คุณแม่หลายคน นิยมปลูกต้นไม้ ปลูกพืชมากขึ้น ถึงแม้ว่าต้นไม้จะสวยงาม และเป็นพื้นที่สีเขียว แต่การปลูกผิด ไม่เพียงแต่ไม่ปรับปรุงสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยแล้ว ยังมีแนวโน้มที่เกิดอุบัติเหตุอันตรายได้อีกด้วย เช่นเดียวกันกับเคสนี้ แม่ปลูกไม้ประดับเพื่อกรองอากาศ แต่ต้องหามลูกส่งโรงพยาบาล
แม่ปลูกไม้ประดับเพื่อกรองอากาศ สุดท้ายต้องส่งลูกเข้าห้องฉุกเฉิน
ลูกกลืนใบไม้ที่แม่ปลูก
โดยเฉพาะที่บ้านที่มีลูกเล็ก ๆ ไม่ควรปลูกต้นไม้และดอกไม้มากเกินไป เช่นเดียวกับ กรณีของแม่ในอพาร์ทเมนต์นี้ ที่ปลูกต้นไม้ และดอกไม้จำนวนมาก เพื่อให้สวยงาม และเพื่อกรองออกซิเจนในบ้าน ซึ่งเธอไม่คาดคิด เพียงไม่กี่นาทีที่เธอไปเข้าห้องน้ำ ลูก 8 เดือน ได้เด็ดใบไม้กิน ซึ่งเธอออกมาแล้วเห็นใบไม้ติดริมฝีปาก จึงรู้ว่าลูกของเธอ กินใบไม้เข้าไป และไม่นานลูกของเธอก็มีน้ำลายฟูมปาก เธอหามลูกส่งโรงพยาบาลทันที
ซึ่งเธออยู่กับลูกในอพาร์ทเมนต์ที่แคบมากเกินไป เธอจึงกลัวเรื่องสุขภาพของครอบครัว ดังนั้นเธอจึงซื้อต้นไม้ และนำต้นไม้มาปลูก เพื่อให้ห้องนอนสวยงาม และบรรยากาศดีมากขึ้น ซึ่งลูกของเธอ วัย 8 เดือน ที่อยู่ในวัยที่กระฉับกระเฉง ถึงแม้ว่ายังเดินไม่ได้ แต่ทารกก็คลานได้แล้ว ในช่วงที่เขาอยู่กับลูก ลูกของเธอให้ความสนใจกับต้นไม้มาก แต่เพียงไม่กี่นาที ที่เธอแวะไปเข้าห้องน้ำ ก็เกือบทำลายชีวิตลูกของเธอไป
เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ เห็นว่าทารกมีน้ำลายฟูมปาก แพทย์จึงทำการปฐมพยาบาลทันที และโชคดีที่ทารก ได้รับการช่วยเหลือทันเวลา ซึ่งหมอก็บอกกับเธอว่า ควรเลือกต้นไม้ให้ดี และไม่ควรนำมาปลูกเยอะจนเกินไป และควรตั้งให้ห่างจากมือเด็ก
เหตุผลที่ควรพิจารณา เมื่อคิดปลูกต้นไม้ในห้องนอนพร้อมกับลูก
ปลูกต้นไม้เยอะ
หลายคนคิดว่า การที่ปลูกต้นไม้เยอะ ๆ จะช่วยให้ได้รับออกซิเจนมากขึ้น ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด ความจริงแล้วหากเลี้ยงมากเกินไป ไม่ได้แค่ทำให้สภาพแวดล้อมแย่ แต่พืชบางชนิดไม่ใช่แค่สังเคราะห์ออกซิเจน แต่กลางคืน กลับปล่อยก๊าซคาร์บอกไดออกไซด์ จำนวนมากอีกด้วย และยิ่งหากตั้งไว้ในพื้นที่ปิด เมื่อทารกหลับก็จะส่งผลทำให้ ทารกขาดออกซิเจนในที่สุดได้
-
การพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันของทารก
ในทารก และเด็กเล็ก การพัฒนาระบบภูมิคุ้มกัน ยังไม่ดีเท่าที่ควร ควรเป็นไปได้ที่จะเกิดการแพ้ในเด็กจึงสูงกว่าผู้ใหญ่ รวมทั้ง เด็กบางคนอาจจะไวต่อปฏิกิริยาต่อละอองเกสร หรือยางไม้ อาจส่งผลทำให้เกิดผื่นคัน และรุนแรงเป็นอันตรายได้
เด็กเล็กชอบเอาของเข้าปาก รวมทั้งชอบสำรวจ และเด็กเล็กยังไม่สามารถแยกแยะได้ว่า อะไรกินได้ อะไรกินไม่ได้ และการที่ปลูกต้นไม้ไว้เยอะ ๆ ในห้อง จะยิ่งกระตุ้นให้เด็ก อยากรู้อยากเห็น และอยากลอง ซึ่งหากปลูกต้นไม้ที่เด็กสามารถหยิบจับได้ ก็จะทำให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับเด็ก ที่จะหยิบกินใบไม้ หรือดิน
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกเอาของเข้าปาก อันตราย! อย่าไว้วางใจลูกวัยคลาน คลาดสายตาเพียงนิดอาจเสียใจตลอดชีวิต
การปลูกพืชในร่มเป็นสิ่งที่ดี แต่คุณแม่ควรระวัง
- วางให้สูง หรือห่างจากมือทารก เพื่อหลีกเลี่ยงการกลืน กิน โดยไม่ตั้งใจ
- อย่าทิ้งต้นไม้ไว้ในห้องนอนกับลูก โดยเฉพาะตอนกลางคืน เนื่องจากต้นไม้ส่วนใหญ่จะปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มากกว่า ออกซิเจน
- พยายามเลือกดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมเล็กน้อย เกสรน้อย หรือสีเขียวที่ไม่มีเรซิน หรือเป็นพิษ
ต้นไม้อันตราย ต้นไม้มีพิษ ไม่ควรปลูกร่วมกับเด็ก
ต้นไม้อันตราย
เป็นต้นไม้ยอดฮิตยอดนิยม ที่คนส่วนใหญ่นิยมปลูก แต่ต้นนี้มีพิษเล็กน้อย ส่งผลให้เกิดอันตรายได้ หากแพ้ง่าย แค่สัมผัสเนื้อเยื่อก็อาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง มีรอยไหม้ เกิดอาการบวมแดงที่ลิ้นได้ รวมทั้งเป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงอีกด้วย
ต้นไม้ที่มีความสวยงาม แต่หากปลูกไว้ในบ้าน เด็ก ๆ อาจเผลอกินเข้าไป อาจทำให้เกิดอาการชา เกิดความระคายเคืองในปาก น้ำลายไหล บวม ในกรณีที่เป็นหนัก อาจทำให้เกิดอาการบวม รวมถึงหายใจลำบากได้
เป็นไม้ที่มีความสวยงาม ลำต้นมีพิษ เป็นอันตรายทั้งคนและสัตว์ ซึ่งอาจทำให้หัวใจเต้นแรง น้ำลายไหล เหงื่อออก ระคายเคือง หากรุนแรง อาจทำให้หัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้
เป็นอันตราย หากเคี้ยวเข้าไป จะระคายเคือง ปากบวม ลิ้นบวม หายใจไม่ออก และอาเจียน อันตรายทั้งเด็กเล็กและสัตว์
ดอกไม้น่ารัก ที่คนชอบนำมาตกแต่งในบ้าน แต่ความจริงแล้ว เป็นต้นไม่ที่มีพิษ ถ้าสัมผัสก็อาจทำให้ระคายเคือง มีอาการบวม น้ำลายไหล อาเจียน
ไม้ที่นิยมใช้ในการตกแต่งบ้าน แต่ก็จัดเป็นไม้ที่มีพิษเช่นกัน หากเผลอเคี้ยวใบ อาจทำให้หน้าบวม เจ็บปวดช่องปาก น้ำลายไหล อาเจียน หิวน้ำ และท้องเสียได้
บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจจะสนใจ :
15 ต้นไม้ฟอกอากาศ ในบ้าน ที่จะทำให้คุณแม่และลูกสดชื่นได้ทั้งวัน
ธรรมชาติบำบัด ต้นไม้ในร่มส่งผลกับสุขภาพมนุษย์ 7 ประการ อ้างอิงวิทยาศาสตร์สุขภาพ
19 ต้นไม้มงคล เสริมดวงด้านความรัก เสริมดวงความรัก ปัง ๆ ด้วยต้นไม้
ที่มา : webtretho , thaihometown
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!