X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ท้องแล้วนอนไม่หลับ แก้ได้ ง่ายแค่นี้เอง

บทความ 5 นาที
ท้องแล้วนอนไม่หลับ แก้ได้ ง่ายแค่นี้เอง

ทำไมยิ่งท้องแก่ยิ่งนอนหลับยากขึ้น จริงๆ ก็เป็นอาการปกติที่คุณแม่ส่วนใหญ่ต้องเจอ แต่มันทรมานมากไปนะ ง่วงแล้วนอนไม่หลับเนี่ย เรามีทางออกสำหรับเรื่องนี้ และมันก็ง่ายมากเลยด้วยค่ะ

ท้องแล้วนอนไม่หลับ แก้ได้!

ปัญหาเรื่องการนอนหลับระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นเรื่องปกติที่คุณแม่มือใหม่ 3 ใน 4 ต้องเจอค่ะ สาเหตุหลัก ๆ ก็มาจากความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และสมอง มีทั้งอาการที่กวนใจจนทำให้นอนหลับไม่เต็มอิ่ม และอาการที่อึดอัดเพราะพุงป่องขึ้นนั่นเอง ที่เป็นสาเหตุของคุณแม่ ท้องแล้วนอนไม่หลับ

ท้องแล้วนอนไม่หลับ

ท้องแล้วนอนไม่หลับ

ต้องไปปัสสาวะ อีกแล้ว!!!

การปัสสาวะบ่อย ๆ จะเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 1 และ 3 ค่ะ เนื่องจากฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนที่เพิ่มขึ้น และไตมีการกรองเลือดเพิ่มขึ้นอีก 50% หมายถึงปัสสาวะที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้องเข้าห้องบ่อยกว่าเดิมนั่นเองค่ะ อย่างไรก็ตามคุณแม่กินสำหรับสองคนแล้วก็ต้องปัสสาวะสำหรับสองคนเช่นกัน

วิธีแก้ไข ช่วงกลางวันดื่มน้ำสะอาดให้มากขึ้น แต่งดดื่มน้ำ 2 ชั่วโมงก่อนนอน เปิดไฟหรี่ที่หัวเตียงไว้ด้วย หากลางดึกอยากจะลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำอีก

อาการปวดเมื่อย เจ็บ และไม่สบายตัว

เกิดขึ้นได้ตลอดการตั้งครรภ์โดยเฉพาะไตรมาสที่ 2 และ 3 สาเหตุของการนอนไม่ค่อยหลับระหว่างการตั้งครรภ์ อาจเป็นเพราะยังไม่เจอท่าที่สบายก็เป็นได้ การนอนหงายจะทำให้มดลูกกดทับเส้นเลือด รบกวนการไหลเวียนไปยังหัวใจ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ของลูกและการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนคุณแม่รวมกัน จะทำให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นลดลง

วิธีแก้ไข การนอนตะแคงซ้ายจะทำให้การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ดีขึ้น และเป็นท่าที่ปลอดภัยที่สุดต่อทารกในครรภ์ แต่หากนั้นยังไม่ทำให้คุณแม่นอนหลับสบายแล้วละก็ ลองพิจารณาหมอนที่ออกแบบสำหรับคนท้องดูค่ะ คุณแม่หลายต่อหลายคนติดมันมากกว่าคุณสามีอีกนะ (ก็แค่ช่วงตั้งครรภ์เท่านั้นแหละ)

Advertisement

ท้องแล้วนอนไม่หลับ

ขาเป็นตะคริว

ใครที่ไม่เคยเป็นตะคริวก็มักจะเป็นช่วงที่ตั้งครรภ์นี่แหละค่ะ ประมาณช่วงกลางของไตรมาสที่ 2 คุณแม่อาจจะเริ่มเป็นตะคริว ส่วนใหญ่ไม่มีสาเหตุที่เกิดขึ้นอย่างแน่ชัดสักเท่าไหร่ แต่อาจเป็นไปได้ว่าการกระตุกเจ็บ ๆ เหล่านี้บริเวณน่อง มาจากการบีบตัวของหลอดเลือด อาการล้าเนื่องจากการรับน้ำหนักที่มากขึ้น ตะคริวอาจไม่เป็นเพียงแค่กลางคืนแต่ยังเป็นในตอนกลางวันได้อีกด้วยค่ะ

วิธีแก้ไข การเกิดตะคริวอาจจะเกิดจากการได้รับแคลเซียมและแมกนีเซียมไม่เพียงพอ การกินอาหารที่มีแคลเซียมและแมกนีเซียมสูงอาจจะช่วยได้ แต่อย่าลืมปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์ก่อนทุกครั้งนะคะ ดื่มน้ำสะอาดเยอะ ๆ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อระหว่างวันเป็นประจำ ปกติแล้วตะคริวจะเป็นแค่ชั่วคราวเท่านั้น หากเกิดบ่อยมากเกินไปหรือนานเกินไป ลองปรึกษาคุณหมอดูนะคะ

กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข

อาการโดยทั่วไปคือ รู้สึกไม่สบายที่ขา บริเวณน่องและเท้า ต้องเดินหรือมีการเคลื่อนไหวจึงจะดีขึ้น จึงทำให้นอนได้ไม่นาน คุณแม่ตั้งครรภ์จำนวน 15% จะมีอาการเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3

วิธีแก้ไข สาเหตุของอาการเหล่านี้คือการขาดธาตุเหล็กและโฟเลต ดังนั้นรับประทานอาหารที่มีปริมาณธาตุเหล็กและโฟเลตสูง หรือปรึกษาคุณหมอเพื่อขอรับอาหารเสริมค่ะ นอกจากนี้การออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงคาเฟอีน

กรดไหลย้อน

เช่นเดียวกันกับการเป็นตะคริว นี่อาจจะเป็นครั้งแรกที่คุณแม่มีอาการกรดไหลย้อนก็ได้ค่ะ ตัวการสำคัญก็คือฮอร์โมนของคุณแม่เองอีกนั่นแหละ เนื่องจากฮอร์โมนไปคลายกล้ามเนื้อ (ที่โดยปกติแล้วจะทำหน้าที่กักเก็บ) กรดในกระเพาะอาหาร ให้ออกมา กลางวันอาจจะเป็นได้เหมือนกัน แต่กรดไหลย้อนในตอนกลางคืนทรมานกว่ากันเยอะค่ะ

วิธีแก้ไข ระวังอย่าให้น้ำหนักขึ้นมากเกินไป งดการกินอาหารที่มีรสจัด คาเฟอีน อาหารทอด ๆ มัน ๆ ดื่มน้ำสะอาดเยอะ ๆ ก่อนมื้ออาหาร แบ่งอาหารเป็นหลาย ๆ มื้อกินทีละน้อย ตั้งหมอนให้สูงหน่อยหรือนั่งเอน ๆ หลับก็ช่วยได้นะคะ

คัดจมูก

เนื่องจาก ฮอร์โมนเอสโทรเจนที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณเลือกในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้เยื่อในโพรงจมูกบวม ส่งผลทำให้คัดจมูกได้นั่นเองค่ะ

วิธีแก้ไข นอนหัวสูงขึ้น ใช้น้ำเกลือพ่นจมูกและล้างจมูก

ท้องแล้วนอนไม่หลับ

กรนและหยุดหายใจ ขณะหลับ

ฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นนอกจากจะทำให้คัดจมูกแล้ว ยังทำให้เกิดอาการกรนได้ด้วย และถ้าหากคุณแม่น้ำหนักขึ้นมากไปยิ่งจะทำให้แย่ลง การกรนทำให้น่ารำคาญก็จริงแต่สิ่งที่น่ากลัวกว่าก็คือการหยุดหายใจขณะหลับ หรือภาวะที่ทางเดินหายใจพังลงมาชั่วครู่ ทำให้คุณแม่หยุดหายใจแค่เพียงช่วงสั้น ๆ

วิธีแก้ไข ลองหาซื้อเครื่องพ่นละอองแบบอุ่นมาใช้ในตอนกลางคืน การนอนตะแคงซ้ายก็ช่วยได้ค่ะ สาเหตุหลัก ๆ มาจากความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ แต่ถ้าคุณแม่ไม่ได้เป็นทั้งสองอย่าง ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อหาสาเหตุ และการรักษาต่อไปค่ะ

โรคนอนไม่หลับ

อาจจะเพราะ ความวิตกกังวลที่ คุณแม่มีในการตั้งครรภ์ครั้งนี้ ฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือสาเหตุอื่น ๆ ก็สามารถทำให้คุณแม่มีอาการของโรคนอนไม่หลับได้นะคะ แม้จะเป็นเรื่องธรรมดาและก็น่ารำคาญอยู่ไม่ใช่น้อย ซึ่งหากนอนไม่หลับนาน ๆ อาจจะ ทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้เลยนะคะ

วิธีแก้ไข หลีกเลี่ยงคาเฟอีน ลดการกินน้ำตาล หรือของหวาน ดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ออกกำลังกายเป็นประจำ อาบน้ำอุ่น ๆ หาวิธีผ่อนคลาย เช่น หายใจเข้าลึก ๆ ทำสมาธิ เล่นโยคะ หรือจะนับแกะ ก็ได้นะคะ

_________________________________________________________________________________________

ที่มา : What To Expect

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

รู้หรือไม่ คนท้องนอนหงาย เสี่ยงทารกในครรภ์เสียชีวิต

คนท้องนอนท่าไหน ไม่ให้ปวดหลัง และปวดเอว

คนท้องนอนตะแคงขวาได้ไหม อันตรายจากการนอนทางขวา มีอะไรควรรู้?

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ท้องแล้วนอนไม่หลับ แก้ได้ ง่ายแค่นี้เอง
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว