X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เจ็บเต้านม เจ็บหน้าอกหลังคลอด สาเหตุและวิธีบรรเทาอาการที่ถูกต้อง

บทความ 5 นาที
เจ็บเต้านม เจ็บหน้าอกหลังคลอด สาเหตุและวิธีบรรเทาอาการที่ถูกต้อง

เจ็บเต้านม เรียกได้ว่าปัญหาส่วนใหญ่ของผู้หญิงเลยก็ว่าได้ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บเต้านม หรือคัดเต้านมนั้นก็มีหลากหลายสาเหตุด้วยกัน วันนี้เราเลยจะมาแนะนำวิธีบรรเทาอาการเจ็บเต้านมในแบบฮับง่าย ๆ ที่สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยตัวเองมาฝากกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

 

สาเหตุของอาการเจ็บเต้านม

การเจ็บเต้านม หรือคัดเต้านม จะมีลักษณะอาการเจ็บปวดตุบ ๆ เจ็บแปลบ รู้สึกแน่น ๆ หรือแสบร้อนที่หน้าอก และสาเหตุที่เกิดขึ้นนั้นก็เกิดจากหลากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น อาการเจ็บเต้านมตอนมีประจำเดือน, ภาวะเต้านมอักเสบ หรือภาวะคัดเต้านมหลังคลอด เป็นต้น

 

เจ็บหน้าอกหลังคลอด

มักเป็นอาการปวดทั้ง 2 ข้าง เกิดจากการสร้างน้ำนมแม่มาก แต่ไม่สามารถระบายออก หรือระบายออกไม่ทัน จึงเกิดอาการคัด บวม แข็ง เต้านมจะร้อนผิวแดงเป็นมัน เจ็บ บริเวณลานเต้านมตึงแข็ง น้ำนมไหลไม่ดี

บทความที่เกี่ยวข้อง : เจ็บเต้านม ส่งสัญญาณอาการเต้านมอักเสบ

 

เจ็บเต้านม

 

Advertisement

อาการที่สังเกตได้ง่าย ๆ 

  • บวม มีน้ำนมเยอะ
  • เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น
  • เต้านมแข็งตึง เจ็บ และร้อนมากขึ้น
  • ลานหัวนมตึงแข็ง น้ำนมไหลไม่ดี
  • หัวนมหดสั้นลง ลูกดูดไม่ได้
  • อาจจะมีไข้แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
  • อาการเต้านมคัดมักจะเป็นทั้ง 2 ข้าง
  • ถ้ามีน้ำนมค้างในเต้านมนาน จะทำให้น้ำนมหยุดไหลชั่วคราว

 

สาเหตุการเจ็บหน้าอกหลังคลอด

  • ร่างกายสร้างน้ำนมได้มากกว่าปริมาณที่ลูกกิน
  • ทิ้งช่วงในการให้นมลูกนานเกินไป ทำให้มีน้ำนมสะสมในเต้ามาก
  • ให้ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี ทำให้ระบายไม่ดีเท่าที่ควร
  • ให้นมลูกผ่านขวดนมมากกว่าการให้ลูกดูเต้า
  • ลูกมีแรงดูดน้อย ทำให้ไม่สามารถดูดนมได้เต็มที่
  • คุณแม่มีความเครียด อ่อนเพลีย หรือมีภาวะโลหิตจาง
  • หัวนมเป็นแผล

 

หัวนมไม่แตกแต่เจ็บแก้อย่างไร

กรณีคุณแม่เจ็บหัวนมมาก ให้ลูกงดดูดนมแม่สัก 1-2 วัน และบีบน้ำนมทาบริเวณแผลแม่สามารถรับประทานยาบรรเทาปวด พาราเซตามอลได้ทุก 4 – 6 ชั่วโมง ครั้งละ 2 เม็ด ระหว่างงดดูดนม ให้บีบน้ำนมออกทุก 2-3 ชั่วโมง และป้อนนมด้วยถ้วย หรือช้อนไปก่อน ไม่ควรให้ลูกดูดจากขวดนม เพราะจะทำให้เด็กเกิดความสับสนและติดการดูดจุกนมได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : หัวนมแตกป้องกันได้ ครีมทาหัวนมแตก ครีมทาแก้หัวนมแตก

 

วิธีลดอาการปวดหัวนม 

  • ลดการดูดลง 

ควรให้ลูกลดการดูดเต้าลงเมื่อมีอาการเจ็บที่เต้านม หรือพักการดูดข้างที่มีอาการเจ็บไปก่อน พออาการดีขึ้นแล้วค่อยให้ลูกดูดใหม่

 

เจ็บเต้านม

 

  • ให้ลูกดูดน้ำนมให้ไหล 

ถ้ามีอาการปวดเต้านม ส่วนใหญ่คุณแม่จะไม่อยากให้นมลูกมากนัก เพราะกลัวปวด แต่ถ้าลูกดูดจนน้ำนมของแม่ไหล อาการปวดจะบรรเทาลง ยิ่งน้ำนมไหลดี อาการปวดก็จะลดลง

 

  • กระตุ้นเต้านมก่อนให้นมลูก 

นวดคลึงก่อนให้นมลูก เพื่อช่วยลดอาการเจ็บปวดเต้านม ไม่ให้ปวดก่อนการให้นมลูก และเพื่อให้ระบบหมุนเวียนเลือดไหลดีขึ้น

 

  • ให้นมลูกบ่อย ๆ 

ควรให้ลูกดูดนมทุก ๆ 2 ชั่วโมง หรือให้มากกว่านั้นตามที่คุณแม่สะดวก การให้ลูกดูดนมจะช่วยลดอาการหย่อนยานของเต้านม ไม่ทำให้เต้านมคัดและเจ็บทรมาน

 

  • ไม่ปล่อยให้หัวนมแห้ง 

เมื่อลูกกินนมเสร็จไม่ต้องเช็ดให้แห้ง ควรมีน้ำนม1-2 หยด เพื่อให้หัวนมชุ่มชื่น เพื่อลดอาการแตกของหัวนม หรือแผลที่หัวนมค่ะ

 

  • ใช้ผลิตภัณฑ์ลดความแห้งตึงของหัวนม 

เลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นธรรมชาติ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ลดอาการแห้งตึง และต้องเช็ดออกทุกครั้งก่อนให้นมลูก

 

  • สวมเสื้อในสบาย ๆ 

สวมเนื้อในแบบผ้าฝ้าย เพื่อลดอาการเจ็บของหัวนม เลี่ยงการใส่ชุดชั้นในยกสูง เพราะจะทำให้เบียดแล้วกดทับกัน

 

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
เทคนิคเลือกขวดนมเด็ก ลดอาการโคลิค ขวดนมสีชา ขวดนมสีใส แบบไหนเหมาะกับลูกน้อย
เทคนิคเลือกขวดนมเด็ก ลดอาการโคลิค ขวดนมสีชา ขวดนมสีใส แบบไหนเหมาะกับลูกน้อย
Attitude Mom เครื่องปั๊มนมแบรนด์ไทย ฉลองครบรอบ 10 ปี พร้อมเปิดตัวเครื่องปั๊มนมไร้สาย Easy Life III และ Application Attitude Mom
Attitude Mom เครื่องปั๊มนมแบรนด์ไทย ฉลองครบรอบ 10 ปี พร้อมเปิดตัวเครื่องปั๊มนมไร้สาย Easy Life III และ Application Attitude Mom
  • ครอบหัวนมเวลาให้นมลูก 

คุณแม่ที่น้ำนมไหลดี ๆ สามารถใช้ที่ครอบนมได้ ในตอนแรกคุณแม่อาจจะรำคาญ ไม่ถนัด แต่นาน ๆ ไปคุณแม่จะชินเองค่ะ

 

  • รับประทานยาแก้ปวด 

รับประทานยาแก้ปวดตามความจำเป็น เช่น พาราเซตามอล

 

ท่านวดเต้านมหลังคลอด

  • ท่าที่1 : บีบ-นวด ขยับไหล่ ให้คุณแม่นั่งหรือยืนในท่าสบาย ๆ ใช้มือทั้งสองข้างนวดบริเวณบ่า ขยับไหล่ให้เลือดไหลเวียนได้ดี
  • ท่าที่2 : โกยเต้านม นำฝ่ามือทาบบริเวณรักแร้ลงน้ำหนักลงที่ปลายนิ้ว ไล่จากรักแร้มาที่บริเวณลานนม นำฝ่ามือทั้งสองทาบบริเวณหน้าอกไล่ลงมาที่ลานนม และวางฝ่ามือวางที่กึ่งกลางระหว่างอกทั้งสองข้าง จากนั้นจดไล่มาถึงลานนม 
  • ท่าที่3 : ตบ ใช้ปลายนิ้วช้อนใต้เต้านม ตบไล่จากล่างขึ้นบน
  • ท่าที่4 : คลึง ใช้ปลายนิ้ว นวดวนเป็นวงกลม โดยรอบเต้านม หากพบก้อนตึง ๆ ให้ค่อย ๆ นวดคลึงเบา ๆ
  • ท่าที่5 : ยืด วางนิ้วชี้ของมือทั้งสองลงบนหน้าอก กดลงบนเต้านมพร้อม ๆ กับลากนิ้วทั้งสองออกจากกัน ทำเช่นนี้โดยรอบเต้านม
  • ท่าที่6 : รูด ใช้นิ้วโป้ง และ นิ้วชี้ของมือทั้งสอง โอบรอบเต้านมกดมือทั้งสองเข้าหากัน
  • ท่าที่7 : จิ้ม ใช้ปลายนิ้วชี้กด และ คลึงเบา ๆ ลงบนขอบลานนมโดยรอบ
  • ท่าที่8 : บีบ วางนิ้วโป้ง และ นิ้วชี้บนขอบลานนมให้หัวนมอยู่ตรงกลาง ใช้นิ้วทั้งสองกดเข้าหาลำตัว แล้วบีบนิ้วมือทั้งสองเข้าหากันเพื่อระบายน้ำนม

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีนวดกระตุ้นน้ำนม ไม่พอด้วยวิธีนี้ เทคนิคนวดเต้าสยบปัญหาท่อน้ำนมอุดตัน

 

คัดและปวดมากจนแตะไม่ได้ควรทำอย่างไร ? 

  • แช่เต้าในกะละมังใส่น้ำที่อุ่นจัดพอทนได้
  • กระตุ้นการหลั่งน้ำนม โดยนวดเต้านมเบา ๆ
  • กระตุ้นการหลั่งน้ำนม โดยใช้หลังนิ้วลูบเบา ๆ ที่เต้านมจากรอบนอกมาทางลานนม
  • แช่เต้าในกะละมังอีกครั้งค่อย ๆ ใช้มือบีบน้ำนมออกทีละน้อยเท่าที่จะทนเจ็บได้

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับวิธีบรรเทาอาการเจ็บเต้านมที่เรานำมาฝากกันวันนี้ อาการเจ็บเต้านม หรือคัดเต้านมหลังคลอดเรียกได้ว่าเป็นอาการที่พบได้เรื่อย ๆ สำหรับในช่วงหลังคลอด แต่ละคนก็จะมีอาการที่แตกต่างกันไป  ดังนั้น เราจึงควรที่จะรู้วิธีที่บรรเทาอาการที่เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดอาการรุนแรงจะดีที่สุดนะคะ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อาการคัดเต้านมของคนท้อง เกิดจากอะไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 12

ฝึกลูกดูดนม ป้องกันการสำลัก ให้ลูกดูดนมอย่างไรถึงจะถูกวิธี

แม่ให้นมลูก ไม่ต้องซี๊ดซ๊าด หัวนมแตกป้องกันได้!

ที่มา : vichaiyut

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

nantichaphothatanapongbow

  • หน้าแรก
  • /
  • การให้นมลูก
  • /
  • เจ็บเต้านม เจ็บหน้าอกหลังคลอด สาเหตุและวิธีบรรเทาอาการที่ถูกต้อง
แชร์ :
  • แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

    แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

  • ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

    ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

  • เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

    เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

  • แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

    แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกแพ้กุ้ง ตาบวมฉึ่ง ทั้งที่ปกติกินกุ้งประจำ

  • ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

    ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

  • เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

    เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว