X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกอายุเท่าไหร่ให้เล่นมือถือได้ ทำอย่างไรไม่ให้ลูกติดจอ?

บทความ 5 นาที
ลูกอายุเท่าไหร่ให้เล่นมือถือได้ ทำอย่างไรไม่ให้ลูกติดจอ?

ปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่อาจเห็นได้ว่า หลาย ๆ บ้านมักปล่อยให้ลูกเล่นโทรศัพท์ แท็บเล็ต และตามใจจนลูกจนลูกเล่นมือถือทั้งวัน ทราบไหมคะ การที่ลูกติดจอนั้นส่งผลต่อพัฒนาการเด็กเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของร่างกาย และจิตใจ หากคุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้ลูกเล่นโทรศัพท์หรือแท็บเล็ตบ่อย ๆ ก็อาจส่งผลเสียต่อตัวลูกได้ วันนี้ theAsianparent จะพามาดูกันว่าลูกติดมือถือ แท็บเล็ตควรแก้ไขอย่างไร ลูกอายุเท่าไหร่ให้เล่นมือถือได้ ใครสงสัยอยู่ มาติดตามกันค่ะ

 

ลูกอายุเท่าไหร่ให้เล่นมือถือได้

พ่อแม่คงสงสัยใช่ไหมว่าถ้าอยากให้ลูกได้เรียนรู้นิทาน ทำนองเพลงสนุก ๆ หรือการฝึกทักษะต่าง ๆ ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ หรือทางแท็บเล็ต ควรจะให้ลองได้ลองใช้เมื่ออายุเท่าไหร่ดี ซึ่งงานวิจัยของผู้เชี่ยวชาญทางด้านเด็กของสหรัฐอเมริกา ได้ชี้ให้เห็นว่า ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มเล่นสมาร์ตโฟนคือ เด็กต้องมีอายุ 2 ปี ขึ้นไป หากให้ลูกที่อายุต่ำกว่า 2 ปีเล่นโทรศัพท์หรือแท็บเล็ตนั้น ก็อาจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กให้ล่าช้า ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรรอจนลูกอายุ 2 ขวบ แล้วค่อยให้เขาเล่นมือถือ คุณพ่อคุณแม่อาจพาลูกทำกิจกรรมในครอบครัวมากขึ้น เพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการที่ดีของลูกได้

 

ลูกติดจอส่งผลเสียอย่างไร

เมื่อลูกเล่นโทรศัพท์หรือแท็บเล็ตนั้น ก็จะทำให้เขาจดจ่ออยู่กับหน้าจอตลอดเวลา หากปล่อยให้เขาเล่น ๆ ก็อาจส่งผลให้ลูกสมาธิสั้น หรือสายตาเสียได้ เรามาดูผลกระทบของการปล่อยลูกติดหน้าจอกันค่ะ

 

1. บั่นทอนศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก

ช่วงทารกจนถึง 2 ขวบ สมองของเด็กกำลังเติบโตเป็น 3 เท่า โดยมีสิ่งแวดล้อมจะเป็นตัวกระตุ้น หากลูกน้อยอยู่กับเทคโนโลยีอย่างแท็บเล็ต สมาร์ตโฟน โน้ตบุ๊ก หรือแม้แต่หน้าจอโทรทัศน์มากเกินไป จะทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ลดลง แถมยังมีทำให้เป็นโรคสมาธิสั้น เอาแต่ใจตัวเองมากขึ้น เพราะควบคุมตัวเองได้น้อยลงนั่นเองค่ะ

 

2. เด็กเคลื่อนที่น้อยลง

เมื่อเด็กอยู่กับหน้าจอมาก ๆ ก็จะทำให้เด็กเคลื่อนที่น้อยลง เพราะมัวแต่จดจ่ออยู่กับการใช้เทคโนโลยี ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการพัฒนาอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเด็ก ผลวิจัยชิ้นหนึ่งเผยว่า 1 ใน 3 ของเด็กที่ถึงวัยเข้าเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายล่าช้ากว่า มีผลต่อการเรียนรู้ การอ่านออกเขียนได้ เนื่องจากสมาร์ตโฟนมีส่วนปิดกั้นกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก

 

3. ทำให้ตาเด็กเกิดอาการเมื่อยล้า

เมื่อเด็กอยู่กับเทคโนโลยีมากเกินไป ส่งผลให้เด็กใช้สายตาเพ่งดูจอสมาร์ตโฟนต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้เด็กเกิดอาการตาล้าหรืออักเสบภายในหลังได้ค่ะ นอกจากนี้ อาจทำให้จอประสาทตาเสื่อมเร็วกว่าวัย หากคุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้ลูกเพ่งหน้าจอตั้งแต่เด็ก ก็จะส่งผลให้เขาเกิดภาวะ "ตาเพ่งค้าง" ได้ ซึ่งก็จะทำให้เด็กเกิดอาการปวดหัว และตาพร่าตามมาอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกติดเกม ติดมือถือ อันตราย! วิธีเลี้ยงดูลูกอย่างไร ไม่ให้ลูกเสพติดจอ อย่าทำร้ายสุขภาพลูก

 

ลูกอายุเท่าไหร่ให้เล่นมือถือได้

 

4. นอนน้อย หรือนอนดึก

เด็กที่ใช้สมาร์ตโฟนในห้องนอนของตัวเองได้ จะนอนน้อยลง เนื่องจากสามารถเล่นอุปกรณ์นั้นได้ตามใจชอบ เพราะไม่อยู่ในสายตาของผู้ใหญ่ ส่งผลให้เด็กอดนอน และมีอาการอ่อนเพลียตามมาภายหลัง ส่งผลกระทบต่อการเรียน ทำให้ลูกหลับในห้องเรียน จนไม่มีสมาธิ และไม่มีความสุขในการไปโรงเรียนค่ะ

 

5. พัฒนาการด้านอื่น ๆ ช้าลง

เด็กที่ติดสมาร์ตโฟนไม่ได้ใช้เวลาที่มีพัฒนาทักษะอื่น ๆ เท่าที่ควร เช่น ไม่ได้ฝึกการใช้นิ้วหยิบจับสิ่งของ และการก้มคอมองจอสมาร์ตโฟนถือเป็นท่าผิดหลักธรรมชาติ หากปล่อยให้ลูกเล่นมือถือบ่อย ๆ ก็จะส่งผลให้พัฒนาการลูกช้าลงกว่าเด็กคนอื่นในวัยเดียวกัน โดยเฉพาะเด็ก 2-3 ขวบ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรกำหนดเวลาไม่ให้ลูกเล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากเกินไป

 

6. เกิดปัญหาด้านอารมณ์

การติดสมาร์ตโฟนจะส่งผลกระทบต่อจิตใจของเด็ก โดยเด็กอาจมีอาการหดหู่หรือกระวนกระวาย เป็นโรคสมาธิสั้น มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ หรือเป็นโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) เหล่านี้เป็นต้น นอกจากนี้ ยังทำให้ลูกเกิดอารมณ์ร้อน หงุดหงิด จนแยกตัวออกจากสังคม บางรายอาจมีโลกส่วนตัว หรือมีเพื่อนเฉพาะในโลกอินเทอร์เน็ตเท่านั้น

 

7. เป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ความรุนแรง

เด็กบางคนอาจเห็นภาพการใช้ความรุนแรงผ่านสื่อบนสมาร์ตโฟน หรือแท็บเล็ตจากการ เกม หรือภาพยนตร์ที่ดาวน์โหลดใส่เครื่อง คลิปวิดีโอผ่านยูทูบ ก็อาจส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากยิ่งขึ้นในอนาคต อีกทั้งยังส่งผลให้ลูกเป็นเด็กเจ้าอารมณ์ เพราะสมาร์ตโฟนในปัจจุบันมีความรวดเร็ว และทันสมัย หากคุณพ่อคุณแม่ทำอะไรไม่ได้ดั่งใจลูก ก็จะทำให้เขาเกิดอาการหงุดหงิด จนเป็นเด็กก้าวร้าวได้

 

8. อาจเป็นโรคสมองเสื่อมดิจิทัล (Digital dementia)

โดยเด็กที่เป็นโรคนี้ไม่สามารถเรียนรู้หรือให้ความสนใจกับสิ่งใดได้ สาเหตุนั้นมาจากความรวดเร็วของเนื้อหาบนสื่ออย่างสมาร์ตโฟน ทำให้เด็กจดจ่อกับสิ่งรอบตัวน้อยลง รวมไปถึงลดการใช้สมองในส่วนของความจำ และอาจเป็นสาเหตุของโรคสมาธิสั้น

 

9. เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตั้งแต่เด็ก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) จัดให้มือถือรวมถึงอุปกรณ์ไร้สายอื่น ๆ อยู่ในหมวดหมู่ของความเสี่ยงระดับ 2B (2B risk) คือ มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดมะเร็ง เนื่องจากมีการปล่อยรังสีออกจากตัวเครื่อง ดังนั้น เด็กที่ติดสมาร์ตโฟนมีความเสี่ยงที่จะได้รับรังสีที่ก่อให้เกิดมะเร็งตามไปด้วย

 

10. เป็นโรคอ้วน

คุณพ่อคุณแม่อาจไม่ทราบว่า การปล่อยให้ลูกอยู่บนหน้าจอนาน ๆ ยังส่งผลให้ลูกเป็นโรคอ้วนได้ เพราะการที่เด็กเล่นมือถือทั้งวันนั้น ก็จะทำให้ลูกอยู่กับที่ ไม่ออกไปไหน กินขนมหรือข้าวอยู่ในห้อง จนทำให้เกิดโรคอ้วน และโรคเรื้อรังอื่น ๆ ตามมา ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ควรให้เขาเปลี่ยนท่านั่งบ่อย ๆ เพื่อผ่อนคลายร่างกาย โดนอาจให้ลูกลุกเดินบ้าง หรือหาสถานที่เล่นอย่างเหมาะสม ไม่ควรให้ลูกก้มหน้า หรือเงยหน้านอนเล่น เพราะอาจทำให้เขาเพลินจนไม่รู้ตัว

บทความที่เกี่ยวข้อง : 6 วิธีแก้เด็กติดจอ ดูแลลูกอย่างไรไม่ให้ติดโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์

 

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

ลูกอายุเท่าไหร่ให้เล่นมือถือได้

 

วิธีแก้ปัญหาลูกติดสมาร์ตโฟน หรือแท็บเล็ต

  • พยายามหากิจกรรมอื่นให้เด็กทำ เพื่อลดการเล่นสมาร์ตโฟน เช่น การวาดภาพ ออกกำลังกาย กิจกรรมกลางแจ้ง โดยเน้นกิจกรรมที่ได้ขยับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • กำหนดระยะเวลาที่เด็กสามารถเล่นสมาร์ตโฟนได้ในแต่ละวันไว้ให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เด็กเล่นมือถือจนเกินพอดี
  • ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวเพิ่มขึ้น และอาจตั้งกฎให้ใน 1 วันต่อสัปดาห์ เป็นวันงดใช้โทรศัพท์ครึ่งวัน
  • งดการเล่นสมาร์ตโฟนในระหว่างการรับประทานอาหาร โดยพ่อแม่ควรทำเป็นแบบอย่างด้วย
  • ไม่ควรอนุญาตให้เด็กเล่นสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตช่วงก่อนเข้านอน และไม่ควรเก็บไว้ในห้องนอนของเด็กเป็นอันเด็ดขาด เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กแอบเล่นโทรศัพท์ทั้งก่อนนอนหรือหลังตื่นนอนในทันที

 

คุณพ่อคุณแม่อาจคิดว่า การให้ลูกเล่นมือถือเป็นเรื่องดีที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการ อย่างไรก็ตาม หากปล่อยให้ลูกอยู่บนหน้าจอโดยไม่จำกัดเวลา หรือดูแลเด็ก ก็อาจส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาในระยะได้ ทางที่ดีควรกำจัดเวลาในการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ และใช้เวลาทำกิจกรรมในครอบครัวเพิ่มมากขึ้น เพื่อป้องกันพฤติกรรมการติดจอของลูกที่อาจเกิดขึ้นได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เด็กติดเกม ก้าวร้าว-ควบคุมตัวเองไม่ได้ ป้องกันและแก้ไขอย่างไรดี?

วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาด และมีพรสวรรค์ พัฒนาความสามารถของลูกให้ดียิ่งขึ้น

วิธีแก้ปัญหาลูกติดมือถือ พ่อขอแชร์ประสบการณ์ ที่เคยใช้กับลูกได้ผลมาแล้ว!!

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • ลูกอายุเท่าไหร่ให้เล่นมือถือได้ ทำอย่างไรไม่ให้ลูกติดจอ?
แชร์ :
  • ลูกติดมือถือ แท็บเล็ต จะแก้ปัญหายังไงดี?

    ลูกติดมือถือ แท็บเล็ต จะแก้ปัญหายังไงดี?

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ลูกติดมือถือ แท็บเล็ต จะแก้ปัญหายังไงดี?

    ลูกติดมือถือ แท็บเล็ต จะแก้ปัญหายังไงดี?

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ