X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ของหวาน ดีต่อใจเด็ก แล้วดีต่อสุขภาพด้วยหรือเปล่า กินยังไงให้ปลอดภัย

บทความ 5 นาที
ของหวาน ดีต่อใจเด็ก แล้วดีต่อสุขภาพด้วยหรือเปล่า กินยังไงให้ปลอดภัย

ของหวาน ของทานเล่นที่รสชาติดี กินแล้วสดชื่น ของหวานดีต่อใจแล้วดีต่อสุขภาพด้วยหรือไม่

ของหวาน เป็นสิ่งที่เด็ก ๆ ชอบ และก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้ใหญ่อย่างเราก็ชอบด้วยเช่นกัน ของหวาน ๆ ที่ว่านี้ ดีต่อสุขภาพเด็กด้วยไหม theAsianparent Thailand จะมาเล่าให้ฟัง

 

ของหวาน ให้โทษไหม

อย่างที่ทุก ๆ คนรู้กันอยู่แล้ว ว่าของหวาน ก็คืออาหารรสชาติหวาน ที่คนมักรับประทานหลังจากทานข้าวเสร็จ เช่น ไอศกรีม คุ้กกี้ เค้ก พุดดิ้ง เป็นต้น โดยของหวานส่วนใหญ่นั้น มีสารอาหารน้อย และมักจะประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการขัดสี ไขมันทรานส์ และน้ำตาล ซึ่งการรับประทานของที่หวานที่มีน้ำตาลสูง จะทำให้เด็กอิ่มไว จนไม่อยากรับประทานอาหารชนิดอื่นที่มีประโยชน์ แถมยังอาจทำให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ฟันผุ และมีปัญหาสุขภาพตามมา เช่น

  • ภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นหวัด เป็นไข้ได้ง่าย
  • มีความสามารถในการจดจ่อลดลง
  • เสี่ยงเป็นโรคสมาธิสั้น หงุดหงิดง่าย
  • ความสามารถในการเรียนรู้ลดลง
  • ระบบย่อยอาหารทำงานไม่ปกติ
  • ลำไส้มีปัญหา ระบบขับถ่ายไม่ดี ทำให้ท้องเสีย
  • เป็นโรคเบาหวาน และเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
  • แพ้น้ำตาล เนื่องจากรับประทานน้ำตาลมากเกินไป
  • เสี่ยงเป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง
  • เสี่ยงเป็นโรคหอบหืด
  • การมองเห็นแย่ลง

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าคุณแม่จะต้องห้ามไม่ให้เด็กกินของหวาน จริง ๆ แล้วเด็กยังคงกินของหวานได้ แต่คุณแม่ควรให้น้องกินแต่พอดีพอเหมาะ เพราะปัญหาสุขภาพเหล่านี้ มักเกิดจากการที่เด็กกินน้ำตาล หรือกินของที่รสชาติหวานจนเกินไป

บทความที่เกี่ยวข้อง :  โรค เบาหวาน เกิดจากอะไร ปัจจัยเสี่ยงของการเป็นเบาหวานคืออะไร?

 

ของหวานที่มีน้ำตาลสูง ของหวาน ต้องระวัง

ขนมหวานมีมากมายหลายประเภท โดยคุณแม่ควรพึงระวังของหวานที่มีน้ำตาลสูงต่อไปนี้

  1. ช็อกโกแลตเคลือบน้ำตาล
  2. มะขามคลุกน้ำตาล
  3. พุทราจีนอบแห้ง
  4. ไอศกรีมโคน
  5. กล้วยบวชชี
  6. ขนมหม้อแกง
  7. น้ำอัดลม
  8. น้ำผลไม้
  9. ทุเรียนกวน
  10. ชาไข่มุก
  11. กาแฟ
  12. อินทผลัม
  13. ชาเขียว
  14. ลูกเกด
  15. เค้ก

บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำตาล ภัยร้ายทำลูกป่วย

 

ของหวาน ดีต่อสุขภาพไหม 2

ลูกกวาดขนมหวาน สีสันหลากหลาย ของหวาน

 

ของหวานแบบไหนที่ไม่อันตราย

ยังมีอาหารหรือขนมบางชนิด ที่เด็ก ๆ สามารถกินทดแทนของหวานที่พวกเขาชอบได้ หากลูก ๆ อยากกินของหวาน แต่คุณแม่ก็เป็นห่วงสุขภาพของน้อง ๆ แนะนำให้ทดแทนของหวานด้วยอาหารต่อไปนี้

  • น้ำเปล่าผสมเลม่อน น้ำส้ม มะนาว หรือบวบที่หั่นเป็นแผ่นบาง ๆ
  • สมูทตี้ทำเอง ที่ทำจากนม โยเกิร์ต และผลไม้
  • พุดดิ้งหรือขนมทำเอง แต่ใส่น้ำตาลน้อย
  • แอปเปิ้ล มะม่วง หรือสัปปะรดที่หั่นเป็นชิ้น
  • เครื่องดื่มอัลมอนด์ที่ไม่มีน้ำตาล
  • โยเกิร์ตรสจืดผสมผลไม้บด
  • น้ำเต้าหู้ไม่ผสมน้ำตาล

บางคนอาจจะกำลังสงสัย ว่าจะใช้สารทดแทนความหวานแทนน้ำตาลได้ไหม คำตอบก็คือได้ เพราะมีส่วนผสมที่ไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก แต่ก็ไม่ควรน้ำมาใช้ผสมอาหารบ่อย จนเด็กไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย

บทความที่เกี่ยวข้อง :  การจำกัดปริมาณน้ำตาลในอาหาร สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

 

ของหวาน ๆ มีประโยชน์บ้างหรือเปล่า

ถึงแม้การรับประทานของหวานมากไปจะไม่ดีต่อสุขภาพ แต่หากทานในปริมาณที่เหมาะสม ก็อาจจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพได้เช่นเดียวกัน ดังนี้

ของหวานทำให้อารมณ์ดี ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า อาหารหรือของหวานที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ช่วยทำให้ร่างกายและสมองหลั่งสารเซโรโทนินออกมา ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้อารมณ์ดี ช่วยผ่อนคลายและลดความเครียด หากวันไหนน้อง ๆ งอแง ไม่เชื่อฟัง ลองให้เขากินของหวานในปริมาณที่พอเหมาะ และลองสังเกตดูว่า เขาอารมณ์ดีขึ้นไหม

ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง มีงานวิจัยทำการสำรวจผู้ชายสวีเดน ที่มีอายุระหว่าง 45-79 ปี โดยให้ทานดาร์กช็อกโกแลตเป็นประจำ เป็นเวลา 10 ปี พบว่า กลุ่มตัวอย่างเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองน้อยกว่าคนที่ไม่ได้กินดาร์กช็อกโกแล็ตถึง 17% ทีนี้ หากน้อง ๆ คนไหนชอบทานดาร์กช็อกโกแลต ก็สามารถให้เขาทานได้ แต่อย่าให้ทานเยอะจนเกินไปก็พอ

มีสารอาหารเยอะ แม้ของหวานจะน้ำตาลเยอะ แต่ของหวานบางชนิดนั้น มีสารอาหารอยู่มากมาย ซึ่งก็คือคาร์โบไฮเดรตนั่นเอง และแม้ว่าคาร์โบไฮเดรตในของหวาน จะไม่ได้ให้พลังงานแก่ร่างกาย มากเท่าคาร์โบไฮเดรตที่หาได้จากอาหารชนิดอื่น แต่ก็ช่วยเพิ่มพลังให้ร่างกายได้ หากกำลังมองหาของหวานที่ให้สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แนะนำให้ทานพายฟักทอง และดาร์กช็อกโกแลต เพราะของหวานสองอย่างนี้ มีวิตามิน ไฟเบอร์ และสารต้านอนุมูลอิสระ

ช่วยลดน้ำหนัก มีงานวิจัยทำการทดลองให้กลุ่มตัวอย่างทานของหวานเป็นอาหารเช้า พบว่า การทานของหวานช่วยให้กลุ่มตัวอย่างลดน้ำหนักได้

บทความที่เกี่ยวข้อง :  10 ผลไม้ลดความอ้วน ผลไม้น้ำตาลน้อย กินยังไงก็ไม่อ้วน กินแล้วดีต่อร่างกาย

 

ของหวาน ดีต่อสุขภาพไหม

ของหวาน โยเกิร์ต ทานคู่ผลไม้

 

ของหวาน กินอย่างไรให้ปลอดภัย

หลาย ๆ ครอบครัว มักจะทานของหวานกัน หลังจากที่ทานข้าวเสร็จ ซึ่งเมื่อคุณแม่เข้ามาอ่านบทความนี้ ก็อาจจะเริ่มกังวลเกี่ยวกับสุขภาพเด็ก อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำทริคในการรับประทานของหวานให้ปลอดภัย ที่คุณแม่นำไปใช้ได้ ดังนี้

1. ไม่ให้เด็กกินของหวานเพียงลำพัง เพราะอาจทำให้กินเยอะมากผิดปกติ
2. อย่าให้เด็กหักดิบจนเกินไป เพราะอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำตาล จนสุดท้ายต้องรับประทานของหวานทีละมาก ๆ
3. ผสมอาหารที่มีประโยชน์เข้ากับของหวาน โดยอาจให้เด็ก ๆ ทานไอศกรีมคู่กับผลไม้ หรือทานกล้วยจุ่มกับช็อกโกแลต
4. ทำของหวานให้เด็กทานเอง เพราะเราสามารถเลือกได้ว่าจะใส่น้ำตาลปริมาณเท่าไหร่
5. สอนให้เด็กกินของหวานตามโอกาส กินเป็นครั้งเป็นคราว และไม่กินทุกวัน
6. ให้เด็กรับประทานของหวานที่ให้ความหวานโดยธรรมชาติอย่างผลไม้หรือน้ำผึ้ง
7. ไม่ให้เด็กรับประทานของหวานที่ผสมน้ำตาล แป้ง และเนย
8. ตกแต่งผลไม้ให้ดูน่ารับประทาน ดึงดูดใจเด็ก
9. ไม่ให้ขนมหวานหรือลูกอมเป็นของรางวัลเด็ก
10. ไม่ให้เด็กรับประทานของหวานก่อนนอน

ความจริงแล้ว อาหารที่เรากินอยู่ทุกวันอย่างนมสด ผลไม้ และผักบางชนิด มีน้ำตาลอยู่แล้ว แถมยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะฉะนั้นการรับประทานสิ่งเหล่านี้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว

การรับประทานของหวานนั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสีย หากรับประทานมากไป สามารถก่อให้เกิดผลเสียกับร่างกายได้ อย่างไรก็ตาม หากน้อง ๆ ยังอยากกินของหวานอยู่ คุณแม่สามารถให้น้อง ๆ รับประทานได้ เพียงแต่ต้องควบคุมปริมาณน้ำตาลในของหวาน และไม่ให้เด็กกินของหวานพร่ำเพรื่อ รวมทั้งควรสอนให้เขาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ

ที่มา : 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 , 7 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanokwan Suparat

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • ของหวาน ดีต่อใจเด็ก แล้วดีต่อสุขภาพด้วยหรือเปล่า กินยังไงให้ปลอดภัย
แชร์ :
  • เนย มีประโยชน์ต่อเด็กหรือเปล่า? ให้เด็กกินเนยได้ไหม?

    เนย มีประโยชน์ต่อเด็กหรือเปล่า? ให้เด็กกินเนยได้ไหม?

  • ชานม ดีต่อใจ แล้วดีต่อสุขภาพด้วยไหม กินเยอะเป็นอันตรายหรือเปล่า

    ชานม ดีต่อใจ แล้วดีต่อสุขภาพด้วยไหม กินเยอะเป็นอันตรายหรือเปล่า

  • การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

    การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • เนย มีประโยชน์ต่อเด็กหรือเปล่า? ให้เด็กกินเนยได้ไหม?

    เนย มีประโยชน์ต่อเด็กหรือเปล่า? ให้เด็กกินเนยได้ไหม?

  • ชานม ดีต่อใจ แล้วดีต่อสุขภาพด้วยไหม กินเยอะเป็นอันตรายหรือเปล่า

    ชานม ดีต่อใจ แล้วดีต่อสุขภาพด้วยไหม กินเยอะเป็นอันตรายหรือเปล่า

  • การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

    การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ