่ไม่เอาเต้านมตั้งแต่แรก เป็นไปได้ว่า ทารกอาจมีปัญหาสุขภาพ เช่น พังผืดใต้ลิ้น ทำให้ไม่สามารถดูดนมได้สะดวก หรือมีความเจ็บป่วยอื่น ๆ เช่นเจ็บเหงือกเพราะฟันกำลังขึ้น หรือเกิดจากการติดเชื้อราในช่องปาก หรือเจ็บคอจากหวัด  ที่ทำให้ลูกเจ็บเวลาเข้าเต้า อีกเหตุผลหนึ่งคือ ช่วงหลังคลอด น้ำนมแม่ยังปั๊มได้ไม่เพียงพอต่อลูกน้อย (Pumping Milk) พอลูกดูดจึงเกิดอาการหงุดหงิดได้

 

  • ลูกร้องไห้โยเย
  • ส่ายหน้าหนีจากเต้านม
  • ตัวเกร็ง หลังแอ่นหนี พยายามออกจากอ้อมแขน

 

วิดีโอจาก : พี่กัลนมแม่ Pekannommae mother and child care

 

เมื่อลูกไม่เอาเต้า แม่จึงหยิบยื่นขวดนมให้ เพราะกลัวว่าลูกจะไม่ได้กินนม จนกลายเป็นว่า ติดจุกจากขวดแทน เพราะกระบวนการทำงานของเต้านมและจุกนมนั้นไม่เหมือนกัน จนลูกเกิดความสับสนระหว่างจุกนมแม่ และจุกนมปลอม การที่ทารกติดจุกอาจไม่เป็นปัญหาเท่าไหร่ ถ้าการติดจุกนั้นไม่ส่งผลให้แม่มีปริมาณน้ำนมลดลง! ส่งผลต่ออาการเต้านมคัดและท่อน้ำนมอุดตัน แถมทารกที่เริ่มดูดนมจากขวดเร็ว ก็จะมีปัญหาในการดูดนมแม่ได้ด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : นมแม่ไม่มีประโยชน์ นมแม่หลัง 6 เดือน กินไปไร้ประโยชน์จริงหรือ ??

 

เปรียบเทียบการดูดนมแม่ VS การดูดนมขวด

จากที่เรามักได้ยินกันมาบ่อย ๆ ว่าการให้ลูกได้กินนมแม่ ควรให้กินในช่วง 6 เดือนแรก จึงจะทำให้ลูกแข็งแรง มีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้น แต่สำหรับคุณแม่ให้นมที่ประสบปัญหา ลูกปฏิเสธเต้า อาจมีความกังวลถึงความแตกต่างได้ว่าลูกจะมีความลำบากไหม ลูกจะสามารถดูดนมจากขวดได้อย่างปกติหรือไม่

 

  • ลูกดูดนมแม่ : ลูกต้องอ้าปากกว้าง อมหัวนมแม่ไปถึงลานนม ใช้ลิ้น และ ขยับกรามล่าง รีดน้ำนมออกจากกระเปาะน้ำนม ลิ้นของลูกจะห่อลานนมที่ยืด และ กดให้แนบไปกับเพดานปาก ลิ้น และการขยับกราม จะรีดน้ำนมออกมาเป็นจังหวะ
  • ลูกดูดนมขวด : ลูกไม่ต้องใช้แรงในการดูดนม เพราะน้ำนมไหลผ่านรูที่จุกนมยางตามแรงโน้มถ่วง ไม่ต้องอ้าปากกว้าง ไม่ต้องใช้ลิ้นมารีดน้ำนม แล้วยังสามารถใช้ลิ้นดุนชะลอการไหลของนม ทำให้การดูดนมขวดสะดวก และง่ายกว่าการดูดนมแม่จากเต้า

 

ลูกปฏิเสธเต้านม

 

ทางที่ดี คือ ไม่ควรให้ทารกดูดนมจากจุกนมยาง ช่วงอายุน้อยกว่า 1 – 2 เดือน (รวมถึงจุกนมหลอก หรือ Pacifier) ต้องให้ทารกฝึกฝนทักษะการดูดกินนมจากเต้าแม่ในช่วง 1 เดือนแรก ซึ่งนับว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก แต่ถ้าไม่ทันแล้ว ติดจุกไปเสียแล้วก็ต้องแก้ ด้วยวิธีต่อไปนี้

 

  1. พยายามป้อนนมลูกด้วย แก้ว, ช้อน และหลอด
  2. อุ้มลูกให้แนบชิดบ่อย ๆ จนคุ้นเคยกับไออุ่นจากอกแม่ ระหว่างนั้นก็ให้ปากลูกสัมผัสหัวนมและเต้านม กระตุ้นฮอร์โมนออกซิโตซิน ทำให้ลูกสงบ
  3. ให้ลูกเข้าเต้าอย่างถูกท่า ดูว่าลูกดูดนมจากเต้าถูกวิธีหรือไม่ อมถึงลานนมหรือเปล่า
  4. กระตุ้นให้น้ำนมพุ่งตั้งแต่ก่อนดูด ให้ลูกเข้าเต้าตอนอารมณ์ดี ๆ ไม่หิวจัด หรือแม่ปั๊มนมทุก 2-3 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนม
  5. พยายามให้ลูกดูดนมตรงเวลาเพื่อหลีกเลี่ยงอาการเต้านมคัดและปัญหาที่ นำไปสู่ท่อน้ำนมอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุส่งเสริมให้ลูกปฏิเสธนมแม่มากขึ้นไปอีก
  6. พยายามให้นมขณะนั่งบนเก้าอี้โยก ในห้องที่เงียบ ปราศจากสิ่งรบกวนใด ๆ มีเพียงคุณ และ ลูกน้อยตามลำพัง จะทำให้ลูกสงบขึ้น และโฟกัสกับการดูดนมแม่มากขึ้น
  7.  พยายามเสนอเต้าให้ลูกดูด ถ้าลูกไม่ยอมให้หยุดและลองทำใหม่ทีหลัง และลองทำเมื่อลูกกำลังจะนอนหรือเมื่อง่วงมาก ๆ อย่าหงุดหงิด หัวเสีย หรือเอาแต่กังวลใจ และอย่าถอดใจง่าย ๆ

 

หากคุณแม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้ทารกน้อยรับน้ำนมผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ คุณแม่ยังต้องห่วงเรื่องความสะอาดของอุปกรณ์นั้น ๆ ด้วย เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายของทารก ในขณะที่ทารกอาจยังมีภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรงในช่วงนี้

 

นอกจากนี้ สามารถใช้ดรอปเปอร์ หรือไซริงค์หยอดน้ำนมบริเวณมุมปาก เมื่อลูกเข้าเต้า และ แม่เองก็ต้องใจแข็งไม่ยอมให้ลูกดูดจุกนมยาง ไม่ให้ดูดขวดเด็ดขาด สิ่งสำคัญคือคุณแม่ต้องไม่รู้สึกผิด หรือโทษว่าเป็นความผิดของตัวเองเมื่อลูกไม่ยอมดูดนมแม่ ทำใจให้สบาย ผ่อนคลาย อย่าหงุดหงิด หัวเสีย หรือเอาแต่กังวลใจ เรื่องน้ำนมน้อย หรือลูกไม่ยอมดูดนม อย่างไรก็ตาม อย่าถอดใจง่าย ๆ อย่าลืมว่า ลูกรอน้ำนม และความช่วยเหลือจากคุณแม่อยู่ค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของนมแม่ ประโยชน์ดี๊ดีของการให้ “นมแม่” ที่ทั้งแม่และลูกได้รับ

น้ำนมแม่เก็บไว้ได้นานแค่ไหน มีวิธีการเก็บอย่างไร ให้อยู่ได้นานและดีที่สุด

ให้นมแม่ต้องรู้ ! ให้ลูกได้กิน น้ำนมเหลือง หลังคลอดดีสุด ๆ !!

ที่มา : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • การให้นมลูก
  • /
  • ลูกปฏิเสธเต้านม ติดจุกจากขวด ปัญหาหนักใจแม่ให้นม ทำอย่างไรดี ?
แชร์ :
  • ลูกปฏิเสธ ไม่ให้อุ้ม ไม่ให้กอด พ่อแม่ควร รับมือยังไง ดีนะ?

    ลูกปฏิเสธ ไม่ให้อุ้ม ไม่ให้กอด พ่อแม่ควร รับมือยังไง ดีนะ?

  • วิธีทำความสะอาดอวัยวะเพศชาย (จุ๊ดจู๋ลูกชาย)

    วิธีทำความสะอาดอวัยวะเพศชาย (จุ๊ดจู๋ลูกชาย)

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

  • ลูกปฏิเสธ ไม่ให้อุ้ม ไม่ให้กอด พ่อแม่ควร รับมือยังไง ดีนะ?

    ลูกปฏิเสธ ไม่ให้อุ้ม ไม่ให้กอด พ่อแม่ควร รับมือยังไง ดีนะ?

  • วิธีทำความสะอาดอวัยวะเพศชาย (จุ๊ดจู๋ลูกชาย)

    วิธีทำความสะอาดอวัยวะเพศชาย (จุ๊ดจู๋ลูกชาย)

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ