X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

10 สัญญาณคลอดก่อนกำหนด แม่ท้องเช็กด่วน! ถ้าไม่อยากต้องเสียลูก

บทความ 5 นาที
10 สัญญาณคลอดก่อนกำหนด แม่ท้องเช็กด่วน! ถ้าไม่อยากต้องเสียลูก

คุณแม่ท้องทราบหรือไม่ว่า ภาวะคลอดก่อนกำหนดมีอันตรายอย่างไร เรามาดู 10 สัญญาณคลอดก่อนกำหนด ที่คุณแม่ไตรมาสสุดท้ายควรระวังและหมั่นสังเกตร่างกายให้ดี ว่ากำลังตกอยู่ในภาวะดังกล่าวหรือไม่ ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตคุณแม่และทารกในครรภ์ได้

 

10 สัญญาณคลอดก่อนกำหนด ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรมองข้าม

ภาวะคลอดก่อนกำหนด (Preterm Labor)  ส่วนใหญ่จะเกิดก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์หรือท้องได้ประมาณ 9 เดือนเศษ ระยะนี้อวัยวะต่าง ๆ ของทารกน้อยครบแล้ว จึงมีคำถามว่า ถ้าอวัยวะครบแล้ว ทำไมการท้องครบ 9 เดือนจึงเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดอีก เราจะเห็นได้ว่า มาคุณแม่หลายท่านที่คลอดตอน 7 เดือนบ้าง 8 เดือนบ้าง หรือแม้แต่ 36 สัปดาห์ก็ยังเรียกว่าคลอดก่อนกำหนด นั่นเป็นเพราะ อวัยวะที่ครบสมบูรณ์ยังทำงานไม่ดีพอ ซึ่งภาวะเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด สามารถสังเกตได้จากสัญญาณดังต่อไปนี้

 

1. ภาวะของมดลูกยืดขยายตัวมากเกินไป

คุณแม่คงทราบดีอยู่ว่า “มดลูก” เป็นกล้ามเนื้อชนิดหนึ่งในร่างกายของผู้หญิง เวลาที่มดลูกยืดตัวออก จะทำให้เกิดการหดตัว และอาการเกร็ง บีบรัด ของมดลูกทำงานผิดปกติ ซึ่งสาเหตุนี้อาจทำให้มดลูกเปิดและเสี่ยงต่อคลอดลูกก่อนกำหนดได้ โดยปัจจัยที่ทำให้มดลูกเกิดการหดตัวนั้นมีหลายสาเหตุ ได้แก่ น้ำคร่ำ ที่มีมากเกินไป เนื้องอกในผนังมดลูก และขนาดของทารกในครรภ์ที่ใหญ่เกินไป

 

2. บริเวณปากมดลูกสั้น

ภาวะปาดมลลูกสั้น ๆ หมายถึง บริเวณปาดมดลูกมีหูรูดน้อย มีขนาดความยาวของปากหูรูดประมาณ 2 – 2.5 เซนติเมตร อาจทำให้คุณแม่คลอดก่อนกำหนดได้ หากคุณแม่มีหูรูดยาว ความกระชับยืดหยุดจะรับน้ำหนักประโอบอุ้มทารกได้ดีกว่า ซึ่งหากอยากทราบว่า หูรูดยาวหรือสั้น คุณหมอสามารถบอกได้จากการอัลตราซาวนด์ตรวจครรภ์ตามปกติ

 

วิดีโอจาก : Nurse Kids

Advertisement

 

3. รูปร่างของมดลูกผิดปกติ

การที่มดลูกมีรูปร่างผิดปกติ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการคลอดลูกก่อนกำหนดได้ เช่น รูปทรงของมดลูกผิดปกติเป็นทรงคล้ายหัวใจ หรือมดลูกพิการตั้งแต่กำเนิดจนมีภาวะโพรงมดลูกและเนื้อเยื่อผิดปกติ กั้นให้เกิดมีโพรงมดลูก 2 โพรง อีกทั้งเนื้องอกภายใน อาจทำให้มีผนังกั้นกลางโพรงมดลูกหรือจนทารกมีความเจริญเติบโตอยู่ข้างเดียว เป็นต้น

 

4. การตั้งครรภ์ติดต่อกัน

การตั้งครรภ์ติดต่อกัน หมายถึง การที่คุณแม่เพิ่งคลอดลูกได้ไม่นานก็ตั้งท้องลูกคนต่อไปแทบจะทันที ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คุณแม่คลอดก่อนกำหนดได้ แต่ทั้งนี้การมีลูกหัวปีท้ายปี ก็ใช่ว่าจะเสี่ยงต่อภาวะคลอดก่อนกำหนดทุกคน ขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพและความแข็งแรงของมดลูก เพียงแค่คุณแม่ที่ท้องติดต่อกันแบบไม่ได้พักมีโอกาสคลอดก่อนกำหนดสูงกว่าคุณแม่ที่ทิ้งระยะตั้งท้องลูกคนต่อมา

5. เคยมีประวัติการคลอดก่อนกำหนด

หากคุณแม่เคยมีประวัติการตั้งครรภ์ เคยคลอดก่อนกำหนดมาก่อน ยิ่งมีความเสี่ยงในการคลอดก่อนเวลาอันควรสูงมาก เนื่องจาก ภาวะมดลูกภายในร่างกายอาจไม่แข็งแรง หากคุณหมอพบว่า มารดาเคยมีประวัติดังกล่าว ก็จะทำการฉีดยาเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดให้ค่ะ

 

6. มีเลือดออกขณะตั้งครรภ์

ภาวะเลือดออก หรือมูกเลือดออกขณะตั้งครรภ์มีหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสัญญาณอันตรายจากการติดเชื้อภายใน ดังนั้น หากพบความผิดปกติให้รีบพบแพทย์โดยด่วน เพราะการที่มีเลือดออก โดยที่ยังไม่ถึงกำหนดคลอด หมายถึงร่างกายเกิดการกระตุ้นการทำงานของมดลูกมากเกินไป จนมดลูกบีบรัดตัว เร่งให้คลอดลูกก่อนกำหนดได้

 

7. สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์

การสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ถือว่าเป็นเรื่องที่อันตรายเป็นอย่างมาก เพราะเหมือนเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด ทั้งยังส่งผลเสียต่อทารกที่อาจเกิดมาพิการ หรือเสียชีวิตในครรภ์

 

10 สัญญาณคลอดก่อนกำหนด 10

 

8. เกิดการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์จะทราบดีว่าร่างกายเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายมาก ไม่ว่าจะเป็นทางทันตกรรม หรือทางเดินปัสสาวะ หรือติดเชื้อในกระเพาะอาหารไปยังลำไส้ สิ่งเหล่านี้ย่อมทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการคลอดลูกก่อนกำหนดได้ ดังนั้น การฝากครรภ์ การตรวจครรภ์ หรือแม้แต่การตรวจสุขภาพช่องปาก เป็นสิ่งที่คุณแม่ควรใส่ใจให้มาก ๆ

 

9. น้ำหนักตัวน้อยเกินไป

น้ำหนักตัวของคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่น้อยกว่าการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ น้ำหนักคุณแม่ที่เพิ่มขึ้นควรอยู่ที่ 10-15 กิโลกรัม เช่น น้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์อยู่ที่ 50 กิโลกรัม น้ำหนักคุณแม่รวมทุกไตรมาสแล้วควรอยู่ที่ประมาณ 60-65 กิโลกรัม ไม่ควรน้อยกว่านี้ หากก่อนที่คุณแม่จะตั้งครรภ์มีน้ำหนักตัวที่น้อยเกินไป อาจเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดมากขึ้น

 

10. การตั้งครรภ์โดยวิธีวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันคู่สมรสที่มีบุตรยาก มักจะพึ่งพาการใช้วิทยาศาสตร์ในการมีลูก ซึ่งมีความเสี่ยงคลอดก่อน ครบอายุการ ตั้งครรภ์ เพราะจากการปฏิสนธินอกร่างกาย หรือใช้วิธีทางการแพทย์ จะยิ่งมีแนวโน้มที่ทำให้คุณแม่มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดมากขึ้น และอาจไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้

บทความที่เกี่ยวข้อง: เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด อันตรายต่อโอกาสรอดของลูก

 

การคลอดกำหนดเป็นเรื่องที่คุณแม่หลายคนคงเป็นกังวล เพราะหากคลอดทารกในช่วงที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 28-37 สัปดาห์ นั้นหมายความว่า คุณแม่ต้องเสี่ยงแท้งลูกอย่างแน่นอน เนื่องจากในทางการแพทย์ถือว่าเด็กมีโอกาสน้อยมากและไม่สามารถเจริญเติบโตได้ แต่ถ้าคุณแม่คลอดก่อนกำหนดในช่วงอายุครรภ์ที่มากขึ้น โอกาสที่ทารกจะรอดชีวิตก็มากขึ้นตาม ซึ่งมีรายละเอียดตามอายุครรภ์ ดังต่อไปนี้

 

  • 22-23 สัปดาห์ : โอกาสรอดชีวิตประมาณ 17%
  • 24-25 สัปดาห์ : โอกาสรอดชีวิตประมาณ 40-50%
  • 26-28 สัปดาห์ : โอกาสรอดชีวิตประมาณ 80-90%
  • 29-31 สัปดาห์ : โอกาสรอดชีวิตประมาณ 90-95%
  • 32-33 สัปดาห์ : โอกาสรอดชีวิตประมาณ 95%
  • 34 สัปดาห์ขึ้นไป : โอกาสรอดชีวิตประมาณ 95-98%

 

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

วิดีโอจาก : โค้ชเลิศพร สอนแม่และเด็ก

 

อันตรายของทารกคลอดก่อนกำหนด

  • ปอดมีปัญหาเรื่องขาดสารลดแรงตึงผิว (Surfactant) เกิดภาวะถุงลมแฟบ เด็กจะหายใจไม่สะดวก หอบเหนื่อยง่าย เสี่ยงต่อการใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • เกิดภาวะเส้นเลือดแดงที่ส่งออกจากหัวใจไปเลี้ยงร่างกายกับเลี้ยงปอดนั้นถูกเปิด ทำให้ปอดทำงานหนักเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
  • สมองเล็กกว่าเด็กปกติ มีน้ำหนักตัวเพียง 1,500 กรัม หรือเด็กบางคนไม่ถึง 1,000 กรัม เสี่ยงต่อโรคหัวใจและเส้นเลือดเปราะบาง
  • ลำไส้มีความบกพร่องในการดูดซึมอาหาร คุณแม่อาจต้องให้นมทีละน้อย บางรายอาจจะต้องพึ่งการต่อท่ออาหารทางเส้นเลือดดำ
  • ทารกอาจมีจอประสาทตาที่ไม่สมบูรณ์ เสี่ยงต่อการตาบอดได้ รวมไปถึง หู ที่เสี่ยงต่อการหูหนวกอีกด้วย

 

นอกจากนี้ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจเกิดการติดเชื้อได้ง่ายกว่าทารกทั่วไปที่เกิดมาปกติ เนื่องจากภูมิคุ้มกันไม่อยู่ในสภาวะที่สมบูรณ์นัก ทั้งนี้อยากให้คุณแม่คอยสังเกตอาการตัวเองและรักษาตัวให้ดีค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

มีลูกคนต่อไปเมื่อไหร่ดี พี่-น้อง ควรมีอายุห่างกันกี่ปีถึงจะดีที่สุด?

ความเชื่อคนท้อง จริงหรือมั่วกันแน่? ไขข้อสงสัยเรื่องอาหารที่คุณแม่ห้ามทานตอนท้อง

เชื้อราในช่องคลอด อันตรายกับลูกในท้องไหม ตกขาวมีแบบไหนบ้าง

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการคลอดก่อนกำหนด ได้ที่นี่ !

คลอดก่อนกำหนด อาการแบบไหนที่บ่งบอกบ้างคะ ว่ากำลังจะคลอดก่อนกำหนด

ที่มา : webmd, medthai, bangkokhospital

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • 10 สัญญาณคลอดก่อนกำหนด แม่ท้องเช็กด่วน! ถ้าไม่อยากต้องเสียลูก
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว