X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

4 เคล็ดลับ จัดการอย่างไรกับลูกนิสัยเหวี่ยงวีน

บทความ 3 นาที
4 เคล็ดลับ จัดการอย่างไรกับลูกนิสัยเหวี่ยงวีน

“นิสัยลูกเหวี่ยง” อารมณ์ประมาณแบบนี้คุณแม่จะได้พบแน่ๆ กับลูกๆ ที่เริ่มเข้าสู่วัย 2 ขวบ ซึ่งเป็นวัยที่เด็กจะค้นพบความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น มีความรู้สึกนึกคิดที่เป็นการใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล ซึ่งหากคุณแม่เจอลูกเหวี่ยงก็สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องปกติของเด็กวัย 2-3 ขวบ เพียงแต่คุณแม่ไม่ควรปล่อยอาการแบบนี้ให้เกิดกับลูกบ่อยครั้ง หากลูกมีอาการเหวี่ยงวีนต้องจัดการอย่างไรดี

จัดการอย่างไรเมื่อลูกไม่ยอมไหว้ผู้ใหญ่
ก่อนลูก 2 ขวบ สอนให้ทำอะไรก็ว่านอนสอนง่าย มือไม้อ่อน มีลูกอ้อน แต่เมื่อลูกโตขึ้นมาเพียงไม่กี่เดือน ความเป็นตัวตนของเจ้าตัวน้อยก็เริ่มมีมากขึ้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติส่วนนี้ของลูก หากลูกเริ่มปฏิเสธในสิ่งที่เคยทำ เช่น การไหว้ผู้ใหญ่ ญาติพี่น้อง หรือแม้กระทั่งเพื่อนบ้าน ในจุดนี้หากลูกไม่ยกมือไหว้ คุณแม่ไม่ควรฝืนใจไปบังคับลูกในตอนนั้น แต่ใช้เวลานอกเหนือคอยพูดกระตุ้นให้ลูกเข้าใจ หรือเตรียมพร้อมก่อนหน้าที่จะได้เจอผู้ใหญ่ และวิธีที่ดีที่สุดคือ คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นตัวอย่างในการยกมือไหว้ผู้ใหญ่ให้ลูกเห็น เพื่อจะทำให้ลูกได้ซึมซับและเข้าใจมากขึ้น

จัดการอย่างไรเมื่อลูกดื้อไม่ยอมเชื่อฟัง
ไม่ว่าจะเป็นในสถานการณ์ใดก็แล้วแต่ เช่น ลูกดื้อไม่ยอมเก็บของ ไม่ยอมเข้านอน ไม่ยอมอาบน้ำ ฯลฯ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือการจัดการกับลูกทันที ด้วยการอบรมหรือการหาวิธีลงโทษที่เหมาะสำหรับลูกในวัยนี้ เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่ลูกกระทำอยู่ในตอนนี้มันไม่ถูกต้อง เช่น เมื่อลูกวัย 4 ขวบไม่ยอมกินข้าว ลองใช้บทลงโทษด้วยการงดอาหารมื้อนั้น หรือเมื่อลูกวัย 6 ขวบไม่ยอมเก็บของเล่น ให้ลองทำการยึดของเล่น ทั้งนี้เมื่อลูกถูกทำโทษแล้ว หลังจากอารมณ์ลูกเหวี่ยงวีนสงบลง คุณพ่อคุณแม่ควรมีเหตุผลที่จะสอนลูกในการกระทำดังกล่าว เพราะสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อการสร้างวินัยให้กับลูกในอนาคตได้
เด็กดื้อไม่เชื่อฟัง-พฤติกรรมไม่ดีต้องหยุด

จัดการอย่างไรเมื่อลูกติดเกมหรือแท็บเล็ต
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคดิจิตอลมีแอพลิเคชั่นที่เหมาะสำหรับเด็กๆ เกิดขึ้นมากมาย การให้ลูกได้เล่นเกมหรือการใช้แท็บเล็ตก็เสมือนเป็นของเล่นลูกชิ้นหนึ่งในยุคนี้ และถ้าลูกเริ่มติดเกมหรือแท็บเล็ตไม่ยอมเลิกเล่น วิธีจัดการคือ

– พ่อแม่ควรจะหากิจกรรมอื่นๆ ให้ลูกได้ทำเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น การพาลูกไปเล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมสำหรับเด็กนอกบ้าน
– การกำหนดเวลาให้ลูกเล่น และสร้างเงื่อนไขให้ชัดเจน เช่น ให้ลูกได้เล่น 30 นาที หากลูกไม่ยอมเลิกเล่นเกินไป 10 นาที คราวหน้าจะลดเวลาในการเล่นลงอีก 10 นาที

อย่างไรก็ตาม หากลูกงอแงไม่ยอมเลิก คุณควรจะพูดกับลูกดีๆ และไม่ควรใช้กำลังแย่งของออกมาจากมือลูก ที่สำคัญหากคุณพ่อคุณไม่อยากให้ลูกติดเกมควรจะมีเวลาและหากิจกรรมทำร่วมกับลูก
สัญญาณอันตรายที่บอกว่า-“ลูกติดเกม”

จัดการอย่างไรเมื่อลูกเหวี่ยงไม่อยากไปโรงเรียน
เมื่อถึงเวลาที่ลูกเข้าโรงเรียน การไปโรงเรียนจะทำให้เด็กๆ รู้สึกกังวลไม่น้อย อาจจะเกิดงอแงเหวี่ยงวีนไม่อยากไปโรงเรียนให้พ่อแม่ได้ปวดหัวกลุ้มใจในช่วงแรกๆ ได้ สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ เข้าใจและยอมรับความกลัวของลูกน้อย และพยายามสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูก บอกถึงผลดีของการไปโรงเรียน พ่อแม่ไม่ควรต่อต้านลูกด้วยการขู่บังคับยัดเหยียดลูกให้ไปโรงเรียนจะไม่เป็นผลดีต่อความอยากไปโรงเรียนของลูกในวันต่อๆ ไป สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการใช้คำพูดที่ดีๆ และบอกลูกไปตรงๆ ว่าลูกต้องอยู่โรงเรียนนานเท่าไหร่ และเมื่อถึงเวลาพ่อแม่จะกลับมารับลูกแน่นอน

#########################

บทความจากพันธมิตร
ทำขนมไม่เป็น ไม่รู้จะลองเรียนที่ไหน ABC Cooking Studio คือคำตอบ
ทำขนมไม่เป็น ไม่รู้จะลองเรียนที่ไหน ABC Cooking Studio คือคำตอบ
เปิดใจนักแสดงไทย คุณอุ้ย สุธิตา ทำไมถึงเลือกใช้บริการ German Kitchen Design
เปิดใจนักแสดงไทย คุณอุ้ย สุธิตา ทำไมถึงเลือกใช้บริการ German Kitchen Design
Unique Ideas To Make Your Kitchen Look Elegant, Stylish and Appealing
Unique Ideas To Make Your Kitchen Look Elegant, Stylish and Appealing
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • 4 เคล็ดลับ จัดการอย่างไรกับลูกนิสัยเหวี่ยงวีน
แชร์ :
  • อินดี้วัยเตาะแตะชอบหยิก กัด จัดการอย่างไรดี

    อินดี้วัยเตาะแตะชอบหยิก กัด จัดการอย่างไรดี

  • เคล็ดลับเล่นสนุกกับลูกน้อย

    เคล็ดลับเล่นสนุกกับลูกน้อย

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • อินดี้วัยเตาะแตะชอบหยิก กัด จัดการอย่างไรดี

    อินดี้วัยเตาะแตะชอบหยิก กัด จัดการอย่างไรดี

  • เคล็ดลับเล่นสนุกกับลูกน้อย

    เคล็ดลับเล่นสนุกกับลูกน้อย

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว