X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

12 ยาอันตรายต่อลูก ที่พ่อแม่ต้องรู้ ก่อนหยิบให้ลูกน้อยกิน

บทความ 3 นาที
12 ยาอันตรายต่อลูก ที่พ่อแม่ต้องรู้ ก่อนหยิบให้ลูกน้อยกิน

เรื่องยาถือเป็นเรื่องสำคัญมาก พ่อแม่ต้องระมัดระวังก่อนหยิบให้ลูกกิน เพราะยาบางตัวเป็น ยาอันตรายต่อลูก นอกจากจะไม่ช่วยให้หายป่วยแล้ว ยังมีผลข้างเคียงด้วย

12 ยาอันตรายต่อลูก

เรื่องยาเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองต้องระมัดระวังให้มาก ๆ เพราะแน่นอนว่ายาสำหรับผู้ใหญ่ และยาสำหรับทารกหรือเด็กเล็ก ย่อมไม่เหมือนกันอย่างแน่นอน ถ้าเป็นยาตัวอื่นนอกเหนือจากยาที่แพทย์สั่งให้ลูกแล้ว พ่อแม่ก็ควรศึกษาให้ดีเสียก่อน มาดูกันให้ชัดว่า ยาตัวไหนบ้างที่เป็น ยาอันตรายต่อลูก ไม่ควรหยิบให้เด็กเล็กกิน เพราะนอกจากจะไม่ช่วยรักษาอาการป่วยแล้ว อาจเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงกับเด็กทารกด้วย รู้ไว้ก่อน ดีว่าเผลอหยิบให้ลูกกิน แล้วต้องมารักษาอาการป่วยของลูกน้อยทีหลัง

ยาอันตรายต่อลูก

  • ยาแก้แพ้

นอกจากยาตามอาการที่แพทย์สั่งแล้ว พ่อแม่ไม่ควรซื้อยาแก้แพ้ให้ลูกกินเอง เนื่องจากยาแก้แพ้ที่วางขายตามร้านขายยาทั่วไป มีส่วนประกอบของตัวยาต้านฮีสตามีน ซึ่งส่งผลลบต่อเด็กทารก อาการแพ้บางอย่าง ลูกน้อยสามารถหายได้เองเมื่อโตขึ้น หากให้กินยา แทนที่จะหาย อาจจะมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เข้ามาแทนก็ได้

  • แอสไพริน

แอสไพริน ยาสามัญประจำบ้านที่เราใช้กันบ่อย ๆ แต่ยานี้ถือเป็นยาต้องห้ามสำหรับเด็กเล็กเลย ห้ามให้เด็กทารกกินยาแอสไพรินโดยเด็ดขาด เพราะเสี่ยงเกิดอาการเรย์ซินโดรม ซึ่งอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต ทางที่ดีควรใช้ยาลดไข้ที่แพทย์สั่งให้ลูกน้อยโดยเฉพาะ หรือสอบถามเภสัชให้แน่ใจว่ายาตัวที่จะให้ลูกกินไม่มีส่วนประกอบของตัวยาแอสไพรินแน่ ๆ

  • ยาธาตุ

เวลาปวดท้องเรามักจะนึกถึงยาธาตุน้ำขาว แต่ถ้าหากว่าเด็กเล็กทานยาธาตุน้ำขาวมากเกินไป ตัวยาจะไปขัดขวางการดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุได้ รวมไปถึงในยาธาตุมีธาตุอลูมิเนียม ถ้าหากได้รับมากเกินไป อาจมีผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมองด้วย

  • ยาระบาย

ถัดจากอาการปวดท้องก็เรื่องขับถ่ายของลูกน้อยเนี่ยแหละ ยาระบายไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบยาน้ำ ยาเม็ด หรือยาสวนก้น ต้องปรึกษาแพทย์ให้ดีเลยล่ะ เพราะเด็กอาจเกิดอาการอ่อนเพลียจากการขาดน้ำ และอาจอันตรายถึงขั้นช็อคได้

ยาอันตรายต่อลูก

  • ยาต้านพิษไอปิแคค (Ipecac)

ไอปิแคคเป็นยาที่ใช้ขับสารพิษออกจากร่างกายผ่านการอาเจียน ซึ่งไม่เหมาะกับเด็กเลยแม้แต่นิดเดียว เพราะหากเด็กเล็กอาเจียนต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ร่างกายอาจจะขาดน้ำ จนนำไปสู่อาการช็อคได้เช่นกัน

  • ยาสเตียรอยด์

ยาสเตียรอยด์ถือเป็นตัวยาสุดฮิตที่จ่ายให้กับผู้ที่เป็นภูมิแพ้ แต่สำหรับเด็กเล็กแล้ว ไม่ควรกินโดยเด็ดขาด เนื่องจากจะไปทำให้เด็กเลี้ยงไม่โต ตัวแคระแกร็น กระดูกผุ ตัวไม่สูงขึ้น หยุดพัฒนาการในด้านการเจริญเติบโตของเด็กเล็กไปเลย

  • ยานอนหลับ

เวลาที่ลูกไม่ยอมนอน พ่อแม่ควรหาสาเหตุของอาการนอนไม่หลับในเด็กก่อน ห้ามให้ยานอนหลับแก่เด็กทารกโดยเด็ดขาด เพราะยานอนหลับเป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท อันตรายต่อเด็กทารก ห้ามให้ลูกกิน

  • ยาเม็ดชนิดเคี้ยว

สาเหตุที่แพทย์ให้ยาน้ำแก่เด็กเล็กเสมอ ก็เพราะเด็กวัยนี้ไม่เหมาะกับยาเม็ด รวมไปถึงยาเม็ดชนิดเคี้ยว เพราะพัฒนาการของเด็กยังไม่แข็งแรก ยาอาจจะติดคอเด็กทารกจนเป็นอันตรายได้ ดังนั้นให้ทานยาน้ำจึงดีที่สุด

ยาอันตรายต่อลูก

  • ยาของผู้ใหญ่

พึงระลึกไว้เสมอว่า ยาที่ผู้ใหญ่ทาน กับยาที่เด็กทาน ต่างกันโดยสิ้นเชิง ดูง่าย ๆ จากแค่น้ำหนักตัวของเด็กทารก ที่น้อยกว่าผู้ใหญ่หลายเท่า ดังนั้นทั้งตัวยาและปริมาณยาย่อมต่างกัน ห้ามเอายาของพ่อแม่ให้ลูกทานโดยเด็ดขาด เนื่องจากร่างกายของเด็กไม่สามารถรับตัวยาของผู้ใหญ่ได้ ควรให้ทานยาตามแพทย์สั่งเท่านั้น

  • วิตามินเสริม

เด็กที่ทานอาหารไม่ครบทุกหมู่ อาจเกิดอาการขาดวิตามิน วิตามินเสริมต่าง ๆ จึงเป็นตัวช่วยที่พ่อแม่มองหา แต่ต้องระวังวิตามินเสริมประเภทสังเคราะห์ให้ดี ๆ อย่างเช่น วิตามินอี น้ำมันตับปลา เพราะถ้าหากได้รับในปริมาณมากเกินไป ก็อาจเกิดอันตรายต่อตับของเด็กเล็กได้

  • น้ำผึ้ง

น้ำผึ้งไม่ถือว่าเป็นยา แต่ก็เป็นสมุนไพรที่ถูกหยิบมาใช้รักษาอาการต่าง ๆ บ่อย น้ำผึ้งมีสปอร์ของสารโบทูลิซึ่ม ที่เกิดจากแบคทีเรียชนิดหนึ่ง หากเด็กได้รับสปอร์โบทูลิซึ่มเข้าไป สปอร์จะฟักเชื้อในท้อง และก่อให้เกิดสารพิษกระจายไปทั่วร่างกาย ซึ่งร่างกายต้องย่อยสปอร์นี้ แต่ร่างกายของผู้ใหญ่จะสามารถย่อยสปอร์นี้ได้ดีกว่าเด็กเล็ก ดังนั้นจึงไม่ควรให้ทารกหรือเด็กเล็กทานน้ำผึ้ง

  • ยาหมดอายุ

ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือเด็ก ก็ไม่มีใครควรทานยาหมดอายุทั้งนั้น อย่าเสียดาย ยาหมดอายุแล้วก็ควรจะเอาไปทิ้งทันที เนื่องจากตัวยาที่ควรจะช่วยรักษาอาการนั้น เมื่อหมดอายุแล้วอาจจะส่งผลตรงกันข้ามกันเลยก็ได้ อย่างไรก็ตาม ยาบางชนิดอาจเสื่อมลงถ้าหากเก็บรักษาไม่ถูกวิธี จึงควรศึกษาวิธีเก็บรักษายาแต่ละตัวด้วย

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ท้องสองจะปวดแบบท้องแรกมั้ย

ยาแต้มสิวคนท้อง ยารักษาสิวแบบไหนที่คนท้องใช้ได้-ใช้ไม่ได้

แม่ป่วยก็ให้นมลูกได้ กินยารักษาได้ไม่ลงในนมแม่

บทความจากพันธมิตร
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

PP.

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • 12 ยาอันตรายต่อลูก ที่พ่อแม่ต้องรู้ ก่อนหยิบให้ลูกน้อยกิน
แชร์ :
  • ยาอันตรายห้ามใช้กับลูก  8 ยาอันตรายอย่าให้หนูกินเลยแม่!

    ยาอันตรายห้ามใช้กับลูก 8 ยาอันตรายอย่าให้หนูกินเลยแม่!

  • ยาต้องห้าม ช่วงให้นมบุตร 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 50

    ยาต้องห้าม ช่วงให้นมบุตร 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 50

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ยาอันตรายห้ามใช้กับลูก  8 ยาอันตรายอย่าให้หนูกินเลยแม่!

    ยาอันตรายห้ามใช้กับลูก 8 ยาอันตรายอย่าให้หนูกินเลยแม่!

  • ยาต้องห้าม ช่วงให้นมบุตร 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 50

    ยาต้องห้าม ช่วงให้นมบุตร 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 50

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ