ประวัติวันวิสาขบูชา ความหมายของคำว่า วิสาขบูชา นั้นหมายถึงการที่บูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ และคำว่า วิสาขบูชา นั้นย่อมาจากคำว่า (วิสาขปุรณมีบูชา) ซึ่งแปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ถ้าปีใดนั้นมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน ก็จะเลื่อนไปเป็นช่วงกลางของเดือน ๗

ความสำคัญของ วันวิสาขบูชา เป็นวันที่สำคัญอย่างยิ่งของทางพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประสูติ นั้นก็คือ เกิด ตรัสรู้ ปรินิพพดาน เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราวนั้นก็คือ
1. เมื่อที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพันสุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าตรู่ของวัน ศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ ก่อนพุทธศักราชที่ ๘0 ปี
2. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อมีพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ที่ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งของแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราชที่ ๔๕ ปี หลังจากออกผนวชได้ ๖ ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้มีนามเรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดียนั้นเอง
3. หลังจากที่ตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศทางพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ ๔๕ ปี มีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ก็ได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน ในวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ที่ปัจจุบันอยู่ในเมืองกุสีนคระ แคว้นอุตตรประเทศ ในประเทศอินเดีย)
บทความที่เกี่ยวข้อง : บทสวดมนต์วันพระ บทสวดมนต์ง่ายๆ สวดมนต์ 5 นาที ก็ได้บุญ
ประวัติวันวิสาขบูชา และความเป็นมาในประเทศไทย
วันวิสาขบูชา ปรากฏตามหลักฐานว่า ได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแล้ว ซึ่งมีการสันนิษฐานว่า อาจจะได้แบบอย่าง มาจากกรุงลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณปี พุทธศักราช ๔๒๐ พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่าง มโหฬาร เพื่อเป็นการถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ของกลุงลังกาในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ว่าปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่นั้นเอง
สมัยสุโขทัย ประเทศไทยกับประเทศลังกามีความสัมพันธ์กันทางด้านพระพุทธศาสนาใกล้ชิดกันยาวนานมาก เพราะพระสงฆ์ชาวลังกา ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติในประเทศไทยอีกด้วย
ในสมัยของอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้วยอำนาจอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ เข้าครอบงำชาวประชาชนคนไทย และมีอิทธิพลที่สูงกว่าอำนาจของพระพุทธศาสนาเสียอีก จึงไม่ปรากฎหลักฐานใดว่า ได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา จนกระทั่งมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พุทธศักราช ๒๓๖๐) ทรงดำริกับ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักสงฆ์ของวัดราชบูรณะ มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟู การประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่ โดย สมเด็จพระสังฆราช ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรกในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ พุทธศักราช ๒๓๖๐ และให้จัดทำตามในแบบอย่างของประเพณีเดิมทุก ๆ ประการ เพื่อที่มีพระประสงค์ให้ประชาชนประกอบการทำบุญ การทำกุศล เป็นหนทางแห่งเจริญอายุ และอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากทุกข์ และอุปัทวันตรายต่าง ๆ โดยทั่วหน้ากัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : บทสวดมนต์ก่อนนอน สวดทุกคืน ฝันดี ผีไม่มากวน บทสวดมนต์ฝันดี

หลักทำสำคัญที่ควรนำมาปฏิบัติ
1. ความกตัญญู คือ ความรู้อุปการคุณที่มีผู้ทำไว้ก่อน เป็นคุณธรรมคู่กับความกตเวที คือ การตอบแทนอุปการคุณที่ผู้อื่น
- คุณพ่อ คุณแม่ มีอุปการคุณแก่ลูก ในฐานะผู้ที่ให้กำเนิด และเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ ให้การศึกษาอบรมสั่งสอน ให้ละเว้นจากความชั่ว มั่นคงในการทำความดีเอาไว้ เมื่อถึงคราวมีคู่ครองได้จัดหาคู่ครองที่เหมาะสมให้ และมอบทรัพย์สมบัติให้ไว้เป็นมรดกต่อไป
- ความกตัญญู และความกตเวที ถือว่าเป็นเครื่องหมายของคนดี จะส่งผลให้ครอบครัว และสังคมมีความสุขได้เพราะ คุณพ่อ คุณแม่ จะรู้จักหน้าที่ของตนเอง ด้วยการทำอุปการคุณให้ก่อน และลูกก็จะรู้จักหน้าที่ของตนเองด้วยการทำดีตอบแทนท่าน
2. อริยสัจ ๔ คือ ความจริงอันประเสริฐ หมายถึงความจริงของชีวิตที่ไม่แปรผัน เกิดได้กับทุกคน มี ๔ ประการ คือ
- ทุกข์ ได้แก่ปัญหาของชีวิตพระพุทธเจ้าทรงได้กล่าวไว้ ก็เพื่อให้ทราบว่ามนุษย์ทุกคนมีความทุกข์เหมือนกัน ทั้งทุกข์ขั้นพื้นฐาน และทุกข์เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในประจำวัน ทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ ทุกข์ที่เกิดจาก การเกิด การแก่ และ การตาย ส่วนทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน คือทุกข์ที่เกิด จากการพลัดพรากจากสิ่งที่คุณรัก ทุกข์ที่เกิดจากการประสบการสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากไม่ได้ตั้งใจปรารถนา รวมไปทั้งทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตด้านต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน
- สมุทัย คือ เหตุแห่งปัญหาพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์ทั้งหมดนั้นซึ่งเป็นปัญหา ของชีวิตล้วนมีเหตุและผลเสมอ คือ ตัญหา อันได้แก่ความอยากได้สิ่งต่าง ๆ ซึ่งประกอบไปด้วยความยึดมั่นนั้นเอง
- นิโรธ คือ การแก้ปัญหาได้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ก็เพื่อให้ทราบกันว่า ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิตของคนเรา ทุกคนย่อมมีความทุกข์ และทุกข์ทั้งหมดที่สามารถแก้ไขได้นั้นต้องแก้ไขตามทางหรือวิธีแก้ ๘ ประการ ( ดูมัชฌิมาปฎิปทา )
- มรรค คือ การปฏิบัติเพื่อจำกัดความทุกข์ เพื่อหลุดพ้นจากความทุกข์ การปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา เพื่อบรรลุเป้าหมายการแก้ปัญหาที่ต้องการนั้นเอง
กิจกรรมในวันวิสาขบูชา
- ทำบุญถวายภัตตาหาร ตักบาตร กรวดน้ำ พร้อมตั้งใจฟังธรรมเทศนา
- ปล่อยนกปล่อยปลาสร้างบุญกุศล
- ร่วมพิธีเวียนเทียนรอบอุโบสถในเวลาค่ำ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ตื่นเช้าพร้อมเริ่มต้นวันใหม่ๆ กับ บทสวดมนต์เช้า พร้อมแผ่เมตตา บทสวดมนต์ตอนเช้า
ไหว้พระ 9 วัดติดแม่น้ำเจ้าพระยา สายบุญอย่างเราไม่ควรพลาด
ไหว้พระขอความรัก เตรียมตัวสละโสด ขอคู่ ใครอยากได้แฟนไม่ควรพลาด
แหล่งที่มา : 1 , 2
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!