X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อัลตร้าซาวด์ 3 มิติ อันตรายไหม ? อัลตร้าซาวด์ช่วงไหนของการตั้งครรภ์ดี

บทความ 5 นาที
อัลตร้าซาวด์ 3 มิติ อันตรายไหม ? อัลตร้าซาวด์ช่วงไหนของการตั้งครรภ์ดี

อัลตร้าซาวด์ 3 มิติ เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เป็นการที่คุณพ่อคุณแม่จะได้เห็นทารกในครรภ์ครั้งแรกอย่างชัด ๆ แต่การอัลตร้าซาวด์ 3 มิตินั้นควรทำได้ตั้งแต่การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่เท่าไหร่ ต้องอัลตร้าซาวด์กี่ครั้ง ถึงจะทราบความผิดปกติของทารก และจะปลอดภัยกับทารกในครรภ์หรือไม่ ไปดูกันค่ะ

 

อัลตร้าซาวด์แต่ละสัปดาห์ของการตั้งครรภ์ เป็นอย่างไรบ้าง

ส่วนใหญ่แล้วการอัลตร้าซาวด์นั้นจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่ครั้ง โดยแพทย์จะทำการอัลตร้าซาวด์เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อาทิ ติดตามการเจริญเติบโต ตรวจจับความผิดปกติ คาดการณ์กำหนดคลอด ตรวจเช็กตำแหน่งของรก พิจารณาความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ และระบุเพศของทารก โดยในแต่ละสัปดาห์ที่มีการอัลตร้าซาวด์ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

อัลตร้าซาวด์ 3 มิติ 1

 

  • อัลตร้าซาวด์การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 6-8

การอัลตร้าซาวด์ครั้งแรกจะเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 6-8 ของการตั้งครรภ์ แต่ไม่ใช่ว่าคุณแม่ทุกคนจะได้ทำการสแกนนี้ แต่คุณแม่ที่จะได้รับการสแกนนั้นจะเป็นคุณแม่ที่มีความเสี่ยงสูงบางอย่าง อาทิ มีเลือดออก ปวดท้อง และมีประวัติมีทารกที่พิการตั้งแต่กำเนิด หรือการแท้งบุตร โดยในช่วงของสัปดาห์ที่ 6-8 นี้ คุณแม่จะสามารถมองเห็นการเต้นของหัวใจของทารกได้ นอกจากนี้ยังเป็นการกำหนดวันคลอด แจ้งจำนวนทารกในครรภ์ และตรวจเช็กว่าคุณแม่นั้นตั้งครรภ์นอกมดลูกหรือไม่อีกด้วย

 

  • อัลตร้าซาวด์การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 10-13

การอัลตร้าซาวด์ในสัปดาห์ที่ 10-13 ของการตั้งครรภ์นั้นเป็นการตรวจสอบเหมือนกับคุณแม่ที่ตรวจช่วงสัปดาห์ที่ 6-8 เหมือนกันเป็นการเก็บตกคุณแม่ที่ไม่ได้เข้ารับการตรวจ หรือเพิ่งทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ โดยในช่วงนี้แพทย์จะแจ้งเรื่องของกำหนดวันคลอด จำนวนทารก อัตราการเต้นของหัวใจทารก และทำการวัดขนาดของทารกในครรภ์ ซึ่งจะวัดตั้งแต่หัวจนถึงก้นกบ เพื่อให้ทราบถึงอายุครรภ์ที่แท้จริง และตรวจสอบพัฒนาการของทารกในครรภ์

 

  • อัลตร้าซาวด์การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 14-20

ในช่วงของการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 14-20 คุณแม่อาจได้รับการตรวจคัดกรองดาวน์ หรือ Nuchal Translucency (NT) เพื่อตรวจหากลุ่มอาการดาวน์ หัวใจบกพร่อง หรือความผิดปกติของโครโมโซมอื่น ๆ ของทารกในครรภ์ ส่วนใหญ่แล้วอาการเหล่านี้จะพบว่ามักจะเกิดขึ้นในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป หรือเคยมีประวัติครอบครัวที่มีความผิดปกติของทารกแต่กำเนิดมาก่อน ซึ่งในการอัลตร้าซาวด์ แพทย์จะวัดความหนาที่ด้านหลังคอของทารก หากคอที่มีความหนานั้นอาจบ่งบอกถึงความเสี่ยงที่ทารกจะพิการตั้งแต่กำเนิดที่เกิดจากดาวน์ซินโดรม และไทรโซมี 18 มากขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตรวจดาวน์ซินโดรม ต้องตรวจตอนอายุครรภ์เท่าไหร่? ตรวจได้ด้วยวิธีใดบ้าง?

 

อัลตร้าซาวด์ 3 มิติ 4

 

  • อัลตร้าซาวด์การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 18-20

การอัลตร้าซาวด์ในสัปดาห์ที่ 18-20 หรือในช่วงของไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์จะเป็นตรวจแบบละเอียด ซึ่งจะใช้เวลานานกว่าปกติประมาณ 20-45 นาที ซึ่งถือว่าเป็นการตรวจร่างกายที่ละเอียดมากที่สุดก่อนที่จะคลอดเลยก็ว่าได้ โดยแพทย์จะทำการตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ และมองหาความผิดปกติของสมอง หัวใจ ไต และตับของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ยังมีการนับจำนวนนิ้วมือและนิ้วเท้า เพื่อตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายนอก รวมถึงมีการตรวจหาความผิดปกติของรก และวัดระดับของน้ำคร่ำอีกด้วย และที่น่าตื่นเต้นที่สุดของการตรวจครั้งนี้คือคุณจะสามารถทราบเพศของทารกในครรภ์ได้แล้ว

 

  • อัลตร้าซาวด์ในไตรมาสสุดท้าย หรือตั้งแต่ 20 สัปดาห์ขึ้นไป

ช่วงสุดท้ายของการตั้งครรภ์ หรือการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3 นั้นคุณแม่บางท่านอาจไม่ต้องการอัลตร้าซาวด์ แต่ถ้าหากการตั้งครรภ์ของคุณแม่นั้นมีความเสี่ยงสูง อาทิ ความดันโลหิตสูง มีเลือดออก ระดับน้ำคร่ำต่ำ มีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด หรืออายุของคุณแม่มากกว่า 35 ปีขึ้นไป แพทย์อาจทำการอัลตร้าซาวด์ให้คุณแม่อีกครั้งเพื่อให้มั่นใจว่าทารกในครรภ์นั้นยังปลอดภัยดี และสามารถอยู่ในครรภ์ได้จนกว่าจะครบกำหนดคลอด ทั้งนี้หากคุณแม่ได้ทำการอัลตร้าซาวด์ในช่วงสัปดาห์ที่ 20 จะได้รับการแจ้งเรื่องของการปกคลุมของรกที่จะครอบคลุมปากมดลูกด้วย แต่ถ้าหากมีความปกติอย่างรกเกาะต่ำจะต้องทำการแก้ไขและติดตามผลกันต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง : หมอนัดตรวจครรภ์ เดือนละกี่ครั้ง จำเป็นต้องไปตรวจครรภ์ทุกครั้งไหม?

 

อัลตร้าซาวด์ 3 มิติ 2

 

อัลตร้าซาวด์ 3 มิติ คืออะไร?

การอัลตร้าซาวด์ 3 มิติ (Ultrasounds 3D) เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง และซอฟต์แวร์ของระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการรับสัญญาณเพื่อสร้างภาพเนื้อเยื่อ อวัยวะ และส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทารกที่อยู่ในครรภ์ ซึ่งการทำงานของการอัลตร้าซาวด์ 3 มิตินั้นจะเหมือนกันการอัลตร้าซาวด์ 2 มิติ แต่จะให้ภาพที่คมชัด และสามารถสังเกตเห็นร่างกายของทารกในครรภ์ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น สมจริงมากยิ่งขึ้นเหมือนกับได้เห็นทารกตัวจริง ๆ จากจอภาพที่แสดงผลการอัลตร้าซาวด์

 

ประโยชน์ของการ อัลตร้าซาวด์ 3 มิติ คืออะไร?

เนื่องจากภาพอัลตร้าซาวด์ 3 มิตินั้นมีความคมชัดมากกว่าการอัลตร้าซาวด์ 2 มิติที่เป็นสีขาวดำ และสามารถหมุนมุมภาพได้แค่จามการขยับของหัวสแกน ดังนั้นจึงสามารถเป็นตัวช่วยที่ทำให้แพทย์เข้าใจ และเห็นถึงปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้มากขึ้น ซึ่งทำให้แพทย์นั้นสามารถทำการรักษา หรือแจ้งปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการทางร่างกายของทารกให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้ทราบก่อนล่วงหน้า โดยส่วนใหญ่แล้วที่แพทย์มักพบอาการผิดปกติของทารกเป็นอาการผิดปกติดังต่อไปนี้

  • ปากแหว่งเพดานโหว่ (Cleft Lip, Cleft Palate)
  • ความพิการแต่กำเนิด (Congenital Anomalies)
  • กะโหลกศีรษะเชื่อมติดผิดปกติ(Craniosynostosis)
  • ความบกพร่องของท่อประสาท (Neural Tube Defects)
  • ภาวะกระดูกสันหลังโหว่ (Spina Bifida)
  • ปัญหาโครงสร้างกระดูกผิด (Skeletal Malformations)

 

อัลตร้าซาวด์ 3 มิติ 4

 

สามารถอัลตร้าซาวด์ 3 มิติได้ตอนอายุครรภ์เท่าไหร่ ?

สำหรับการอัลตร้าซาวด์ 3 มิตินั้นคุณแม่คุณพ่อสามารถยื่นความประสงค์ให้กับคุณหมอได้ตลอดการตั้งครรภ์ โดยอาจเป็นการอัลตร้าซาวด์ 3 มิติ สลับกับอัลตร้าซาวด์ 2 มิติแบบเดิมก็ได้ แต่จะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงมากยิ่งขึ้นในการนัดพบแพทย์ แต่ถ้าเป็นการแนะนำของแพทย์เกี่ยวกับการอัลตร้าซาวด์ 3 มิติ แพทย์จะแนะนำให้ทำในช่วงการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 24 ถึงสัปดาห์ที่ 34 ของการตั้งครรภ์ เพราะว่าเป็นช่วงเวลาที่สามารถเห็นพัฒนาการทางร่างกายของทารกได้อย่างชัดเจนแล้ว และยังมีความเสี่ยงน้อยกว่าที่น้ำคร่ำ หรือตำแหน่งของกระดูกเชิงกรานจะปิดบังร่างกายของทารกจนมองอะไรไม่เห็น

บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำคร่ำน้อย น้ำคร่ำมาก อันตรายไหม แม่ท้องมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไรได้บ้าง

 

การอัลตร้าซาวด์ปลอดภัยสำหรับทารกหรือไม่

คลื่นอัลตร้าซาวด์ที่ใช้ถ่ายภาพทารกที่อยู่ในครรภ์นั้น ทำให้ทารกได้รับพลังงานจากการอัลตร้าซาวด์ในรูปแบบของความร้อน ในบางกรณี ความร้อนอาจทำให้ทารกในครรภ์นั้นพิการตั้งแต่กำเนิดได้ ดังนั้นในการอัลตร้าซาวด์ครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์จะต้องยึดหลักการ ALARA : As Low As Reasonably Achievable หรือ หลัก 3 ประการในการป้องกันอันตรายจากรังสี และเลือกใช้ปริมาณรังสีให้น้อยที่สุด เท่าที่จะทำได้ในทางการแพทย์ และจำกัดระยะเวลาที่ใช้ในการอัลตร้าซาวด์ให้น้อยที่สุด แต่ได้ข้อมูลครบถ้วน ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้ทารกในครรภ์ที่กำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนาระบบและอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้รับพลังงานจากภายนอกน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

 

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

อัลตร้าซาวด์ 3 มิติ 5

 

สำหรับการอัลตร้าซาวด์นั้นถือว่าไม่ได้เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์มากจนเกินไป แต่จะต้องเป็นการการอัลตร้าซาวด์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือแพทย์ดูแลครรภ์เท่านั้น ไม่สามารถทำเองได้ ดังนั้นการไปพบแพทย์ในทุกครั้งที่แพทย์นัดจึงมีความสำคัญ เพราะนอกจากจะได้เห็นเจ้าตัวน้อยแล้ว ยังได้ทราบถึงความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในช่วงตั้งครรภ์ก็เป็นได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อัลตร้าซาวด์ สามารถตรวจความผิดปกติ ของทารกได้หรือไม่ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 63

เจาะน้ำคร่ำ ตรวจอะไรบ้าง? บอกความเสี่ยงของโรคที่เกิดขึ้นกับทารกได้หรือ?

หมอนัดตรวจครรภ์บ่อยแค่ไหน เดือนนี้หมอนัดแล้วไม่ไปได้ไหม ไปเดือนหน้าได้ไหม

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอัลตร้าซาวด์ 3 สามมิติ ได้ที่นี่!

อัลตร้าซาวด์ 3 มิติ เป็นอย่างไรคะ อันตรายรึเปล่าคะ

ที่มา : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • อัลตร้าซาวด์ 3 มิติ อันตรายไหม ? อัลตร้าซาวด์ช่วงไหนของการตั้งครรภ์ดี
แชร์ :
  • 22 สุดยอดภาพ ภาพพัฒนาการทารกในครรภ์ ตั้งแต่เริ่มจนคลอด

    22 สุดยอดภาพ ภาพพัฒนาการทารกในครรภ์ ตั้งแต่เริ่มจนคลอด

  • วิธีลูบท้องกระตุ้นสมองและพัฒนาการทารกในครรภ์

    วิธีลูบท้องกระตุ้นสมองและพัฒนาการทารกในครรภ์

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • 22 สุดยอดภาพ ภาพพัฒนาการทารกในครรภ์ ตั้งแต่เริ่มจนคลอด

    22 สุดยอดภาพ ภาพพัฒนาการทารกในครรภ์ ตั้งแต่เริ่มจนคลอด

  • วิธีลูบท้องกระตุ้นสมองและพัฒนาการทารกในครรภ์

    วิธีลูบท้องกระตุ้นสมองและพัฒนาการทารกในครรภ์

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ