13 สัญญาณเตือนโรคซึมเศร้าหลังคลอด สังเกตุตัวเองให้ดี ไม่ใช่แม่แค่เครียด
13 สัญญาณเตือนโรคซึมเศร้าหลังคลอด แม่ไม่ใช่แค่เครียด แม่ไม่ได้ดราม่าไปเอง สังเกตอาการให้ดี ถ้าเป็นแบบนี้ต้องไปหาหมอ
แม่เป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด อีกสาเหตุของการฆ่าตัวตายของคุณแม่หลังคลอด
หลายครั้งต่อหลายครั้ง ที่เรามักจะได้ยิน และได้ฟัง เกี่ยวกับสาเหตุการฆ่าตัวตาย หรือสาเหตุการตาย ของทารกแรกเกิด ที่ส่วนหนึ่ง มีสาเหตุ มาจากโรคชนิดหนึ่ง ที่เราเรียกกันว่า “โรคซึมเศร้าหลังคลอด”
อย่างเคสที่เกิดขึ้น เมื่อปีก่อนนั้น ที่มีคุณแม่วัย 32 ปี ตัดสินใจฆ่าตัวตาย เนื่องจากอาการซึมเศร้าดังกล่าว หลังจากที่ คุณแม่ท่านนี้ คลอดลูกได้สองเดือน ก็เอาแต่เก็บตัว และ ขังตัวเองอยู่แต่ในห้อง ไม่พูดจา และ ไม่สุงสิงกับใคร เมื่อคนในครอบครัว พาไปรักษา ก็ไม่ดีขึ้น มาพบอีกที ก็กลายเป็น “ศพ” เสียแล้ว
เป็นที่น่าแปลก ที่คนส่วนใหญ่ มักมองว่า โรคซึมเศร้าหลังคลอด นั้น ไม่ใช่โรค ที่เป็นเรื่องใหญ่อะไร แต่หารู้ไม่ว่า โรคดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นกับ คุณแม่หลังคลอดบุตร มากถึงเกือบร้อยละ 20 เลยละค่ะ โดยองกร์กร Postpartum Progress กล่าวว่า คุณแม่บางคน อาจจะเป็นเพียงไม่กี่วัน หรือ กี่สัปดาห์ แต่บางคน ที่เป็นมากหน่อย ก็มีโอกาส ที่จะเป็นนานเป็นปี เลยก็มี
ทำความรู้จักกับ โรคซึมเศร้าหลังคลอด
อาการของคุณแม่ ที่เป็นโรคนี้นั้น จะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่าง เช่น รู้สึกสิ้นหวัง รู้สึกผิด เหนื่อยล้า ไม่มีความสุข รู้สึกโดดเดี่ยว วิตกกังวล เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค ก็ ได้แก่
- คุณแม่เคยมีประวัติ การสูญเสียลูก
- มี ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์
- มีปัญหา เรื่องสุขภาพ
- แม่ที่ดื่มแอลกอฮอล์ หรือ ยาเสพติด
- การอดนอน หรือ นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โปรเจสเตอรโรน และ เอสโตรเจน เพิ่มสูงขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ และลดต่ำลงอย่างมาก ในช่วง 2-3 วันหลังคลอด จึงส่งผลต่อ อารมณ์ ของแม่หลังคลอด
วิธีที่จะช่วย ให้อาการดังกล่าวดีขึ้นก็คือ คุณแม่ควรที่จะดูแลตัวเอง ตั้งแต่ตั้งครรภ์ พยายามลดระดับความเครียดลง และยินดีให้คนรอบข้าง ช่วยแบ่งเบาภาระ เมื่อคุณรู้สึกว่า มีคนรอบข้าง คอยดูแล และ ให้ความช่วยเหลือ เวลาที่คุณมีลูก คุณก็จะมั่นใจว่า มีคนรอบข้าง ที่คอยอยู่เคียงข้างคุณ แต่ ถ้าหากคุณรู้สึก วิตกกังวล หรือ รู้สึกว่า ตัวเองกำลังแย่ ก็ควรปรึกษา คุณหมอ นะคะ
จะเห็นได้ว่า อาการซึมเศร้าหลังคลอด นั้น เป็นเรื่องปกติ สำหรับคุณแม่ ที่เพิ่งคลอดลูก ส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นโรคนี้ เมื่อลูกมีอายุได้ ประมาณ 4-6 สัปดาห์ หรือ ไม่ก็หลังจาก ที่ลูกมีอายุหลายเดือนแล้วก็ได้ ดังนั้น นอกจากคุณแม่ จะต้องคอยสังเกตอาการของตัวเองแล้ว คนในครอบครัว โดยเฉพาะ คุณสามี ก็ควรสังเกตอาการดังกล่าว ของภรรยา ด้วยเช่นกันนะคะ
ที่มา: Postpartum Progress และ CTV News
วิธีสังเกตตัวเอง 13 สัญญาณเตือนโรคซึมเศร้าหลังคลอด
โดยทั่วไป ความรู้สึกซึมเศร้าหลังคลอด (postnatal depression) จะเกิดขึ้นในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังคลอด แต่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จนกว่าลูกของคุณจะถึงวัยเตาะแตะ และมีแนวโน้มที่จะประสบภาวะเช่นนี้มากขึ้น หากคุณ หรือคนในครอบครัวของคุณ มีประวัติซึมเศร้าหรือโรค ทางอารมณ์มาก่อน ความรู้สึกเช่นนี้ จะมีผลกับบุคคลต่าง ๆ ในรูปแบบที่แตกต่างกัน แต่มี อาการบางอย่าง ที่คุณสังเกตได้ เช่น
- ตื่นตระหนก หวั่นกลัว โดยเฉพาะ เรื่องลูก เรื่องอนาคต อาจมีพฤติกรรมหวงลูกมาก หรือไม่ให้คนอื่นแตะต้องลูก
- รู้สึกกังวลอยู่ตลอดเวลา เรื่องสุขภาพ และความปลอดภัยของตัวคุณเอง และคนรอบข้าง
- ร้องไห้บ่อย โดยไม่มีสาเหตุชัดเจน หรือไม่มีเหตุการณ์กระตุ้น
- อยากนอนอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่เคยรู้สึกว่า ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
- หลับยาก หรือ มีปัญหาการนอน เบื่ออาหาร หรือ มีปัญหาการกิน
- รู้สึกเหมือนกับว่า คุณต้องทำเป็น ‘ไม่กลัว’ ต่อหน้าคนอื่น ๆ
- ไม่สามารถพูดถึงการคลอดลูกได้ หรือ พูดเรื่องนี้ไม่หยุด เพราะรู้สึกว่าควบคุมไม่ได้
- รู้สึกว่าตนเอง เป็นแม่ที่ไม่ดี
- รู้สึกหมดหวังตลอดเวลา
- แยกตัว ปฏิเสธการเข้าสังคม หรือการพูดคุยตามปกติ
- รู้สึกว่าตัวเองไม่สบาย เช่น เจ็บหน้าอก หายใจติดขัด ปวดศีรษะ วิงเวียน เจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ และ แน่นท้อง
- คิดว่าคุณไม่ผูกพันกับลูก หรือ ไม่มีความรู้สึกใด ๆ กับลูก
- ไม่รับรู้เรื่องเวลา และไม่สามารถบอกความแตกต่าง ระหว่าง 2-3 นาที กับ 2-3 ชั่วโมง
ที่มา : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต
สนับสนุนโดย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
อุทาหรณ์! แม่วัยรุ่นปลิดชีพตนเองเหตุจากโรคซึมเศร้าหลังคลอด
ลูกจะเป็นอย่างไร หากแม่เป็นโรคซึมเศร้า
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!