15 เรื่องที่ต้องทำ ถ้าอยากท้องเเบบไม่มีโรคแทรกซ้อน
ขณะที่คุณเเม่สมัยนี้หลายๆ คนทำเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์คือ การไปจองโรงเรียนให้ลูกค่ะ จนลืมดูเเลตัวเองไปเลยทั้งที่ยังมีตั้ง 15 เรื่องที่ต้องทำ ถ้าอยากท้องเเบบไม่มีโรคแทรกซ้อน นะคะ
1.ออกกำลังกายเบาๆ
อย่างการเดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือเข้าคลาสออกกำลังกายสำหรับคนท้องค่ะ หากคุณเเม่ออกกำลังกายเป็นประจำอยู่เเล้ว ลองปรึกษาคุณหมอดูว่าคุณเเม่สามารถออกกำลังกายเเบบเดิมเเต่ลดความหนักหน่วงลงได้ไหมนะคะ
2.ดูเเลเรื่องอาหารการกิน
ไม่นานค่ะที่คุณเเม่จะอยากกินของดองๆ หรือกินอะไรเเปลกๆ เเต่ตอนนี้ควรดูเเลเรื่องโภชนาการ เเละสารอาหารอย่าง โปรตีน ธาตุเหล็ก เเคลเซียม โฟลิค เเละตุนพวกผักผลไม้ ถั่ว ผักใบเขียว ธัญพืช เเละพยายามลดละเลิกอาหารสำเร็จรูปเเละอาหารเเปรรูป
3.โฟลิคพอไหม
เเม้ว่ากรดโฟลิคจะมีอยู่ในอาหาร เเต่ต้องยอมรับค่ะว่าอาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในช่วงที่คุณเเม่ตั้งครรภ์ หรือการเตรียมตัวตั้งครรภ์ การกินกรดโฟลิคเเบบเม็ดไม่ได้มีผลเสียอะไร เเละสะดวกดีด้วยค่ะ
4.ควบคุมน้ำหนัก
น้ำหนักน้อยเกินไปจะทำให้ตั้งครรภ์ยาก น้ำหนักมากเกินไปก็เสี่ยงทั้งเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ เเละความดันโลหิตสูง ปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์ได้ ถ้าคุณเเม่ไม่มั่นใจว่าน้ำหนักคุณเเม่ควรจะขึ้นเท่าไหร่ถึงจะดี
5.อยู่ในความดูเเลของผู้เชี่ยวชาญ
ก่อนที่จะตั้งครรภ์การเตรียมตัวอย่างหนึ่งที่คุณเเม่ควรทำได้เเก่ การปรึกษาเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการตั้งครรภ์ เเละถามเกี่ยวกับ การตรวจอะไรบ้างที่จำเป็น หรือมีวัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีด วิตามินที่ร่างกายควรได้รับ (หากมีโรคประจำตัว) สามารถตั้งครรภ์ได้หรือไม่ เเละจะมีผลเเทรกซ้อนใดๆ หรือไม่ ยาอะไรที่กินได้ระหว่างตั้งครรภ์ เเละยาอะไรบ้างที่ควรหลีกเลี่ยง
6.ตรวจคัดกรองยีนส์
หากคุณตั้งใจจะมีลูก สิ่งเเรกที่มองหาจากคู่สมรสคือ ยีนส์ที่ดีค่ะ การตรวจก่อนเเต่งควรดูว่าคุณเเม่ละคนมียีนส์ที่ผิดปกติหรือไม่ ประวัติโรคทางครอบครัวของเเต่ละฝ่าย เช่น โรคปอดเรื้อรัง (cystic fibrosis) กลุ่มอาการโครโมโซมเอกซ์เปราะบาง (fragile X syndrome) โรคเทย์-แซคส์ (Tay-Sachs Disease) โรคโลหิตจางแบบซิกเคิลเซลล์ (sickle cell disease)
7.หาหมอฟัน
การตั้งครรภ์อาจทำให้คุณเเม่มีปัญหาด้านเหงือกเเละฟันได้ค่ะ ควรพบทันตเเพทย์เพื่อตรวจเเละรักษา นอกจากนี้ก็ควรดูเเลรักษาความสะอาดภายในช่องปากทุกๆ วันด้วยนะคะ
8.ลดละเลิกคาเฟอีน
คุณเเม่ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำ ควรลดปริมาณการดื่มลงค่ะ ผู้เชี่ยวชาญเเนะนำว่าไม่ควรดื่มเกินวันละ 200 มิลลิกรัม หรือคิดเป็นกาเเฟ 12 ออนซ์ต่อเเล้ว ชา 8 ออนซ์ต่อเเก้ว หรือเปลี่ยนเป็น Decaf เเทน ถ้าเลิกกินไม่ได้ขอเเค่ลดปริมาณลงก็พอนะคะ
9.เลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
ทั้งคุณพ่อเเละคุณเเม่ค่ะ หากยังสูบอยู่ คุณยังไม่พร้อมเป็นพ่อแม่ เพราะควันบุหรีทั้งมือหนึ่งเเละมือสองส่งผลเสียต่อร่างกายของคุณ ลูกในครรภ์ เเละอสุจิด้วย เช่น การคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักเเรกคลอดน้อย เเละเสี่ยงแท้งได้ นอกจากนี้ยังทำให้ลูกเสี่ยงเสียชีวิตเฉียบพลันอีกด้วยนะคะ
10.เลิกดื่มเเอลกอฮอล์
เครื่องดื่มเเอลกอฮอล์ส่งผลต่อลูกในครรภ์โดยตรงค่ะ ทั้งในเรื่องของสมองเเละการเรียนรู้ นยอกจากนี้ยังส่งผลให้คลอดลูกยากอีกด้วย อย่าเพิ่งตกใจไปถ้าเคยดื่มแอลกอฮอล์ไปเเก้วหรือสองเเก้วตอนที่ยังไม่ทราบว่าท้อง ปริมาณเล็กน้ยไม่ส่งผลเสียค่ะ เเต่ถ้าดื่มเป็นประจำลูกได้รับผลเสียเข้าไปเเน่นอน
11.ค่าใช้จ่ายที่ตามมา
ตอนที่ยังไม่คลอดทั้งคุณพ่อเเละคุณเเม่มีเวลาที่จะลองคำนวนค่าใช้จ่ายคร่าวๆ ของลูก ของใช้เพื่อความปลอดภัยอย่างคาร์ซีทควรให้ความสำคัญอันดับเเรก ค่าหาหมอของลูก ค่าพี่เลี้ยง ค่าผ้าอ้อม ค่าของเล่น ค่าเครื่องปั๊มนม หากมีวงเงินจำกัด ลองดูว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่สามารถประหยัดได้ หรือมองทางเลือกอื่นไว้ด้วยนะคะ
12.ตรวจสอบสวัสดิการ
ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม เงินช่วยเหลือ สวัสดิการที่ทำงาน ให้ครบถ้วน เพราะนั่นคือสิทธิที่คุณพ่อคุณเเม่ควรจะได้รับค่ะ
13.หาทริปท่องเที่ยวบอกลาชีวิตคู่
เพราะหลังจากนี้คุณจะต้องมีเจ้าตัวเล็กติดสอยห้อยตามไปอีกอย่างน้อยๆ ก็สิบกว่าปีค่ะ ดังนั้นหากอยากไปเที่ยวรีสอร์ทที่ไม่รับเด็กก็ควรจะไปเสียตั้งเเต่ตอนนี้นะคะ
14.บอกสัตว์เลี้ยงของคุณด้วย
เมื่อมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นมา เเละคุณมีสัตว์เลี้ยงอยู่ในบ้าน ควรเตรียมพร้อมพวกเขาให้ต้อนรับสมาชิกใหม่ของบ้านค่ะ เเต่หากคุณเลี้ยงสัตว์อย่าง งู หรือ ปลาตัวใหญ่ๆ ไม่ต้องก็ได้ เพียงเเค่ป้องกันไม่ให้ลูกไปใกล้ๆ บริเวณนั้นก็พอค่ะ
15.ดูเเลความเรียบร้อยภายในบ้าน
เครื่องป้องกันต่างๆ อย่างเครื่องป้องกันประตูหนีบ ป้องกันการเปิดชักโครก ป้องกันการเปิดหน้าต่าง ควรรีบติดตั้งก่อนลูกจะคลอดออกมานะคะ
ที่มา : webmd.com
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
แม่ๆ รู้ไหม ช่วงตั้งครรภ์ก็ออกกำลังกายได้นะ
ระวัง!! 5 โรคร้ายที่ติดต่อจากสัตว์เลี้ยงแสนรักสู่แม่ท้อง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!