X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ฉันเป็นแม่ที่แย่! ความรู้สึกผิดของแม่หลังคลอด ที่มักเกิดขึ้นช่วง 3 เดือนแรก

บทความ 3 นาที
ฉันเป็นแม่ที่แย่! ความรู้สึกผิดของแม่หลังคลอด ที่มักเกิดขึ้นช่วง 3 เดือนแรก

ฉันเป็นแม่ที่แย่! ความรู้สึกผิดของแม่หลังคลอด ที่มักเกิดขึ้นช่วง 3 เดือนแรก

คนเป็นแม่มักมีความกังวลต่อลูกน้อยในหลาย ๆ เรื่อง โดยเฉพาะแม่มือใหม่ที่เพิ่งคลอดลูก ยังไม่มีบทเรียนช่ำชองต่อการดูแลลูกทารกแรกเกิด ความรู้สึกผิดของแม่หลังคลอด จึงเกิดขึ้นได้ในใจ และส่งผลให้เครียด และเสียสุขภาพ

 

6 ความรู้สึกผิดของแม่หลังคลอด ที่มักเกิดขึ้นได้ในช่วง 3 เดือนแรก

 

ความรู้สึกผิดของแม่หลังคลอด

 

1) รู้สึกผิดที่ว่ายังรู้สึกว่ารักลูกได้ไม่เต็มที่

ยังมีคุณแม่มือใหม่จำนวนไม่น้อย ที่ยังไม่เกิดความรู้สึก “รักแรกพบ” หรือการรักลูกมากอย่างไม่มีเงื่อนไข จนทำให้รู้สึกผิดว่าตัวเองอาจจะยังรักลูกได้ไม่เต็มที่  ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องผิดปกติและเกิดขึ้นได้สำหรับแม่มือใหม่ที่กำลังอยู่ในช่วงปรับตัว เพราะการตั้งครรภ์และการคลอดบุตรทำให้คุณแม่ต้องเปลี่ยนแปลงทุกอย่างในชีวิตตัวเองไม่มากก็น้อย มีความลำบากเกิดขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงความเจ็บปวดจากการคลอดลูก การให้นมลูก ต้องอดหลับอดนอนดูแลลูก เหนื่อยตั้งแต่ตั้งท้องจนแม้กระทั่งหลังคลอดลูกที่ไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่

บางครอบครัวที่ไม่มีพี่เลี้ยงหรือญาติผู้ใหญ่มาช่วยเปลี่ยนมือดูแลลูก คุณพ่อก็ไปทำงาน ทำให้คุณแม่ต้องเผชิญกับภาวะการเลี้ยงลูกเพียงคนเดียว แถมยังต้องจัดการงานบ้านอีกสารพัด ความรู้สึกของความสุขและความรักในการเลี้ยงลูกจึงอาจยังไม่เกิดขึ้นในช่วงนี้

Advertisement

วิธีลดความรู้สึกผิดของแม่หลังคลอด คือ คุณพ่อควรให้ความช่วยเหลือคุณแม่ให้ผ่านความยากลำบากในช่วงปรับตัวกับลูก ซึ่งแม่หลังคลอดนั้นควรจะได้รับการเอาใจใส่ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ และจิตใจเช่นกัน คุณพ่อสามารถเข้ามาเป็นตัวช่วยในการเลี้ยงลูกและให้กำลังใจคุณแม่ได้

 

ความรู้สึกผิดของแม่หลังคลอด

 

2) รู้สึกผิดที่ไม่ได้ให้ลูกได้กิน “นมแม่”

เรื่องนี้เป็นเรื่องอันดับต้น ๆ ที่คุณแม่หลายคนรู้สึกผิดมาถึงทุกวันนี้ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กลายมาเป็นความกดดันสำหรับคุณแม่มือใหม่ แต่ก็ใช่ว่าคุณแม่จะสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปซะทุกคน แม้ว่าสมาคมกุมารแพทย์แนะนำว่าทารกควรได้กินนมแม่นานอย่างน้อย 1 ปี และข้อมูลที่บอกถึงคุณประโยชน์ของนมแม่ที่ดีต่อลูกน้อยมหาศาล เพราะปัญหาและปัจจัยในหลาย ๆ ด้าน ที่ทำให้คุณแม่ต้องตัดสินใจใช้นมผง จึงทำให้คุณแม่มีความรู้สึกเสียใจและรู้สึกว่าตัวเองเป็นแม่ที่ไม่สามารถจะให้ลูกกินนมแม่ได้ แต่ความจริงการใช้นมผงเลี้ยงลูกนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องผิดอะไรสำหรับคุณแม่ที่ไม่สามารถให้นมแม่กับลูกได้ เพราะสิ่งสำคัญที่สุดในการเป็นแม่ที่ดี คือ เป็นแม่ที่มีความสุขในการเลี้ยงลูกและสร้างลูกให้เติบโตขึ้นมาด้วยความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจต่างหาก

 

ความรู้สึกผิดของแม่หลังคลอด

 

3) รู้สึกผิดที่ไม่มีเวลาอยู่กับลูกเพราะต้องกลับไปทำงาน

การต้องกลับไปทำงานหลังครบวันลา เป็นความรู้สึกผิดที่พบบ่อยในแม่มือใหม่ เพราะคุณแม่ต่างก็อยากอยู่กับลูกน้อย ได้เลี้ยงลูกด้วยตัวเองมากกว่าจะที่ไปฝากฝังให้คนอื่นเลี้ยง จนทำให้รู้สึกผิดว่าไม่มีเวลาอยู่กับลูก แต่ถึงแม้ช่วงเวลาทำงานที่คุณแม่จะไม่มีเวลาให้นั้น หลังกลับจากที่ทำงานคุณแม่สามารถใช้เวลาที่เหลือก่อนนอนเล่นกับลูกได้ และใช้เวลาในวันหยุดอยู่กับลูกให้เต็มที่ เพราะการใช้เวลาอยู่กับลูก ไม่จำเป็นต้องมีเวลามากๆ แต่ขอให้เป็นเวลาที่มีคุณภาพก็พอ

เด็กในยุคปัจจุบันนี้มีการปรับตัวตามสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดีมากกว่าที่พวกเราคิด เขาจะค่อยเติบโตและปรับตัวได้ดีขึ้นในสถานการณ์ที่คุ้นชิน เพราะหากคุณเลือกที่จะเลี้ยงลูกอยู่กับบ้านด้วยตัวเอง นั่นความหมายว่าสถานการณ์การเงินของครอบครัวมั่นคงและมีรายได้พอที่จะใช้จ่ายโดยไม่เดือดร้อน แต่หากคุณจำเป็นต้องกลับไปทำงานเพื่อมีรายได้เพียงพอ นั่นก็ไม่ได้ทำให้ระยะความสัมพันธ์ของคุณแม่กับเจ้าตัวน้อยห่างออกไปนะคะ

 

ความรู้สึกผิดของแม่หลังคลอด

 

4) รู้สึกผิดที่จำเป็นต้องพาลูกไปฝากที่เนอสเซอรี่

เมื่อถึงเวลาที่คุณแม่ต้องกลับไปทำงาน จะฝากลูกไว้กับญาติพี่น้องก็ไม่มีใครสะดวกดูแลให้ สิ่งที่คุณแม่มองหาเป็นอันดับต้น ๆ คือการนำลูกน้อยไปฝากเนอสเซอรี่ตั้งแต่ก่อน 2 ขวบ ซึ่งทำให้คุณแม่เป็นกังวลต่าง ๆ นานา แต่เมื่อสถานการณ์จำเป็น สิ่งที่คุณแม่ควรทำคือการหาเนอสเซอรี่ใกล้บ้านที่ไว้ใจได้ เพื่อที่จะทำให้คุณแม่หายห่วงในการฝากลูกน้อยไว้กับคนอื่น และตั้งใจทำงานอย่างไม่มีความกังวล ซึ่งข้อดีของการให้ลูกเข้าเนอสเซอรี่จะทำให้ลูกได้เรียนรู้กับการอยู่กับผู้ใหญ่และคนอื่นสังคมใน การรู้จักยอมรับผู้อื่น มีการเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ ถือเป็นการช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกได้เป็นอย่างดี และทำให้เขารู้จักเริ่มช่วยตัวเองได้เป็นเร็ว

 

5) รู้สึกผิดที่ไม่ได้ใส่ใจดูแลตัวเองมากพอ

ถึงแม้ในช่วงแรก ๆ คุณแม่จะทุ่มเทเวลาไปกับการเลี้ยงเจ้าตัวน้อย จนไม่ได้หันมามองว่าปล่อยให้ตัวเองทรุดโทรมไปขนาดไหนแล้ว แม้ว่าการหาเวลาเป็นของตัวเองจะเป็นเรื่องยาก แต่คุณแม่ก็ควรดูแลตัวเองและให้เวลากับตัวเองบ้าง ด้วยการออกกำลังกาย มีเวลาสังสรรค์กับเพื่อนฝูงบ้าง หรือมีเวลาอยู่ด้วยกันสองต่อสองกับสามี โดยการฝากลูกไว้กับญาติพี่น้อง เพราะการได้มีเวลาเป็นของตัวเอง ทำอะไรเพื่อตัวเองบ้าง จะทำให้คุณได้ชาร์ตแบตเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลทางอ้อมต่อคุณและลูกน้อย ลดความเครียด ไม่เกิดภาวะซึมเศร้า เมื่อคุณแม่มีความสุขก็ทำให้ลูกมีความสุขด้วย หาเวลาให้กับตัวเองบ้างโดยไม่ต้องรู้สึกผิดแต่อย่างใดนะคะ

 

6ความรู้สึกผิดของแม่หลังคลอด

 

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
พลวัตของสื่อยุคใหม่ หน้าต่างสู่การสร้างสรรค์ภาวะโภชนาการสำหรับเด็กไทย
พลวัตของสื่อยุคใหม่ หน้าต่างสู่การสร้างสรรค์ภาวะโภชนาการสำหรับเด็กไทย
ทำขนมไม่เป็น ไม่รู้จะลองเรียนที่ไหน ABC Cooking Studio คือคำตอบ
ทำขนมไม่เป็น ไม่รู้จะลองเรียนที่ไหน ABC Cooking Studio คือคำตอบ

6) รู้สึกผิดที่ยังเป็นแม่ที่ดีไม่พอ

บททดสอบความเป็นแม่ไม่ใช่เกิดขึ้นแค่เพียงระยะสั้น ๆ นะคะ แต่มีไปถึงระยะยาวหรือจนตลอดชีวิตก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการเลี้ยงลูกในคู่มือหรือในเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่แนะนำมา อาจไม่ตรงกับตัวเอง จนทำให้คุณแม่รู้สึกเฟล์ เป๋ เพราะกลัวว่าจะไม่เลี้ยงลูกไม่ถูกทางเหมือนกับที่อ่านมาหรือมีผู้เชี่ยวชาญแนะนำ  ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณแม่จะเป็นแม่ที่ดีไม่พอ สอนลูกไม่ดี ไม่ตรงตำรา เพราะความจริงแล้ว บทเรียนการเลี้ยงลูกไม่มีอะไรตายตัวและเป๊ะแน่นอน คุณแม่สามารถอ่านเพื่อเป็นแนวทางแล้วนำมาปรับใช้กับลูกในแบบฉบับของตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องคาดหวัง และปล่อยวางความรู้สึกผิดเรื่องการเลี้ยงลูกไม่ดี ที่จะทำให้เป็นคุณแม่เครียดจนเลี้ยงลูกแบบไม่มีความสุข เพราะความจริงในชีวิตคือไม่มีแม่คนไหนสมบูรณ์แบบไปทุกคนหรอก แต่คุณจะเป็นแม่ที่ดีที่สุดในสายตาลูก

 


 

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

8 เหตุผลดีๆ ที่ช่วยแม่ “ไม่รู้สึกผิด” เมื่อต้องกลับไปทำงานหลังคลอด

5 เรื่องจริงเมื่อเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวแล้วต้องรับมือให้ไหว

ซึมเศร้าหลังคลอด 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 86

ที่มา :  breastfeedingthai

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • ฉันเป็นแม่ที่แย่! ความรู้สึกผิดของแม่หลังคลอด ที่มักเกิดขึ้นช่วง 3 เดือนแรก
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว