X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

8 ข้อที่พ่อแม่ควรรู้ หากทะเลาะกันต่อหน้าลูก

บทความ 3 นาที
8 ข้อที่พ่อแม่ควรรู้ หากทะเลาะกันต่อหน้าลูก8 ข้อที่พ่อแม่ควรรู้ หากทะเลาะกันต่อหน้าลูก

ไม่มีพ่อแม่คนไหนหรอกที่อยากจะทะเลาะกันต่อหน้าลูก รู้ทั้งรู้ว่าเป็นเรื่องที่ควรหลีกเลี่ยง แต่หากเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ นี่ก็เป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนควรรู้

รู้ทั้งรู้ว่าไม่ควรทะเลาะกันต่อหน้าลูก เข้าใจในหลักของทฤษฎีนะ แต่พอถึงสถานการณ์จริง มันเป็นไปได้ยาก แล้วแบบนี้จะให้พ่อแม่อย่างเรา ๆ ทำอย่างไรกันดี

ทะเลาะกันต่อหน้าลูก, พ่อแม่ทะเลาะกัน, ทะเลาะ

1. พุ่งประเด็นไปที่ปัญหาเป็นหลัก

เวลาที่คุณทะเลาะกัน พยายามอย่าที่จะตะโกน ขึ้นเสียง หรือข่มขู่ใส่กันต่อหน้าลูก คุณควรที่จะมุ่งไปถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ณ ตอนนั้นเป็นหลัก อย่าไปรื้อฟื้นเรื่องที่เก่า ๆ มาเป็นปัญหาอีกถ้าหากสามารถทำได้ เพราะการส่งเสียงดังอาจจะทำให้ลูกของเราคิดได้ว่าพ่อแม่ของเขานั้นไม่รักกันแล้ว

2. หลีกเลี่ยงเรื่องของผู้ใหญ่

เรื่องของผู้ใหญ่ในที่นี่หมายถึง เรื่องที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ ชู้สาว การพนัน การดื่มของมึนเมามากเกินไป หรือว่าบุคคลที่สามที่เป็นบุคคลในครอบครัวของฝ่ายให้ฝ่ายหนึ่งให้ลูกได้ยินเช่น ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นต้น เพราะเด็ก ๆ ยังมีวุฒิภาวะไม่มากพอที่จะเข้าใจหรือรับฟังปัญหานี้ ถ้าอยากที่จะพูดคุยกันถึงปัญหาเรื่องนี้จริง ๆ แล้วละก็ ควรที่จะไปคุยกันในที่ส่วนตัวสองคนมากกว่าค่ะ

3. เรื่องการตัดสินใจของลูก

ในบางครั้งการตัดสินใจของลูก อาจจะเป็นที่ไม่พอใจของพ่อหรือแม่ โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจเห็นด้วยและพร้อมที่จะเคารพการตัดสินใจของลูก แต่อีกฝ่ายหนึ่งอาจจะไม่เห็นด้วย ทั้ง ๆ ที่บางครั้งเหตุผลของการไม่เห็นด้วยนั้นจะเป็นเหตุผลที่ถูกต้องและสมควรก็ตาม  แต่การที่พ่อแม่ทะเลาะกันด้วยเรื่องนี้ต่อหน้าลูกนั้น อาจจะทำให้ลูกรู้สึกไม่ดีกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยได้นะคะ ยกตัวอย่างเช่น ที่พ่อหรือแม่ไม่เห็นด้วยนั้นต้องเป็นเพราะไม่รักและไม่เข้าใจเขาแน่ ๆ

4. รีบแก้ปัญหาก่อนที่ทุกอย่างจะบานปลาย

ทุกครั้งที่ทะเลาะกัน อย่าลืมที่จะเคลียร์ปัญหาที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยก่อนที่ทุกอย่างจะบานปลาย แรกเริ่มลูกรับรู้แล้วถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ณ จุดนั้นความสดใสร่าเริงของลูกอาจจะเริ่มลดลง และถ้าหากปัญหาดังกล่าวนั้นยังไม่สิ้นสุด ลูกยังคงเห็นว่า พ่อกับแม่ยังไม่คุยกันทั้งยังมีท่าทีไม่พอใจใส่กันด้วยแล้วนั้น กิริยาเหล่านี้แหละค่ะที่จะยิ่งทำให้ลูกของเรารู้สึกแย่และกลายเป็นเด็กเก็บตัวมากขึ้น

5. ให้แน่ใจว่าลูกรับรู้ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นแก้ไขแล้ว

พ่อแม่บางคนอาจจะคิดว่า ทำไมฉันจะต้องบอกลูกด้วยละ ว่าทุกอย่างระหว่างพ่อกับแม่เคลียร์กันได้แล้ว อย่าลืมนะคะว่า คุณทั้งสองคนทะเลาะและมีปากมีเสียงต่อหน้าพวกเขา จริงอยู่ที่ลูกเล็ก ๆ อาจจะยังไม่เข้าใจ แต่เมื่อลูกโตขึ้นมาในระดับหนึ่ง แน่นอนว่าในใจลึก ๆ ของพวกเขานั้น ต้องรู้สึกเหมือนมีบางอย่างที่เข้าไม่ชอบใจเท่าไรนักเกิดขึ้น ไม่มีเด็กคนไหนหรอกค่ะที่อยากเห็นพ่อแม่ไม่รักกัน ดังนั้นหากปัญหาของคุณแก้ไขหรือตกลงกันได้แล้วนั้น คุณก็ควรที่จะบอกลูก ๆ ด้วยนะคะว่า พ่อกับแม่เข้าใจกันแล้วนะลูก เราสองคนรักกันเหมือนเดิม และที่สำคัญพวกเรารักลูกมากนะจ้ะ

อ่านคำแนะนำข้อต่อไป คลิกหน้าถัดไปค่ะ

ทะเลาะกันต่อหน้าลูก, พ่อแม่ทะเลาะกัน, ทะเลาะ

6. พูดคุยกับลูก

หลังจากที่คุณทะเลาะกันต่อหน้าลูกแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่คุณควรทำก็คือ เข้าไปพูดคุยกับเขาค่ะ ไม่จำเป็นที่คุณจะเข้าไปคุยพร้อมกันสองคน เพราะมันจะดูเป็นทางการจนเกินไป ผลัดกันเข้าไปคุยกับเขา โดยอาจจะเริ่มประโยคที่ว่า "พ่อ/แม่ ขอโทษนะลูก ที่ต้องให้หนูมาเห็นเหตุการณ์ที่พ่อกับแม่ทะเลาะกันเมื่อสักครู่นี้ ไม่ต้องกลัวว่าพ่อแม่จะไม่รักหนูนะจ้ะ พ่อกับแม่ไม่เข้าใจกันนิดหน่อย แต่เดี๋ยวทุกอย่างก็จะเคลียร์และดีขึ้นได้เอง หนูไม่ต้องห่วงนะ" การพูดในลักษณะนี้กับลูก จะทำให้ลูกรู้สึกว่าตัวเองนั้นยังสำคัญอยู่ และเขาก็ไม่ได้สูญเสียใครคนใดคนหนึ่งไป

7. อย่าบังคับให้ลูกต้องเป็นฝ่ายเลือก

ไม่ใช่แค่เฉพาะแต่การหลีกเลียงที่จะทะเลาะกันต่อหน้าลูกเท่านั้นนะคะ อีกสิ่งที่พวกเราทุกคนไม่ควรทำก็คือ บังคับให้ลูกเลือกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง การบังคับให้ลูกตัดสินใจเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำมาก ๆ ค่ะ เพราะการที่ลูกต้องเลือกทั้ง ๆ ที่่ใจไม่อยากทำนั้น จะไปส่งผลถึงจิตใจของลูกซึ่งอาจจะทำให้พวกเขารู้สึกลำบากใจ และรู้สึกผิดกับอีกฝ่ายที่พวกเขาไม่ได้เลือกได้

8. หากิจกรรมอะไรให้ลูกทำ

แน่นอนว่า เด็ก ๆ ย่อมรู้สึกเครียดกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่พวกเขาไม่รู้ว่าควรที่จะกำจัดความรู้สึกเหล่านั้นได้อย่างไร สิ่งนี้เป็นหน้าที่ของพ่อแม่แล้วละค่ะ ที่จะต้องเป็นฝ่ายช่วยพวกเขา ดังนั้นหลังจากที่ทะเลาะกันแล้ว ไม่ว่าปัญหาจะจบสิ้นแล้วหรือยัง สิ่งที่พวกเราควรทำก็คือ หากิจกรรมอะไรให้ลูกทำ เพื่อให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายและไม่หมกมุ่นกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากจนเกินไป โดยคุณอาจจะพาลูกไปดูหนัง ทานข้าว เล่นเกมส์ ว่ายน้ำ หรือกิจกรรมอะไรก็ได้ที่มั่นใจว่าลูกจะสามารถลดความเครียดดังกล่าวได้

จะเห็นแล้วว่า การทะเลาะกันต่อหน้าลูกนั้นเปรียบเสมือดาบสองคม คมแรกก็ส่งผลดีให้กับพวกเขาได้เข้มแข็งพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพราะลูก ๆ รู้แล้วว่า ทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้ ไม่ว่าจะช้าหรือว่าเร็ว และปัญหาก็ไม่ใช่จุดจบของทุกสิ่ง แต่คมดาบสุดท้ายที่อันตรายที่สุดก็คือ ลูก ๆ ของเราอาจจะกลายเป็นเด็กเก็บความรู้สึก ไม่ร่าเริงแจ่มใสเหมือนปกติ และอาจจะแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าวต่อคนในครอบครัว คนรอบข้าง รวมถึงคุณครูและเพื่อน ๆ ที่โรงเรียน หรือแย่ที่สุดคือ ลูก ๆ หันไปคบเพื่อนที่ไม่ดี หรืออาจจะหันไปพึ่งยาเสพติดเพื่อเป็นที่พักทางใจก็เป็นได้

ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด ที่พ่อแม่ควรคำนึงถึงหลังจากที่ทะเลาะกันแล้วก็คือ ความรู้สึกของลูก นั่นเอง

ที่มา: WomansDay

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

10 สาเหตุยอดฮิตทำให้สามีภรรยาทะเลาะกัน

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ชอบ "เถียงกัน" เรื่องอะไร

บทความจากพันธมิตร
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ  ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!
แจกเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณลูกไม่ปวดตา
แจกเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณลูกไม่ปวดตา

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • 8 ข้อที่พ่อแม่ควรรู้ หากทะเลาะกันต่อหน้าลูก
แชร์ :
  • พ่อแม่ทะเลาะกันต่อหน้าลูก ทำยังไงดีเมื่อห้ามตัวเองไม่ได้

    พ่อแม่ทะเลาะกันต่อหน้าลูก ทำยังไงดีเมื่อห้ามตัวเองไม่ได้

  • พ่อแม่ทะเลาะกัน ต่อหน้าลูก เป็นเรื่องใหญ่ เพราะอาจส่งผลร้ายต่อลูกไปทั้งชีวิต

    พ่อแม่ทะเลาะกัน ต่อหน้าลูก เป็นเรื่องใหญ่ เพราะอาจส่งผลร้ายต่อลูกไปทั้งชีวิต

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

  • แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

    แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

app info
get app banner
  • พ่อแม่ทะเลาะกันต่อหน้าลูก ทำยังไงดีเมื่อห้ามตัวเองไม่ได้

    พ่อแม่ทะเลาะกันต่อหน้าลูก ทำยังไงดีเมื่อห้ามตัวเองไม่ได้

  • พ่อแม่ทะเลาะกัน ต่อหน้าลูก เป็นเรื่องใหญ่ เพราะอาจส่งผลร้ายต่อลูกไปทั้งชีวิต

    พ่อแม่ทะเลาะกัน ต่อหน้าลูก เป็นเรื่องใหญ่ เพราะอาจส่งผลร้ายต่อลูกไปทั้งชีวิต

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

  • แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

    แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ