X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

9 เรื่องที่ต้องตัดสินใจ ก่อนคลอด

บทความ 8 นาที
9 เรื่องที่ต้องตัดสินใจ ก่อนคลอด

การวางแผนคลอดลูกอาจเป็นเรื่องที่เราไม่คุ้น แต่เชื่อเถอะว่าคุ้มค่ากับการตัดสินใจ 9 เรื่องที่ต้องตัดสินใจก่อนคลอดมีอะไรบ้าง แล้วทำไมคุณต้องวางแผนคลอดมาดูกัน

9 เรื่องที่ต้องตัดสินใจ ก่อนคลอด

9 เรื่องที่ต้องตัดสินใจ

9 เรื่องที่ต้องตัดสินใจ

เตรียมตัวก่อนคลอด

ย่อมเป็นการดีที่คุณพ่อและคุณแม่จะได้จัดตระเตรียมการบางอย่างและเตรียมของใช้จำเป็นที่ต้องเตรียมไปโรงพยาบาลในวันคลอด ยิ่งโดยเฉพาะในคุณแม่ท้องแก่ใกล้คลอดนั้น หากได้เตรียมสิ่งที่ต้องใช้ก่อนไปโรงพยาบาลก็จะยิ่งดีมาก ๆ เพราะเมื่อเจ็บท้องคลอดขึ้นมาจริง ๆ จะได้ไม่ฉุกละหุกจนเกินไป

  1. การหาฤกษ์คลอด สำหรับคุณแม่ผ่าคลอดที่มีความเชื่อในหลักโหราศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความเป็นมงคล บุญบารมี สติปัญญา สุขภาพแข็งแรงให้กับลูกรัก หลังจากที่หมอกำหนดวันผ่าคลอดให้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะไปหาฤกษ์เอาไว้ให้พร้อมครับ
  2. เตรียมตั้งชื่อลูกน้อย คุณพ่อและคุณแม่ควรคิดตั้งชื่อลูกเผื่อเอาไว้ให้เรียบร้อย เพราะเมื่อถึงเวลาคลอดแล้วลูกยังไม่มีชื่อ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจะตั้งชื่อให้ไปก่อน ทำให้ต้องเสียเวลาไปเปลี่ยนแปลงแก้ไข นอกจากนี้ควรวางแผนไว้ล่วงหน้าสำหรับทะเบียนบ้านที่จะแจ้งให้ลูกไปอยู่อาศัย เพราะจะเกี่ยวพันไปถึงโรงเรียนที่จะเข้าเรียนในอนาคตด้วย
  3. เตรียมลาคลอด สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่คุณแม่จะได้รับในขณะลาคลอดจะช่วยให้คุณแม่ที่ต้องทำงานมีเวลาเตรียมตัวเป็นคุณแม่ได้อย่างเต็มตัวเพื่อดูแลทารกทั้งก่อนและหลังคลอดได้อย่างอุ่นใจมากขึ้น ดังนั้นจึงควรใช้โอกาสนี้อย่างเต็มที่ อย่าปล่อยให้ช่วงเวลาดี ๆ เหล่านี้สูญเปล่า ซึ่งคุณแม่ส่วนใหญ่มักจะลาคลอดก่อนถึงกำหนดคลอดประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อจะได้มีเวลาเตรียมตัวเตรียมใจไปคลอดครับ (แต่คุณแม่หลายคนก็พยายามจะลาให้ใกล้วันคลอดมากที่สุดประมาณ 1-2 วัน ซึ่งผมเองมองว่ามันฉุกละหุกเกินไปครับ เลยไม่แนะนำ)
    • คุณแม่ที่รับราชการ มีสิทธิ์ลาคลอดได้ 90 วัน (นับรวมวันหยุดด้วยทุกกรณีนะครับ) โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ คุณแม่ที่เป็นข้าราชการสามารถรับเงินเดือนจากส่วนราชการได้ตามปกติจำนวน 90 วัน ส่วนพนักงานราชการจะรับเงินเดือนจากส่วนราชการได้ตามปกติ 45 วัน และรับจากสำนักงานประกันสังคมอีก 45 วัน พร้อมมีสิทธิ์ลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้ไม่เกิน 150 วันทำการ โดยไม่ได้รับเงินเดือน นอกจากนี้ยังสามารถเบิกเงินช่วยเหลือการคลอดบุตรได้ครั้งละ 400 บาทโดยไม่รวมค่ารักษาพยาบาลที่เบิกแยกเป็นกรณีพิเศษได้ พร้อมยังได้รับเงินสวัสดิการสำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเดือนละ 50 บาทต่อบุตร 1 คน (แต่ไม่เกิน 3 คน) จนกว่าบุตรจะอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ส่วนสวัสดิการเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่สังกัดอยู่ก็อย่าลืมไปตรวจสอบดูนะครับว่ามีหรือไม่
    • คุณแม่ที่ทำงานในรัฐวิสาหกิจ สามารถเบิกเงินช่วยเหลือการคลอดบุตรได้ครั้งละ 400 บาท โดยไม่รวมค่ารักษาพยาบาลที่เบิกแยกได้ตามระเบียบพนักงานรัฐวิสาหกิจ และยังได้รับเงินช่วยเหลือบุตรจำนวน 50 บาทต่อคนต่อเดือน พร้อมสิทธิ์ลาคลอดได้ 60 วัน โดยได้รับเงินเดือนตามปกติ และอาจลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้ไม่เกิน 30 วัน โดยไม่ได้รับเงินเดือน
    • คุณแม่ที่ทำงานในบริษัทเอกชน จะมีสิทธิ์ลาคลอดได้ 90 วัน โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ ส่วนค่าใช้จ่ายตามกฎหมายแล้วบริษัทจะต้องทำบัตรประกันสังคมให้คุณแม่ทุกท่าน ซึ่งคุณแม่จะได้รับสิทธิ์ค่าทำคลอดบุตรแบบเหมาจ่ายจากบัตรประกันสังคมครั้งละ 13,000 บาท นอกจากนี้ยังได้รับเงินช่วยเหลือการหยุดงานเพื่อคลอดบุตร โดยนายจ้างจะจ่ายค่าจ้างให้ 45 วัน และประกันสังคมจ่ายให้ 45 วัน
    • คุณแม่ที่ประกอบอาชีพอิสระ สามารถใช้บริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทองได้ฟรีครับ สำหรับการคลอดบุตรไม่เกิน 2 ครั้ง พร้อมการตรวจรักษารวมถึงค่าห้องและค่ายา

9 เรื่องที่ต้องตัดสินใจ

Advertisement
  1. ตรวจสุขภาพร่างกาย ในช่วงเดือนที่ 9 ของการตั้งครรภ์ หมอจะนัดคุณแม่มาตรวจครรภ์และตรวจดูความพร้อมของร่างกายทุกสัปดาห์ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมไว้เผื่อมีการคลอดฉุกเฉินขึ้น และเพื่อดูอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงนี้ ในการตรวจสุขภาพก่อนถึงสัปดาห์ของการคลอด หมอจะตรวจดูความพร้อมของทารกว่าอยู่ในท่าที่ส่วนนำหรือศีรษะเคลื่อนกลับลงมารออยู่ที่อุ้งเชิงกรานของคุณแม่แล้วหรือไม่ ซึ่งในบางกรณีที่ทารกไม่กลับศีรษะคุณแม่อาจไม่สามารถคลอดเองได้ตามธรรมชาติ หมอจะต้องใช้การผ่าคลอดเข้าช่วย ซึ่งหากทราบถึงพัฒนาการของทารกในครรภ์ก็จะง่ายต่อการประเมินในการให้คุณแม่เตรียมตัวคลอดได้ครับ
  2. การเตรียมร่างกายก่อนวันไปคลอด อีกไม่กี่สัปดาห์ที่จะถึงวันกำหนดคลอดแล้ว คุณแม่ควรฝึกบริหารและดูแลร่างกายให้แข็งแรง เพื่อให้การคลอดดำเนินไปอย่างราบรื่น เช่น การฝึกเทคนิคเกร็งและคลายเพื่อระงับความกลัวและความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในขณะคลอด (จะกล่าวถึงในบทความหน้าอย่างละเอียดครับ)
  3. เตรียมตัวให้สบาย ช่วงแรกที่เริ่มเจ็บท้องคลอด คุณแม่ควรอาบน้ำให้สบายเนื้อสบายตัว ถ้าผมยาวปรกหน้ารุงรัง ให้ใช้หวีสับหรือรวบมัดให้เรียบร้อย จะได้ไม่ทำให้คุณแม่รำคาญเวลากระสับกระส่ายขณะเจ็บท้องคลอด
  4. เตรียมใจไปคลอด เมื่อคุณแม่ไม่ได้ไปฝากครรภ์หรือตรวจท้องตามกำหนดนัดทุกครั้ง ระยะใกล้วันครบกำหนดคุณแม่ก็คงสงสัยว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าจะเจ็บท้องคลอดแล้ว จะคลอดได้เมื่อไหร่ ต้องคลอดปกติหรือต้องผ่าตัด แล้วลูกจะแข็งแรงหรือไม่ ฯลฯ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จึงทำให้คุณแม่เกิดความกังวลใจ หลายคนเกิดอาการนอนไม่หลับ สะดุ้งผวา โดยการเตรียมจิตใจไว้ล่วงหน้าและเตรียมตัวไปคลอดจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ ซึ่งความกังวลใจรวมทั้งการที่คุณแม่นอนไม่หลับนั้นสามารถทำให้บรรเทาเบาบางลงได้ โดยเริ่มจากคุณแม่ต้องทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส อย่าซึมเศร้า แม้ว่าสภาพร่างกายจะไม่กระฉับกระเฉงเพราะท้องใหญ่ขึ้น เดินอุ้ยอ้าย คุณแม่ก็ควรจะยิ้มสู้ไว้และมีความหวังว่าอีกไม่นานเราก็จะได้เดินตัวปลิว มีรูปร่างสะโอดสะองเหมือนก่อนคลอดอีกครั้ง
  5. เตรียมคนดูแลไปด้วย เพื่อจะได้คอยช่วยเหลือและดูแลคุณแม่หรือเป็นธุระคอยติดต่อในเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะคุณพ่อที่ควรอยู่เป็นกำลังใจให้คุณแม่ในขณะคลอด ซึ่งจะช่วยลดความวิตกกังวลของคุณแม่ลงไปได้มากครับ
  1. เตรียมของใช้คุณแม่สำหรับวันไปคลอดลูก ในวันที่จะไปคลอดคุณแม่ควรเตรียมของใช้เอาไว้ให้พร้อมอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนถึงวันกำหนดคลอด เพราะหากมีอาการเจ็บครรภ์จะได้คว้ากระเป๋าพร้อมไปโรงพยาบาลทันที เมื่อถึงโรงพยาบาลจะได้ไม่ฉุกละหุกมาก ซึ่งของใช้ที่ควรนำไปโรงพยาบาลในการคลอดก็มีดังนี้ครับ
    • สมุดบันทึกการฝากครรภ์ เป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง ในกรณีที่หมอหรือพยาบาลให้คุณแม่เก็บไว้เองก็ต้องเอาไปด้วยครับ เพราะข้อมูลทุกอย่างตอนฝากครรภ์จะอยู่ในนั้น ห้ามลืมเป็นอันขาด
    • เอกสารต่าง ๆ เช่น บัตรประจำตัวผู้ป่วย, บัตรประกันสุขภาพ, บัตรทอง, ทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนทั้งของคุณแม่และคุณพ่อ (เพราะบางโรงพยาบาลจะมีบริการทำสูติบัตรให้พร้อมครับ), บันทึกการตั้งครรภ์หรือสมุดบันทึกพัฒนาการลูกน้อย ฯลฯ ก็ให้นำมาด้วยครับ (ให้ถ่ายเอกสารบัตรประชาชนของคุณพ่อ-คุณแม่ และบัตรทองมาด้วย)
    • แปรงสีฟันและยาสีฟัน เมื่อเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ถ้าได้แปรงฟันอาจช่วยให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้นได้
    • กระเป๋าใบเล็กสำหรับใส่ของใช้ในห้องน้ำหรือของใช้กระจุกกระจิก เช่น สบู่หรือเจลอาบน้ำ, แชมพูสระผม, โฟมล้างหน้า, ครีมทาตัว, กระจก, แปรงผม, หวีสับ ที่หนีบผม ที่ผูกผม หรือที่คาดผม (สำหรับคุณแม่ผมยาว), เครื่องสำอาง (เช่น แป้ง ลิปสติก ฯลฯ เพื่อให้คุณแม่ดูดียามต้อนรับญาติหรือเพื่อนที่มาเยี่ยมแสดงความยินดี) ฯลฯ
    • ลิปสติกชนิดมัน (ลิปมัน) คุณแม่อาจเตรียมลิปสติกทากันปากแห้งติดตัวไปด้วย เพราะต้องหายใจทางปากช่วยขณะเบ่ง ซึ่งอาจทำให้ปากแห้งได้
    • ผ้าขนหนูสำหรับเช็ดตัว 1 ผืน (บางโรงพยาบาลมีให้อยู่แล้วครับ)
    • รองเท้าแบบไม่มีส้นหรือรองเท้าแตะ เอาใช้ไว้สำหรับเดินไปมาทั้งในห้องและนอกห้อง และใช้สำหรับใส่กลับบ้าน
    • คอนแทคเลนส์และแว่นตาสำรอง (สำหรับคุณแม่ที่จำเป็นต้องใช้)
    • พัดกับผ้าเช็ดหน้า ผ้าซับเหงื่อ หรือผ้าขนหนูขนาดเล็ก 2 ผืน เผื่อเอาไว้ให้คุณพ่อใช้ผ้าขนหนูผืนเล็ก ๆ ชุบน้ำเย็นคอยเช็ดหน้าให้คุณแม่ในขณะที่เจ็บท้องคลอด หรือใช้พัดเล็ก ๆ โบกพัดลมเย็นอ่อน ๆ เพื่อช่วยให้คุณแม่สดชื่นขึ้น หรือเตรียมผ้าเผื่อไว้ใช้ซับเหงื่อคุณแม่ยามเจ็บท้องและเบ่งคลอด หรือถ้าเพลียและเหนื่อยก็ลองใช้ผ้าชุบน้ำเย็น ๆ เช็ดเนื้อตัว ก็จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกสดชื่นขึ้น
    • อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มพลังงาน คุณแม่ต้องเจ็บท้องนานและสูญเสียเรี่ยวแรงมาก การเก็บตุนพลังงานสำหรับการเจ็บท้องในระยะแรกจึงมีความสำคัญต่อคุณแม่เป็นอย่างมาก ถ้าทางโรงพยาบาลที่จะไปคลอดอนุญาตให้คุณแม่รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำในช่วงเจ็บท้องได้ คุณแม่อาจเตรียมอาหารที่ย่อยได้ง่ายและรับประทานได้สะดวกมาด้วยก็ได้ เช่น แซนด์วิซ ขนมปัง ผลไม้ หรือขนมที่ให้พลังงานได้ในทันที เช่น ช็อกโกแลต ธัญพืชสำเร็จรูป ผลไม้อบแห้ง ในระยะใกล้คลอดคุณแม่จะกระหายน้ำมาก ถ้าเป็นไปได้ก็ควรเตรียมน้ำผลไม้เจือจางที่ไม่หวานมากนักหรือน้ำเย็นใส่กระติกไว้ด้วยครับ ส่วนน้ำอัดลมหรือน้ำผลไม้ที่รสเปรี้ยวอย่างน้ำส้มหรือน้ำมะนาวก็ควรหลีกเลี่ยงครับ เพราะอาจทำให้คุณแม่รู้สึกคลื่นไส้ได้ (แต่เมื่อเข้าสู่ระยะการคลอดจริง ๆ แล้ว ส่วนใหญ่หมอจะให้งดน้ำและอาหารไว้ก่อน เพราะอาจเกิดภาวะฉุกเฉินในระหว่างการคลอดได้ เช่น ปากมดลูกไม่เปิดเพิ่ม หัวใจลูกเต้นผิดปกติ จึงจำเป็นต้องผ่าตัดทำคลอดฉุกเฉินจะได้สามารถดมยาสลบได้)
    • หนังสือ นิตยสาร สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตไว้ฟังเพลงสบาย ๆ หรือเอาไว้เล่นเกมต่าง ๆ คุณแม่ส่วนใหญ่มักเจ็บท้องคลอดในช่วงต้น ๆ อยู่เป็นเวลานาน และอาจเป็นการรอคอยที่ทำให้คุณแม่เบื่อได้ หากมีอะไรทำเพลิน ๆ เพื่อช่วยเบี่ยงเบนความสนใจไปเรื่องอื่น เช่น การอ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือเล่มเกม ก็จะช่วยให้คุณแม่ลืมความเจ็บปวดไปได้บ้าง
    • อุปกรณ์ช่วยผ่อนคลายอาการเจ็บท้อง เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหรือพยาบาลอาจแนะนำให้คุณแม่เตรียมอุปกรณ์ที่จะช่วยผ่อนคลายความเจ็บปวด เช่น น้ำมันนวด กระเป๋าน้ำร้อน ลูกกลิ้งนวดหลัง แป้งฝุ่น ฯลฯ คุณแม่ควรจัดอุปกรณ์เหล่านี้ใส่ไว้ในกระเป๋ารวมกับสิ่งของอื่น ๆ เมื่อถึงเวลาเจ็บท้องคลอดจะได้ไม่ลืมหยิบไปโรงพยาบาลด้วย เพราะความเจ็บปวดทุรนทุรายในช่วงแรกของการเจ็บท้องคลอด อาจผ่อนคลายลงได้ด้วยการนวด คุณแม่อาจให้คุณพ่อหรือญาติสนิทนวดบริเวณกระดูกสันหลังโดยใช้มือหรือลูกกลิ้งนวดหลัง ควรทาน้ำมันนวดหรือแป้งฝุ่นที่ผิวหนังของคุณแม่และมือผู้นวดด้วย เพื่อช่วยลดความแห้งกระด้างของผิว และวางกระเป๋าน้ำร้อนประคบไว้ที่บริเวณก้นกบก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดหลังของคุณแม่ได้ (กระเป๋าน้ำร้อนยังใช้เพื่อคลายอาการปวดหลังคลอดได้ด้วยนะครับ บางโรงพยาบาลก็มีให้ครับ)
    • กระติกน้ำแข็ง บวงช่วงระหว่างการเจ็บท้องคลอด คุณแม่อาจไม่อยากดื่มน้ำอะไรทั้งนั้น เพียงแค่อยากอมอะไรที่ช่วยให้พอชุ่มคอ เช่น น้ำแข็งก้อนละเอียดที่เตรียมไว้ในกระติก ถ้าคุณแม่อมน้ำแข็งไว้ในปากจะรู้สึกเย็นสบายและผ่อนคลายมากขึ้น
    • สเปรย์น้ำแร่ สำหรับใช้ฉีดหน้าหรือตามแขนขาเพื่อให้รู้สึกสดชื่นในขณะเจ็บท้องคลอด
    • นาฬิกาที่มีเข็มวินาที เพื่อใช้สำหรับจับเวลาการบีบรัดตัวของมดลูก
    • กล้องถ่ายรูปหรือกล้องถ่ายวิดีโอเพื่อบันทึกภาพ รวมทั้งสายชาร์จและแบตฯ สำรองเพื่อบันทึกเหตุการณ์อันควรค่าแก่ความทรงจำ (ควรถามทางโรงพยาบาลก่อนว่าอนุญาตให้มีการบันทึกภาพในห้องคลอดได้หรือไม่)
    • เสื้อผ้าและกางเกงใน คุณแม่ควรเตรียมเสื้อนอนเปิดด้านหน้า ยกทรงสำหรับเตรียมให้นมลูก 2-3 ตัว แผ่นซับน้ำนม ชุดลำลอง สำหรับเสื้อผ้าควรจะเป็นเสื้อผ้าที่สวมสบาย ๆ ไม่บางเกินไป เปิดปิดให้นมลูกได้สะดวก เปิดให้ตรวจท้องได้ง่าย หรือทำความสะอาดช่องคลอดได้ง่าย แต่โดยปกติแล้วในโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะมีเสื้อผ้าเอาไว้ให้บริการอยู่แล้ว ซึ่งก็เป็นการสะดวกและไม่ต้องกังวลที่จะต้องซักบ่อย ๆ เพราะภายหลังการคลอดมักจะมีเลือดออกมาเปื้อนผ้าเสมอ
    • ผ้าอนามัย สำหรับผ้าอนามัยควรใช้ชนิดที่มีห่วงและสายคาดครับ ซึ่งมีไว้เพื่อใช้ซับน้ำคาวปลาหลังคลอด ส่วนใหญ่แล้วทางโรงพยาบาลจะมีให้อยู่แล้วครับ ยังไงก็สอบถามไว้ก่อนล่วงหน้าก็ดีครับ อ้อ…สำหรับกระดาษห่อผ้าอนามัยใช้แล้วถ้าเตรียมไปด้วยก็จะดีมากเลยครับ
    • กระดาษทิชชู สำลีเช็ดก้นน้อง ทิชชูเปียก (เผื่อไว้ทำความสะอาดลูกน้อย) พร้อมถุงเอาไว้ใส่ทิชชูหรือสำลีใช้แล้ว ฯลฯ
    • ถุงเท้าและผ้าห่ม หลังคลอดใหม่ ๆ คุณแม่บางคนอาจรู้สึกหนาวจนตัวสั่นเนื่องจากสูญเสียความร้อนภายในตัวจากลูกที่คลอดออกไป คุณแม่ควรเตรียมถุงเท้าหนา ๆ หรือผ้าผืนเล็ก ๆ ไว้ห่มขาเพื่อให้ร่างกายอบอุ่นยิ่งขึ้น
    • หมอนให้นม สามารถช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับคุณแม่ในเวลาให้นมลูกได้เป็นอย่างดี
    • หน้ากากปิดตา ควรเตรียมไว้เผื่อคุณแม่ไม่คุ้นเคยกับการนอนหลับในห้องที่มีแสงสว่าง
    • เสื้อคลุมอาบน้ำ ใช้สวมใส่หลังอาบน้ำหรือสวมในเวลาที่คุณแม่อยากออกไปเดินนอกห้องพักในโรงพยาบาล
    • เสื้อผ้าสำหรับตัวคุณแม่เองสำหรับใช้ใส่ในวันกลับบ้าน
    • ถุงพลาสติกใบใหญ่ที่เอาไว้ใส่เสื้อผ้าที่ใช้แล้ว
  2. เตรียมของใช้ทารกแรกเกิดไปโรงพยาบาล คุณแม่ควรสอบถามกับทางโรงพยาบาลก่อนว่าควรนำสิ่งของใดมาให้ลูกบ้าง เช่น ผ้าห่อตัว เสื้อผ้า ฯลฯ เพราะบางโรงพยาบาลได้จัดเตรียมเอาไว้ให้แล้ว ถ้าโรงพยาบาลมีไว้บริการคุณแม่ก็อาจจะใช้ของโรงพยาบาลไปก่อนจนกว่าจะถึงวันกลับ ซึ่งคุณแม่ต้องเตรียมของเหล่านี้เอาไว้เวลาไปรับลูกกลับบ้านด้วยครับ ได้แก่
    • ผ้าอ้อมที่ซักแล้วหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป 1 โหล
    • สำลีเช็ดก้นน้อง ทิชชูเปียก (เผื่อไว้ทำความสะอาดลูกน้อย) พร้อมถุงเอาไว้ใส่ทิชชูหรือสีลำใช้แล้ว ฯลฯ
    • แชมพูอาบน้ำ ยาสระผมสำหรับทารก ผ้าเช็ดตัว สำหรับใช้เช็ดตัวลูกหลังอาบน้ำ
    • ฟองน้ำธรรมชาติ 100% เผื่อไว้ใช้สำหรับอาบน้ำทารกแรกเกิด
    • ผ้าขนหนูขนาดกลางสำหรับห่อตัวเด็ก 3-4 ผืน ไว้ใช้ห่อตัวให้ลูกรู้สึกอุ่นสบาย
    • เสื้อเด็กอ่อน ถุงมือ หมวกและถุงเท้าประมาณ 3 ชุด
    • คาร์ซีท สำหรับให้ลูกนั่งตอนออกจากโรงพยาบาล

9 เรื่องที่ต้องตัดสินใจ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

การดูแลหลังผ่าท้อง ต่างจากการคลอดธรรมชาติอย่างไร

เมนูไก่ ฟิตหุ่นคุณแม่หลังคลอด อิ่มนี้ไม่เกิน 200 แคล เมนูไก่สุดอร่อย!

คุณแม่ต้องรู้ วิธี เตรียมพร้อม คลอดธรรมชาติ ก่อนคลอดต้องเตรียมตัวยังไง?

 

https://www.huggies.co.th/th-th/birth/age-1-3-months/caesarean-delivery

บทความจากพันธมิตร
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Angoon

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • 9 เรื่องที่ต้องตัดสินใจ ก่อนคลอด
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว