X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

4 สถานที่ที่ ไม่ควรปล่อยให้ลูกนอนลำพัง

บทความ 5 นาที
4 สถานที่ที่ ไม่ควรปล่อยให้ลูกนอนลำพัง

เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอุบัติเหตุและการสูญเสีย และนี่คือ 4 สถานที่ที่ไม่ควรปล่อยให้ลูกนอนลำพัง

4 สถานที่ที่ ไม่ควรปล่อยให้ลูกนอนลำพัง

คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายคะ เพื่อให้ลูกได้นอนหลับสบายให้มากที่สุด จึงไม่แปลกที่คุณพ่อคุณแม่อย่างเราจะต้องสรรหาที่นอน หรือสถานที่ปลอดภัยไว้ให้ลูกรักของเราได้นอน และเวลาที่ลูกหลับแล้ว ก็เป็นช่วงเวลาเดียวที่เราจะสามารถจัดการงานบ้าน หรือธุระต่าง ๆ ที่เราต้องทำได้ แต่เชื่อไหมคะว่า ไม่ใช่ทุกสถานที่หรอก ที่เราจะสามารถปล่อยลูกไว้นอนลำพังได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 4 สถานที่นี้ เป็นสถานที่ที่ ไม่ควรปล่อยให้ลูกนอนลำพัง

ไม่ควรปล่อยให้ลูกนอนลำพัง

สถานที่ที่ ไม่ควรปล่อยให้ลูกนอนลำพัง

1. เก้าอี้หัดนั่ง จริงอยู่ค่ะ ที่เก้าอี้หัดนั่งนั้นมีประโยชน์สำหรับตัวเราเองและลูก เพราะลูกจะได้สามารถนั่งเล่นหรือนั่งดูอะไรก็ได้ โดยที่เราไม่ต้องอุ้มให้นั่งตัก ที่สำคัญดีกับคุณพ่อคุณแม่ ที่จะได้ทำอะไรได้สะดวก และบ่อยครั้ง ที่เรามักจะเห็นลูก ๆ มักเผลอหลับบนเก้าอี้นี้ด้วย … ถ้าหากเราได้อ่านคู่มือของเก้าอี้ที่ซื้อมา เราจะรู้เลยว่า จะมีการเตือนไม่ให้ทารกนอนหลับบนเก้าอี้นี้ เพราะอาจจะเกิดอันตรายกับทารกได้

2. คาร์ซีท เวลาเดินทางไปไหน ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล อาจจะมีบ้างที่ลูก ๆ ของเรามักจะเผลอหลับบนคาร์ซีทเอาเสียง่าย ๆ คุณพ่อคุณแม่ อาจจะกำลังสงสัยว่า แล้วจะอันตรายอย่างไร ในเมื่อลูกก็นอนอยู่บนคาร์ซีทดี ๆ … จริง ๆ แล้วลูก ๆ นอนหลับบนคาร์ซีทได้นะคะ แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรที่จะปล่อยให้เขานอนหลับลำพัง หรือนอนหลับโดยที่ปราศจากการดูแลอย่างใกล้ชิดค่ะ เพราะสายรัด อาจจะไปปิดบังอากาศของลูกก็เป็นได้ค่ะ

3. โซฟาหรือเตียงนอน แน่นอนว่า โซฟานุ่ม ๆ กับเตียงนอนนิ่ม ๆ นั้น เป็นสถานที่ ๆ ลูก ๆ น่าจะนอนได้อย่างสบายที่สุด แต่อย่าลืมนะคะว่า เมื่อลูก ๆ เริ่มเคลื่อนไหวได้ ลูก ๆ อาจจะเผลอนอนดิ้น หรือลุกขึ้นคลานหาคุณพ่อคุณแม่ จนเผลอตกลงมาจนเป็นอันตรายก็เป็นได้ นอกจากนี้ ลูกอาจจะเผลอดิ้นแล้วตกลงไปที่มุมหรือขอบเตียงหรือโซฟาก็ได้ด้วยเช่นกันนะคะ

Advertisement

4. เตียงเขย่า คุณพ่อคุณแม่นึกถึงเตียงเขย่าที่มีของเล่นเด็ก ๆ หรือเพลงแล้วมีไว้ให้ลูกนอนเล่น และสามารถปรับระดับของการเขย่าได้ไหมคะ ถ้านึกออกละก็ อันนั้นละค่ะ แนะนำว่า หากลูกเล่นเพลิน ๆ แล้วเผลอหลับไป ให้คุณพ่อคุณแม่ อุ้มลูกออกจากเตียงเขย่านี้ และพาไปนอนในพื้นที่ราบจะดีที่สุดค่ะ

ไม่ควรปล่อยให้ลูกนอนลำพัง

จัดเตียงนอนให้ลูกนอนสบาย

แล้วนอนอย่างไรจึงปลอดภัยกับลูก

บทความ : ทารกนอนอย่างไรให้ปลอดภัย ท่านอนทารก เด็กแรกเกิด–4 เดือน วิธีจัดเตียงนอนที่ปลอดภัย

วิธีจัดเตียงนอนที่ปลอดภัย

เด็กแรกเกิด ถึง 4 เดือน พ่อแม่ควรจัดท่านอนที่เหมาะสม จัดเตียงนอนที่ปลอดภัย ดังนี้

  • ทารกต้องนอนที่นอนที่ปลอดภัย คือแยกที่นอนมาอยู่ด้านข้างผู้ใหญ่ด้วยระยะห่างประมาณเอื้อมมือถึง
  • ทารกต้องไม่นอนระหว่างผู้ใหญ่หรือติดชิดกับผู้ใหญ่ เพราะอาจเผลอนอนเบียดหรือทับเด็กจนหายใจไม่ออก
  • ทารกต้องนอนที่นอนเด็ก สูงประมาณ 2 ฟุต พ่อแม่ต้องระวังไม่ให้ทารกโดนผ้าห่ม หมอนของพ่อแม่ทับเด็กโดยไม่รู้ตัว
  • ทารกต้องนอนที่นอนไม่นิ่มเกินไป ระวังผ้าห่ม หมอน มุ้ง อาจปิดทับจมูกทำให้หายใจไม่สะดวกหรืออุดกลั้น

หากจำเป็นต้องนอนด้วยเตียงนอน ควรมีที่กันตก รั้วขอบของเตียงต้องมีระยะห่างของซี่รั้วน้อยกว่า 15 เซนติเมตร และมีที่นอนที่พอดีกับเตียง ไม่มีช่องห่างระหว่างที่นอนกับขอบเพราะอาจเกิดการติดค้างของศีรษะที่ลอดผ่านซี่ราวหรือลอดผ่านรูช่องบนผนังรั้วรอบเตียง และการกดทับใบหน้า จมูก ในช่องห่างระหว่างเบาะที่นอนกับราวกันตก

ท่านอนที่เหมาะสมสำหรับทารก

  • ท่านอนที่เหมาะสมสำหรับเด็กคือนอนด้วยท่านอนหงาย ไม่ใช่นอนคว่ำ เพราะอาจอุดกลั้นทางเดินหายใจ
  • หากต้องการให้เด็กหัวทุย ก็จัดท่านอนตะแคงซ้ายและขวาสลับกันกันไป โดยให้เด็กนอนกอดหมอนข้างเพื่อป้องกันการคว่ำหน้า
  • การจัดท่านอนของเด็กนั้นต้องดูช่วงอายุ และลองเปลี่ยนท่านอนให้เรื่อย ๆ เพื่อหาท่านอนที่เด็กนอนหลับสบายที่สุด

ทารกนอนอย่างไรให้ปลอดภัยแต่ละช่วงวัย

  • เด็กแรกเกิด–4 เดือน ควรนอนตะแคงหรือนอนหงาย เป็นท่าที่เหมาะกับพัฒนาการของกล้ามเนื้อคอที่ยังไม่ค่อยแข็งแรง ทำได้เพียงหันซ้ายและขวา สามารถมองเห็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวและฝึกการมองได้
  • ทารกวัย 5–6 เดือน สามารถนอนคว่ำได้ และเด็กยกคอได้แล้วเพราะกระดูกคอเริ่มแข็ง แต่ยังต้องเฝ้าดูอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา เพราะอาจเกิดการอุดกลั้นการหายใจได้
  • ทารกวัย 7-12 เดือน สามารถนอนได้ทุกท่าเพราะเด็กพลิกตัวด้วยตนเองได้แล้ว ที่สำคัญพ่อแม่ผู้ปกครองต้องสังเกตตัวเด็กและสภาพสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กอยู่เสมอ เช่น บนที่นอนของเด็กจะต้องไม่มีอะไรที่จะมาปิดหน้าได้ระหว่างที่นอนหลับอยู่ โดยเฉพาะเด็กที่มีนิสัยชอบคว้าสิ่งของรอบตัว
ไม่ควรปล่อยให้ลูกนอนลำพัง

ท่านอนที่ปลอดภัย

วิธีจัดที่นอนลูกวัย 1 ปีขึ้นไป

แพทย์หญิงนนธนวนัณท์ สุนทรา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กล่าวว่า เด็กอายุเกิน 1 ปี ที่เริ่มยืนได้ ควรจัดให้นอนเตียงเด็กอย่างถูกวิธีคือ

  1. เตียงเด็กต้องมีราวกันตกที่มีซี่ราวแนวตั้งตรง ไม่ใช่แนวนอน และห่างกันไม่เกิน 15 เซนติเมตร
  2. ราวกันตกจะต้องมีตัวยึดแน่น เด็กไม่สามารถเหนี่ยวให้เคลื่อนไหวได้เอง ไม่อ้า ไม่เผยอ จนเกิดช่องห่างจากเตียงจนลำตัวเด็กลอดตกได้
  3. เบาะที่นอนต้องพอดีกับเตียงและไม่มีช่องว่างระหว่างเบาะกับราวกันตก
  4. มุมเสาทั้ง 4 มุมต้องเรียบ มีส่วนนูนได้ไม่เกิน 1.5 มิลลิเมตร
  5. ผนังเตียงด้านศีรษะและเท้าต้องไม่มีการตัดตกแต่งให้เกิดร่องและรู
  6. จากขอบบนของเบาะที่นอนถึงราวกันตกด้านบนต้องมีความสูงไม่ต่ำกว่า 65 เซนติเมตร
  7. เด็กที่มีความสูงเกินกว่า 89 เซนติเมตร มีความเสี่ยงต่อการปีนราวกันตกและตกจากที่สูงได้

พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องระวังหากพบว่าเด็กแน่นิ่ง ตัวซีดหรือเขียวคล้ำ ให้จับเด็กนอนหงาย พยายามปลุก เรียก สังเกตการหายใจโดยดูการเคลื่อนไหวของหน้าอก หน้าท้อง ถ้าเรียกไม่รู้ตัวลักษณะเหมือนไม่หายใจ ให้กดทรวงอกบริเวณ สันอกทันที สลับกับการเป่าปากหรือเป่าจมูก-ปากเด็กในเวลาเดียวกันและรีบตามหน่วยฉุกเฉิน 1669 เพื่อนำส่งโรงพยาบาล

 

ที่มา : Belly Belly

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ข้อดีข้อเสียของการให้ลูกนอนกับพ่อแม่

ปูเบาะลมให้ลูกนอนเล่นในรถอันตรายถึงชีวิต

ทายนิสัยลูกน้อยจากท่านอน คนไหนใจดี คนไหนใจร้อนท่านอนบอกได้

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • 4 สถานที่ที่ ไม่ควรปล่อยให้ลูกนอนลำพัง
แชร์ :
  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว