X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

นอนห้องแอร์แล้วคอแห้ง ? อาการนี้ไม่แปลก แต่จะแก้ยังไงมาดู

บทความ 5 นาที
นอนห้องแอร์แล้วคอแห้ง ? อาการนี้ไม่แปลก แต่จะแก้ยังไงมาดู

ปัญหาที่หลายคนอาจกำลังพบเจอในช่วงนี้ นอนห้องแอร์แล้วคอแห้ง อาจทำให้อึดอัดอย่างไม่น่าเชื่อ และอาจทำให้หลับไม่ค่อยสบายตลอดทั้งคืน โชคดีที่มีวิธีรักษาง่าย ๆ บางอย่างที่เราสามารถแนะนำได้ เพื่อช่วยบรรเทาความรู้สึกไม่สบายและบรรเทาความแห้งกร้าน และความเจ็บปวดได้ ช่วยให้ค่ำคืนนี้หลับได้สบายได้มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วเรามาดูไปพร้อม ๆ กันเลย

 

ทำไมนอนในห้องแอร์จึงทำให้มีอาการคอแห้งได้ ?

หากเคยนอนในห้องแอร์มาอยู่แล้ว ในห้องเดิม อุณหภูมิเท้าเดิม แต่เพิ่งรู้สึกว่าตนเองมีอาการคอแห้ง หรือเจ็บคอ อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณหนึ่งของภูมิแพ้ได้ เพราะอาจถูกกระตุ้นด้วยสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อุณหภูมิภายในห้อง ไม่ว่าจะเป็นไรฝุ่น, เกสรดอกไม้ รวมไปถึงแมลง โดยเฉพาะแมลงสาบที่อาจหลบซ่อนอยู่ในห้องนั่นเอง ซึ่งหากพบว่าตนเองเพิ่งมีอาการ สามารถเข้ารับการตรวจ Skin Test จากแพทย์ได้ หรือวิธีอื่น ๆ ที่แพทย์แนะนำ

ส่วนผู้ที่มีอาการคอแห้ง หรือเจ็บคอบ่อย ๆ ตอนนอนห้องแอร์ อาการที่เกิดขึ้นตลอดนี้นั้นไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เพราะหลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศส่งผลโดยตรงต่อ “ความชื้น” ภายในห้อง ส่งผลต่อผู้ที่อยู่ภายในห้องโดยตรง โดยอาการพื้นฐานเมื่อความชื้นน้อยลง คือ คอแห้ง หรือเจ็บคอนั่นเอง หากปิดแอร์แล้วอาการก็สามารถบรรเทาขึ้นเองได้ตามปกติ

บทความที่เกี่ยวข้อง : นอนแอร์ นอนพัดลม ทารกนอนห้องแอร์ หรือเปิดพัดลมนอน นอนแบบไหนหลับสบาย ไม่ป่วยไข้

 

วิดีโอจาก : Doctor Top

 

6 วิธีช่วยแก้ปัญหา นอนห้องแอร์แล้วคอแห้ง

การแก้ปัญหานี้สามารถทำได้หลายวิธี แต่ละวิธีล้วนไม่ใช่วิธีที่ยาก กรณีที่เพิ่งมีอาการอาจสงสัยว่าเป็นภูมิแพ้ให้ไปพบแพทย์ก่อน แต่ถ้าหากมั่นใจว่าตนเองไม่ได้เป็นภูมิแพ้แน่นอน ก็สามารถแก้ได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

 

1. เพิ่มความชื้นในห้องนอนให้มากขึ้น

หนึ่งในวิธีแก้อาการคอแห้งนอนในห้องแอร์ที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง คือ การเพิ่มความชื้นในห้องนอน หรือห้องที่อยู่ คุณสามารถทำได้โดยวางชามน้ำไว้ใกล้เครื่องปรับอากาศ หรือหาซื้อเครื่องเพิ่มความชื้นภายในห้องมาใช้ก็ได้ วิธีนี้จะช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศ และช่วยให้คอของคุณไม่แห้ง นอกจากนี้ระหว่างอยู่ในห้อง ยังสามารถใช้วิธีการดื่มน้ำให้มาก ๆ เลี่ยงการกินน้ำเย็นตลอดทั้งวัน หากทำร่วมกันจะสามารถช่วยให้คอของคุณชุ่มชื้นขึ้นได้อย่างแน่นอน ตั้งเป้าดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้ว / วัน คุณยังสามารถวางขวดน้ำไว้ข้างเตียง และจิบเล็กน้อย เมื่อคุณรู้สึกว่าคอของคุณแห้ง

 

2. ปรับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศ

เป็นอีกวิธีพื้นฐานอย่างหนึ่งที่ช่วยแก้อาการเจ็บคอจากการนอนห้องแอร์ได้ คือ การปรับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศ เมื่ออุณหภูมิต่ำเกินไป อากาศจะแห้งมากขึ้น ทำให้รู้สึกไม่สบาย และเจ็บคอได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ ให้ตั้งเครื่องปรับอากาศให้มีอุณหภูมิที่คุณรู้สึกพอสบายตัว เนื่องจากอากาศเย็นมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ และระคายเคืองคอได้ นอกจากนี้ ควรหมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ และเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศเป็นประจำเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่น และสารมลพิษอื่น ๆ ไหลเวียนไปทั่วห้องด้วย

โดยอุณหภูมิที่นับว่าเป็นมิตรกับสุขภาพคอจะอยู่ที่ประมาณ 26 – 27 องศาเซลเซียส หลายคนคงคิดว่าร้อนแน่ ๆ ถ้าเปิดแบบนี้ แต่ในองศาประมาณนี้ดีต่อสุขภาพมากกว่า อีกทั้งยังช่วยประหยัดไฟได้ด้วย ซึ่งหากรู้สึกว่าไม่เย็นพอสามารถเปิดพัดลมเพิ่มช่วยได้ รวมไปถึงการตั้งเวลาเปิด – ปิดแอร์ ก็ทำให้ร่างกายของเราไม่ได้อยู่กับความหนาวเย็นของแอร์ตลอดทั้งคืนนั่นเอง

 

นอนห้องแอร์แล้วคอแห้ง

 

3. ใช้เครื่องทำความชื้น

จากที่เราได้กล่าวไป การใช้เครื่องทำความชื้น หากคุณนอนในห้องปรับอากาศ อากาศจะแห้งมาก และอาจทำให้คอแห้งและเจ็บคอได้ ระหว่างที่นอนนี้สามารถต่อสู้กับความรู้สึกไม่สบาย ด้วยการลองใช้เครื่องทำความชื้น เพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศให้มีมากขึ้น ซึ่งก็มีอยู่ด้วยกันหลายราคา ให้เลือกตามความเหมาะสมของความบ่อยที่จะใช้งาน กับราคาที่จะต้องจ่ายไป เครื่องทำความชื้นยังสามารถช่วยลดอาการแพ้อื่น ๆ ที่คุณอาจประสบภายในหิ้งนั้น ๆ ได้ด้วยเช่นกัน

 

4. ใช้ผ้าพันคอ หรือผ้าคลุมไหล่อุ่น ๆ ช่วย

หากคุณนอนในห้องปรับอากาศจนติดเป็นนิสัย ชนิดที่ว่าปิดไม่ได้ ถ้าปิดนอนไม่หลับ แต่ถ้าเปิดก็มักจะทำให้คอแห้ง หรือเจ็บคอได้ วิธีแก้ไขที่ดี คือ การพันผ้าพันคอ หรือผ้าคลุมไหล่ให้อุ่น ๆ รอบบริเวณคอ เพราะเป็นจุดที่สัมผัสอากาศ เนื่องจากส่วนมากคอมักจะไม่มีเสื้อผ้าปกคลุมอยู่ ช่วยให้อากาศรอบคอของคุณอบอุ่น ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาความเย็นที่คอจะสัมผัสได้ นอกจากนี้ ความอุ่นยังช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และช่วยให้หลับสบายยิ่งขึ้น ดูให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้พันผ้าพันคอหรือผ้าคลุมไหล่แน่นเกินไปที่คอของ เพราะอาจทำให้อึดอัด และทำให้คุณตื่นกลางดึกได้

 

5. แก้ง่าย ๆ ด้วยการใส่เสื้อผ้าที่มิดชิดมากขึ้น

การสวมใส่เสื้อตอนนอนหลายคนมีสไตล์เป็นของตัวเอง บางคนเป็นคนขี้ร้อน ทำให้ใส่ชุดนอนที่มีความบาง แถมยังเปิดเครื่องปรับอากาศร่วมด้วยในตอนนอน ให้ลองหันมาใส่เสื้อผ้าที่มีความมิดชิดมากขึ้น เช่น ใส่ชุดนอนที่มีเนื้อผ้าหนา และชุดควรจะต้องมีแขนขายาว ให้ผิวหนังออกมาเผชิญต่อความหนาวเย็นให้ได้น้อยที่สุด หากใช้วิธีนี้ทำร่วมกับวิธีอื่น ๆ จะสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ไม่ยากแน่นอน

 

นอนห้องแอร์แล้วคอแห้ง 2

 

6. ลองใช้สเปรย์พ่นจมูก

ลองสเปรย์ฉีดจมูก หรือยาพ่นจมูกช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับโพรงจมูก ซึ่งช่วยลดความรู้สึกคอแห้ง ในขณะที่คุณหลับได้ มียาพ่นจมูกหลายชนิดให้เลือก เช่น แบบน้ำเกลือพ่นจมูก หรือแบบมอยส์เจอไรเซอร์ และยาพ่นจมูก เป็นต้น แต่การใช้วิธีแบบนี้ต้องระวัง ไม่ควรตัดสินใจซื้อที่พ่นจมูกตามใจชอบ ควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับคำแนะนำก่อน เนื่องจากที่พ่นจมูกบางชนิด อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ หากมีโรคประจำตัวบางโรค รวมไปถึงเพื่อเพิ่มความปลอดภัย เพิ่มโอกาสที่จะได้รับสินค้าที่ได้มาตรฐานด้วย

 

การนอนในห้องแอร์จะทำให้คอแห้ง และเจ็บคอได้ เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ขอแนะนำให้รักษาความชุ่มชื้นไว้ ลดอุณหภูมิและความชื้นของเครื่องปรับอากาศ และใช้เครื่องทำความชื้นเพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ นอกจากนี้ยังสามารถใช้วิธีอื่นได้ เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด การดื่มน้ำบ่อย ๆ เป็นต้น ซึ่งวิธีเหล่านี้ไม่มีวิธีไหนที่ทำได้ยากเลย

 

บทความจากพันธมิตร
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คนท้องนอนท่าไหนดี ท่านอนคนท้องแบบไหน นอนสบายไม่ทับลูก

เลี้ยงลูกในห้องแอร์ ลูกจะติดแอร์ไหม ออกข้างนอกยาก เป็นเด็กขี้โรคหรือเปล่า

ข้อดีของการพาลูกเข้านอนไว ช่วยลูกฉลาดขึ้นไหม วิธีพาลูกเข้านอนไวทำอย่างไร

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • นอนห้องแอร์แล้วคอแห้ง ? อาการนี้ไม่แปลก แต่จะแก้ยังไงมาดู
แชร์ :
  • ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

    ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

  • คนท้องเหงื่อออกเยอะ แปลกไหม ต้องแก้อย่างไร ?

    คนท้องเหงื่อออกเยอะ แปลกไหม ต้องแก้อย่างไร ?

  • มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

    มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

  • ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

    ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

  • คนท้องเหงื่อออกเยอะ แปลกไหม ต้องแก้อย่างไร ?

    คนท้องเหงื่อออกเยอะ แปลกไหม ต้องแก้อย่างไร ?

  • มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

    มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ