ประวัติวันอาสาฬหบูชา 2566 ซึ่งปีนี้วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันอังคาร ที่ 1 สิงหาคม 2566 ซึ่งเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมจากการตรัสรู้ ให้แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่ มฤคทายวัน เมืองพราณสี
ประวัติวันอาสาฬหบูชา
หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ จนคุ้นหู นั่นก็คือ วันวิสาขบูชานั่นเอง ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้ฟังปฐมเทศนา จากพระพุทธเจ้า จนกระทั่ง โกณฑัญญะ ได้บรรลุดวงตา เห็นธรรม เป็นพระอริยบุคคล ระดับโสดาบัน จึงได้มีการรับอุปสมบทจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับว่าวันอาสาฬหบูชา เป็นวันแรกที่มีพระภิกษุเกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา
ในประเทศไทย เพิ่งเริ่มมีพิธีกรรม ในวันอาสาฬหบูชาเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2501 ตามประกาศของ สังฆมนตรี ที่ได้กำหนดให้วันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งมีการออกประกาศตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2501 นับตั้งแต่นั้น พุทธศาสนิกชนในประเทศไทย ก็กำหนดพิธีอย่างเป็นทางการ โดยมีการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา เหมือนกับ วันวิสาขบูชา
บทความที่เกี่ยวข้อง : วันพระ 2565 รวมวันพระตลอดปี พ.ศ.2565 ปฏิทินวันพระ
ความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา
- พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แสดงธรรมจากการตรัสรู้ ครั้งแรก ที่เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5
- ปัญจวัคคีย์ขอบวช เนื่องจากต้องการศึกษาพระธรรมวินัย จึงเกิดพิธีการบวชครั้งแรก โดยพระพุทธเจ้ากระทำให้ เรียกการบวชนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา
- เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าประกาศให้วันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
- ถือว่าเป็นวันที่ พระรัตนตรัยเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ มีครบทั้ง 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
หลักธรรมสำคัญในวันอาสาฬหบูชา
พระธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีอริยสัจ 4 ความจริงอันเป็นประเสริฐ ได้แก่
- ทุกข์ : ปัญหาที่ทำให้ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
- สมุทัย : เหตุของความเกิดทุกข์
- นิโรธ : การดับทุกข์
- มรรค : การแก้ปัญหา มีด้วยกัน 8 ข้อ เรียกสิ่งเหล่านี้ว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์
-
- 4.1 สัมมาทิฐิ เห็นชอบ : เข้าใจถูกต้อง ตามหลักความเป็นจริง
- 4.2 สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ : คิดแต่เรื่องสุจริต ตั้งใจทำแต่สิ่งที่ดี
- 4.3 สัมมาวาจา เจรจาชอบ : กล่าวแต่คำที่สุจริต
- 4.4 สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ : ทำแต่สิ่งที่สุจริต
- 4.5 สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ : การประกอบอาชีพ ที่สุจริต
- 4.6 สัมมาวายามะ พยายามชอบ : การทำความดี
- 4.7 สัมมาสติ ระลึกชอบ : ทำอะไรต้องมีจิตสำนึกเสมอ ไม่พลาด
- 4.8 สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ : ควบคุมจิตใจให้แน่วแน่ ไม่คิดฟุ้งซ่าน
กิจกรรมในวันอาสาฬหบูชา
กิจกรรมในวันอาสาฬหบูชา แบ่งออกเป็นกิจกรรมของพระภิกษุสงฆ์ และพุทธศาสนิกชน โดยพระสงฆ์ ก็จะเตรียมจัดกิจกรรมในวัด รวมถึงแสดงพระธรรมเทศนาธัมมจักกัปปวัตนสูตร ตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยแสดงธรรม แก่ปัญจวัคคีย์ ส่วนชาวพุทธมีกิจกรรม ดังนี้
- ทำบุญตักบาตรในช่วงเช้า
- ไปวัดเพื่อรับศีล งดการทำบาปทุกอย่าง
- ถวายสังฆทาน หรือทำทาน
- ฟังธรรมเทศนา
- เวียนเทียนรอบอุโบสถในช่วงเย็น
บทความที่เกี่ยวข้อง : บทสวดมนต์วันพระ บทสวดมนต์ง่าย ๆ สวดมนต์ 5 นาที ก็ได้บุญ
เวียนเทียนในวันอาสาฬหบูชา
การเวียนเทียนในวันสำคัญนั้น คือการเดินเวียนรอบปูชนียสถาน เพื่อแสดงถึงความเคารพ โดยการเดินเวียนขวา 3 รอบ เรียกว่า เวียนประทักษิณาวัตร ซึ่งเป็นอิทธิพลที่รับมาจากอินเดีย เพื่อแสดงถึงความเคารพบูชาพระรัตนตรัย ซึ่งใน 1 ปี จะมีพิธีเวียนเทียน ในวันสำคัญทั้งหมด 4 ครั้งเท่านั้น ได้แก่ วันมาฆบูชา , วันวิสาขบูชา , วันอาสาฬหบูชา , วันอัฏฐมีบูชา
ขั้นตอนของการเวียนเทียน
- เมื่อไปถึงวัด ให้ทำการสักการะพระพุทธรูป องค์ประธานด้านในโบสถ์ก่อน
- เตรียมตัวเวียนเทียน ถือธูป เทียน พร้อมกับดอกไม้ ต่อแถวเรียงต่อจาก พระสงฆ์ สามเณร และสวดบท สุปะฏิปันโน
- ถือธูปเทียน เวียนขวา 3 รอบ
- รอบที่ 1 สวดบทอิติปิโส
- รอบที่ 2 สวดบทสวากขาโต
- รอบที่ 3 สวดบทสุปะฏิปันโน
การเวียนเทียนในวันสำคัญ ของทางพระพุทธศาสนานั้น ชาวพุทธจะต้องสำรวมกาย วาจา และใจ ที่สำคัญควรแต่งกายสุภาพ และสำรวม หากมีเด็กเล็กไปก็ต้องดูแล ระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากมีการจุดไฟที่เทียน อาจจะเกิดอุบัติเหตุ หรืออันตรายแก่เด็กได้
บทความที่เกี่ยวข้อง :
คำคมวันอาสาฬหบูชา แคปชันวันอาสาฬหบูชา คำสอนพระพุทธเจ้า
ประวัติวันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษา 2566 และกิจกรรมในวันเข้าพรรษา
บทสวดมนต์ก่อนนอนแบบสั้น ให้แม่ท้องสวดทุกวันดีต่อใจ พระรักษาเทวดาคุ้มครอง
ที่มา : 1
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!