8 วิธีพาลูกไปฉีดวัคซีน โดยไม่ต้องเสียน้ำตา รับรองลูกๆ เเฮปปี้
Herschel Lessin กุมารแพทย์แห่งเครือโรงพยาบาลเด็กในโพคิบซี่ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ความจริงแล้วการฉีดยาไม่ได้ทำให้เจ็บขนาดนั้น เพียงแต่ว่าเมื่อเด็กๆ โดนฉีดยาแล้วเจ็บ จะทำให้เขาฝังใจจนกลายเป็นโรคกลัวเข็มไปในที่สุด จึงจำเป็นจะต้องมีการปลอบเด็กๆ และหลอกล่อไม่ให้เด็กๆ กลัวจนจำฝังใจค่ะ มาดู 8 วิธีพาลูกไปฉีดวัคซีน กันค่ะ
1.เบี่ยงเบนความสนใจ
ถือว่าเป็นการวัดฝีมือการหลอกล่อลูกของคุณพ่อคุณแม่เลยนะคะ แม้ว่าจะเป็นเพียงทริคเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็สามารถช่วยลดความเจ็บปวดที่ลูกต้องเจอได้ค่ะ การหลอกล่อที่ได้ผล ก็อย่างเช่น ของเล่นชิ้นใหม่ที่ลูกไม่เคยเห็นไม่เคยมี การชี้ชวนให้ดูรูปภาพบนผนังห้อง ร้องเพลงหรือท่อง ABC หรือ กขค ทำอะไรตลกๆ ให้ลูกดู หรือแม้แต่การเป่าลูกโป่งค่ะ
2.เป่ามันออกไป
เทคนิคที่ใช้กับเด็กโต 4-5 ขวบ ไปจนถึง 11-12 ปี ตามงานวิจัยในปี 2010 บอกว่าการไอหรือเป่าก่อนและระหว่างการฉีดวัคซีนจะทำให้ช่วยลดการเจ็บปวดได้ ซึ่งเป็นเทคนิคที่มักจะได้ผลดีเสียด้วยค่ะ ลองให้ลูกนึกภาพว่ากำลังจะเป่าเทียนหรือเป่าเค้กวันเกิดดูค่ะ หรือถ้าลูกกลัวมากๆ ลองเป็นการเป่าประทัดที่ดับยากๆ หรือการเป่าเทียนพรรษา ก็น่าลองดูไม่น้อยเหมือนกันนะคะ
3.ล่อด้วยของหวาน
การให้เด็กวัย 1-12 เดือน กินของหวานอย่างเช่น ซูโครสหรือกลูโคสสักเล็กน้อยก่อนการฉีดวัคซีน มีหลักฐานงานวิจัยว่าสามารถช่วยลดความเจ็บปวดลงได้ มากกว่าเด็กที่ดื่มแต่น้ำหรือไม่ได้กินอะไรเลย
4.มาทั้งภาพและเสียง
ให้ลูกดูการ์ตูนหรือเล่นเกมส์ก่อนและระหว่างการฉีดวัคซีน เมื่อเด็กๆ กำลังเพลิดเพลินกับตัวการ์ตูน เรื่องราว หรือกำลังลุ้นกับเกมส์ในจอมือถือหรือแทปเล็ต เวลาฉีดยาเพียงแค่ชั่วครู่อาจจะไม่ได้ดึงความสนใจลูกเลยก็ได้ รู้ตัวอีกทีการฉีดวัคซีนก็เสร็จเรียบร้อยไปแล้วละค่ะ
5.ยาชาแบบทา
การทายาชาเฉพาะที่จะมีหลักการทำงานคือ ยาจะดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังเพื่อไปยับยั้งการทำงานของระบบประสาท ทำให้บริเวณนั้นรู้สึกชา ไม่เจ็บ แต่ควรทาก่อนฉีดวัคซีนประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อให้ตัวยาได้ทำงานก่อนนะคะ นอกจากนี้ยังมีสเปรย์ผิว ให้รู้สึกเย็นๆ ทำให้ผิวบริเวณนั้นชาเพียงชั่วขณะ ก็สามารถใช้แทนได้เช่นเดียวกันค่ะ
6.พ่อแม่ต้องหนักแน่นเข้าไว้
แม้ลูกจะงอแงเพียงใด ร้องไห้ หรือออกฤทธิ์หนักหนาแค่ไหน คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องยืนยันและหนักแน่น เพราะเด็กๆ ไม่สนใจหรอกว่าการฉีดวัคซีนจะมีข้อดีอย่างใด วัคซีนไม่ใช่ทางเลือกแต่คือสิ่งที่ต้องทำ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำคือเข้ามาควบคุมสถานการณ์ให้ได้ก่อนที่สถานการณ์จะบานปลายค่ะ
7.ดูด และดูด เท่านั้น
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนพบว่า จุกหลอกสามารถลดอาการเจ็บปวดของเด็กทารกทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการฉีดวัคซีนได้ ใช้จุกดูดจุ่มน้ำนมคุณแม่หรือน้ำผสมน้ำตาลเจือจาง ให้ลูกดูดก่อน ระหว่าง และหลังการฉีดวัคซีนได้เลยค่ะ หลังจากฉีดวัคซีนเสร็จแล้ว ให้ลูกเข้าเต้าดูดนมคุณแม่ ก็เป็นการช่วยปลอบประโลมลูกได้เหมือนกันนะคะ
8.เรียงลำดับการฉีด
งานวิจัยในปี 2009 พบว่าเด็กทารกจะร้องไห้และเจ็บปวดน้อยลงถ้าฉีดวัคซีน DPTaP-Hib ซึ่งเป็นวัคซีนรวม (คอตีบ โปลิโอ บาดทะยัก ไอกรน และโรคฮิบ) แล้วตามด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดบวม หรือ PCV เมื่อเทียบกับการฉีด PVC ก่อน แล้วตามด้วย DPTaP-Hib
ที่มา Health
นอกจาก 8 วิธีพาลูกไปฉีดวัคซีน โดยไม่ต้องเสียน้ำตาแล้ว เราขออัพเดท 5 วัคซีนที่จำเป็นต้องฉีดสำหรับลูกๆ โดยเฉพา
5 วัคซีนจำเป็น ที่ต้องพาลูกไปฉีด
การพาลูกไปรับวัคซีน คือการสร้างภูมิต้านทานต่อโรคภัยไข้เจ็บ โดยที่ลูกไม่จำเป็นต้องป่วยเป็นโรคนั้น ๆ หากลูกไม่เคยได้รับวัคซีนเลย เวลาที่มีเชื้อโรคเข้าร่างกายอาการที่แสดงออกมาจะเป็นหนักกว่าเด็กที่เคยได้รับวัคซีนแล้วนะคะ และนี่คือ 5 วัคซีนจำเป็น ที่ต้องพาลูกไปฉีด
1. วัคซีนคอตีบ หรือ DIPHTHERIA VACCINE
เพราะอาการของโรคคอตีบร้ายแรงอย่างมากนะคะ โรคคอตีบทำให้มีการหายใจมีปัญหา มีภาวะเป็นอัมพาต และทำให้การทำงานของหัวใจล้มเหลว ในบางประเทศจึงมีกฎหมายให้ฉีดวัคซีนนี้ค่ะ
2. วัคซีนบาดทะยัก หรือ TETANUS VACCINE
แม้โรคบาดทะยักจะไม่ทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตก็ตาม แต่จะทำให้กล้ามเนื้อแข็ง ซึ่งจะเกิดปัญหาต่างๆ ที่ตามมา เช่น ขากรรไกรค้าง กินอาหารลำบาก หรือแม้แต่กระทั่งการพูดจาก็ไม่สามารถทำได้เช่นกันค่ะ
3. วัคซีนไอกรน หรือ PERTUSSIS VACCINE
โรคไอกรนเป็นโรคที่สามารถส่งผลร้ายต่อลูกได้ถึงขั้นเสียชีวิตค่ะ เนื่องจากการหดเกร็งอย่างรุนแรงเวลาที่มีอาการไอ และอาการจะเลวร้ายลงจนทำให้ลูกกิน นอน ดื่มน้ำ หรือแม้แต่หายใจได้ยากลำบาก และอาจจะทำให้เกิดการชัก ทำให้สมองเสียหายถาวร หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยค่ะ
4. วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี หรือ HEPATITIS B VACCINE
คุณพ่อคุณแม่อาจจะเคยได้ยินชื่อ ไวรัสตับอักเสบบีนะคะ แต่รู้หรือไม่ว่าไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยมากและพบทุกช่วงอายุด้วยค่ะ และไม่ใช่โรคที่เป็นแล้วหาย เนื่องจากสามารถอักเสบแบบเรื้อรังได้ จนทำให้เสี่ยงเป็นโรคตับแข็งและโรคมะเร็งตับอีกด้วยค่ะ ดังนั้นการป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีได้ดีที่สุดก็คือการฉีดวัคซีนนั่นเองค่ะ
5. วัคซีนโปลิโอ หรือ POLIO VACCINE
โรคโปลิโอ เป็นโรคติดเชื้อที่ส่งผลเสียร้ายแรง ต่อสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และระบบประสาท ทำให้เป็นอัมพาตทุกที่บนร่างกาย รวมไปถึงหัวใจด้วยนะคะ นอกจากนี้ยังมีผลกระทบที่จะตามมาในรูปแบบของ กลุ่มอาการหลังจากที่เป็นโรคโปลิโอ หรือที่เรียกว่า Post-polio syndrome อีกด้วยค่ะ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการเกิดโรคไว้ก่อนนะคะ
สำหรับวัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ในประเทศไทยจะมีวัคซีนรวมที่เรียกว่า DTP vaccine ซึ่งเป็นวัคซีนรวมที่จะเริ่มฉีดตั้งแต่ลูกอายุได้ 2 เดือน ไปจนถึง 6 ขวบ และวัคซีนอื่นๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องดูว่าลูกเราเสี่ยงได้รับโรคอะไรบ้าง และควรฉีดวัคซีนอื่นๆ เพิ่มเติมหรือไม่ด้วยนะคะ
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทำความรู้จัก 6 โรคอันตรายในเด็ก ที่ป้องกันได้ด้วย วัคซีนรวม เพียงเข็มเดียว
5 วัคซีนจำเป็น ที่ต้องพาลูกไปฉีด
ทางเลือกใหม่ของการฉีดวัคซีน ฉีดผ่านคุณเเม่ได้ผลที่ลูก
ไขข้อข้องใจ เด็กเล็กไม่ได้รับวัคซีนตามนัด มีผลเสียอย่างไร ? แม่อยาก เลื่อนนัดรับวัคซีน ในช่วง New Normal ได้ไหม ?
แม่รู้ไหม ทำไมควร กระตุ้นภูมิคุ้มกันลูกให้แข็งแรง ด้วย วัคซีนรวม 6 โรค
ลูกลืมฉีดวัคซีนทำไงดี? จะต้องทำยังไงดี เลื่อนนัดได้ไหม จะมีผลอะไรรึเปล่า?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!