ลูกไม่ยอมนั่งกระโถน เป็นเรื่องปกติธรรมดาของเด็กเล็ก ๆ ที่ยังไม่คุ้นเคยกับกิจกรรมต่าง ๆ ต้องมีการฝึกฝน เรียนรู้ที่จะทำ และพ่อแม่ก็คือครูฝึกคนแรกของลูกนั่นเอง
การฝึกให้ลูกนั่งกระโถน ก็เหมือนกับการฝึกอื่น ๆ ที่จะมีขั้นตอน และวิธีการต่าง ๆ คุณพ่อคุณแม่ต้องค่อย ๆ สอน ใช้ความอดทน และใส่ใจ ลูกน้อยจะค่อย ๆ เรียนรู้ และสามารถใช้ชีวิตได้ด้วยตัวเองในที่สุด 10 วิธีแก้ไข ลูกไม่ยอมนั่งกระโถน อาจจะช่วยให้พ่อแม่สามารถฝึกลูกอย่างเป็นขั้นตอนได้มากขึ้น
เมื่อไหร่ที่ควรสอนให้ลูกนั่งกระโถน
เด็กส่วนใหญ่จะสามารถลุกไปอึ หรือฉี่ได้สำเร็จ เมื่ออายุประมาณ 3 – 4 ขวบ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกลูกนั่งกระโถนได้ตั้งแต่อายุ 18 เดือน จนถึง 2 ขวบ มีผลสำรวจว่า เด็กอายุต่ำกว่า 18 เดือน ที่ถูกฝึกให้นั่งกระโถน จะทำสำเร็จได้เมื่ออายุประมาณ 4 ขวบ ในขณะที่หากฝึกลูกตอนอายุราว ๆ 2 ขวบ จะมีเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จที่มากกว่า นั่นคือ ลูกสามารถนั่งกระโถนได้ เมื่ออายุประมาณ 3 ขวบ คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องสังเกตว่า ลูกมีความพร้อมแล้วหรือยัง สำหรับการฝึกฝนเรื่องใหม่ ๆ โดยสังเกตจากสิ่งเหล่านี้
แอบดูเด็กนั่งฉี่ได้ไหม ฝึกลูกนั่งกระโถนได้ตั้งแต่อายุ 18 เดือน จนถึง 2 ขวบ แต่อายุที่เหมาะสมจริง ๆ ของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน การเริ่มฝึกเมื่อลูกพร้อมจริง ๆ จึงจะมีเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จที่มากกว่า
ลูกพร้อมหรือยัง ? สำหรับการนั่งกระโถน
การฝึกฝนเรื่องสุขอนามัย ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน แม้ว่าช่วงเวลาที่ลูกน่าจะเหมาะสมที่สุด คือประมาณ 2 ขวบ อย่างไรก็ตาม ความพร้อมของเด็กแต่ละคน มีความแตกต่างกัน แทนที่จะดูจากช่วงอายุที่เหมาะสม คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตจากพฤติกรรม และความสนใจของลูก เพื่อให้ลูกพร้อมจริง ๆ ที่จะเรียนรู้เรื่องใหม่ เพราะหากกดดันมากเกินไป อาจทำให้ลูกต่อต้านได้ สัญญาณที่บอกว่าลูกพร้อมแล้วที่จะถอดผ้าอ้อม มีดังนี้
- ลูกให้ความสนใจ หรือไถ่ถามเกี่ยวกับกระโถนว่า คืออะไร เอาไว้ใช้ทำอะไร หรือมีความสงสัยเวลาสมาชิกในครอบครัวเข้าห้องน้ำ เห็นพ่อแม่ใช้โถสุขภัณฑ์ เป็นต้น
- ลูกเข้าใจการฉี่ การอึ หรือพูดเกี่ยวกับการขับถ่าย เช่น บอกได้ว่าปวดฉิ้งฉ่อง หรือ ผ้าอ้อมเปียก ๆ ทั้งนี้ ลูกอาจจะยังไม่เข้าใจการไปเข้าห้องน้ำ แต่ถ้าหากเขาพอจะบอกได้เมื่อปวดปัสสาวะ ก็แสดงว่าลูกพร้อมแล้ว ที่จะฝึกฝนการนั่งกระโถนต่อไป
- ลูกเลียนแบบพฤติกรรมของคนรอบข้าง เช่น การเดินไปเข้าห้องน้ำ เป็นต้น
- ลูกเข้าใจความแตกต่างระหว่างการปวดปัสสาวะ กับอุจจาระ
- ความถี่ในการขับถ่ายลดลง เช่น ไม่ฉี่ใส่ผ้าอ้อม เป็นเวลา 2 ชั่วโมง
- ลูกสามารถนั่งบนกระโถนได้ เป็นระยะเวลานานพอสำหรับการฉี่ หรืออึ
- ลูกสามารถดึงผ้าอ้อม กางเกงใน หรือถอดกางเกงได้
แอบดูเด็กนั่งฉี่ได้ไหม ช่วงอายุที่เหมาะสมสำหรับการฝึกฝนเรื่องการเข้าห้องนั้น แตกต่างกัน พ่อแม่อาจจะสังเกตจากพฤติกรรม และความสนใจของลูก
10 วิธีแก้ เมื่อลูกไม่ยอมนั่งกระโถน
1. ปล่อยให้ลูกลองนั่งถ่ายบนกระโถน แม้จะยังใส่ผ้าอ้อมอยู่
ลูกเคยชินกับการถ่ายใส่ผ้าอ้อม เมื่อไม่มีผ้าอ้อม ก็อาจจะถ่ายไม่ออก เช่นเดียวกับเวลาที่คุณพ่อคุณแม่เข้าห้องน้ำที่ไม่คุ้นชิน ก็ทำให้ไม่สบายใจเช่นกัน ก่อนจะไปถึงการขับถ่าย คุณพ่อคุณแม่อาจจะฝึกให้ลูกชินกับการนั่งกระโถนก่อน และเมื่อลูกยอมนั่งกระโถนได้ดีแล้ว ลองตัดผ้าอ้อมให้เป็นรูใหญ่ ๆ ก่อนที่จะให้ลูกนั่งบนกระโถน เมื่อเขาถ่ายออกมาสิ่งต่างๆ ก็จะลงสู่โถโดยตรง นั่นยังทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัยด้วย
2. บอกลูกว่า ถ้าหากอึหรือฉี่ในผ้าอ้อมหรือกางเกงในจะทำให้สกปรก
สอนลูกเรื่องอนามัยและความสะอาด พาไปดูด้วยว่า สิ่งสกปรกจะต้องถูกทิ้งลงถังขยะนะ ปัสสาวะ หรืออุจจาระก็มีที่ทิ้งของมันเหมือนกัน เช่นนั้น เวลาที่ลูกปวดอึ หรือฉี่ ก็ควรจะมานั่งที่กระโถน บ้านของเราจะได้สะอาด ไม่เลอะเทอะ ไม่สกปรกด้วย
3. สร้างห้องน้ำส่วนตัวของลูก ให้กลายเป็นปราสาท
เพื่อฝึกให้ลูกเรียนรู้ และคุ้นชินกับการเข้าห้องน้ำเมื่อต้องการขับถ่าย ลองตกแต่งห้องน้ำส่วนตัวให้ลูก ใช้กล่องกระดาษลังมาตัดทำเป็นประตูเปิด – ปิด และช่วยกันตกแต่งให้เป็นปราสาทหลังน้อย จากนั้นก็นำกระโถนเข้ามาอยู่ในลัง แล้วบอกลูกว่า ปราสาทกระโถนนี้ สำหรับลูก เข้ามาใช้เวลาที่ปวดได้ตลอดเวลา
4. ใช้ตุ๊กตาสร้างสถานการณ์จำลอง
จำลองสถานการณ์ให้ลูกดูว่าการนั่งกระโถนต้องทำอย่างไร อาจจะใช้ตุ๊กตาทำท่าทางให้ลูกดู ตั้งแต่ปวดท้อง จนไปนั่งขับถ่ายบนกระโถน และเมื่อเสร็จกิจแล้ว ก็เช็ดทำความสะอาด รวมถึงล้างมือให้เรียบร้อย อาจจะมีรางวัลเมื่อสามารถนั่งขับถ่ายบนกระโถนได้สำเร็จด้วย
5. เลือกใช้กระโถนแบบนั่งพื้นแทนการใช้สุขภัณฑ์แบบเดียวกับผู้ใหญ่
เด็ก ๆ หลายคนจะรู้สึกอุ่นใจ เมื่อเท้าของเขาวางอยู่บนพื้นอย่างมั่นคง และสามารถรั้งตัวเองไว้ได้ ในขณะที่ออกแรงเบ่ง ก่อนจะนั่งโถสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ ลองใช้กระโถนนั่งพื้นให้เคยชินก่อน แล้วจึงค่อยเปลี่ยนเป็นการนั่งโถในห้องน้ำ โดยควรจะมีเก้าอี้บันไดเอาไว้ให้ลูกเหยียบขึ้น และวางเท้าของเขาเอาไว้ ขณะนั่งบนโถสุขภัณฑ์ด้วย
แอบดูเด็กนั่งฉี่ได้ไหม ตกแต่งห้องน้ำส่วนตัวให้ลูก ใช้กล่องกระดาษลังมาตัดทำเป็นประตูเปิด – ปิด และช่วยกันตกแต่งให้เป็นปราสาทหลังน้อย น่ารักน่าใช้
6. ให้ดาวเจ้าตัวเล็กทุกครั้ง เมื่อนั่งถ่ายบนกระโถน
รางวัลของความพยายามจะทำให้ลูกรู้สึกมีกำลังใจ เมื่อเขาเรียนรู้ที่จะนั่งขับถ่ายบนกระโถน ทั้ง ๆ ที่เคยชินกับการใส่ผ้าอ้อม คุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะให้รางวัล อาจจะทำเป็นแต้มสะสม นำปฏิทินเก่ามาใช้ ติดสติกเกอร์ดาวดวงน้อย ๆ ให้ เมื่อครบจำนวนตามที่กำหนด ก็จะได้รางวัลจากคุณพ่อคุณแม่ เป็นต้น จำนวนแต้มสะสมก็ไม่ควรเยอะเกินไป อาจจะ 2 – 4 ครั้ง ก็ได้
7. สอนลูกให้บอก เมื่อปวดฉี่ หรือปวดอึ
เด็กหลาย ๆ คนเลือกที่จะขับถ่ายในเวลานอน หรือช่วงเวลาที่เขารู้สึกผ่อนคลาย การใส่ผ้าอ้อมเอาไว้ ก็ทำให้เขารู้สึกปลอดภัย และพร้อมจะขับถ่ายเช่นกัน ฉะนั้น การฝึกให้ลูกบอกเมื่อรู้สึกปวดฉี่ หรือปวดอึ ลูกจะได้ไม่ขับถ่ายเฉพาะเวลาที่รู้สึกผ่อนคลาย หรือหลับเท่านั้น ถ้าหากรู้สึกอยากขับถ่ายก็สามารถทำได้ทันที วิธีนี้ควรทำควบคู่ไปกับการเลิกใส่ผ้าอ้อม ในช่วงแรก ๆ ลูกอาจจะบอกไม่ทัน ทำให้ฉี่ราดก่อนเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องตามเช็ดหน่อย จนกว่าลูกจะปรับตัวได้
8. ใช้การร้องเพลงสร้างบรรยากาศ
เมื่อพาลูกเข้าไปนั่งโถในห้องน้ำ ในระหว่างรอขับถ่าย ลูกอาจจะเกิดความเครียดส่งผลให้ถ่ายไม่ออกได้ คุณพ่อคุณแม่ลองร้องเพลงสนุก ๆ สร้างบรรยากาศผ่อนคลาย ลูกจะได้ไม่เครียด และสามารถขับถ่ายได้สะดวกมากขึ้น
9. เมื่อลูกโตพอจะช่วยเหลือตัวเองได้นิดหน่อย หากยังถ่ายเลอะเทอะกางเกง อาจให้ลูกหัดซักกางเกงที่เลอะด้วยตัวเอง
เป็นการแสดงความรับผิดชอบอย่างหนึ่ง ถ้าหากลูกไม่ยอมไปเข้าห้องน้ำ และถ่ายรดกางเกงจนเลอะเทอะ ก็ต้องช่วยกันเช็ดทำความสะอาด คุณพ่อคุณแม่อาจจะกำจัดสิ่งสกปรกไปก่อนหน้านี้แล้ว และให้ลูกเช็ดทำความสะอาดเพิ่มเติม รวมถึงหัดซักกางเกงของตัวเองด้วย เพื่อให้ลูกเห็นว่า สิ่งปฏิกูลที่ไม่ควรจะอยู่บนพื้นเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ต้องรับผิดชอบ และทำความสะอาด
10. ลูกไม่ถ่ายเนื่องจากท้องผูก
ความไม่คุ้นเคย ไม่ใช่สาเหตุเดียวที่ทำให้ลูกไม่ยอมถ่ายเมื่อนั่งกระโถน หรือโถสุขภัณฑ์ แต่บางครั้งลูกก็ถ่ายไม่ออกจริง ๆ เพราะอาการท้องผูก คุณแม่ต้องหมั่นสังเกตว่า ลูกท้องผูกหรือไม่ และดูแลเรื่องโภชนาการอาหาร ทานผัก ผลไม้ เพื่อให้ลูกขับถ่ายได้สะดวกนั่นเอง
ทานผัก ผลไม้เป็นประจำ ช่วยลดอาการท้องผูกได้
สำหรับเด็กเล็กแล้ว เรื่องทุกอย่างเป็นการเรียนรู้ครั้งแรก การที่คุณพ่อคุณแม่จะเริ่มฝึกให้ลูกนั่งกระโถน จำเป็นต้องใช้ความอดทน และเอาใจใส่ ไม่ควรบังคับ ดุด่า หรือทำให้ลูกรู้สึกหวาดกลัว อึดอัด จนทำให้พวกเขาไม่ยอมนั่งกระโถน หรือไม่ยอมขับถ่าย จะส่งผลกระทบในระยะยาว แต่สุดท้ายไม่ว่ายังไงก็ตาม เชื่อว่าลูกน้อยคนเก่งของคุณพ่อคุณแม่ ก็จะสามารถทำได้อย่างดีแน่นอน
ที่มา : www.happyhooligans.ca , www.pampers.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการฝึกลูกนั่งกระโถน
เมื่อลูกน้อยหัดใช้โถส้วมสำหรับเด็ก!
5 วิธีสอนลูกนั่งกระโถน ลูกชอบถ่ายใส่ผ้าอ้อม ไม่ยอมเข้าห้องน้ำทำไงดี?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!