X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ถ้าลูกต้องคลอดก่อนกำหนด สัปดาห์ที่เท่าไหร่ลูกถึงจะรอด

บทความ 5 นาที
ถ้าลูกต้องคลอดก่อนกำหนด สัปดาห์ที่เท่าไหร่ลูกถึงจะรอด

ถ้าลูกต้องคลอดก่อนกำหนด สัปดาห์ที่เท่าไหร่ลูกถึงจะรอด แล้วถ้าลูกรอดยังจะมีเรื่องอื่นที่น่าเป็นห่วงอีกบ้างไหม และจะรับมือยังไงเมื่อลูกคลอดก่อนกำหนด

ถ้าลูกต้องคลอดก่อนกำหนด สัปดาห์ที่เท่าไหร่ลูกถึงจะรอด

คลอดก่อนกําหนด 6 เดือน เพราะไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะคลอดออกมาตามเกณฑ์ ถ้าลูกต้องคลอดก่อนกำหนด สัปดาห์ที่เท่าไหร่ลูกถึงจะรอด และแม้ลูกจะรอด แต่มีปัญหาสุขภาพตามมาอีกรึเปล่า

 

แม่คลอดเร็วสุดแล้วลูกรอด คลอดก่อนกำหนด 7 เดือน

การคลอดก่อนกำหนดที่มีการเก็บข้อมูลว่าเด็กๆ จะรอดคือสัปดาห์ที่ 21 กับอีก 5 วันค่ะ ด้วยเปอร์เซนต์การรอดชีวิตที่มีเพียงแค่ 0-10% เท่านั้น แต่หากจะให้ชัวร์ว่าลูกรอดจริงๆ การยืดระยะเวลาไปจนถึงสัปดาห์ที่ 24 ลูกจะมีโอกาสรอดมากขึ้นเป็น 40-70% เลยทีเดียวค่ะ

แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าลูกรอดแล้วจะไม่มีปัญหาสุขภาพนะคะ นั่นก็เพราะแม้เปอร์เซนต์การรอดของลูกจะสูง แต่ในบางกรณีเด็กๆ ก็ยังต้องพึ่งเครื่องมือทางการแพทย์ในการรอดชีวิตเช่นกัน และไม่ใช่ว่าทุกโรงพยาบาลจะมีเครื่องมือเครื่องไม้พร้อม ในการช่วยเหลือเด็กๆ ที่คลอดก่อนกำหนด

 

ถ้าลูกต้องคลอดก่อนกำหนด

Advertisement

ปัจจัยที่ทำให้ลูกคลอดออกมาแล้วรอด

มีทั้งเรื่องของข้อจำกัดทางสุขภาพของคุณแม่แต่ละคน การดูแลตัวเองระหว่างการตั้งครรภ์ของคุณแม่ อายุและความพร้อมในการตั้งครรภ์ โดยรวมแล้วคิดเป็นเปอร์เซนต์ดังนี้ค่ะ

  • 21 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 21 หรือต่ำกว่านั้น ลูกมีโอกาสรอด 0%
  • 22 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 22 ลูกมีโอกาสรอด 0-10%
  • 23 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 23 ลูกมีโอกาสรอด 10-35%
  • 24 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 24 ลูกมีโอกาสรอด 40-70%
  • 25 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 25 ลูกมีโอกาสรอด 50-80%
  • 26 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 26 ลูกมีโอกาสรอด 80-90%
  • 27 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 27 ลูกมีโอกาสรอด มากกว่า 90%
  • 28 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 28 ลูกมีโอกาสรอด 92% หรือมากกว่านั้น
  • 29 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 29 ลูกมีโอกาสรอด 95% หรือมากกว่านั้น
  • 30 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 30 ลูกมีโอกาสรอด มากกว่า 95%
  • 31 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 31 ลูกมีโอกาสรอด มากกว่า 95%
  • 32 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 32 ลูกมีโอกาสรอด 98%
  • 33 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 33 ลูกมีโอกาสรอด 98%
  • 34 สัปดาห์ คลอดในสัปดาห์ที่ 34 ลูกมีโอกาสรอด 98% หรือมากกว่านั้น

หากคุณแม่มีความเสี่ยงหรืออาการแทรกซ้อน ควรคลอดในโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือสำหรับดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด หรือศูนย์ NICU ค่ะ

 

ถ้าลูกต้องคลอดก่อนกำหนด

 

คลอดก่อนกําหนด 6 เดือน จะแข็งแรงไหม

เด็กๆ ที่ในช่วงประมาณสัปดาห์ที่ 24 แม้จะรอด แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะมีโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรังได้ค่ะ ภาวะแทรกซ้อนที่มีความเสี่ยงก็อย่างเช่น การติดเชื้อหรือปัญหาสุขภาพ เด็กๆ อาจจะมีการฉีดเสตียรอยด์ เพื่อช่วยในการพัฒนาของปอด หรือเด็กๆ ที่คลอดในสัปดาห์ที่ 32-34 อาจจะต้องมีการให้แมกนีเซียม เพื่อช่วยในการทำงานของระบบประสาท เป็นต้นค่ะ แต่การช่วยเหลือดังกล่าวก็อาจจะส่งผลกระทบด้านสุขภาพ ทั้งระยะสั้นและระยะยามตามมาได้เช่นกัน

  • เด็กทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดเพียง 1.25 กิโลกรัม อาจมีปัญหาโรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกคลอดก่อนกำหนด แต่มีเพียง 6% ที่ต้องได้รับการรักษา
  • เด็กทารกจำนวน 25% ที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 1.5 กิโลกรัม จะบกพร่องทางการได้ยิน
  • เด็กทารกที่มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำ จะมีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจได้มากกว่า เด็กที่มีน้ำหนักแรกคลอดสูงกว่า
  • มีการศึกษาที่พบว่าเด็กอายุ 7-8 ขวบ ที่เกิดในสัปดาห์ที่ 32 จะมีภาวะบกพร่องในพัฒนาการการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อร่างกาย ( Developmental Coordination Disorder ) เป็นจำนวนสูงถึง 30% เมื่อเทียบกับเด็กที่คลอดตามกำหนดที่มีเพียงแค่ 6%
  • เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีพัฒนาด้านกล้ามเนื้อต่างๆ ช้ากว่าเด็กตามเกณฑ์ แม้จะมีสติปัญญาปกติก็ได้ แต่จะส่งผลกระทบชัดเจนเมื่อถึงวัยเรียน

 

ถ้าลูกต้องคลอดก่อนกำหนด

 

พ่อแม่ต้องทำยังไงเมื่อมีลูกคลอดก่อนกำหนด

สิ่งแรกที่ต้องทำ หากลูกเสี่ยงมีปัญหาการได้ยินและการมองเห็น คือหมั่นตรวจเช็คร่างกายเป็นประจำ ทั้งลดความเสี่ยงจากปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และยังต้องมีการบำบัดและรักษาด้วยค่ะ

หากลูกเสี่ยงมีปัญหาทางด้านสมองและพัฒนาการต่างๆ คุณพ่อคุณแม่ต้องพามาหาคุณหมอเพื่อรักษาต่อไปเช่นกัน โดยส่วนใหญ่แล้วเด็กๆ จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างเกินความคาดหมายค่ะ นอกจากนี้

  • สังเกตอาการปวดท้องคลอดหรืออาการที่จะบอกว่าคุณแม่เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดให้ดี
  • ให้ลูกกินนมแม่ล้วน เพื่อข้อดีทางด้านสุขภาพของลูก เช่น ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ช่วยในการทำงานของสุขภาพหัวใจ เป็นต้น
  • การสัมผัสเนื้อแนบเนื้อกับลูกบ่อยๆ จะช่วยในการพัฒนาสมองของลูกค่ะ
  • อยู๋ในความดูและของบุคลากรทางการแพทย์ อย่างต่อเนื่องเพื่อรับคำแนะนำในการดูและเด็กๆ ค่ะ

 

บทความที่น่าสนใจ

นักสู้ตัวน้อยใน NICU หนูน้อยผู้รอดชีวิตจากการคลอดก่อนกำหนดและ RSV

แม่ท้องนอนไม่ค่อยหลับ เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด

ผลวิจัยเผย ภาวะโลกร้อน มีผลต่อภาวะแท้งในหญิงตั้งครรภ์ เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด

ที่มา Bellybelly

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ถ้าลูกต้องคลอดก่อนกำหนด สัปดาห์ที่เท่าไหร่ลูกถึงจะรอด
แชร์ :
  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว