X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

8 เหตุผลดีๆ ที่ช่วยแม่ “ไม่รู้สึกผิด” เมื่อต้องกลับไปทำงานหลังคลอด

บทความ 3 นาที
8 เหตุผลดีๆ ที่ช่วยแม่ “ไม่รู้สึกผิด” เมื่อต้องกลับไปทำงานหลังคลอด

การต้องกลับไปทำงานหลังคลอด เป็นอีกเรื่องที่ทำให้คนเป็นแม่รู้สึกผิดที่ไม่มีเวลาให้กับลูกน้อยทั้งที่อยากอยู่เลี้ยงลูกใจจะขาด แต่ภาระหน้าที่และการหาเงินเพื่อมาเลี้ยงดูลูกต่อไปก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน

การต้อง กลับไปทำงานหลังคลอด อาจเป็นสิ่งที่ทำให้คุณแม่รู้สึกผิดและแย่เอามาก ๆ ที่ต้องฝากลูกให้คนอื่นดูแล แต่ด้วยเกียรติของพ่อแม่ที่ทำงานเพื่อวันพรุ่งนี้และเพื่อลูก ขอให้หยุดคิดสักวินาทีและให้กำลังตัวเองเพื่อที่จะตัดสินใจในสิ่งที่รู้ดีอยู่แล้วว่ามันเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับครอบครัว

แทนที่จะรู้สึกท้อแท้กับความรู้สึกผิด ขอให้ชื่นชมกับเหตุผลใน 8 ข้อนี้ ที่จะช่วยให้แม่มีความรู้สึกอัศจรรย์กับการที่ต้อง กลับไปทำงานหลังคลอด

#1 คุณไม่จะเป็นต้องเป็น “แม่” ตลอดเวลา

กลับไปทำงานหลังคลอด

ให้รู้ว่าผู้หญิงเราเป็นได้มากกว่า “แม่” นอกจากต้องเลี้ยงลูก เมื่อคุณแม่ต้องออกจากบ้านไปทำงานในทุก ๆวัน และเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้หญิงทำงานและยังมีโอกาสได้พักบ้างในช่วงกลางวัน

#2 คุณจะแปลกใจว่าเมื่อต้องกลับไปทำงานอีกครั้งมันไม่ทำให้เครียดเลย

หนึ่งในความกลัวอันยิ่งใหญ่ของคุณแม่ที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านคือการกลัวว่ามันจะเป็นการเพิ่มความเครียดเข้าไปอีก เมื่อต้องทำงานเต็มเวลาและการเป็นแม่ที่ต้องเลี้ยงดูลูก แต่จากการศึกษาจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า ไม่เพียงแม่ที่ออกไปทำงานนอกบ้านนั้นจะมีความสุขกว่าแม่ที่เป็นแม่บ้านอยู่กับบ้าน แต่ยังแสดงให้เห็นว่ามันไม่มีความเครียดทางจิตเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ในทางกลับกันนั้นคุณแม่ที่ไม่ได้ออกไปทำงานและเลี้ยงลูกอยู่กับบ้านเพียงอย่างเดียว กลับมีปัญหาในการเผชิญกับความเครียดที่มากขึ้นและมีอัตราตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าที่มากขึ้น

#3 การใช้เวลาอยู่กับลูกมากอาจไม่ดีเท่ากับการใช้เวลาที่มีน้อยแต่มีคุณภาพก็ได้นะ

Advertisement

คุณแม่ที่เลี้ยงลูกอยู่บ้านเต็มเวลานั้นได้ใช้เวลามากมายหลายชั่วโมงกับลูกในทุก ๆ วัน แต่มันกลับกลายเป็นว่าปริมาณเวลาที่ใช้ไปนั้นไม่ได้มีความหมายเลยเมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพจากเวลาที่ได้ใช้ไป จากการศึกษาในระดับใหญ่เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้แสดงให้เห็นว่า แท้จริงแล้วปริมาณของเวลาที่พ่อแม่ได้ใช้กับลูกนั้นมันไม่มีผลกับพัฒนาการของเด็ก ๆ แต่อาจจะส่งผลเสียมากกว่าผลดีด้วยซ้ำ เมื่อใช้เวลาไปอย่างไม่มีความหมายและพ่อแม่ก็ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง

เรื่องดี ๆ ที่จะทำให้แม่รู้สึกว่าการกลับไปทำงานไม่ใช่เรื่องผิด! อ่านหน้าถัดไปเลย >>

#4 เมื่อแม่ต้องกลับไปทำงาน ก็ทำให้คุณพ่อมาแบ่งเบาภาระได้มากขึ้น

กลับไปทำงานหลังคลอด

ในสังคมยุคใหม่ที่ไม่ควรจะมองข้ามบทบาทของพ่อว่ามันแตกต่างไปจากบทบาทของแม่ แต่ก็ยังคงมีสำหรับครอบครัวที่คุณพ่อนั้นต้องเป็นฝ่ายออกไปทำงานหาเงินนอกบ้านในขณะที่คุณแม่เป็นแม่บ้านอยู่กับบ้าน ความรับผิดชอบในการเลี้ยงดูลูกนั้นจึงไม่ถูกแบ่งแยกอย่างเสมอภาค แต่เมื่อพ่อแม่ต้องออกไปทำงานทั้งคู่ ก็ช่วยให้ทั้งสองทำงานเป็นทีม โดยที่ผลัดกันช่วยดูแลลูกในส่วนที่เท่า ๆ กันได้

#5 เมื่อฝากลูกไว้กับสถานรับเลี้ยงเด็กให้คุณมองว่าเขาเป็นมืออาชีพ

เมื่อคุณตัดสินใจให้ลูกเข้าเนอสเซอรี่ ให้คุณคิดไว้ว่าสิ่งที่ทำให้นั้นจะเป็นการช่วยสอนลูก รวมถึงประโยชน์อื่น ๆ เช่น พัฒนาการที่ดีตามมา การเลิกใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปได้ ใช้มือจับช้อนส้อมเป็น การรู้จักเข้าสังคมของลูก ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เนอสเซอรี่จะเป็นผู้ช่วยสอนลูกคุณได้นอกเหนือจากที่พ่อแม่สอนด้วย

#6 ใช้จ่ายรายได้จากน้ำพักน้ำแรงของตัวเองไม่ง้อสามี

แน่นอนว่าเมื่อคุณแม่มีเงินเดือนเป็นของตัวเอง คุณก็ยังคงมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แต่ก็จะไม่หงุดหงิดเลยถ้าอยากจะได้ชุดดี ๆ ซักชุดหรือ 3 ชุด โดยควักเงินในกระเป๋าจ่ายด้วยเงินของตัวเอง

#7 คุณจะเป็นแบบอย่างที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกได้

กลับไปทำงานหลังคลอด

จากการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าคุณแม่ที่ออกไปทำงานนั้นจะส่งผลในทางที่ดีกับอาชีพการงานและการเงินของลูก ๆ ในอนาคตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับลูกสาวที่คุณแม่เป็น working mom จบการศึกษาสูง จะมีโอกาสที่ได้รับการจ้างงานและได้อยู่ในตำแหน่งของการบริหารและมีรายได้สูง ดังนั้นแค่การออกไปทำงานคุณแม่ก็พูดได้ว่าเป็นการช่วยให้ลูก ๆ ได้ค้นพบกับความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตอนาคตของพวกเขาได้

#8 ความเป็นบ้านที่สมบูรณ์ไม่ใช่อยู่ที่การมีบ้านที่เรียบร้อยอย่างเดียวหรอก

เมื่อคุณแม่ต้องกลับออกไปทำงานตลอดสัปดาห์ มันคงเป็นไปไม่ได้ที่จะต้องคอยถูพื้นและทำความสะอาด จัดเก็บบ้านให้เรียบร้อยสมบูรณ์ในทุกวัน แน่นอนว่าทุกสิ่งไม่มีอะไรที่สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์หรอก แม้กระทั่งบ้าน แต่คุณสามารถเติมเต็มสิ่งเรานี้ให้ดีได้ด้วยการใช้วันหยุดที่คุณมีทำมัน แม้แต้ที่จะใช้อยู่ร่วมกับลูกด้วย


Credit content : www.popsugar.com.au

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

12 วิธีสานสายสัมพันธ์ ฉบับพ่อแม่ทำงาน

13 วิธีการเลี้ยงดูลูกให้สมองทำงานดีแบบที่พ่อแม่สร้างได้

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • 8 เหตุผลดีๆ ที่ช่วยแม่ “ไม่รู้สึกผิด” เมื่อต้องกลับไปทำงานหลังคลอด
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว