X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แผลผ่าคลอด กี่วันหาย วิธีดูแลแผลผ่าคลอด แผลนูนคัน แผลปริ แผลอักเสบ

บทความ 8 นาที
แผลผ่าคลอด กี่วันหาย วิธีดูแลแผลผ่าคลอด แผลนูนคัน แผลปริ แผลอักเสบ

แผลผ่าคลอด คือ ความกังวลใจของคุณแม่ที่ผ่านการผ่าคลอดเพื่อให้กำเนิดลูกน้อย ซึ่งรอยแผลนั้นจะต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ถึงจะค่อยจางหรือหายไปในที่สุด ที่สำคัญต้องดูแลอย่างไรเพื่อไม่ให้แผลอักเสบ หรือเจ็บปวด ซึ่งอาจจะลุกลามไปสู่โรคต่าง ๆ การติดเชื้อ แถมความเจ็บแผลจะอาจกระทบต่อการเลี้ยงลูกน้อยได้

 

แผลผ่าคลอด กี่วันหาย วิธีดูแลแผลผ่าคลอด แผลนูนคัน แผลปริ แผลอักเสบ

 

แผลผ่าคลอด แผลผ่าตัดกี่วันหาย?

แผลผ่าคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอด เกิดจากการผ่าตัดคลอดลูก (Cesarean Section) เกิดจากการที่แพทย์ทำการตัดคลอดลูกให้คุณแม่ทางหน้าท้อง เพื่อนำทารกออกมาทางแผลผ่าตัดบริเวณด้านหน้ามดลูก ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง หากคุณแม่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ทั้งนี้การผ่าตัดคลอดลูก คือการเปิดเยื่อบุช่องท้องบริเวณมดลูก แล้วทำการคลอดโดยปกติอย่างปลอดภัย สำหรับแผลผ่าตัดหลังคลอด โดยปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ แผลที่เย็บไว้จึงจะสมานกัน อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน หรือ 2 – 12 สัปดาห์ เพราะขึ้นอยู่กับลักษณะของการเย็บของแต่ละท่าน ที่สำคัญคุณแม่ควรดูแลความสะอาดของแผลเป็นอย่างดี ไม่ให้ติดเชื้อ เพื่อให้แผลสมานเข้าด้วยกันโดยไม่มีปัญหา

 

 

แผลผ่าคลอด มีกี่แบบ?

การผ่าตัดเพื่อทำการคลอดบุตรนั้น เราจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะด้วยกัน ดังนี้

  • แผลผ่าคลอดแนวตั้ง 

แผลผ่าคลอด สำหรับแผลผ่าตัดแนวตั้ง คือการลงแผลในแนวดิ่งที่ผนังหน้าท้องช่วงล่างตรงแนวกลางลำตัว ตั้งแต่ระดับต่ำกว่าสะดือยาวลงมาจนถึงระดับเหนือกระดูกหัวหน่าวเล็กน้อย ความยาว แผลผ่าคลอด แนวตั้ง ประมาณ 10 เซนติเมตร การลงแผลแนวนี้จะผ่านเนื้อเยื่อหลายชั้น จนสามารถเข้าช่องท้องได้ง่าย

 

  • แผลผ่าคลอดแนวนอน

แผลผ่าคลอด สำหรับแผลผ่าคลอดแนวนอน มักจะเป็นที่นิยมกว่า สวยงามกว่า กระทำโดยการลงแผลแนวขวางที่ผนังหน้าท้องด้านล่าง ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ตรงตำแหน่งรอยพับของหน้าท้องหรือระดับประมาณ 2 เซนติเมตรสูงจากขอบบนของกระดูกหัวหน่าว ขั้นตอนการผ่าจะซับซ้อนกว่าเล็กน้อย

 

แผลผ่าคลอด กี่วันหาย วิธีดูแลแผลผ่าคลอด แผลนูนคัน แผลปริ แผลอักเสบ

 

ปัญหาของแผลผ่าตัด ที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง?

  • แน่นอนว่า ต้องเกิดแผลเป็นเกิดนูนแดงนั้น กลายเป็น แผลที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ หรือที่เรียกว่า คีลอยด์ แต่ทั้งนี้ ผิวของคุณแม่แต่ละท่านอาจจะมีความหนานูนไม่เท่ากัน
  • ปัญหาหลัก ๆ ที่สร้างความกังวลใจคือ หลังจาก 1 ปีหรือ 1 ปีครี่งไปแล้ว แผลนั้นยังแดงอยู่ แดงอยู่นาน และรอยแดงไม่ลดลง
  • แผลเป็นมักจะทำให้เกิดอาการเจ็บหรือคัน เพราะฉะนั้นห้ามเกาเด็ดขาด
  • เป็นแผลที่เกิดตรงบริเวณข้อต่อ ทำให้ขยับข้อต่อได้ไม่เต็มที่ มีอาการตึงหรือนิ้วงอ หรือมีการผิดรูปเกิดขึ้น
  • แผลที่ไม่มีปัญหา เพียงแต่ดูไม่ดี แต่เป็นสิ่งต้องการและความคาดหวังในการรักษาของคนไข้

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีดูแลแผลผ่าคลอดอย่างถูกวิธี ให้แผลเป็นเนียนเร็ว

 

แผลผ่าตัดควรมีลักษณะอย่างไร แบบไหนถึงมีความเสี่ยง

แผลผ่าตัดคือผิวที่ถูกมีดกรีดเพื่อเปิดแผล หรือการใส่ท่อระบายเลือดในระหว่างการผ่าตัด เป็นเหตุให้เกิดแผลจากการผ่าตัดเกิดขึ้น โดยปกติเมื่อมีการผ่าตัดเป็นที่เรียบร้อย แพทย์จะทำการเย็บปิดแผลเอาไว้ ซึ่งรวมถึงการผ่าตัดเพื่อการทำคลอดอีกด้วย ซึ่งเราจะสามารถสังเกตแผลผ่าตัด ออกเป็น 4 ลักษณะดังนี้

  • แผลสะอาด แผลชนิดนี้เป็นแผลดี ไม่เสี่ยงเกิดการติดเชื้อ หรืออักเสบ
  • แผลที่อาจมีการปนเปื้อน แผลลักษณะนี้ คุณแม่จำเป็นจะต้องดูแล ใส่ใจมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นอาการเบื้องต้นของการเป็นแผลติดเชื้อได้ ซึ่งหากคุณแม่สังเกตได้เร็ว และดูแลได้ดี สภาพแผลก็จะกลับมาอยู่ในภาวะของแผลสะอาดได้ตามปกติ
  • แผลมีการปนเปื้อน แผลนี้โดยมากจะเกิดการติดเชื้อ เนื่องจากเสื้อผ้า สิ่งแวดล้อม ความอับชื้น ที่ทำให้แผลเสี่ยงเกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคได้
  • แผลสกปรก เนื่องจากขาดการดูแล ไม่ใส่ใจในการทำความสะอาด หรือบาดแผลเกิดการสัมผัสกับเชื้อโรค หรือสิ่งสกปรก ก็จะเสี่ยงกับการที่แผลจะเกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคสูงมาก

 

 

คุณแม่มือใหม่สามารถ ดูแลแผลผ่าคลอด ด้วยตนเองได้อย่างไร?

1. หมั่นดูแลแผลให้แห้งและสะอาด

สำคัญที่สุดหลังจากการผ่าคลอด คุณหมอจะปิดแผลด้วยสก๊อตเทปกันน้ำ จากนั้นเมื่อครบ 7 วัน คุณหมอถึงจะเปิดแผลผ่าตัด ช่วงนี้ต้องดูแลทำความสะอาดแผลให้ดี เพื่อป้องกันสิ่งสกปรก และเชื้อโรคเข้าแผล ถ้าอยากให้แผลแห้ง หายไว สมานเนื้อได้ดี อย่าโดดน้ำเด็ดขาด

 

2. คุณแม่ต้องระวังการกระทบกระเทือน

แม้จะคลอดบุตรแล้ว แต่ช่วง 3 เดือนหลังคลอด ยังไม่ควรยกของหนัก อย่าขยับตัวมากเกินไป ทำได้เท่าที่ไหว ถ้ารู้สึกเจ็บ หรือแผลตึง นั่นคือแผลยืดมากเกินไป จะทำให้ร่างกายปรับสภาพตัวเอง เนื่องจากกลัวว่าแผลจะปริ จึงสร้างเส้นใยคอลลาเจนเพื่อทำให้แผลแน่นขึ้น เมื่อเส้นใยคอลลาเจนหนาเกินไปจึงกลายเป็นแผลนูนขึ้นมาเป็นแผลคีลอยด์ในที่สุด ระวังไม่ให้เกิดการเสียดสีที่แผล ไม่ควรยกของหนัก เพราะอาจทำให้มดลูกเคลื่อนต่ำได้

 

3. คุณแม่ต้องหมั่นดูแลแผลเป็น

อย่าเพิ่งกังวลใจมากไปหากพบว่า มีการเกิดรอยแผลเป็นที่เป็นรอยดำ หรือ นูนแข็ง  สามารถบรรเทาได้ด้วยการใช้ครีมดูแลแผลเป็นที่มีวิตามินอี หรือ ใช้แผ่นซิลิโคนสำหรับดูแลแผลจะช่วยให้แผลเป็นเรียบเนียนนุ่ม ทำให้หน้าท้องเรียบเนียน แต่ต้องใช้ระยะเวลาสักหน่อย

 

4. ต้องขยับตัวฝืนการเคลื่อนไหว

อย่าเพิ่งคิดว่า หลังคลอดแล้วห้ามขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว ทราบไหมคะว่า คุณแม่ที่ผ่าคลอด หลังการผ่าคลอด 1 วัน คุณแม่ต้องลุกขยับเดิน แม้เจ็บมากก็ต้องฝืน เพราะหากคุณแม่ไม่ยอมเคลื่อนไหว จะทำให้เกิดพังผืด ทำให้เสี่ยงท่อนำไข่อุดตัน การผ่าตัดครั้งต่อไปทำได้ยาก หรือท้องผูกเรื้อรังได้

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

 

5. เวลานอนควรปรับหัวนอนให้สูง

คุณแม่ควรหาหมอนที่พอดีกัยศีรษะที่สูงขึ้นสักนิด อย่านอนราบกับไปที่นอน ซึ่งการปรับหัวนอนสูง จะช่วยให้แผลผ่าที่หน้าท้องไม่ตึงจนเกินไป ช่วยลดอาการเจ็บแผลได้ดีค่ะ

 

6. คุณแม่ควรออกำลังกายด้วยการเดินบ่อย ๆ

เนื่องจากการผ่าคลอด เป็นวิธีที่หายช้ากว่าแบบธรรมชาติ เสี่ยงภาวะเลือดอุดตันที่ขา จึงควรเดินบ่อยๆ หรือขยับขาบ้าง อย่าเดินเร็วมาก เช้าๆ ค่อยๆ เดินเล่น หรือนั่งดูซีรีส์ เลี้ยงลูกแล้ว ก็ลุกออกมาเดินเล่นขยับขาไปมาสักหน่อย ลองเปิดการออกกำลังกายแบบโยคะทางช่องยูทูปที่ชื่นชอบ ทำตามไประหว่างลูกหลับก็ได้ค่ะ

 

7. นวดบริเวณแผลเป็น

ที่สำคัญ อย่าปล่อยให้แผลตึง ควรนวดแผยบ่อยๆ หลังอาบน้ำ ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้แผลนุ่มขึ้น แต่ควรจะใช้มอยเจอร์ไรเซอร์และโลชั่นมาช่วยนวดและทาด้วยเพื่อให้แผลเป็นชุ่มชื้น จะได้นุ่มได้ไวขึ้น แบนราบได้เร็วขึ้น และทำให้อาการปวดจากแผลเป็นเหล่านี้ลดลงไปได้ด้วย อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวังในการนวดก็คือ นวดในแผลเปิด แผลอาจปริขึ้นมา หรือบวมขึ้นมา หรือแพ้โลชั่นก็ต้องหยุด

 

แผลผ่าคลอด กี่วันหาย วิธีดูแลแผลผ่าคลอด แผลนูนคัน แผลปริ แผลอักเสบ

 

ระยะการฟื้นตัวของแผลผ่าตัด

โดยส่วนใหญ่ แผลผ่าตัด จะมีกระบวนการในการรักษาของตัวมันเอง ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

  • ระยะแผลบวม

ระยะนี้บริเวณที่มีการเย็บแผล จะเกิดอาการบวม ซึ่งเกิดจากกระบวนการสมานแผลของผิวหนัง เส้นเลือดบริเวณที่เกิดบาดแผล จะสร้างลิ่มเลือด เพื่อช่วยหยุดการสูญเสียเลอด ในช่วงนี้ เม็ดเลือดขาวจะเข้ามามีบทบาทในการต่อสู้กับเชื้อโรค และป้องกันการติดเชื้อ ทำให้แผลผ่าตัดจะมีลักษณะบวมแดง และมีความรู้สึกอุ่น ๆ บริเวณบาดแผล ซึ่งจะมีอาการดังกล่าวประมาณ 6 วัน หลังจากการผ่าตัด แต่ถ้าอาการบวมแดง กลับมีหนองไหล หรือมีอาการเจ็บรุนแรง ประกอบด้วย สันนิษฐานได้ว่า เกิดการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดนั่นเอง

 

  • ระยะสร้างเซลล์ใหม่

ในระยะนี้ ขอบของแผลผ่านตัดจะทำการสมานตัวเข้าด้วยกัน ซึ่งบางรายอาจเกิดแผลเป็นขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับการดูแล อาหารที่รับประทาน และความแข็งแรงขอเซลล์ผิว ระยะนี้จะเริ่มกระบวนการตั้งแต่ 4 วันแรก จนถึง 1 เดือนหลังจากการผ่าตัด ซึ่งแผลผ่าตัดในช่วงนี้ จะมีลักษณะที่หนาขึ้น บวมแดง แต่หากมีอาการคัน สีคล้ำ มีหนองไหล หรือเกิดอาการแสบ คัน เจ็บ ร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที

 

  • ระยะปรับตัว

แผลที่บวม หรือนูนหนา หรือเป็นแผลเป็น หรือคีลอยล์ จะสังเกตได้ตั้งแต่ 6 เดือน – 2 ปี เนื่องจากช่วงระยะเวลาดังกล่าว แผลผ่าตัดจะเกิดการสมานตัวจนสนิท และเราจะสามารถรับรู้ได้ว่า แผลผ่าคลอดของเรานั้น จะกลายเป็นแผลเป็นในลักษณะไหนบ้าง

 

 

ข้อควรระวัง แผลผ่าตัดคลอดอักเสบ

  • ซับแผลให้แห้ง เมื่อแผลโดนน้ำต้องซับให้แห้ง หมั่นทายาตามที่หมอสั่ง จนกว่าแผลจะปิดสนิท
  • ระวังการขยับ ลุก นั่ง และ เดิน และงดการขึ้นลงบันได การยกของหนัก และอย่าขับรถเองเด็ดขาด
  • มีไข้ หากผ่าคลอดแล้วคุณแม่ครั่นเนื้อครั่นตัว ควรไปพบแพทย์ทันที
  • เจ็บแผลผ่าตัดมากขึ้น แผลมีรอยแดง บวม แถมมีเลือดซึมจากแผลมากขึ้น ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
  • น้ำคาวปลาเหม็น หรือมีปริมาณเพิ่มขึ้น สีแดงเข้มกว่าเดิมหลังจากที่จางไปแล้ว หากพบว่าเป็นเช่นนี้ละก็ รีบไปพบแพทย์กันเถอะค่ะ เพราะอาจเป็นสัญญาณบอกว่าคุณแม่กำลังตกเลือดอยู่ก็เป็นได้
  • ขาบวม ขาของคุณแม่บวมมากขึ้น อาจจะเป็นการบ่งบอกว่าแผลผ่าคลอดของคุณแม่ อาจจะได้รับการติดเชื้อ จนส่งผลให้เท้าบวม และอักเสบได้
  • ปัสสาวะติดขัด อาการที่มักพบได้คือ ปัสสาวะแสบขัด ไข้หนาวสั่น ปวดบริเวณบั้นเอว หากมีอาการดังกล่าวคุณแม่ควรรีบบอกหมอแต่เนิ่น ๆ นะคะ เพราะหากปล่อยไว้นาน ๆ อาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : 6 เรื่อง หลังผ่าคลอด ที่คุณแม่ควรรู้ หลังผ่าคลอดต้องรู้อะไรบ้าง

 

แผลผ่าคลอด กี่วันหาย วิธีดูแลแผลผ่าคลอด แผลนูนคัน แผลปริ แผลอักเสบ

 

ลักษณะแผลผ่าตัด แผลนูน คันแผล แผลอักเสบ คีลอยด์ เป็นอย่างไร?

แผลผ่าคลอดมักจะมีลักษณะนูน บวม ในช่วงแรก จากนั้นตัวแผลจะเริ่มยุบตัวลง หากแผลผ่าตัดจะเกิดอาการคัน หรือเจ็บแปล๊บบ้างบางครั้งบางคราว ถือเป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ และอาการเหล่านั้นจะเริ่มหายเอง โดยใช้ระยะเวลาตั้งแต่ 1 สัปดาห์ จนถึง 1 เดือน หลังจากการผ่าตัด ในขณะที่แผลเป็น แผลคีลอยด์ แผลเป็น อาจต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาที่มากกว่าปกติ

 

 

แผลคีลอยด์ (keloid) ดูแลอย่างไร ?

เป็นแผลเป็นที่มีลักษณะนูนแดง และอาจมีอาการคันและเจ็บร่วมด้วย ขอบเขตของแผลอาจขยายกว้างกว่ารอยเดิมของแผล แผลเป็นคีลอยด์จะเกิดขึ้นหลังแผลหายแล้วตั้งแต่ 3 เดือนเป็นต้นไป และเมื่อทิ้งไว้จะคงอยู่และไม่สามารถยุบลงได้เอง ในบางรายอาจมีขนาดโตขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย คีลอยด์มักพบในคนผิวสีคล้ำ อีกทั้งยังถ่ายทอดทางพันธุกรรม และยังเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนอีกด้วย

 

  • วิธีการการรักษาแผลเป็น แผลคีลอยด์

ในทางการแพทย์ มีหลากหลายวิธีในการรักษาแผลเป็น อาจรักษาโดยการใช้แผ่นซิลิโคนปิด ให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้น ลดการอักเสบได้ , การผ่าตัด , การฉีดยาสเตียรอยด์ , การใช้ยาทารักษา , การฉายรังสี หรืออาจทำการรักษาด้วยเลเซอร์ เป็นต้น

 

 

ข้อห้ามหลังจากผ่าคลอด

  • ห้ามใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์  ยาบางตัวมีผลทำให้น้ำนมหยุดไหล เช่น สเตียรอยด์ ยาลดน้ำหนัก ยาลดความอ้วน ยารักษาสิว ยาปฏิชีวะอื่นๆ รวมถึงยากลุ่มสารเสพติด เช่น ยานอนหลับ ยาแก้ปวด ชนิดต่างๆ ก่อนใช้ยาคุณแม่ต้องปรึกษาแพทย์ก่อน
  • ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เพราะจะทำให้คุณแม่ตกเลือดหลังคลอดได้
  • ห้ามยกของหนัก  เพราะการยกของหนักจะส่งผลต่อกล้ามเนื้อมดลูก และแผลผ่าคลอดได้
  • ห้ามกินของใช้ไม่มีประโยชน์เป็นประจำ เช่น ของหมักดอง ฟาสต์ฟู้ด หรืออาหารที่มีรสหวานจัดๆ เพราะอาหารเหล่านี้จะมีน้ำตาลในปริมาณสูง ไม่มีสารอาหารที่ให้ประโยชน์กับทารกที่กินนมแม่ ซึ่งอาจทำให้ลูกขาดสารอาหารและเป็นโรคอ้วนในเด็กได้

 

อย่างไรก็ตาม โดยมากธรรมชาติของร่างกายมนุษย์ จะเกิดกระบวนการการซ่อมแซมร่างกาย เมื่อเกิดบาดแผล แต่การรักษา หรือป้องกันไม่ให้เกิดแผลเป็น แผลอักเสบเรื้อรัง หรือแผลติดเชื้อ จำเป็นจะต้องขึ้นอยู่กับการดูแลร่างกายของคุณแม่ ที่จะต้องระมัดระวัง ใส่ใจ และป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกไปโดนบริเวณบาดแผล หรือแผลผ่าตัด และควรหมั่นทำความสะอาด และไม่แผลเกิดความอับชื้น จนเกิดการติดเชื้อได้

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดควรกินอะไรให้แผลหายเร็ว

เซ็กซ์หลังผ่าคลอด 9 ท่าเเนะนำ ไม่กดทับเเผล

เด็กผ่าคลอด กับ คลอดธรรมชาติ พัฒนาการต่างกันอย่างไร

ที่มา : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

nantichaphothatanapongbow

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • แผลผ่าคลอด กี่วันหาย วิธีดูแลแผลผ่าคลอด แผลนูนคัน แผลปริ แผลอักเสบ
แชร์ :
  • การดูแลหลังผ่าท้อง ต่างจากการคลอดธรรมชาติอย่างไร

    การดูแลหลังผ่าท้อง ต่างจากการคลอดธรรมชาติอย่างไร

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 4 การทำความสะอาดร่างกายคุณแม่

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 4 การทำความสะอาดร่างกายคุณแม่

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

    การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

  • การดูแลหลังผ่าท้อง ต่างจากการคลอดธรรมชาติอย่างไร

    การดูแลหลังผ่าท้อง ต่างจากการคลอดธรรมชาติอย่างไร

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 4 การทำความสะอาดร่างกายคุณแม่

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 4 การทำความสะอาดร่างกายคุณแม่

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

    การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ