ปูเบาะลมให้ลูกนอนเล่นในรถอันตรายจริงหรอ? แม่ ๆ หรือผู้ปกครองคิดอย่างไรกันบ้างกับการปูเบาะลมให้ลูกเล่นในรถ เรามาดูกันว่าเบาะลม หรือ เบาะลมนอน นั้นมีข้อดี และข้อเสียอย่างไรบ้าง
เตือนพ่อแม่ที่นำ เบาะลม มาใช้ผิดวัตถุประสงค์โดยนำมาปูท้ายรถให้ลูกนั่งเล่นนอนเล่น นั้นถือว่าอันตรายมากเพราะเด็กจะไม่มีที่ยึดจับ หากรถเกิดอุบัติเหตุหรือเบรกกระทันหัน ตัวเด็กอาจกระแทกกับเบาะหน้ารถ หรือพุ่งไปกระแทกกับคอนโซลรถได้ อาจคอหักหรือช้ำในถึงตายได้เลยทีเดียว
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัย และป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทย์ศาสตร์ รามาธิบดี ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้เบาะลมในรถดังนี้
เบาะลม เบาะลมนอน ในรถอันตรายอย่างไร?
ไม่ใช่แค่เบาะลมที่อันตราย แต่การให้เด็กนั่งรถบนเบาะธรรมดา หรือว่าคาดเข็มขัดนิรภัยของรถยนต์ก็ยังไม่มีความปลอดภัยเลยแม้แต่น้อย เพราะเด็กเสียชีวิตจากรถยนต์ส่วนบุคคล ร้อยละ 100-140 คนต่อปี ส่วนใหญ่จะเห็นว่ารถยนต์มีโครงสร้างที่แข็งแรง แต่หากเกิดอุบัติเหตขึ้นมา ผู้โดยสารจะไม่มีที่ยึดเหนี่ยวร่างกายเอาไว้ถึงแม้โครงสร้างรถยนต์จะแข็งแรงก็ไม่สามารถป้องกันได้ ผู้โดยสารก็จะกระเด็นไปตามความเร็วของรถยนต์ที่วิ่งมา ก่อนที่จะชนเปลี่ยนความเร็วเป็น 0 เช่นวิ่งมาความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เด็กก็จะกระเด็นในความเร็วเท่ากัน
อันตรายที่สำคัญ คือการยึดเด็กให้อยู่กับที่แล้วใช้โครงสร้างที่แข็งแรงของรถยนต์ปกป้องไว้ การยึดเด็กโดยการใช้เข็มขัดนิรภัยนั้นจะต้องอายุมากกว่า 9 ปี ขึ้นไป ถ้าต่ำกว่านั้นเข็มขัดนิรภัยจะไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก เพราะอย่างนั้นเด็กจึงใช้ Car Seat แทนที่นั่งนิรภัย เบาะลมที่ปูลงไปซึ่งมันไม่มีความปลอดภัยเอาเสียเลย เบาะลมเป็นความสะดวกที่เป็นอันตรายต้องระวังเป็นอย่างมาก
เบาะลมในรถแคป ปูเบาะลมแล้วขับช้า ๆ เป็นอันตรายไหม
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มองว่า เบาะลมทำให้ลูกนั่งสบายกว่า และลูกได้นอนคุณ พ่อคุณแม่ก็ขับรถไม่เร็ว ในกรณีนี้ รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าวว่าความสะดวกสบายนี้ เราเห็นมัน เราเข้าใจอยู่แล้วว่าการใช้เบาะลมเด็กก็สามารถปีนไปมาได้ในรถได้ เด็กก็มีความสนุกสนานของเด็กอยู่แล้ว แต่ว่าเบาะลมที่ปูลงไปนั้นไม่มีความปลอดภัยเอาเลยซักนิด เราจะสังเกตได้ว่าแม้แต่คนขับ เรายังออกกฎหมายให้ใช้เข็มขัดนิรภัย ความปลอดภัยผู้นั่งข้างคนขับ แต่ว่าบ้านเราไม่ออกกฎหมายเกี่ยวกับที่นั่งนิรภัยเลย ดังนั้นกฎหมายเข็มขัดนิรภัยไม่มีประโยชน์สำหรับเด็ก เพราะเด็กไม่สามารถใช้เข็มขัดของรถยนต์ได้ เพราะอย่างนั้น ความสะดวกสบายสนุกสนานในรถยนต์ของเด็ก จะไม่สมดุลกับความปลอดภัย อยากให้พ่อแม่คำนึงถึงความปลอดภัยในการเดินทางโดยรถยนต์มากกว่านี้
ประโยนช์ของเบาะลม เบาะลมนอน
ดูเผิน ๆ แล้วก็เหมือนกับที่นอนในรถทั่วไปนั้นแหละ แต่ทราบหรือไม่ว่า ที่นอนปูในรถมันมีประโยชน์อย่างมาก สำหรับผู้ป่วยที่นอนติดเตียงมานาน มักจะเกิดปัญหานึงตามมาคือ แผลกดทับ ซึ่งที่นอนลมรังผึ้ง กับที่นอนลมแบลอน ช่วยได้เป็นอย่างดี และช่วยให้ผู้ป่วยนอนสบายขึ้น ถือว่าเป็นที่นอนป้องกันแผลกดทับ
1. ป้องกันแผลกดทับ
ที่นอนลมเป็นคุณสมบัติพิเศษที่ต่างจากที่นอนทั่วไป ถูกออกแบบให้เกิดความสมดุลเวลานอน ผิวหนังจะไม่ถูกกดทับเฉพาะจุด ด้วยความนุ่มของที่นอน และความยืดหยุ่น ทำให้สามารถป้องกันแผลกดทับได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่พลิกตัวไปมาลำบาก ก็ช่วยให้นอนสบายมากขึ้น ไม่เจ็บและทรมารจากแผลกดทับ
2. ผู้ป่วยนอนหลับสบายมากขึ้น
ปกติร่างกายของคนเรา จะมีการระบายอากาศ หรือถ่ายเทอากาศความร้อนออกจากร่างกายสม่ำเสมอ ออกจากผิวหนัง เมื่อผิวหนังของเราถูกกดทับ หรือระบายอากาศออกไปไม่ได้ ก็จะเกิดอาการแผลกดทับ ซึ่งที่นอนลมสามารถช่วยให้ถ่ายเทอากาศได้ตลอดเวลา ทำให้คนไข้หรือผู้ป่วยติดเตียง นอนหลับสบายมากขึ้น
3. ใช้งานง่าย
ที่นอนลมชนิดลอน : พื้นที่นอนลมประกอบด้วยลูกลม 20 ลูกวางเรียงกันโดยมีสายรัดส่วนหัวและส่วนท้ายแต่ละลอน ทำจากไนลอนพีวีซี รองรับน้ำหนักได้ 140-146 กก. ใช้ไฟ 220 โวลต์ ใช้เวลาอัดลม 15-20 นาที
4. หาซื้อได้ง่ายตามร้านทั่วไป
ปัจจุบัน ที่นอนลมรังผึ้ง ที่นอนลมแบลอน มีจำหน่ายตามร้านขายอุปกรณ์การแพทย์ทั่วไป สามารถหาซื้อข้างบ้านได้สะดวก แต่ควรเลือกร้านที่ขายอุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐานเท่านั้น ไม่ควรซื้อในราคาที่ต่ำเกินจริง เพราะอาจจะได้สินค้าที่เสียหายได้ง่าย เพราะไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน เพราะฉะนั้นควรเลือกที่นอนลมที่มีตรามาตรฐานรับรองเท่านั้น
5. เคลื่อนย้ายและดูแลรักษาได้ง่าย
เป็นที่นอนลมที่มีน้ำมันเบามาก รองรับ น้ำหนัก ได้กว่าร้อยกิโลกรัม สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกเพื่อ เปลี่ยนบรรยากาศ ให้กับ ผู้ป่วยติดเตียง และยังดูแลรักษาได้ง่าย
ให้ลูกนั่งคาร์ซีทปลอดภัยที่สุด
การโดยสารรถยนต์ที่ปลอดภัยสำหรับเด็กนั้น เด็กควรนั่งในคาร์ซีทโดยเลือกให้เหมาะสมกับอายุของเด็กแล้วก็ของรถยนต์ โดยแบ่งคร่าว ๆ มี 3 อายุ ของเด็กทารก เด็กอายุ 2-5 ขวบ เด็ก 5 ขวบขึ้นไป โดยวิธีการใช้ที่นั่งนิรภัย ควรจะใช้ที่เบาะหลัง หากนั่งหน้าจะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่าการนั่งเบาะหลัง กว่า 5 เท่าตัว เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปี ควรนั่งเบาะหลัง เด็กที่อายุต่ำกว่า 9 ปี ควรใช้ที่นั่งนิรภัย แต่ถ้าสูงกว่า 9 ปี ก็อาจจะใช้เข็มขัดนิรภัยได้แล้ว แต่ควรนั่งที่เบาะหลังอยู่ดี
คาร์ซีทมีประโยชน์อยางไร ?
เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือเรียกกันในภาษาอังกฤษว่า (Car Seat / คาร์ซีต) ที่คุณแม่หรือผู้ปกครองหลาย ๆ ท่านอาจจะละเลยเรื่องนี้ไป แต่จริง ๆ แล้ว อุปกรณ์นี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับคุณแม่ หรือผู้ปกครองที่ยังมีลูกน้อย และบางครั้งอาจจะต้องเดินทางไกล ๆ หรือเวลาไปไหนมาไหนโดยใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเป็นหลัก เพื่อป้องกันอุบัติเหตของลูกน้อยตลอดการเดินทาง หากเกิดอุบัติเหตขึ้นมาจะช่วยป้องกันความปลอดภัยในตัวลูกน้อยเอง และช่วยลดระดับความรุนแรงหากเกิดอุบัติเหตขึ้นอีกด้วย และยังลดการบาดเจ็บของลูกน้อยได้ด้วยนั้นเอง
อย่างที่เราพอทราบกันดีว่าภายในรถยนต์ ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรับรองร่างกายของเด็กน้อย สำหรับเข็มขัดนิรภัยทั่วไปนั้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีส่วนสูงโดยประมาณ 140 เซนติเมตรขึ้นไป ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตขึ้นมา เด็กน้อยอาจได้รับการบาดเจ็บมากขึ้นจากอุปกรณ์ที่ไม่พอดีตัวของเด็กเอง โดยศรีษะของเด็กนั้นมีขนาดใหญ่โดยประมาณร้อยละ 60 ของร่างกาย เมื่อเกิดอุบัติเหตแล้วอาจทำให้ กระดูกต้นคอหัก หรือเลือดคั่งในสมอง หรือเลือดออกในกระโหลกศรีษะ รวมถึง ปอด ตับและม้ามแตก ได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่เพราะเด็กมีร่างกายที่บอบบางมากกว่าผู้ใหญ่เป็นเท่าตัว
คาร์ซีตมีอายุการใช้งานเท่าไหร่กันนะ ?
โดยทั่วไปแล้วคาร์ซีตจะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ 6 ปีนับจากวันที่ผลิตออกมา เนื่องจากอุปกรณ์จะเริ่มเสื่อมสภาพ และไม่สามารถรับแรงกระแทกได้ดีเท่ากับคาร์ซีตที่พึ่งออกมาใหม่ ๆ อีกทั้งเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาด้วย หรือ การทดสอบที่ไม่ได้มาตฐานในปัจุบัน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย คุณพ่อและคุณแม่อาจจะต้องเช็ควันผลิตของคาร์ซีตด้วย และซื้อคาร์ซีตอันใหม่ให้กับลูกน้อย
คาร์ซีตเหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุเท่าไหร่ถึงเท่าไหร่ ?
คาร์ซีตเหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุตั่งแต่ 1 เดือนถึง 1 ปี และเป็นเด็กที่มีน้ำหนักตัวไม่เกิน 10 กิโลกรัม ควรใช้คาร์ชีตสำหรับเด็กทารก (Infant Seat) หรือคาร์ชีตสำหรับทารก และเด็กเล็ก (Convertible Seat) แบบที่นั้งหันหน้าไปทางด้านหลังของรถ และคาร์ซีตต้องปรับเอนไปกับที่นั้งได้ 45 องศา โดยประมาณ คาร์ซีตชนิดนี้จะช่วยป้องกันส่วน หัว ลำคอ และกระดูกสันหลังของทารกได้ดีมากยิ่งขึ้น
คาร์ชีตที่เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิด 5 ปี หรือน้ำหนักตัวที่ 10-28 กิโลกรัม ควรใช้คาร์ซีตที่นั่งหันหน้าไปทางด้านหน้าของตัวรถ เด็กที่มีน้ำหนักตัวที่ 15-18 กิโลกรัม ควรใช้คาร์ชีตแบบที่มีพนักพิงด้านหลัง เด็กที่มีน้ำหนักตัวที่ 22-25 กิโลกรัม หรือเด็กที่มีอายุมากกว่า 6 ปีขึ้นไป สามารถที่นั่งตัวตรงได้แล้ว ควรใช้คาร์ชีตแบบไม่มีพนักพิงหลัง
วิธีเลือกซื้อคาร์ซีตสำหรับเด็กแรกเกิด
การเลือกซื้อคาร์ซีตเด็กควรเลือกซื้อที่เหมาะแก่การใช้งาน และทารกต้องนั่งไม่อึดอัดจนเกินไปเพราะจะทำให้ทารกนั่งไม่สบายตัวหรือเลือกซื้อตามอายุของลูกน้อยตามที่เจ้าหน้าที่แนะนำ หรือตามน้ำหนักตัวของทารก เพราะจะทำให้เด็กได้นั่งอย่างสบายตัว
ที่มาจาก: www.nationtv.tv
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เตือนภัยคุณแม่! เชื้อโรคอันตรายกับเครื่องเล่นยอดฮิตของเด็ก ๆ
แพทย์ช่วยชีวิตเด็กคอหัก เพราะหันคาร์ซีทผิด
ลูกตายเพราะยาสีฟัน แม่ออกมาเตือนภัยแม่ๆหลังลูกตายเพราะยาสีฟัน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!