ช่วงนี้ การวัดไข้เด็ก และวัดไข้คนในครอบครัว ล้วนมีความสำคัญมากเป็นพิเศษ เนื่องจากเรากำลังเผชิญกับโรคระบาดอย่างโคโรน่าไวรัส 2019 ซึ่งหากพบว่า ลูกมีไข้เล็กน้อยหรือขึ้นสูงจนน่าตกใจ ล้วนเป็นเรื่องที่พ่อแม่ควรกังวล แล้วสามารถทำอะไรได้บ้าง
การวัดไข้เด็ก มีความสำคัญอย่างไร
สิ่งที่สำคัญของ การวัดไข้เด็ก ไม่ใช่แค่การเอาหลังมืออังหน้าผากเท่านั้น แต่ต้องดูองค์ประกอบหลายอย่างด้วย โดยเฉพาะเด็กทารก เด็กเล็ก ต้องมีเครื่องมือวัดไข้ (Thermometer) สำหรับเด็ก และสามารถวัดอุณหภูมิได้จากหลายแห่งในร่างกาย ปกติแล้วอุณหภูมิที่วัดได้ว่าเป็นไข้คือ 37.5 องศาเซลเซียส ซึ่งจะสูงอยู่ในช่วงที่คนเรามีไข้และมีการติดเชื้อจนเกิดความเจ็บป่วยเท่านั้น
บทความที่เกี่ยวข้อง: 5 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการใช้ปรอทวัดไข้เมื่อลูกไม่สบาย
วิธีวัดไข้เด็ก ใช่อุปกรณ์วัดไข้อะไรบ้าง
การวัดไข้เด็กสามารถทำได้ตามจุดต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกทำได้ 5 วิธีดังนี้
- วัดไข้เด็กทางปาก ซึ่งเป็นการนำที่วัดไข้เสียบเข้าไปบริเวณใต้ลิ้นในช่องปาก
- วัดไข้เด็กโดยการใช้ปรอทหรือที่วัดไข้ให้ลูกหนีบรักแร้เอาไว้ แต่ค่าของอุณหภูมินั้นจะค่อนข้างตำว่าการอมใต้ลิ้น
- สามารถวัดอุณหภูมิเด็กได้ทางทวารหนัก ซึ่งแพทย์สามารถสอดเทอร์โมมิเตอร์หรือปรอทวัดไข้เข้าไปทางทวารหนัก ซึ่งวิธีนี้จะให้ค่าอุณหูมิที่สูงกว่าการวัดในช่องปากหรือใต้ลิ้น
- วัดไข้เด็กทางหู โดยการใช้เครื่องเทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิทัล จ่อด้านนอกของรูหู
- สามารถวัดไข้เด็กทางผิวหนัง วิธีนี้ทำได้โดยทั่วไปคือ การวัดไข้บริเวณหน้าผาก โดยใช้แผ่นแปะและจะมีตัวเลขแสดงอุณหภูมิออกมา
ทำไม การวัดไข้เด็ก จึงทำได้แตกต่างกัน
เนื่องจากสุขภาพของเด็กแต่ละคน และสถานการณ์ที่ต่างกัน ดังนั้น การวัดไข้เด็ก จึงมีวิธีและขั้นตอนแตกต่างกันไป เด็กบางคนวัดไข้ง่าย แต่บางคนไม่สามารถทำได้จึงต้องให้คุณหมอเป็นผู้กระทำ เช่น การวัดไข้เด็ก เล็กมากๆ อย่างเช่น ทารก อาจจะใช้วิธีวัดอุณหภูมิทางทวารหนัก หรือรักแร้ เนื่องจากทารกยังเป็นวัยที่ไม่อยู่นิ่ง อาจจะไม่ยอมอมปรอทวัดไข้ได้ ส่วนเครื่องมือแบบดิจิทัลอาจจะสะดวกสำหรับผู้ปกครองก็จริง แต่ก็มีข้อเสียคือ มีราคาค่อนข้างสูง
การวัดไข้เด็กควรเตรียมตัวให้ลูกอย่างไร
ก่อนอื่นต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมต่างๆ ก่อนวัดไข้ เพื่อไม่ให้อุณหูมิสูงขึ้น เช่น วิ่งเล่น ออกกำลังกาย หรืออาบน้ำอุ่นให้ลูก ควรรับประทานอาหารเสร็จให้เรียบร้อย อาบน้ำ ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ อย่างหลังกลับจากโรงเรียนสัก 1 ชั่วโมง หากวัดไข้เอง ซึ่งตอนนี้มักจะทำกันทุกบ้าน เราควรทำความสะอาดเทอร์โมมิเตอร์หรือปรอทวัดไข้ ให้สะอาด โดยใช้น้ำสบูหรือแอลกอฮอล์เช็ดก่อนเสมอ
ขั้นตอนในการวัดไข้ ใช้อุปกรณ์วัดไข้แบบไหนและทำอย่างไรบ้าง
จากที่กล่าวไปข้างต้นถึงการวัดไข้เด็กมี 5 วิธี ซึ่งแต่ละวิธีมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก และเป็นด่านแรกๆ ที่คุณแม่จะพาลูกน้อยไปพบคุณหมอ หรือพยาบาล ซึ่งก่อนวัดไข้จะมีการทำความสะอาดอุปกรณ์วัดไข้อย่างสะอาด หากใช้ปรอทจะให้แถบสารปรอทอยู่ในอุณหภูมิที่ 36 องศาเซลเซียส
1. เครื่องวัดอุณหภูมิดิจิทัล – วัดไข้เด็กทางช่องปาก
การวัดไข้ด้วยวิธีนี้ นิยมกับเด็กที่รู้เรื่องแล้ว ไม่งอแงส่วนใหญ่จะวัดให้เด็กอายุมากกว่า 5 ขวบขึ้นไป ซึ่งลดความเสี่ยงไม่ให้เด็กรู้สึกรำคาญถึงสิ่งแปลกปลอมจนกัดปรอทแตก โดยขั้นแรกจะมีการตรวจดูบริเวณภายในช่องปาก เพื่อตรวจดูว่า ไม่มีสิ่งแปลกปลอม เช่นขนมต่างๆ ที่เด็กอาจจะอมไว้ ดังนั้นคุณแม่ไม่ควรพาลูกไปวัดไข้หลังรับประทานอาหาร อย่างน้อยควรรอสัก 30- 60 นาทีก่อน เพื่อไม่ให้มีผลต่ออุณหภูมิ จากนั้นคุณหมอหรือพยายาลจะ นำเทอร์โมมิเตอร์หรือเราเรียกว่าปรอทวัดไข้ สอดเข้าไปใต้ลิ้น แล้วให้เด็กปิดปากลงสักครู่ ถ้าเป็นปรอทแบบดิจิทัลจะมีสัญญาณดังขึ้น หรือถ้าเป็นปรอทแบบธรรมดา เราต้องรอจนกว่า แถบสารปรอทหยุดนิ่งเพื่อคงที่การอ่านค่าของอุณหภูมิที่แม่นยำ
2. ปรอทแก้ว – วัดไข้เด็กโดยการหนีบรักแร้
สำหรับเด็กเล็กการวัดไข้ด้วยวิธีนี้ถือว่าสะดวก แต่อาจบอกผลไม่แม่นยำเท่าไหร่นัก ต่างจากการวัดไข้ทางช่องปากและทวารหนัก ซึ่งจะเหมาะกับเด็กแรกเกิดมากกว่าผู้ใหญ่ ที่สำคัญควรเลี่ยงการวัดไข้หลังการอาบน้ำ เพราะมีผลต่อค่าอุณหภูมิของเทอร์โมมิเตอร์ที่สอดเข้ารักแร้ โดยปลายเทอร์โมมิเตอร์อยู่กึ่งกลางรักแร้ จากนั้นให้เด็กหนีบเทอร์โมมิเตอร์สักครู่ ถ้าเป็นเทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิทัล ก็รอจนนสัญญาณดัง หรือถ้าเป็นแบบปรอทวัดไข้ธรรมดา ควรรอ 4-5 นาที ทั้งนี้ค่าอุณหภูมิที่วัดจากการหนีบทางรักแร้จะต่ำกว่าทางช่องปากราว 0.6 องศาเซลเซียส
3. ปรอทวัดทางก้น – การวัดไข้ทางทวารหนัก
การวัดไข้เด็กทางก้นหรือทางทวารหนักนั้น ส่วนใหญ่เป็นการวัดไข้สำหรับเด็กแรกเกิด และต้องใช้ความระวัดระวังเป็นอย่างสูง เนื่องจากผิวของทารกยังบอบบาง เสี่ยงติดเชื้อและอาจเกิดการบาดเจ็บได้ ทั้งนี้ แพทย์จะใช้เทอร์โมมิเตอร์หรือปรอทที่ผ่านการฆ่าเชื้อ แล้วทาสารหล่อลื่น เพื่อลดการเสียดสี ของอุปกรณ์และรูทวาร จากนั้นจะให้ทารกนอนคว่ำ ประคองบริเวณส่วนล่างของทารกไว้ แล้วค่อยๆ สอดปรอทเข้าไปในก้นประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ต้องระวังการสอดให้ดี ว่าไม่ลึกจนเกินไป ทิ้งไว้สักครู่จนว่าปรอทดิจิทัลจะมีสัญญาณเตือน ถ้าเป้ฯปรอทธรรมดาก็ให้รอจนกว่า สารในปรอทจะหยุดนิ่งแล้วค่อยอ่านค่า
4. เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด-วัดไข้เด็กทางช่องรูหูและหน้าผาก
วิธีนี้สามารถทำได้กับเด็กโตแต่ไม่เกิน 12 ปี เป็นการวัดไข้จากเครื่องเทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิทัล ก่อนอื่นแพทย์หรือพยาบาลจะทำสะอาดหูเด็ก โดยการเช็ดให้สะอาด และทำความสะอาดเครื่องวัดไข้ให้สะอาดปลอดภัย จากนั้นแพทย์จะค่อยๆ ดึงติ่งหูของเด็กน้อยเอียงลงไปทางด้านหลังเล็กน้อย แล้วสอดเครื่องเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปในรูหู จริงๆ เครื่องนี้เหมาะสำหรับการตรวจวัดไข้เด็กอายุ 1 ขวบขึ้นไป
5. แถบวัดไข้ – วัดไข้เด็กทางผิวหนัง
วิธีนี้มีความสะดวกและรวดเร็วมาก มักจะใช้กับเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ แต่ให้ความแม่นยำของค่าอุณหภูมินั้นน้อยกว่าวิธีอื่นๆ ซึ่งก่อนวัดไข้จะต้องทำความสะอาดหน้าผากให้เรียบร้อย จากนั้นเอาแผ่นวัดไข้มานาบบนหน้าผาก แล้วกดเบาๆ สักครู่แผ่นวัดไข้ก็จะลอกออกมา แล้วสามารถอ่านค่าอุณหภูมิได้ค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง: วิธีลดไข้เด็ก เช็ดให้ลูกน้อยไข้ลดอย่างมีประสิทธิภาพต้องทำยังไง
ไปดูว่าผลวัดไข้อ่านอย่างไร
ปกติแล้วอุณหภูมิของคนเราจะอยู่ที่ 36.5-37 องศาเซลเซียส ระหว่างอาจมีขึ้นมีลงเล็กน้อย จากกิจกรรมที่ทำ และช่วงเช้าอุณหภูมิของคนเราจะต่ำกว่าช่วงบ่าย ส่วนเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปจะมีอุณหภูมิแตกต่างกัน 1.2 องศาเซลเซียส เรามาดูกันว่า ค่าอุณหภูมิเท่าไหร่ บอกผลอะไรบ้าง
- วัดทางปากจะได้อุณหภูมิปกติอยู่ที่ 35-37.5 องศาเซลเซียส
- วัดอุณหภูมิทางทวารหนักปกติอยู่ที่ 36-38 องศาเซลเซียส
- วัดอุณหภูมิทางรักแร้ปกติอยู่ที่ 37-37.3 องศาเซลเซียส
- วัดอุณหภูมิทางหูปกติอยู่ที่ 36-38.0 องศาเซลเซียส
ทั้งนี้หากพบว่า อุณหภูมิมีผลออกมาสูงกว่าเกณฑ์ แสดงว่าร่างกายเริ่มมีอาการไข้ไข้หรือเจ็บป่วยแล้ว ซึ่งก็ควรดูองค์ประกอบหลายๆ อย่าง เพราะคุณหมอก็จะตรวจโดยละเอียดอีกครั้ง
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
4 วิธีดูแลเมื่อลูกเป็นไข้ หายป่วยได้ไวขึ้น คุณแม่ไม่ต้องกังวล
สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อลูกเป็นไข้ แม่รู้มั้ยบางอย่างอันตรายกว่าที่คิด
เมื่อลูกเป็นไข้ ซื้อยาลดไข้ให้กินได้มั้ยหรือมีอาการแค่ไหนถึงพาลูกไปหาหมอ?
ที่มา: pobpad , promotivecare
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!